นายเกริกไกร จีระแพทย์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศได้เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 14 เมษายน 2543 คณะกรรมการการค้าของสหรัฐฯ (International Trade Commission — ITC) จำนวน 6 คนได้ประชุมพิจารณาสรุปผลการไต่สวนเบื้องต้น กรณีอุตสาหกรรมผู้ผลิตภายในของสหรัฐอเมริกา กล่าวหาว่าการนำเข้าสินค้า Steel wire rope จากประเทศไทย จีน อินเดีย และ มาเลเซีย รวม 4 ประเทศ มีการทุ่มตลาดและก่อให้เกิดความเสียหายต่ออุตสาหกรรมการผลิตภายใน โดยผลการพิจารณาสรุปออกมาว่า กรณีของประเทศไทย คณะกรรมการ 5 ใน 6 เห็นว่าการนำเข้าสินค้าดังกล่าวจากประเทศไทยไม่มีผลกระทบต่อความเสียหายในปัจจุบันและไม่ก่อให้เกิดความเสียหาย การนำเข้ามีจำนวนต่ำกว่าร้อยละ 3 ของการนำเข้าทั้งหมดของสหรัฐฯ ถือว่าเป็นจำนวนเล็กน้อยไม่มีผลกระทบ ซึ่งผลการพิจารณาที่ออกมาเช่นนี้ คณะกรรมการจะได้ยุติการไต่สวนกรณีของประเทศไทย
สำหรับกรณีของจีน อินเดีย และมาเลเซีย คณะกรรมการมีมติเป็นเอกฉันท์ให้เปิดการไต่สวนต่อไปเนื่องจากผลการไต่สวนเบื้องต้นพบว่า มีสิ่งชี้บอกที่เชื่อได้ว่าการนำเข้าจากประเทศดังกล่าวก่อให้ความเสียหายต่ออุตสาหกรรมภายในของสหรัฐฯ
อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศได้เปิดเผยรายละเอียดว่า เมื่อวันที่ 1 มีนาคม ศกนี้ ภาคเอกชนโดยคณะกรรมการว่าด้วยการผลิตลวดเหล็กและกลุ่มผู้ผลิตสายเคเบิล ภายในของสหรัฐฯ ได้ยื่นฟ้องต่อคณะกรรมการการค้าสหรัฐฯ กล่าวหาว่ามีการทุ่มตลาดสินค้าเหล็ก steel wire rope จากประเทศไทยและประเทศอื่นรวม 4 ประเทศ สินค้าดังกล่าวอยู่ในพิกัดภาษีศุลกากรสหรัฐอเมริกาที่ HS 7312.10.6030 ,...6060, ...9030, …9060, ...9090 สำหรับสินค้าจากประเทศไทยมีอัตราการทุ่มตลาด อยู่ในระดับร้อยละ 49-69 คณะกรรมการได้เปิดการพิจารณาว่ามีเหตุผลเพียงพอที่จะชี้ว่าอุตสาหกรรมภายในสหรัฐฯ ได้รับความเสียหาย หรืออาจทำให้อุตสาหกรรมต้องชะงักงัน จากการนำเข้าจริงหรือไม่ โดย คณะกรรมการได้ใช้เวลาการไต่สวนเป็นเวลา 45 วัน ในคำร้องกล่าวหาประเทศไทย ผู้ฟ้องร้องได้ใช้ข้อมูลการนำเข้าสินค้าพิกัด 7312.10.9030 และ 7312.10.9060 จากศุลกากรของสหรัฐฯ ในเดือน ธันวาคม 2542 คำนวณหาราคาส่งออก (Export Price ) ส่วนมูลค่าปกติ (Normal value) ได้ใช้ราคาที่บริษัทไทยเสนอ (Quotes) ในการขายออกไปต่างประเทศ หักค่าด้วยค่าใช้จ่ายบางประการ และในการคำนวณหาอัตราการทุ่มตลาด และเชื่อได้ว่ามีการนำเข้าสินค้าและขายในราคาต่ำกว่าที่ควร
บริษัทผู้ผลิตของไทยที่ถูกกล่าวหามีทั้งหมด 6 บริษัท แต่มีเพียง 2 บริษัทเท่านั้นที่ผลิตและส่งสินค้าดังกล่าวไปสหรัฐฯ ไทยส่งสินค้า stranded wire, rope, cables พิกัด 7312 ไปอเมริกา ในปี 2541 และ 2542 ปริมาณ 3,811 และ 7,808 ตัน เป็นมูลค่า 162.8 และ 224.2 ล้านบาท ตามลำดับ
อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศยังได้เปิดเผยต่อไปอีกว่า สหรัฐฯ เคยเปิดไต่สวนเพื่อเรียกเก็บอากรตอบโต้การทุ่มตลาดและอุดหนุนการทุ่มตลาด สินค้า steel wire rope จากประเทศไทยมาแล้วครั้งหนึ่งในปี 2533 โดยกล่าวหา บริษัทไทย 2 ราย ทุ่มตลาดในอัตรา ร้อยละ 30.2 และ24.46 ตามลำดับ
ในครั้งนั้น ไทยได้ต่อสู้โดยใช้แนวทางในการพิสูจน์ด้านความเสียหายที่เกิดกับอุตสาหกรรมภายในสหรัฐฯ จนในที่สุด ITC ประกาศผลขั้นสุดท้ายโดยเรียกเก็บอากรการทุ่มตลาดบริษัทไทยเพียงบริษัทเดียว เท่ากับร้อยละ 0.56 ต่อมาในปลายปี 2539 สหรัฐฯ ประกาศทบทวนความเสียหาย (injury test review) และอุตสาหกรรมภายในได้ร้องขอให้คงมาตรการไว้อย่างเดิม อย่างไรก็ดี เมื่อเดือน มกราคม 2541 อุตสาหกรรมภายในได้ถอนคำฟ้องร้อง และกระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ ได้ประกาศยุติมาตรการ การเก็บอากรตอบโต้การอุดหนุนการทุ่มตลาดสินค้า steel wire rope จากประเทศไทย
ปัจจุบันสหรัฐอเมริกายังมีการเรียกเก็บอากรตอบโต้การทุ่มตลาดสินค้าจากประเทศไทยอีก 4 รายการคือ เฟอฟูริลแอลกอฮอล์ (7.82 %) สับปะรดกระป๋อง (3.25-24.64 %) ข้อต่อเหล็กชนิด Butt-weld (10.68-50.84 %) และ ท่อเหล็ก ( 15.60-15.69 %)
--กรมการค้าต่างประเทศ พฤษภาคม 2543--
-อน-
สำหรับกรณีของจีน อินเดีย และมาเลเซีย คณะกรรมการมีมติเป็นเอกฉันท์ให้เปิดการไต่สวนต่อไปเนื่องจากผลการไต่สวนเบื้องต้นพบว่า มีสิ่งชี้บอกที่เชื่อได้ว่าการนำเข้าจากประเทศดังกล่าวก่อให้ความเสียหายต่ออุตสาหกรรมภายในของสหรัฐฯ
อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศได้เปิดเผยรายละเอียดว่า เมื่อวันที่ 1 มีนาคม ศกนี้ ภาคเอกชนโดยคณะกรรมการว่าด้วยการผลิตลวดเหล็กและกลุ่มผู้ผลิตสายเคเบิล ภายในของสหรัฐฯ ได้ยื่นฟ้องต่อคณะกรรมการการค้าสหรัฐฯ กล่าวหาว่ามีการทุ่มตลาดสินค้าเหล็ก steel wire rope จากประเทศไทยและประเทศอื่นรวม 4 ประเทศ สินค้าดังกล่าวอยู่ในพิกัดภาษีศุลกากรสหรัฐอเมริกาที่ HS 7312.10.6030 ,...6060, ...9030, …9060, ...9090 สำหรับสินค้าจากประเทศไทยมีอัตราการทุ่มตลาด อยู่ในระดับร้อยละ 49-69 คณะกรรมการได้เปิดการพิจารณาว่ามีเหตุผลเพียงพอที่จะชี้ว่าอุตสาหกรรมภายในสหรัฐฯ ได้รับความเสียหาย หรืออาจทำให้อุตสาหกรรมต้องชะงักงัน จากการนำเข้าจริงหรือไม่ โดย คณะกรรมการได้ใช้เวลาการไต่สวนเป็นเวลา 45 วัน ในคำร้องกล่าวหาประเทศไทย ผู้ฟ้องร้องได้ใช้ข้อมูลการนำเข้าสินค้าพิกัด 7312.10.9030 และ 7312.10.9060 จากศุลกากรของสหรัฐฯ ในเดือน ธันวาคม 2542 คำนวณหาราคาส่งออก (Export Price ) ส่วนมูลค่าปกติ (Normal value) ได้ใช้ราคาที่บริษัทไทยเสนอ (Quotes) ในการขายออกไปต่างประเทศ หักค่าด้วยค่าใช้จ่ายบางประการ และในการคำนวณหาอัตราการทุ่มตลาด และเชื่อได้ว่ามีการนำเข้าสินค้าและขายในราคาต่ำกว่าที่ควร
บริษัทผู้ผลิตของไทยที่ถูกกล่าวหามีทั้งหมด 6 บริษัท แต่มีเพียง 2 บริษัทเท่านั้นที่ผลิตและส่งสินค้าดังกล่าวไปสหรัฐฯ ไทยส่งสินค้า stranded wire, rope, cables พิกัด 7312 ไปอเมริกา ในปี 2541 และ 2542 ปริมาณ 3,811 และ 7,808 ตัน เป็นมูลค่า 162.8 และ 224.2 ล้านบาท ตามลำดับ
อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศยังได้เปิดเผยต่อไปอีกว่า สหรัฐฯ เคยเปิดไต่สวนเพื่อเรียกเก็บอากรตอบโต้การทุ่มตลาดและอุดหนุนการทุ่มตลาด สินค้า steel wire rope จากประเทศไทยมาแล้วครั้งหนึ่งในปี 2533 โดยกล่าวหา บริษัทไทย 2 ราย ทุ่มตลาดในอัตรา ร้อยละ 30.2 และ24.46 ตามลำดับ
ในครั้งนั้น ไทยได้ต่อสู้โดยใช้แนวทางในการพิสูจน์ด้านความเสียหายที่เกิดกับอุตสาหกรรมภายในสหรัฐฯ จนในที่สุด ITC ประกาศผลขั้นสุดท้ายโดยเรียกเก็บอากรการทุ่มตลาดบริษัทไทยเพียงบริษัทเดียว เท่ากับร้อยละ 0.56 ต่อมาในปลายปี 2539 สหรัฐฯ ประกาศทบทวนความเสียหาย (injury test review) และอุตสาหกรรมภายในได้ร้องขอให้คงมาตรการไว้อย่างเดิม อย่างไรก็ดี เมื่อเดือน มกราคม 2541 อุตสาหกรรมภายในได้ถอนคำฟ้องร้อง และกระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ ได้ประกาศยุติมาตรการ การเก็บอากรตอบโต้การอุดหนุนการทุ่มตลาดสินค้า steel wire rope จากประเทศไทย
ปัจจุบันสหรัฐอเมริกายังมีการเรียกเก็บอากรตอบโต้การทุ่มตลาดสินค้าจากประเทศไทยอีก 4 รายการคือ เฟอฟูริลแอลกอฮอล์ (7.82 %) สับปะรดกระป๋อง (3.25-24.64 %) ข้อต่อเหล็กชนิด Butt-weld (10.68-50.84 %) และ ท่อเหล็ก ( 15.60-15.69 %)
--กรมการค้าต่างประเทศ พฤษภาคม 2543--
-อน-