การผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนเมษายนเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนในอัตราร้อยละ 0.7
หมวดสินค้าที่ผลิตเพิ่มขึ้นที่สำคัญ ได้แก่ หมวดยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง (+22.7%) ผลิตเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะรถยนต์นั่งที่ผู้ประกอบการเปิดสายการผลิตรถยนต์รุ่นใหม่เพื่อจำหน่ายในเดือน พฤษภาคม ศกนี้ หมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก (+14.3%) ผลิตเพิ่มขึ้นตามการผลิตแผ่นเหล็กชุบสังกะสีซึ่งมีความต้องการจากอุตสาหกรรมต่อเนื่องเพิ่มขึ้น หมวดเครื่องดื่ม (+10.7%) เพิ่มขึ้นตามการผลิตสุราและเบียร์ โดยมีการผลิตเบียร์ยี่ห้อใหม่ของบริษัทไทยอมฤตบริวเวอรี่ ในช่วงต้นเดือน เพื่อเพิ่มส่วนแบ่งตลาดระดับล่าง และหมวดผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม (+5.4%) ผลิตเพิ่มขึ้นจากการส่งออกเพื่อทดแทนตลาดในประเทศที่มีแนวโน้มชะลอตัว โดยตลาดที่สำคัญ คือ สาธารณรัฐประชาชนจีน เวียดนาม และสิงคโปร์
หมวดสินค้าที่ผลิตลดลงที่สำคัญ ได้แก่ หมวดอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า (-27.6%) ยังคงลดลงตามคำสั่งซื้อของตลาดส่งออกแผงวงจรไฟฟ้าและโทรทัศน์เป็นสำคัญ และหมวดอาหาร (-13.9%) ลดลงตามผลผลิตน้ำตาล เนื่องจากวัตถุดิบอ้อยที่ป้อนโรงงานน้ำตาลมีปริมาณลดลง เพราะเกิดโรคระบาด โรงงานน้ำตาลจึงปิดหีบเร็วกว่าปีก่อน กอปรกับผลผลิตสับปะรดกระป๋องก็ลดลงมาก เนื่องจากการส่งออกประสบปัญหาการแข่งขันสูง กับสินค้าของฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย
สำหรับผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในช่วง 4 เดือนแรกปีนี้ เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนในอัตราร้อยละ 1.2 ตามการผลิตในหมวดยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง (+20.3%) เนื่องจากผลของการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย และการขยายตัวของตลาดส่งออก และ หมวดเครื่องดื่ม (+6.2%) เพิ่มขึ้นตามการผลิตสุราและเบียร์ เป็นสำคัญ
การใช้กำลังการผลิตของภาคอุตสาหกรรม ในเดือนเมษายน ลดลงจากเดือนก่อนมากโดยอยู่ที่ระดับร้อยละ 50.2 (แต่หากไม่รวมสุรา การใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ระดับร้อยละ 53.3) ซึ่งลดลงเกือบทุกผลิตภัณฑ์ ยกเว้นหมวดผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม(74.6%) ที่ทรงตัวในระดับใกล้เคียงกับเดือนก่อน
หมวดที่มีการใช้กำลังผลิตลดลงที่สำคัญ ได้แก่อิเล็กทรอนิคส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า (39.6%) ลดลงจากเดือนก่อนหน้ามากทั้งการใช้กำลังการผลิตแผงวงจรไฟฟ้าและเครื่องรับโทรทัศน์ เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของตลาดส่งออกหลัก คือ สหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น ยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง (36.9%) การใช้กำลังการผลิตลดลงมากทุกผลิตภัณฑ์ เนื่องจากเดือนนี้มีวันหยุดเทศกาลสงกรานต์ ประกอบกับผู้ผลิตรถยนต์เร่งผลิตมากในเดือนก่อนหน้า เพื่อรองรับการจำหน่ายในเดือนเมษายน หมวดยาสูบ (42.0%) ใช้กำลังการผลิตลดลง เนื่องจากในเดือนก่อนโรงงานยาสูบได้เร่งผลิตเพื่อเก็บสต๊อกบุหรี่ก่อนที่ทางการจะปรับเพิ่มภาษีสรรพสามิตในวันที่ 28 มีนาคม หมวดผลิตภัณฑ์อื่น ๆ (81.2%) ลดลงเกือบทุกผลิตภัณฑ์ โดยส่วนใหญ่ลดลงตามการใช้กำลังการผลิตผลิตภัณฑ์เพื่อส่งออกเป็นสำคัญ และหมวดอาหาร(34.3%) ลดลงมากตามการผลิตน้ำตาล เนื่องจากเป็นช่วงที่โรงงานทยอยปิดหีบ
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-
หมวดสินค้าที่ผลิตเพิ่มขึ้นที่สำคัญ ได้แก่ หมวดยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง (+22.7%) ผลิตเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะรถยนต์นั่งที่ผู้ประกอบการเปิดสายการผลิตรถยนต์รุ่นใหม่เพื่อจำหน่ายในเดือน พฤษภาคม ศกนี้ หมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก (+14.3%) ผลิตเพิ่มขึ้นตามการผลิตแผ่นเหล็กชุบสังกะสีซึ่งมีความต้องการจากอุตสาหกรรมต่อเนื่องเพิ่มขึ้น หมวดเครื่องดื่ม (+10.7%) เพิ่มขึ้นตามการผลิตสุราและเบียร์ โดยมีการผลิตเบียร์ยี่ห้อใหม่ของบริษัทไทยอมฤตบริวเวอรี่ ในช่วงต้นเดือน เพื่อเพิ่มส่วนแบ่งตลาดระดับล่าง และหมวดผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม (+5.4%) ผลิตเพิ่มขึ้นจากการส่งออกเพื่อทดแทนตลาดในประเทศที่มีแนวโน้มชะลอตัว โดยตลาดที่สำคัญ คือ สาธารณรัฐประชาชนจีน เวียดนาม และสิงคโปร์
หมวดสินค้าที่ผลิตลดลงที่สำคัญ ได้แก่ หมวดอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า (-27.6%) ยังคงลดลงตามคำสั่งซื้อของตลาดส่งออกแผงวงจรไฟฟ้าและโทรทัศน์เป็นสำคัญ และหมวดอาหาร (-13.9%) ลดลงตามผลผลิตน้ำตาล เนื่องจากวัตถุดิบอ้อยที่ป้อนโรงงานน้ำตาลมีปริมาณลดลง เพราะเกิดโรคระบาด โรงงานน้ำตาลจึงปิดหีบเร็วกว่าปีก่อน กอปรกับผลผลิตสับปะรดกระป๋องก็ลดลงมาก เนื่องจากการส่งออกประสบปัญหาการแข่งขันสูง กับสินค้าของฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย
สำหรับผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในช่วง 4 เดือนแรกปีนี้ เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนในอัตราร้อยละ 1.2 ตามการผลิตในหมวดยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง (+20.3%) เนื่องจากผลของการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย และการขยายตัวของตลาดส่งออก และ หมวดเครื่องดื่ม (+6.2%) เพิ่มขึ้นตามการผลิตสุราและเบียร์ เป็นสำคัญ
การใช้กำลังการผลิตของภาคอุตสาหกรรม ในเดือนเมษายน ลดลงจากเดือนก่อนมากโดยอยู่ที่ระดับร้อยละ 50.2 (แต่หากไม่รวมสุรา การใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ระดับร้อยละ 53.3) ซึ่งลดลงเกือบทุกผลิตภัณฑ์ ยกเว้นหมวดผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม(74.6%) ที่ทรงตัวในระดับใกล้เคียงกับเดือนก่อน
หมวดที่มีการใช้กำลังผลิตลดลงที่สำคัญ ได้แก่อิเล็กทรอนิคส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า (39.6%) ลดลงจากเดือนก่อนหน้ามากทั้งการใช้กำลังการผลิตแผงวงจรไฟฟ้าและเครื่องรับโทรทัศน์ เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของตลาดส่งออกหลัก คือ สหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น ยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง (36.9%) การใช้กำลังการผลิตลดลงมากทุกผลิตภัณฑ์ เนื่องจากเดือนนี้มีวันหยุดเทศกาลสงกรานต์ ประกอบกับผู้ผลิตรถยนต์เร่งผลิตมากในเดือนก่อนหน้า เพื่อรองรับการจำหน่ายในเดือนเมษายน หมวดยาสูบ (42.0%) ใช้กำลังการผลิตลดลง เนื่องจากในเดือนก่อนโรงงานยาสูบได้เร่งผลิตเพื่อเก็บสต๊อกบุหรี่ก่อนที่ทางการจะปรับเพิ่มภาษีสรรพสามิตในวันที่ 28 มีนาคม หมวดผลิตภัณฑ์อื่น ๆ (81.2%) ลดลงเกือบทุกผลิตภัณฑ์ โดยส่วนใหญ่ลดลงตามการใช้กำลังการผลิตผลิตภัณฑ์เพื่อส่งออกเป็นสำคัญ และหมวดอาหาร(34.3%) ลดลงมากตามการผลิตน้ำตาล เนื่องจากเป็นช่วงที่โรงงานทยอยปิดหีบ
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-