ข่าวในประเทศ
1. ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน ผู้ช่วยผู้ว่าการสายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า คณะกรรมการนโยบายการเงินมีการประชุมพิจารณานโยบายต่าง ๆ ของรัฐบาลใหม่ที่แถลงต่อรัฐสภา ซึ่งคาดว่าจะทำให้มีการใช้จ่ายเป็นเม็ดเงินใหม่ทยอยเพิ่มขึ้นตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 ของปี 44 เป็นต้นไป เนื่องจากจะทำให้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นในขนาดที่ต่าง ๆ กัน อย่างไรก็ตามโดยภาพรวมแล้วการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยขณะนี้ยังต่ำกว่าศักยภาพ ดังนั้นแรงกระตุ้นจากภาคการคลังจะยังไม่สร้างแรงกดดันต่อภาวะเงินเฟ้อ โดยแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานสำหรับปี 44 และ 45 ยังคงอยู่ในเป้าหมายที่กำหนด นอกจากนี้คณะกรรมการฯ ยังได้ประเมินแนวโน้มการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและเงินเฟ้อเพื่อกำหนดทิศทางนโยบายการเงิน โดยจากข้อมูลล่าสุดแสดงให้เห็นว่ายังอยู่ในระดับใกล้เคียงกับที่เคยประมาณไว้ในเดือน ม.ค. 44 คือ ขยายตัวในอัตราที่ยังไม่สูงนัก เพราะมีความเสี่ยงที่เศรษฐกิจของ สรอ. และประเทศในภูมิภาคซึ่งเป็นตลาดส่งออกที่สำคัญของไทยจะชะลอตัวลงอีก แต่เศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าต่าง ๆ น่าจะปรับตัวดีขึ้นในปี 45 จากผลของนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจที่หลายประเทศกำลังดำเนินการอยู่ในขณะนี้ และจากการที่คณะกรรมการฯ ได้ส่งสัญญาณการดำเนินนโยบายการเงินในลักษณะผ่อนคลายมาตลอดเพื่อเอื้อต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจนั้นได้มีผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะยาวปรับลดลงตามมาด้วย โดยอัตราดอกเบี้ย พธบ.รัฐบาลอายุ 14 ปี ปรับลดลงจากระดับร้อยละ 6.6 เหลือร้อยละ 5.4 ณ สิ้นเดือน ก.พ. 44 และมีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืน พธบ. (อาร์/พี) 14 วันไว้ในระดับเดิมที่ร้อยละ 1.5 ต่อไป (กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการ 2)
2. ประธานทีดีอาร์ไอเสนอแนะแนวทางป้องกันการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด นายฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) เปิดเผยว่า ตัวเลขการส่งออกในเดือน ม.ค.44 ซึ่งลดลงร้อยละ 3.8 เป็นสัญญาณที่ชี้ให้เห็นว่าหากการส่งออกยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง จะทำให้ไทยขาดดุลการค้ากับต่างประเทศมากขึ้น ส่งผลกระทบต่อการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด ตลอดจนระบบตลาดเงินของไทย ทั้งอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทและทุนสำรองเงินตราต่างประเทศ ดังนั้น รัฐบาลควรดำเนินมาตรการเร่งด่วนเพื่อป้องกันการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด โดยการชะลอการนำเข้าในโครงการของรัฐที่ไม่จำเป็น และนำเงินมาใช้ในโครงการที่สามารถกระตุ้นกำลังซื้อในประเทศตลอดจนกระจายงบค่าใช้จ่ายสู่ภาคชนบทแทน (เดลินิวส์, ไทยรัฐ2 )
3. ดัชนีราคาผู้บริโภคเดือน ก.พ.44 เพิ่มสูงขึ้น อธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเดือน ก.พ.44 เท่ากับ 131.7 สูงขึ้นร้อยละ 0.5 เมื่อเทียบกับเดือน ม.ค.44 และสูงขึ้นร้อยละ 1.5 เมื่อเทียบกับเดือน ก.พ.43 สาเหตุที่ดัชนีฯ เพิ่มสูงขึ้นเป็นผลจากดัชนีราคาสินค้าหมวดอื่นๆ ที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 0.7 เช่น การปรับขึ้นค่าไฟฟ้าตามสูตรการปรับโครงสร้างค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ(เอฟที) และการปรับขึ้นของราคาน้ำมันสำเร็จรูป ในขณะที่ดัชนีราคาสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 0.1(เดลินิวส์ 2)ข่าวต่างประเทศ
1. การใช้จ่ายของผู้บริโภคใน สรอ. เพิ่มขึ้นมากกว่ารายได้ในเดือน ม.ค. 44 รายงานจากวอชิงตันเมื่อ 1 มี.ค.44 ก. พาณิชย์ สรอ. เปิดเผยว่า การใช้จ่ายของผู้บริโภคในเดือน ม.ค. 44 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 อยู่ที่มูลค่า 6.96 ล้านล้านดอลลาร์ สรอ. หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 ในเดือน ธ.ค.43 ขณะเดียวกัน รายได้ส่วนบุคคล เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 อยู่ที่มูลค่า 8.5 ล้านล้านดอลลาร์ หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 ในเดือน ธ.ค. 43 ทั้งนี้ การที่การใช้จ่ายสูงกว่ารายได้ ส่งผลให้อัตราการออมส่วนบุคคลของ สรอ. ในเดือน ม.ค. 44 ลดลงต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ อยู่ที่ติดลบร้อยละ 1 หลังจากที่ติดลบร้อยละ 0.8 ในเดือน ธ.ค. 43 (รอยเตอร์1)
2. ดัชนี NAPM ของ สรอ. เพิ่มขึ้นที่ระดับ 41.9 ในเดือน ก.พ.44 รายงานจากนิวยอร์กเมื่อ 1 มี.ค.44 National Association of Purchasing Management (NAPM) เปิดเผยว่า ดัชนี PMI ซึ่งเป็นเครื่องชี้ภาวะอุตสาหกรรมการผลิตโดยรวมในเดือน ก.พ.44 อยู่ที่ระดับ 41.9 สูงกว่าระดับ 41.2 ในเดือน ม.ค. 44 ซึ่งหดตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 7 นับตั้งแต่เดือน ส.ค.43 ที่เท่ากับร้อยละ 49.9 อย่างไรก็ตาม ส่วนประกอบของดัชนีฯ ในเดือน ก.พ. ส่วนใหญ่ขยายตัวสูงขึ้นจากเดือนก่อน เช่น ดัชนีการผลิตขยายตัวร้อยละ 39.7 เทียบกับร้อยละ 37.9 ในเดือน ม.ค. คำสั่งซื้อสินค้าฯใหม่เพิ่มขึ้นร้อยละ 40.8 เทียบกับร้อยละ 37.8 และการส่งมอบสินค้าเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 51.3 จากร้อยละ 50.3 ทั้งนี้ นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสของ NAPM กล่าวว่า จากตัวเลขฯ ดังกล่าวบ่งชี้ว่า การผลิตในภาคอุตสาหกรรมการผลิตของ สรอ.ในเดือน ม.ค. 44 ยังอยู่ในภาวะตกต่ำที่สุด (รอยเตอร์1)
3. ดอกเบี้ยเงินกู้จำนองของ สรอ. ลดลงในสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 2 มี.ค. 44 รายงานจากวอชิงตันเมื่อ 1 มี.ค. 44 Freddie Mac เปิดเผยว่า สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 2 มี.ค. 44 ดอกเบี้ยเงินกู้จำนอง อัตราคงที่ระยะ 30 ปี ลดลงอยู่ที่เฉลี่ยร้อยละ 7.03 จากร้อยละ 7.12 ในสัปดาห์ก่อน ส่วนดอกเบี้ยเงินกู้ฯ อัตราคงที่ระยะ 15 ปี ลดลงอยู่ที่เฉลี่ยร้อยละ6.58 จากร้อยละ 6.69 ในสัปดาห์ก่อน ซึ่งเป็นครั้งแรกในรอบ 3 สัปดาห์ที่ทั้งดอกเบี้ยเงินกู้ฯ ระยะ 30 ปี และ 15 ปี ลดลง ขณะเดียวกัน ดอกเบี้ยเงินกู้จำนองที่ปรับได้ระยะ 1 ปี ก็ลดลงเหลือเฉลี่ยร้อยละ 6.39 จากร้อยละ 6.43 ในสัปดาห์ก่อน หัวหน้านักเศรษฐกรแห่ง Freddie Mac กล่าวว่า อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ดังกล่าว ได้รับผลกระทบจากความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ซึ่งลดลงต่ำสุดในรอบ 4 ปีครึ่ง โดยดัชนีความเชื่อมั่นฯในเดือน ก.พ. 44 ลดลงที่ระดับ 106.8 จากระดับ 115.7 ในเดือน ม.ค. 44 นับเป็นระดับต่ำที่สุดตั้งแต่เดือน มิ.ย. 39 (รอยเตอร์1)
4. การใช้จ่ายที่แท้จริงของครัวเรือนญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 ในเดือน ม.ค.44 รายงานจากโตเกียวเมื่อ 2 มี.ค.44 Ministry of Public Management, Home Affairs, Posts and Telecommunications เปิดเผยว่า การใช้จ่ายที่แท้จริงของครัวเรือนญี่ปุ่นที่มีรายได้เป็นค่าจ้างหลังปรับตัวเลขตามฤดูกาลในเดือน ม.ค.44 ไม่เปลี่ยนแปลง เมื่อเทียบปีต่อปี แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 เมื่อเทียบเดือนต่อเดือน โดยมีจำนวนเฉลี่ย 333,031 เยน/ครัวเรือน หรือ 2,838 ดอลลาร์ สรอ. (รอยเตอร์ 2)อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์ สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 1 มี.ค. 44 43.123 (42.940) อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 1 มี.ค. 44ซื้อ 42.8961 (42.7100) ขาย 43.2087 (43.0192)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,400 (5,400) ขาย 5,500 (5,500)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน - (22.87)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 16.29 (16.29) ดีเซลหมุนเร็ว 12.94 (12.94)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน ผู้ช่วยผู้ว่าการสายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า คณะกรรมการนโยบายการเงินมีการประชุมพิจารณานโยบายต่าง ๆ ของรัฐบาลใหม่ที่แถลงต่อรัฐสภา ซึ่งคาดว่าจะทำให้มีการใช้จ่ายเป็นเม็ดเงินใหม่ทยอยเพิ่มขึ้นตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 ของปี 44 เป็นต้นไป เนื่องจากจะทำให้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นในขนาดที่ต่าง ๆ กัน อย่างไรก็ตามโดยภาพรวมแล้วการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยขณะนี้ยังต่ำกว่าศักยภาพ ดังนั้นแรงกระตุ้นจากภาคการคลังจะยังไม่สร้างแรงกดดันต่อภาวะเงินเฟ้อ โดยแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานสำหรับปี 44 และ 45 ยังคงอยู่ในเป้าหมายที่กำหนด นอกจากนี้คณะกรรมการฯ ยังได้ประเมินแนวโน้มการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและเงินเฟ้อเพื่อกำหนดทิศทางนโยบายการเงิน โดยจากข้อมูลล่าสุดแสดงให้เห็นว่ายังอยู่ในระดับใกล้เคียงกับที่เคยประมาณไว้ในเดือน ม.ค. 44 คือ ขยายตัวในอัตราที่ยังไม่สูงนัก เพราะมีความเสี่ยงที่เศรษฐกิจของ สรอ. และประเทศในภูมิภาคซึ่งเป็นตลาดส่งออกที่สำคัญของไทยจะชะลอตัวลงอีก แต่เศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าต่าง ๆ น่าจะปรับตัวดีขึ้นในปี 45 จากผลของนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจที่หลายประเทศกำลังดำเนินการอยู่ในขณะนี้ และจากการที่คณะกรรมการฯ ได้ส่งสัญญาณการดำเนินนโยบายการเงินในลักษณะผ่อนคลายมาตลอดเพื่อเอื้อต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจนั้นได้มีผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะยาวปรับลดลงตามมาด้วย โดยอัตราดอกเบี้ย พธบ.รัฐบาลอายุ 14 ปี ปรับลดลงจากระดับร้อยละ 6.6 เหลือร้อยละ 5.4 ณ สิ้นเดือน ก.พ. 44 และมีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืน พธบ. (อาร์/พี) 14 วันไว้ในระดับเดิมที่ร้อยละ 1.5 ต่อไป (กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการ 2)
2. ประธานทีดีอาร์ไอเสนอแนะแนวทางป้องกันการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด นายฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) เปิดเผยว่า ตัวเลขการส่งออกในเดือน ม.ค.44 ซึ่งลดลงร้อยละ 3.8 เป็นสัญญาณที่ชี้ให้เห็นว่าหากการส่งออกยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง จะทำให้ไทยขาดดุลการค้ากับต่างประเทศมากขึ้น ส่งผลกระทบต่อการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด ตลอดจนระบบตลาดเงินของไทย ทั้งอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทและทุนสำรองเงินตราต่างประเทศ ดังนั้น รัฐบาลควรดำเนินมาตรการเร่งด่วนเพื่อป้องกันการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด โดยการชะลอการนำเข้าในโครงการของรัฐที่ไม่จำเป็น และนำเงินมาใช้ในโครงการที่สามารถกระตุ้นกำลังซื้อในประเทศตลอดจนกระจายงบค่าใช้จ่ายสู่ภาคชนบทแทน (เดลินิวส์, ไทยรัฐ2 )
3. ดัชนีราคาผู้บริโภคเดือน ก.พ.44 เพิ่มสูงขึ้น อธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเดือน ก.พ.44 เท่ากับ 131.7 สูงขึ้นร้อยละ 0.5 เมื่อเทียบกับเดือน ม.ค.44 และสูงขึ้นร้อยละ 1.5 เมื่อเทียบกับเดือน ก.พ.43 สาเหตุที่ดัชนีฯ เพิ่มสูงขึ้นเป็นผลจากดัชนีราคาสินค้าหมวดอื่นๆ ที่มิใช่อาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 0.7 เช่น การปรับขึ้นค่าไฟฟ้าตามสูตรการปรับโครงสร้างค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ(เอฟที) และการปรับขึ้นของราคาน้ำมันสำเร็จรูป ในขณะที่ดัชนีราคาสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้นร้อยละ 0.1(เดลินิวส์ 2)ข่าวต่างประเทศ
1. การใช้จ่ายของผู้บริโภคใน สรอ. เพิ่มขึ้นมากกว่ารายได้ในเดือน ม.ค. 44 รายงานจากวอชิงตันเมื่อ 1 มี.ค.44 ก. พาณิชย์ สรอ. เปิดเผยว่า การใช้จ่ายของผู้บริโภคในเดือน ม.ค. 44 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 อยู่ที่มูลค่า 6.96 ล้านล้านดอลลาร์ สรอ. หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 ในเดือน ธ.ค.43 ขณะเดียวกัน รายได้ส่วนบุคคล เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 อยู่ที่มูลค่า 8.5 ล้านล้านดอลลาร์ หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 ในเดือน ธ.ค. 43 ทั้งนี้ การที่การใช้จ่ายสูงกว่ารายได้ ส่งผลให้อัตราการออมส่วนบุคคลของ สรอ. ในเดือน ม.ค. 44 ลดลงต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ อยู่ที่ติดลบร้อยละ 1 หลังจากที่ติดลบร้อยละ 0.8 ในเดือน ธ.ค. 43 (รอยเตอร์1)
2. ดัชนี NAPM ของ สรอ. เพิ่มขึ้นที่ระดับ 41.9 ในเดือน ก.พ.44 รายงานจากนิวยอร์กเมื่อ 1 มี.ค.44 National Association of Purchasing Management (NAPM) เปิดเผยว่า ดัชนี PMI ซึ่งเป็นเครื่องชี้ภาวะอุตสาหกรรมการผลิตโดยรวมในเดือน ก.พ.44 อยู่ที่ระดับ 41.9 สูงกว่าระดับ 41.2 ในเดือน ม.ค. 44 ซึ่งหดตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 7 นับตั้งแต่เดือน ส.ค.43 ที่เท่ากับร้อยละ 49.9 อย่างไรก็ตาม ส่วนประกอบของดัชนีฯ ในเดือน ก.พ. ส่วนใหญ่ขยายตัวสูงขึ้นจากเดือนก่อน เช่น ดัชนีการผลิตขยายตัวร้อยละ 39.7 เทียบกับร้อยละ 37.9 ในเดือน ม.ค. คำสั่งซื้อสินค้าฯใหม่เพิ่มขึ้นร้อยละ 40.8 เทียบกับร้อยละ 37.8 และการส่งมอบสินค้าเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 51.3 จากร้อยละ 50.3 ทั้งนี้ นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสของ NAPM กล่าวว่า จากตัวเลขฯ ดังกล่าวบ่งชี้ว่า การผลิตในภาคอุตสาหกรรมการผลิตของ สรอ.ในเดือน ม.ค. 44 ยังอยู่ในภาวะตกต่ำที่สุด (รอยเตอร์1)
3. ดอกเบี้ยเงินกู้จำนองของ สรอ. ลดลงในสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 2 มี.ค. 44 รายงานจากวอชิงตันเมื่อ 1 มี.ค. 44 Freddie Mac เปิดเผยว่า สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 2 มี.ค. 44 ดอกเบี้ยเงินกู้จำนอง อัตราคงที่ระยะ 30 ปี ลดลงอยู่ที่เฉลี่ยร้อยละ 7.03 จากร้อยละ 7.12 ในสัปดาห์ก่อน ส่วนดอกเบี้ยเงินกู้ฯ อัตราคงที่ระยะ 15 ปี ลดลงอยู่ที่เฉลี่ยร้อยละ6.58 จากร้อยละ 6.69 ในสัปดาห์ก่อน ซึ่งเป็นครั้งแรกในรอบ 3 สัปดาห์ที่ทั้งดอกเบี้ยเงินกู้ฯ ระยะ 30 ปี และ 15 ปี ลดลง ขณะเดียวกัน ดอกเบี้ยเงินกู้จำนองที่ปรับได้ระยะ 1 ปี ก็ลดลงเหลือเฉลี่ยร้อยละ 6.39 จากร้อยละ 6.43 ในสัปดาห์ก่อน หัวหน้านักเศรษฐกรแห่ง Freddie Mac กล่าวว่า อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ดังกล่าว ได้รับผลกระทบจากความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ซึ่งลดลงต่ำสุดในรอบ 4 ปีครึ่ง โดยดัชนีความเชื่อมั่นฯในเดือน ก.พ. 44 ลดลงที่ระดับ 106.8 จากระดับ 115.7 ในเดือน ม.ค. 44 นับเป็นระดับต่ำที่สุดตั้งแต่เดือน มิ.ย. 39 (รอยเตอร์1)
4. การใช้จ่ายที่แท้จริงของครัวเรือนญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 ในเดือน ม.ค.44 รายงานจากโตเกียวเมื่อ 2 มี.ค.44 Ministry of Public Management, Home Affairs, Posts and Telecommunications เปิดเผยว่า การใช้จ่ายที่แท้จริงของครัวเรือนญี่ปุ่นที่มีรายได้เป็นค่าจ้างหลังปรับตัวเลขตามฤดูกาลในเดือน ม.ค.44 ไม่เปลี่ยนแปลง เมื่อเทียบปีต่อปี แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 เมื่อเทียบเดือนต่อเดือน โดยมีจำนวนเฉลี่ย 333,031 เยน/ครัวเรือน หรือ 2,838 ดอลลาร์ สรอ. (รอยเตอร์ 2)อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์ สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 1 มี.ค. 44 43.123 (42.940) อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 1 มี.ค. 44ซื้อ 42.8961 (42.7100) ขาย 43.2087 (43.0192)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,400 (5,400) ขาย 5,500 (5,500)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน - (22.87)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 16.29 (16.29) ดีเซลหมุนเร็ว 12.94 (12.94)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-