แท็ก
อัตราดอกเบี้ย
1. สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องโดยรวมอยู่ในระดับสูง แต่ได้ปรับตึงตัวขึ้นเล็กน้อยในช่วงสิ้นปักษ์การดำรงสินทรัพย์สภาพคล่อง อัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วันเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 2.26 ต่อปี ขณะที่อัตราดอกเบี้ย Overnight Interbank เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 2.38 ต่อปี ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (Effective Interest Differential) ของธนาคารพาณิชย์ไทยปรับดีขึ้น
สภาพคล่องของระบบการเงินโดยรวม ในเดือนกรกฎาคมอยู่ในระดับสูง โดยสภาพคล่องเงินบาท ได้ปรับตึงตัวขึ้นเล็กน้อยในช่วงสิ้นปักษ์การดำรงสินทรัพย์ สภาพคล่อง จากการที่สถาบันการเงินต้องเร่งดำรงเงินสด สำรองให้ได้ตามเกณฑ์
อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในตลาดเงิน ยังคงเคลื่อนไหวอยู่ในระดับต่ำ ตามภาวะสภาพคล่องที่มีอยู่สูง ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วันและอัตราดอกเบี้ย Overnight Interbank เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 2.26 และ 2.38 ต่อปีตามลำดับ
การลงทุนของสถาบันการเงินในตลาดซื้อคืน พันธบัตร ธนาคารพาณิชย์ลดการลงทุนในตลาดซื้อคืน โดยฐานะการลงทุนสุทธิลดลงจาก 145 พันล้านบาทเมื่อ สิ้นเดือนมิถุนายน เป็น 125 พันล้านบาท ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2544 อย่างไรก็ดี สถาบันการเงินเฉพาะกิจ มีการลงทุนเพิ่มขึ้น ส่งผลให้เห็นฐานะการลงทุนสุทธิเพิ่มขึ้นเป็น 64 พันล้านบาท ในช่วงดังกล่าว
อัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์ อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือนและอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม MLR ของ 4 ธนาคารพาณิชย์ไทยขนาดใหญ่ยังคงอยู่ที่เฉลี่ยร้อยละ 2.50 และ 7.375 ต่อปีตามลำดับ
อย่างไรก็ตาม ธนาคารพาณิชย์ไทยขนาดกลาง และเล็ก และสาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศบางแห่งมีการปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินให้กู้ยืมเพื่อปรับ ต้นทุนและโครงสร้างการระดมทุนให้เหมาะสม
อัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์ที่แท้จริง ในเดือนกรกฎาคม อัตราเงินเฟ้อลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 2.2 ต่อปี ทำให้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือนและอัตรา ดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม MLR ที่แท้จริงของธนาคารพาณิชย์ไทย ขนาดใหญ่ทั้ง 4 แห่งปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่เฉลี่ยร้อยละ 0.30 และ 5.175 ต่อปีตามลำดับ
ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (Effective Interest Differential) ของระบบธนาคารพาณิชย์ไทย ณ สิ้นไตรมาสที่ 2 อยู่ที่ร้อยละ 2.46 ต่อปี เพิ่มขึ้นจาก ร้อยละ 2.14 ต่อปี ณ สิ้นไตรมาส 1 ส่วนหนึ่งเนื่องจากธนาคารนครหลวงไทยและธนาคารศรีนครโอนสินทรัพย์ ด้อยคุณภาพไปยังบริษัทบริหารสินทรัพย์เพชรบุรีจำกัด ในเดือนมิถุนายน ทำให้ผลตอบแทนเฉลี่ยของเงินให้สินเชื่อ (Effective Returns on Lending) ปรับเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันต้นทุนเงินฝากเฉลี่ย (Effective Deposit Rate) มีแนวโน้ม ลดลง ตามการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากในช่วงครึ่งแรกของปี
ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงของระบบสาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ ณ สิ้นไตรมาสที่ 2 เท่ากับร้อยละ 4.03 ต่อปี ค่อนข้างทรงตัวเมื่อเทียบกับ ณ สิ้นไตรมาสที่ 1 ที่อยู่ระดับร้อยละ 4.01 ต่อปี ทั้งนี้ ผลตอบแทนเฉลี่ยของเงินให้สินเชื่อและต้นทุนเงินฝากเฉลี่ย มีแนวโน้มลดลง
เงินฝากและสินเชื่อภาคเอกชนของระบบธนาคารพาณิชย์ เงินฝากและสินเชื่อภาคเอกชนปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า เงินฝากธนาคารพาณิชย์ ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม มียอดคงค้าง 4,944.1 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 15 พันล้านบาท เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า โดยส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นของเงินฝากสาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ
ทั้งนี้ เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน เงินฝากเพิ่มขึ้น 276 พันล้านบาท คิดเป็นการเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.9 ต่อปี
สินเชื่อรวมธนาคารพาณิชย์ (คำนวณสินเชื่อ กิจการวิเทศธนกิจด้วยอัตราแลกเปลี่ยนคงที่) มียอดคงค้าง 4,571.8 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นประมาณ 35 พันล้านบาท เมื่อเทียบกับเดือนมิถุนายน ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการเร่งปล่อยสินเชื่อแก่ภาคธุรกิจเอกชน
อย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของ ปีก่อน สินเชื่อรวมลดลง 235 พันล้านบาท คิดเป็นการลดลงร้อยละ 4.9 ต่อปี
สำหรับ สินเชื่อรวมธนาคารพาณิชย์ (คำนวณ สินเชื่อกิจการวิเทศธนกิจด้วยอัตราแลกเปลี่ยนคงที่) ที่บวกกลับการตัดหนี้สูญและสินเชื่อที่โอนไปบริษัทบริหารสินทรัพย์ แต่ไม่รวมสินเชื่อที่ธนาคารพาณิชย์ให้กับบริษัทบริหารสินทรัพย์ ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2544 มียอดคงค้าง 5,151.8 พันล้านบาท คิดเป็นการเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 ต่อปี (ข้อมูลเบื้องต้น)
3. ฐานเงินและปริมาณเงิน
ฐานเงินและปริมาณเงินปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
ฐานเงิน ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม มียอดคงค้าง 500.7 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก 484.7 พันล้านบาท เมื่อสิ้นเดือนมิถุนายน โดยเป็นการเพิ่มขึ้นของเงินฝากสถาบันการเงินที่ ธปท. ขณะที่เงินสดในมือประชาชนลดลง เล็กน้อยตามปกติในช่วงกลางปี
สำหรับปัจจัยด้านอุปทานที่สำคัญที่ทำให้ฐานเงินเปลี่ยนแปลง ได้แก่ 1) สินเชื่อสุทธิที่ให้กับภาครัฐ เพิ่มขึ้น เนื่องจากการขาดดุลเงินสดของภาครัฐ 2) สินเชื่อสุทธิที่ให้กับสถาบันการเงิน เพิ่มขึ้น ส่วนหนึ่งเนื่องจาก ธปท. เพิ่มการให้กู้ยืมในตลาดซื้อคืนพันธบัตร นอกจากนี้ กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ลดการกู้ยืมจากตลาดเงินลงจำนวนหนึ่ง
ปริมาณเงิน M2A และ M3 ปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อย เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ตามการเพิ่มขึ้นของเงินฝากที่ระบบสถาบันการเงิน
ทั้งนี้ ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม ปริมาณเงิน M2A มียอดคงค้าง 5,397.8 พันล้านบาท คิดเป็นอัตราการ ขยายตัวร้อยละ 4.7 ต่อปี ขณะที่ยอดคงค้างของปริมาณเงิน M3 เท่ากับ 6,096.8 พันล้านบาท คิดเป็นการเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.7 ต่อปี
4. อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลในตลาดรอง
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลปรับเพิ่มขึ้นในช่วงปลายเดือน อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลในตลาดรอง ลดลงเล็กน้อยในช่วงต้นเดือนกรกฎาคม หลังจากที่ปรับตัว สูงขึ้นมากในระยะเวลาก่อนหน้า ทั้งนี้ อัตราผลตอบแทนเคลื่อนไหวอยู่ในช่วงแคบๆ ตามการทำธุรกรรมของกลุ่ม Dealer
อย่างไรก็ตาม ในช่วงปลายเดือน อัตรา ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลปรับสูงขึ้น หลังจากที่มีข่าว การออกพันธบัตรภาครัฐเพื่อชดเชยความเสียหายของ กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ประกอบกับตลาดคาดการณ์ว่าภาครัฐและธุรกิจเอกชนจะมีการออกตราสารหนี้อีกจำนวนหนึ่ง โดยอัตราผลตอบแทนระยะปานกลาง 5-7 ปี เพิ่มสูงขึ้น 30 - 35 bsp. ขณะที่อัตราผลตอบแทนระยะ 10 และ 12-14 ปี เพิ่มขึ้น 24 และ 14-16 bsp. ตามลำดับ
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
สภาพคล่องโดยรวมอยู่ในระดับสูง แต่ได้ปรับตึงตัวขึ้นเล็กน้อยในช่วงสิ้นปักษ์การดำรงสินทรัพย์สภาพคล่อง อัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วันเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 2.26 ต่อปี ขณะที่อัตราดอกเบี้ย Overnight Interbank เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 2.38 ต่อปี ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (Effective Interest Differential) ของธนาคารพาณิชย์ไทยปรับดีขึ้น
สภาพคล่องของระบบการเงินโดยรวม ในเดือนกรกฎาคมอยู่ในระดับสูง โดยสภาพคล่องเงินบาท ได้ปรับตึงตัวขึ้นเล็กน้อยในช่วงสิ้นปักษ์การดำรงสินทรัพย์ สภาพคล่อง จากการที่สถาบันการเงินต้องเร่งดำรงเงินสด สำรองให้ได้ตามเกณฑ์
อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นในตลาดเงิน ยังคงเคลื่อนไหวอยู่ในระดับต่ำ ตามภาวะสภาพคล่องที่มีอยู่สูง ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วันและอัตราดอกเบี้ย Overnight Interbank เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 2.26 และ 2.38 ต่อปีตามลำดับ
การลงทุนของสถาบันการเงินในตลาดซื้อคืน พันธบัตร ธนาคารพาณิชย์ลดการลงทุนในตลาดซื้อคืน โดยฐานะการลงทุนสุทธิลดลงจาก 145 พันล้านบาทเมื่อ สิ้นเดือนมิถุนายน เป็น 125 พันล้านบาท ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2544 อย่างไรก็ดี สถาบันการเงินเฉพาะกิจ มีการลงทุนเพิ่มขึ้น ส่งผลให้เห็นฐานะการลงทุนสุทธิเพิ่มขึ้นเป็น 64 พันล้านบาท ในช่วงดังกล่าว
อัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์ อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือนและอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม MLR ของ 4 ธนาคารพาณิชย์ไทยขนาดใหญ่ยังคงอยู่ที่เฉลี่ยร้อยละ 2.50 และ 7.375 ต่อปีตามลำดับ
อย่างไรก็ตาม ธนาคารพาณิชย์ไทยขนาดกลาง และเล็ก และสาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศบางแห่งมีการปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและเงินให้กู้ยืมเพื่อปรับ ต้นทุนและโครงสร้างการระดมทุนให้เหมาะสม
อัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์ที่แท้จริง ในเดือนกรกฎาคม อัตราเงินเฟ้อลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 2.2 ต่อปี ทำให้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือนและอัตรา ดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม MLR ที่แท้จริงของธนาคารพาณิชย์ไทย ขนาดใหญ่ทั้ง 4 แห่งปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่เฉลี่ยร้อยละ 0.30 และ 5.175 ต่อปีตามลำดับ
ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (Effective Interest Differential) ของระบบธนาคารพาณิชย์ไทย ณ สิ้นไตรมาสที่ 2 อยู่ที่ร้อยละ 2.46 ต่อปี เพิ่มขึ้นจาก ร้อยละ 2.14 ต่อปี ณ สิ้นไตรมาส 1 ส่วนหนึ่งเนื่องจากธนาคารนครหลวงไทยและธนาคารศรีนครโอนสินทรัพย์ ด้อยคุณภาพไปยังบริษัทบริหารสินทรัพย์เพชรบุรีจำกัด ในเดือนมิถุนายน ทำให้ผลตอบแทนเฉลี่ยของเงินให้สินเชื่อ (Effective Returns on Lending) ปรับเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันต้นทุนเงินฝากเฉลี่ย (Effective Deposit Rate) มีแนวโน้ม ลดลง ตามการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากในช่วงครึ่งแรกของปี
ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงของระบบสาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ ณ สิ้นไตรมาสที่ 2 เท่ากับร้อยละ 4.03 ต่อปี ค่อนข้างทรงตัวเมื่อเทียบกับ ณ สิ้นไตรมาสที่ 1 ที่อยู่ระดับร้อยละ 4.01 ต่อปี ทั้งนี้ ผลตอบแทนเฉลี่ยของเงินให้สินเชื่อและต้นทุนเงินฝากเฉลี่ย มีแนวโน้มลดลง
เงินฝากและสินเชื่อภาคเอกชนของระบบธนาคารพาณิชย์ เงินฝากและสินเชื่อภาคเอกชนปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า เงินฝากธนาคารพาณิชย์ ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม มียอดคงค้าง 4,944.1 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 15 พันล้านบาท เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า โดยส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นของเงินฝากสาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ
ทั้งนี้ เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน เงินฝากเพิ่มขึ้น 276 พันล้านบาท คิดเป็นการเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.9 ต่อปี
สินเชื่อรวมธนาคารพาณิชย์ (คำนวณสินเชื่อ กิจการวิเทศธนกิจด้วยอัตราแลกเปลี่ยนคงที่) มียอดคงค้าง 4,571.8 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นประมาณ 35 พันล้านบาท เมื่อเทียบกับเดือนมิถุนายน ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการเร่งปล่อยสินเชื่อแก่ภาคธุรกิจเอกชน
อย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของ ปีก่อน สินเชื่อรวมลดลง 235 พันล้านบาท คิดเป็นการลดลงร้อยละ 4.9 ต่อปี
สำหรับ สินเชื่อรวมธนาคารพาณิชย์ (คำนวณ สินเชื่อกิจการวิเทศธนกิจด้วยอัตราแลกเปลี่ยนคงที่) ที่บวกกลับการตัดหนี้สูญและสินเชื่อที่โอนไปบริษัทบริหารสินทรัพย์ แต่ไม่รวมสินเชื่อที่ธนาคารพาณิชย์ให้กับบริษัทบริหารสินทรัพย์ ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2544 มียอดคงค้าง 5,151.8 พันล้านบาท คิดเป็นการเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 ต่อปี (ข้อมูลเบื้องต้น)
3. ฐานเงินและปริมาณเงิน
ฐานเงินและปริมาณเงินปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
ฐานเงิน ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม มียอดคงค้าง 500.7 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก 484.7 พันล้านบาท เมื่อสิ้นเดือนมิถุนายน โดยเป็นการเพิ่มขึ้นของเงินฝากสถาบันการเงินที่ ธปท. ขณะที่เงินสดในมือประชาชนลดลง เล็กน้อยตามปกติในช่วงกลางปี
สำหรับปัจจัยด้านอุปทานที่สำคัญที่ทำให้ฐานเงินเปลี่ยนแปลง ได้แก่ 1) สินเชื่อสุทธิที่ให้กับภาครัฐ เพิ่มขึ้น เนื่องจากการขาดดุลเงินสดของภาครัฐ 2) สินเชื่อสุทธิที่ให้กับสถาบันการเงิน เพิ่มขึ้น ส่วนหนึ่งเนื่องจาก ธปท. เพิ่มการให้กู้ยืมในตลาดซื้อคืนพันธบัตร นอกจากนี้ กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ลดการกู้ยืมจากตลาดเงินลงจำนวนหนึ่ง
ปริมาณเงิน M2A และ M3 ปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อย เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ตามการเพิ่มขึ้นของเงินฝากที่ระบบสถาบันการเงิน
ทั้งนี้ ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม ปริมาณเงิน M2A มียอดคงค้าง 5,397.8 พันล้านบาท คิดเป็นอัตราการ ขยายตัวร้อยละ 4.7 ต่อปี ขณะที่ยอดคงค้างของปริมาณเงิน M3 เท่ากับ 6,096.8 พันล้านบาท คิดเป็นการเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.7 ต่อปี
4. อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลในตลาดรอง
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลปรับเพิ่มขึ้นในช่วงปลายเดือน อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลในตลาดรอง ลดลงเล็กน้อยในช่วงต้นเดือนกรกฎาคม หลังจากที่ปรับตัว สูงขึ้นมากในระยะเวลาก่อนหน้า ทั้งนี้ อัตราผลตอบแทนเคลื่อนไหวอยู่ในช่วงแคบๆ ตามการทำธุรกรรมของกลุ่ม Dealer
อย่างไรก็ตาม ในช่วงปลายเดือน อัตรา ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลปรับสูงขึ้น หลังจากที่มีข่าว การออกพันธบัตรภาครัฐเพื่อชดเชยความเสียหายของ กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ประกอบกับตลาดคาดการณ์ว่าภาครัฐและธุรกิจเอกชนจะมีการออกตราสารหนี้อีกจำนวนหนึ่ง โดยอัตราผลตอบแทนระยะปานกลาง 5-7 ปี เพิ่มสูงขึ้น 30 - 35 bsp. ขณะที่อัตราผลตอบแทนระยะ 10 และ 12-14 ปี เพิ่มขึ้น 24 และ 14-16 bsp. ตามลำดับ
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-