ข่าวการประชุมคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๕
ครั้งที่ ๒๑
วันศุกร์ที่ ๓ เดือนสิงหาคม ๒๕๔๔
ณ ห้องประชุมงบประมาณ ชั้น ๓ อาคารรัฐสภา ๓
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
---------------------------------
คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๔๕ โดยมีการพิจารณากระทรวงคมนาคม ในส่วนของกรมเจ้าท่า กรมทางหลวง กรมไปรษณีย์โทรเลข
และกรมอุตุนิยมวิทยา ซึ่งสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
กรมเจ้าท่า
งบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้ ๒,๒๓๓,๓๕๗,๐๐๐ บาท
รายการปรับลด ๙๘,๑๐๘,๓๐๐ บาท
คงเหลือ ๒,๑๓๕,๒๔๘,๗๐๐ บาท
ก. แผนงานขนส่งทางน้ำ ๒,๒๑๘,๓๕๗,๐๐๐ บาท
ข. แผนงานส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยว ๑๕,๐๐๐,๐๐๐ บาท
คณะกรรมาธิการได้พิจารณาและตั้งข้อสังเกตสรุปได้ดังนี้
๑. แผนงานส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยว โครงการปรับปรุงท่าเรือเกาะตะรุเตาเพื่อ
การท่องเที่ยว นับเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวในจังหวัดสตูลและจังหวัดใกล้เคียงให้เป็นที่รู้จักของ
นักท่องเที่ยว และบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน โดยสามารถสร้างรายได้อย่างสูงให้กับรัฐบาล
คณะกรรมาธิการจึงเห็นสมควรและสนับสนุนการใช้งบประมาณดำเนินโครงการดังกล่าว
๒. จังหวัดอุบลราชธานีไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณปี ๒๕๔๕ ทั้งที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว
สำคัญและเป็นศูนย์รวมของโครงการพระราชดำริ ดังนั้นสำนักงบประมาณต้องจัดสรรงบฯ เพิ่มเติมให้
ในส่วนนี้ รวมทั้งเสนอให้สำรวจพื้นที่ตลิ่ง บนเกาะเทโพ จังหวัดอุทัยธานี เนื่องจากประชาชนกำลังได้รับ
ความเดือดร้อนอย่างมาก ทั้งนี้จะได้ทำการของบฯ ป้องกันตลิ่งพังมาพัฒนาดำเนินการต่อไป
๓. การออกใบอนุญาตประกอบธุรกิจดูดทราย กรมเจ้าท่าจะต้องกำหนดนโยบายชัดเจน
ในการตรวจสอบและประเมินผลผู้ประกอบการที่มาขอใบอนุญาตอย่างเข้มงวดด้วยวิธีการคัดเลือกที่
ยุติธรรม เพราะที่ผ่านมาการอนุญาตประกอบธุรกิจดูดทราย ส่งผลกระทบทำให้ตลิ่งพัง และเมื่อตลิ่งพัง
ก็จำเป็นต้องของบฯ ไปดำเนินการ ดังนั้นกรมฯ จะต้องมุ่งมั่นอบรมบุคลากรและปลูกจิตสำนึกให้บุคลาการ
ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความผิดชอบ
กรมทางหลวง
งบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้ ๓๑,๓๕๕,๖๗๑,๐๐๐ บาท
รายการปรับลด ๑,๑๗๕,๓๖๒,๐๐๐ บาท
คงเหลือ ๓๐,๑๘๐,๓๐๙,๐๐๐ บาท
งบประมาณรายจ่ายประจำปี ๒๕๔๕ ลดลงจากงบประมาณรายจ่ายปี ๒๕๔๔
เป็นจำนวนเงิน ๙,๖๖๕,๑๕๓,๘๐๐ บาท
รายการปรับลดของกรมทางหลวงเนื่องจากสาเหตุดังนี้
๑. การประกวดราคาต่ำกว่างบประมาณที่ตั้งไว้
๒. ผลการดำเนินงานล่าช้า ไม่สามารถเบิกจ่ายเงินงบประมาณได้ทันปีงบประมาณ
จำนวน ๒๖ รายการ
๓. งานของกรมทางหลวงบางรายการได้ดำเนินการเสร็จสิ้นไปแล้ว จำนวน ๗ รายการ
คณะกรรมาธิการได้พิจารณาและตั้งข้อสังเกต ดังนี้
๑. งบประมาณรายจ่ายประจำปี ๒๕๔๕ เมื่อเปรียบเทียบกับงานที่จะต้องดำเนินการนั้น
ถือว่ายังไม่เหมาะสมกับการพัฒนา ยกตัวอย่างเช่น การพัฒนาของนิคมอุตสาหกรรมในจังหวัดต่าง ๆ
เส้นทางถนนผ่านนิคมฯ ยังไม่มีคุณภาพ ดังนั้นกรมทางหลวงควรจะปรับปรุงและพัฒนาเส้นทางผ่าน
ของนิคมอุตสาหกรรมนั้น ๆ ให้มีความพร้อมที่จะใช้งานและพยายามดูแลให้อยู่ในมาตรฐาน
๒. การบำรุงซ่อมแซมถนนของกรมทางหลวง ในการปฏิบัติงานควรจะมีมาตรการป้องกัน
ความปลอดภัยด้วย เนื่องจากในบางครั้งนั้นขณะที่ดำเนินการซ่อมแซมไม่มีเครื่องหมาย ป้าย ทำให้เกิด
อุบัติเหตุขึ้นบ่อยครั้ง
๓. คณะกรรมาธิการได้ตั้งข้อสังเกตในเรื่องงานของกรมทางหลวงว่า จากการดำเนินงาน
ที่ผ่านมานั้น กรมฯ ประสบปัญหาการดำเนินงานล่าช้าเป็นสาเหตุให้ถูกปรับลดงบประมาณลง ดังนั้น
คณะกรรมาธิการจึงได้เสนอแนวทางการปฏิบัติให้กรมฯ นำไปพิจารณาด้วยคือ สำหรับงานเก่าที่เป็น
สัญญาผูกพันนั้น ถ้าหากพิจารณาแล้วเห็นว่าผู้ประมูลไม่สามารถดำเนินการได้ให้พิจารณายกเลิกสัญญา
และสำหรับงานใหม่ กรมฯ จะต้องพิจารณาตัวผู้ประมูลราคาว่ามีความพร้อมทางด้านการดำเนินงาน
และสถานะทางการเงินเหมาะสมที่จะได้รับการพิจารณาหรือไม่ เพื่อป้องกันปัญหาผู้ชนะการประมูล
ละทิ้งงาน และในประเด็นการปรับลดนั้นจะมอบให้คณะทำงานของคณะกรรมาธิการนำไปพิจารณา
อีกครั้งเพื่อนำจำนวนเงินส่วนนี้ไปใช้ในงานอื่นที่มีความจำเป็นต่อไป
๔. คณะกรรมาธิการได้ซักถามปัญหาเกี่ยวกับการบำรุงรักษาเครื่องจักรของกรมทางหลวง
และมีข้อเสนอแนะให้กรมทางหลวงบำรุงรักษาเครื่องจักรในช่วงฤดูฝนเพราะเป็นช่วงที่กรมไม่สามารถ
ออกไปดำเนินการปรับปรุงซ่อมแซมถนนได้ แทนการบำรุงรักษาเครื่องจักรช่วงฤดูแล้ง ที่กรมฯ สามารถ
ดำเนินการซ่อมแซมถนนได้อยู่แล้ว ซึ่งกรมฯ ได้ชี้แจงว่าขณะนี้กรมได้บำรุงรักษาเครื่องจักรพร้อมที่จะ
ดำเนินการได้แล้วประมาณ ๗๐ เปอร์เซ็นต์
กรมไปรษณีย์โทรเลข
งบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้ ๑๓๓,๒๑๘,๐๐๐ บาท
ไม่มีรายการปรับลด
ก. แผนงานสื่อสารโทรคมนาคม ๑๓๓,๒๑๘,๐๐๐ บาท
งบประมาณรายจ่ายปี ๒๕๔๕ เพิ่มขึ้นจากงบประมาณรายจ่ายปี ๒๕๔๔
เป็นเงิน ๑,๓๒๓,๖๐๐ บาท
คณะกรรมาธิการได้พิจารณาและมิได้ตั้งข้อสังเกต
กรมไปรษณีย์โทรเลขได้มีนโยบายปรับเปลี่ยนเป็นสำนักงานกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
ดังนั้นงบประมาณที่จัดสรรไว้จึงเป็นงบประมาณที่ใช้จ่ายประจำ โดยไม่มีงบประมาณการลงทุน
กรมอุตุนิยมวิทยา
งบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้ ๗๓๖,๗๘๙,๐๐๐ บาท
มีรายการปรับลด ๑๘,๗๕๖,๓๐๐ บาท
คงเหลือ ๗๑๘,๐๓๒,๗๐๐ บาท
ก. แผนงานบริการของรัฐ ๗๓๖,๗๘๙,๐๐๐ บาท
งบประมาณรายจ่ายปี ๒๕๔๕ ลดลงจากงบประมาณรายจ่ายปี ๒๕๔๔
เป็นเงิน ๑๗,๕๒๘,๓๐๐ บาท
ปรับลดเนื่องจากปรับตามราคามาตรฐานและการดำเนินการล่าช่าคาดว่าไม่สามารถ
เบิกจ่ายได้ทัน
คณะกรรมาธิการได้พิจารณาและตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับการใช้ภาษาในการรายงาน
พยากรณ์อากาศว่าควรจะใช้คำที่สามารถสื่อความหมายได้ชัดเจน และควรหลีกเลี่ยงการใช้ศัพท์เฉพาะ
เพราะอาจสร้างความเข้าใจผิดแก่ประชาชนทั่วไปได้
งบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้ ๑,๐๒๓,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
ปรับลด ๔,๘๓๔,๖๕๘,๕๐๐ บาท
คงเหลือ ๑,๐๑๘,๑๖๕,๓๔๑,๕๐๐ บาท
หมายเหตุ ยอด ณ วันศุกร์ที่ ๓ สิงหาคม ๒๕๔๕
งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๕
ครั้งที่ ๒๑
วันศุกร์ที่ ๓ เดือนสิงหาคม ๒๕๔๔
ณ ห้องประชุมงบประมาณ ชั้น ๓ อาคารรัฐสภา ๓
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
---------------------------------
คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๔๕ โดยมีการพิจารณากระทรวงคมนาคม ในส่วนของกรมเจ้าท่า กรมทางหลวง กรมไปรษณีย์โทรเลข
และกรมอุตุนิยมวิทยา ซึ่งสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
กรมเจ้าท่า
งบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้ ๒,๒๓๓,๓๕๗,๐๐๐ บาท
รายการปรับลด ๙๘,๑๐๘,๓๐๐ บาท
คงเหลือ ๒,๑๓๕,๒๔๘,๗๐๐ บาท
ก. แผนงานขนส่งทางน้ำ ๒,๒๑๘,๓๕๗,๐๐๐ บาท
ข. แผนงานส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยว ๑๕,๐๐๐,๐๐๐ บาท
คณะกรรมาธิการได้พิจารณาและตั้งข้อสังเกตสรุปได้ดังนี้
๑. แผนงานส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยว โครงการปรับปรุงท่าเรือเกาะตะรุเตาเพื่อ
การท่องเที่ยว นับเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวในจังหวัดสตูลและจังหวัดใกล้เคียงให้เป็นที่รู้จักของ
นักท่องเที่ยว และบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน โดยสามารถสร้างรายได้อย่างสูงให้กับรัฐบาล
คณะกรรมาธิการจึงเห็นสมควรและสนับสนุนการใช้งบประมาณดำเนินโครงการดังกล่าว
๒. จังหวัดอุบลราชธานีไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณปี ๒๕๔๕ ทั้งที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว
สำคัญและเป็นศูนย์รวมของโครงการพระราชดำริ ดังนั้นสำนักงบประมาณต้องจัดสรรงบฯ เพิ่มเติมให้
ในส่วนนี้ รวมทั้งเสนอให้สำรวจพื้นที่ตลิ่ง บนเกาะเทโพ จังหวัดอุทัยธานี เนื่องจากประชาชนกำลังได้รับ
ความเดือดร้อนอย่างมาก ทั้งนี้จะได้ทำการของบฯ ป้องกันตลิ่งพังมาพัฒนาดำเนินการต่อไป
๓. การออกใบอนุญาตประกอบธุรกิจดูดทราย กรมเจ้าท่าจะต้องกำหนดนโยบายชัดเจน
ในการตรวจสอบและประเมินผลผู้ประกอบการที่มาขอใบอนุญาตอย่างเข้มงวดด้วยวิธีการคัดเลือกที่
ยุติธรรม เพราะที่ผ่านมาการอนุญาตประกอบธุรกิจดูดทราย ส่งผลกระทบทำให้ตลิ่งพัง และเมื่อตลิ่งพัง
ก็จำเป็นต้องของบฯ ไปดำเนินการ ดังนั้นกรมฯ จะต้องมุ่งมั่นอบรมบุคลากรและปลูกจิตสำนึกให้บุคลาการ
ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความผิดชอบ
กรมทางหลวง
งบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้ ๓๑,๓๕๕,๖๗๑,๐๐๐ บาท
รายการปรับลด ๑,๑๗๕,๓๖๒,๐๐๐ บาท
คงเหลือ ๓๐,๑๘๐,๓๐๙,๐๐๐ บาท
งบประมาณรายจ่ายประจำปี ๒๕๔๕ ลดลงจากงบประมาณรายจ่ายปี ๒๕๔๔
เป็นจำนวนเงิน ๙,๖๖๕,๑๕๓,๘๐๐ บาท
รายการปรับลดของกรมทางหลวงเนื่องจากสาเหตุดังนี้
๑. การประกวดราคาต่ำกว่างบประมาณที่ตั้งไว้
๒. ผลการดำเนินงานล่าช้า ไม่สามารถเบิกจ่ายเงินงบประมาณได้ทันปีงบประมาณ
จำนวน ๒๖ รายการ
๓. งานของกรมทางหลวงบางรายการได้ดำเนินการเสร็จสิ้นไปแล้ว จำนวน ๗ รายการ
คณะกรรมาธิการได้พิจารณาและตั้งข้อสังเกต ดังนี้
๑. งบประมาณรายจ่ายประจำปี ๒๕๔๕ เมื่อเปรียบเทียบกับงานที่จะต้องดำเนินการนั้น
ถือว่ายังไม่เหมาะสมกับการพัฒนา ยกตัวอย่างเช่น การพัฒนาของนิคมอุตสาหกรรมในจังหวัดต่าง ๆ
เส้นทางถนนผ่านนิคมฯ ยังไม่มีคุณภาพ ดังนั้นกรมทางหลวงควรจะปรับปรุงและพัฒนาเส้นทางผ่าน
ของนิคมอุตสาหกรรมนั้น ๆ ให้มีความพร้อมที่จะใช้งานและพยายามดูแลให้อยู่ในมาตรฐาน
๒. การบำรุงซ่อมแซมถนนของกรมทางหลวง ในการปฏิบัติงานควรจะมีมาตรการป้องกัน
ความปลอดภัยด้วย เนื่องจากในบางครั้งนั้นขณะที่ดำเนินการซ่อมแซมไม่มีเครื่องหมาย ป้าย ทำให้เกิด
อุบัติเหตุขึ้นบ่อยครั้ง
๓. คณะกรรมาธิการได้ตั้งข้อสังเกตในเรื่องงานของกรมทางหลวงว่า จากการดำเนินงาน
ที่ผ่านมานั้น กรมฯ ประสบปัญหาการดำเนินงานล่าช้าเป็นสาเหตุให้ถูกปรับลดงบประมาณลง ดังนั้น
คณะกรรมาธิการจึงได้เสนอแนวทางการปฏิบัติให้กรมฯ นำไปพิจารณาด้วยคือ สำหรับงานเก่าที่เป็น
สัญญาผูกพันนั้น ถ้าหากพิจารณาแล้วเห็นว่าผู้ประมูลไม่สามารถดำเนินการได้ให้พิจารณายกเลิกสัญญา
และสำหรับงานใหม่ กรมฯ จะต้องพิจารณาตัวผู้ประมูลราคาว่ามีความพร้อมทางด้านการดำเนินงาน
และสถานะทางการเงินเหมาะสมที่จะได้รับการพิจารณาหรือไม่ เพื่อป้องกันปัญหาผู้ชนะการประมูล
ละทิ้งงาน และในประเด็นการปรับลดนั้นจะมอบให้คณะทำงานของคณะกรรมาธิการนำไปพิจารณา
อีกครั้งเพื่อนำจำนวนเงินส่วนนี้ไปใช้ในงานอื่นที่มีความจำเป็นต่อไป
๔. คณะกรรมาธิการได้ซักถามปัญหาเกี่ยวกับการบำรุงรักษาเครื่องจักรของกรมทางหลวง
และมีข้อเสนอแนะให้กรมทางหลวงบำรุงรักษาเครื่องจักรในช่วงฤดูฝนเพราะเป็นช่วงที่กรมไม่สามารถ
ออกไปดำเนินการปรับปรุงซ่อมแซมถนนได้ แทนการบำรุงรักษาเครื่องจักรช่วงฤดูแล้ง ที่กรมฯ สามารถ
ดำเนินการซ่อมแซมถนนได้อยู่แล้ว ซึ่งกรมฯ ได้ชี้แจงว่าขณะนี้กรมได้บำรุงรักษาเครื่องจักรพร้อมที่จะ
ดำเนินการได้แล้วประมาณ ๗๐ เปอร์เซ็นต์
กรมไปรษณีย์โทรเลข
งบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้ ๑๓๓,๒๑๘,๐๐๐ บาท
ไม่มีรายการปรับลด
ก. แผนงานสื่อสารโทรคมนาคม ๑๓๓,๒๑๘,๐๐๐ บาท
งบประมาณรายจ่ายปี ๒๕๔๕ เพิ่มขึ้นจากงบประมาณรายจ่ายปี ๒๕๔๔
เป็นเงิน ๑,๓๒๓,๖๐๐ บาท
คณะกรรมาธิการได้พิจารณาและมิได้ตั้งข้อสังเกต
กรมไปรษณีย์โทรเลขได้มีนโยบายปรับเปลี่ยนเป็นสำนักงานกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
ดังนั้นงบประมาณที่จัดสรรไว้จึงเป็นงบประมาณที่ใช้จ่ายประจำ โดยไม่มีงบประมาณการลงทุน
กรมอุตุนิยมวิทยา
งบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้ ๗๓๖,๗๘๙,๐๐๐ บาท
มีรายการปรับลด ๑๘,๗๕๖,๓๐๐ บาท
คงเหลือ ๗๑๘,๐๓๒,๗๐๐ บาท
ก. แผนงานบริการของรัฐ ๗๓๖,๗๘๙,๐๐๐ บาท
งบประมาณรายจ่ายปี ๒๕๔๕ ลดลงจากงบประมาณรายจ่ายปี ๒๕๔๔
เป็นเงิน ๑๗,๕๒๘,๓๐๐ บาท
ปรับลดเนื่องจากปรับตามราคามาตรฐานและการดำเนินการล่าช่าคาดว่าไม่สามารถ
เบิกจ่ายได้ทัน
คณะกรรมาธิการได้พิจารณาและตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับการใช้ภาษาในการรายงาน
พยากรณ์อากาศว่าควรจะใช้คำที่สามารถสื่อความหมายได้ชัดเจน และควรหลีกเลี่ยงการใช้ศัพท์เฉพาะ
เพราะอาจสร้างความเข้าใจผิดแก่ประชาชนทั่วไปได้
งบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้ ๑,๐๒๓,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
ปรับลด ๔,๘๓๔,๖๕๘,๕๐๐ บาท
คงเหลือ ๑,๐๑๘,๑๖๕,๓๔๑,๕๐๐ บาท
หมายเหตุ ยอด ณ วันศุกร์ที่ ๓ สิงหาคม ๒๕๔๕