1. สถานการณ์การผลิต วิธีลดต้นทุนการเลี้ยงกุ้ง
การใช้ปูนในการเตรียมบ่อเพื่อปล่อยกุ้งมักจะมีปัญหาหลายอย่าง เช่น น้ำมีค่าพีเอชแกว่ง กุ้งลอกคราบไม่ออก มีซูเกาะที่ลำตัว ซึ่งเป็นปัญหามาก ทำให้ผลผลิตตกต่ำ บางรุ่นเลี้ยงยังไม่ทันโตเต็มที่ ก็ต้องจับขายเสียก่อน ดังนั้น ก่อนปล่อยลูกกุ้งให้ตรวจกรด-ด่างของดินและน้ำก่อน ถ้าพบว่ามีความเป็นด่างสูงพอแล้วไม่ต้องใส่ปูน ให้สร้างอาหารธรรมชาติก่อนปล่อยลูกกุ้ง โดยใช้สเม็คไทต์ผง 20 กิโลกรัมต่อไร่ ใส่บาซิลลัส ซับติลิส สุริยาโน่ 1 กิโลกรัมต่อไร่ ตีน้ำเต็มที่ก่อนปล่อยลูกกุ้ง 4 วัน จะเกิดไรน้ำ หนอนแดง สัตว์หน้าดิน เบนโธสจำนวนมาก ลูกกุ้งจะติดดีมาก แทบไม่ตายเลย และสิ้นเปลืองอาหารลูกกุ้งวัยอ่อนน้อยมาก
ส่วนช่วงระยะเวลาการเลี้ยง ต้องรักษาพื้นบ่อไม่ให้เน่าเหม็น โดยใช้อาหารกุ้ง 95 ส่วน คลุกกับสเม็คไทต์ผง 5 ส่วน แก้ปัญหาสารพิษในอาหารกุ้ง ไม่ให้เกิดโรคขี้ขาว ไม่มีปัญหาขี้กุ้งขาดตอน เมื่อกุ้งลอกคราบ เปลือกใหม่ของกุ้งจะสมบูรณ์ดีมาก โดยทุกสัปดาห์ให้หว่านบาซิลลัส ซับติลิส สุริยาโน่ 1 กิโลกรัม ต่อไร่ เพื่อช่วยย่อยขี้กุ้งและอาหารตกค้าง ไม่เกิดเลนสารอินทรีย์ตกค้างที่พื้นบ่อ เมื่อกุ้งโตขึ้นให้หว่านสเม็คไทต์ชนิดเม็ด 20 กิโลกรัมต่อไร่ ทุกสัปดาห์ หรือถี่กว่านี้และต้องให้อาหารมากขึ้นด้วย วิธีนี้จะทำให้ลดต้นทุนการผลิตได้ถึง 3 เท่า
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (29 มค.-8 กพ. 2544) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูล จำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 2,391.87 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 1,146.11 ตัน สัตว์น้ำจืด 1,245.76 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
ส่งเข้าประมูลจำหน่าย (ตัน) 1.1 ปลาดุก 11.62 1.2 ปลาช่อน 14.66 1.3 กุ้งทะเล 98.59 1.4 ปลาทู 181.44 1.5 ปลาหมึก 91.98
2. สถานการณ์การตลาด
ราคาทูน่าปรับขึ้น ดันยอดส่งออกขยับ
สินค้าปลาทูน่าเป็นปลากระป๋องยอดนิยมอันดับ 1 ของโลก ซึ่งเป็นสินค้า ส่งออกที่สำคัญของไทย โดยมีสัดส่วนในตลาดปลากระป๋องถึง 69% นอกนั้นเป็นปลากระป๋องอื่น ๆ 16% ปลาซาร์ดีน 11% และปลาแมคคอเรล 4%
อย่างไรก็ดีภาวะตลาดปลาทูน่ากระป๋องซบเซาลงมาตั้งแต่ปี 2540 อันเป็นผลมาจากภาวะเศรษฐกิจของโลกและราคาวัตถุดิบปลาทูน่าที่ลดต่ำลง แต่นับจากปีใหม่ 2544 นี้เป็นต้นมา ราคาปลาทูน่าในตลาดกรุงเทพฯ มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น โดยมีการซื้อขายอิงราคาในตลาดโลก
สาเหตุที่ราคาปลาทูน่าสูงขึ้นในระยะเวลาสั้น เป็นผลสืบเนื่องจากการร่วมมือกันแก้ปัญหาของประเทศเจ้าของกองเรือประมงทูน่าที่สำคัญของโลก ได้ประชุมกันที่ประเทศฟิลิปปินส์และบรรจุข้อตกลงที่สำคัญคือ มีการตั้งองค์การขึ้นมาดูแลแก้ปัญหาหรือ World Tuna Purse Seine Organization โดยกำหนดเป้าหมายลดปริมาณการจับ ปลาทูน่าลงเมื่อเดือนธันวาคม 2543 ทำให้ปัญหาการจับปลาทูน่า ซึ่งมากเกินความต้องการของตลาดโลกชะลอตัวลงอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับความต้องการใช้ของโรงงานอุตสาหกรรม และเมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา (5 กพ.) เจ้าของเรือจับปลาทูน่า ได้มีการหารือกันเพิ่มเติมถึงแผนการลดปริมาณการจับปลาต่อเนื่องไปจนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2544 ทั้งนี้ มี
ป้าหมายเพื่อกระตุ้นให้ตลาดมีความต้องการสินค้ามากขึ้น ภายหลังจากที่มีมติที่ประชุมครั้งแรก ส่งผลให้มีการระบายสินค้าในสต๊อกออกไปจำนวนมาก และทำให้ราคาปลาทูน่าในตลาดปรับตัวดีขึ้นดังกล่าว
ความเคลื่อนไหวดังกล่าวนี้ ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมทูน่าไทยมองว่า จะทำให้ราคาปลาทูน่าในปีนี้มีเสถียรภาพมากยิ่งขึ้นและมีแนวโน้มว่าจะทำให้ราคาอยู่ในระดับที่ทรงตัวในระยะยาว โดยคาดว่าราคาวัตถุดิบปลาทูน่าหรือปลาทูน่าสกิ๊ปแจ็ค จะปรับตัวสูงขึ้นไปอยู่ที่ตันละ 700-800 เหรียญสหรัฐ (เอฟ โอ บี ตลาดกรุงเทพฯ) ซึ่งระดับ
ราคาดังกล่าวสูงกว่าเป้าหมายที่องค์การที่ตั้งขึ้นมาแก้ปัญหาราคาปลาทูน่าเมื่อเดือนธันวาคม 2543
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.38 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 27.08 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.70 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯเฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 37.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.00 บาท
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 45.73 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 48.67 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.94 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 71.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 71.43 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.43 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ กุ้งกุลาดำสดขนาดกลางราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 328.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 343.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 15.00 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ490.45 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 490.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.45 บาท
2.4 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ
16.19 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 17.26 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.07 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.5 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดชาวประมงขายได้ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 65.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 57.50 บาท ของสัปดาห์ก่อน 7.50 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ
79.54 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 82.86 บาท ของสัปดาห์ก่อน 3.32 บาท
2.6 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 3.15 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 3.16 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.01 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีน 58% ขึ้นไป (ระหว่างวันที่ 12 -16กพ.44 ) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 19.60 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 6 ประจำวันที่ 12-18 ก.พ. 2544--
-สส-
การใช้ปูนในการเตรียมบ่อเพื่อปล่อยกุ้งมักจะมีปัญหาหลายอย่าง เช่น น้ำมีค่าพีเอชแกว่ง กุ้งลอกคราบไม่ออก มีซูเกาะที่ลำตัว ซึ่งเป็นปัญหามาก ทำให้ผลผลิตตกต่ำ บางรุ่นเลี้ยงยังไม่ทันโตเต็มที่ ก็ต้องจับขายเสียก่อน ดังนั้น ก่อนปล่อยลูกกุ้งให้ตรวจกรด-ด่างของดินและน้ำก่อน ถ้าพบว่ามีความเป็นด่างสูงพอแล้วไม่ต้องใส่ปูน ให้สร้างอาหารธรรมชาติก่อนปล่อยลูกกุ้ง โดยใช้สเม็คไทต์ผง 20 กิโลกรัมต่อไร่ ใส่บาซิลลัส ซับติลิส สุริยาโน่ 1 กิโลกรัมต่อไร่ ตีน้ำเต็มที่ก่อนปล่อยลูกกุ้ง 4 วัน จะเกิดไรน้ำ หนอนแดง สัตว์หน้าดิน เบนโธสจำนวนมาก ลูกกุ้งจะติดดีมาก แทบไม่ตายเลย และสิ้นเปลืองอาหารลูกกุ้งวัยอ่อนน้อยมาก
ส่วนช่วงระยะเวลาการเลี้ยง ต้องรักษาพื้นบ่อไม่ให้เน่าเหม็น โดยใช้อาหารกุ้ง 95 ส่วน คลุกกับสเม็คไทต์ผง 5 ส่วน แก้ปัญหาสารพิษในอาหารกุ้ง ไม่ให้เกิดโรคขี้ขาว ไม่มีปัญหาขี้กุ้งขาดตอน เมื่อกุ้งลอกคราบ เปลือกใหม่ของกุ้งจะสมบูรณ์ดีมาก โดยทุกสัปดาห์ให้หว่านบาซิลลัส ซับติลิส สุริยาโน่ 1 กิโลกรัม ต่อไร่ เพื่อช่วยย่อยขี้กุ้งและอาหารตกค้าง ไม่เกิดเลนสารอินทรีย์ตกค้างที่พื้นบ่อ เมื่อกุ้งโตขึ้นให้หว่านสเม็คไทต์ชนิดเม็ด 20 กิโลกรัมต่อไร่ ทุกสัปดาห์ หรือถี่กว่านี้และต้องให้อาหารมากขึ้นด้วย วิธีนี้จะทำให้ลดต้นทุนการผลิตได้ถึง 3 เท่า
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (29 มค.-8 กพ. 2544) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูล จำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 2,391.87 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 1,146.11 ตัน สัตว์น้ำจืด 1,245.76 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
ส่งเข้าประมูลจำหน่าย (ตัน) 1.1 ปลาดุก 11.62 1.2 ปลาช่อน 14.66 1.3 กุ้งทะเล 98.59 1.4 ปลาทู 181.44 1.5 ปลาหมึก 91.98
2. สถานการณ์การตลาด
ราคาทูน่าปรับขึ้น ดันยอดส่งออกขยับ
สินค้าปลาทูน่าเป็นปลากระป๋องยอดนิยมอันดับ 1 ของโลก ซึ่งเป็นสินค้า ส่งออกที่สำคัญของไทย โดยมีสัดส่วนในตลาดปลากระป๋องถึง 69% นอกนั้นเป็นปลากระป๋องอื่น ๆ 16% ปลาซาร์ดีน 11% และปลาแมคคอเรล 4%
อย่างไรก็ดีภาวะตลาดปลาทูน่ากระป๋องซบเซาลงมาตั้งแต่ปี 2540 อันเป็นผลมาจากภาวะเศรษฐกิจของโลกและราคาวัตถุดิบปลาทูน่าที่ลดต่ำลง แต่นับจากปีใหม่ 2544 นี้เป็นต้นมา ราคาปลาทูน่าในตลาดกรุงเทพฯ มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น โดยมีการซื้อขายอิงราคาในตลาดโลก
สาเหตุที่ราคาปลาทูน่าสูงขึ้นในระยะเวลาสั้น เป็นผลสืบเนื่องจากการร่วมมือกันแก้ปัญหาของประเทศเจ้าของกองเรือประมงทูน่าที่สำคัญของโลก ได้ประชุมกันที่ประเทศฟิลิปปินส์และบรรจุข้อตกลงที่สำคัญคือ มีการตั้งองค์การขึ้นมาดูแลแก้ปัญหาหรือ World Tuna Purse Seine Organization โดยกำหนดเป้าหมายลดปริมาณการจับ ปลาทูน่าลงเมื่อเดือนธันวาคม 2543 ทำให้ปัญหาการจับปลาทูน่า ซึ่งมากเกินความต้องการของตลาดโลกชะลอตัวลงอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับความต้องการใช้ของโรงงานอุตสาหกรรม และเมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา (5 กพ.) เจ้าของเรือจับปลาทูน่า ได้มีการหารือกันเพิ่มเติมถึงแผนการลดปริมาณการจับปลาต่อเนื่องไปจนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2544 ทั้งนี้ มี
ป้าหมายเพื่อกระตุ้นให้ตลาดมีความต้องการสินค้ามากขึ้น ภายหลังจากที่มีมติที่ประชุมครั้งแรก ส่งผลให้มีการระบายสินค้าในสต๊อกออกไปจำนวนมาก และทำให้ราคาปลาทูน่าในตลาดปรับตัวดีขึ้นดังกล่าว
ความเคลื่อนไหวดังกล่าวนี้ ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมทูน่าไทยมองว่า จะทำให้ราคาปลาทูน่าในปีนี้มีเสถียรภาพมากยิ่งขึ้นและมีแนวโน้มว่าจะทำให้ราคาอยู่ในระดับที่ทรงตัวในระยะยาว โดยคาดว่าราคาวัตถุดิบปลาทูน่าหรือปลาทูน่าสกิ๊ปแจ็ค จะปรับตัวสูงขึ้นไปอยู่ที่ตันละ 700-800 เหรียญสหรัฐ (เอฟ โอ บี ตลาดกรุงเทพฯ) ซึ่งระดับ
ราคาดังกล่าวสูงกว่าเป้าหมายที่องค์การที่ตั้งขึ้นมาแก้ปัญหาราคาปลาทูน่าเมื่อเดือนธันวาคม 2543
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.38 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 27.08 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.70 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯเฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 37.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.00 บาท
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 45.73 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 48.67 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.94 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 71.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 71.43 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.43 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ กุ้งกุลาดำสดขนาดกลางราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 328.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 343.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 15.00 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ490.45 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 490.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.45 บาท
2.4 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ
16.19 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 17.26 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.07 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.5 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดชาวประมงขายได้ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 65.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 57.50 บาท ของสัปดาห์ก่อน 7.50 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ
79.54 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 82.86 บาท ของสัปดาห์ก่อน 3.32 บาท
2.6 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 3.15 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 3.16 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.01 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีน 58% ขึ้นไป (ระหว่างวันที่ 12 -16กพ.44 ) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 19.60 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 6 ประจำวันที่ 12-18 ก.พ. 2544--
-สส-