จากรายงานภาวะการลงทุนของโลก ปี 2542 (World Investment Report 1999) ซึ่งจัดทำโดยองค์การสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (United Nations Conference on Trade and Development : UNCTAD) พบว่า ในปี 2541 การลงทุนทางตรงจากต่างประเทศหลั่งไหลเข้าสู่ภูมิภาคอาเซียนเป็นมูลค่ารวม 233.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นเกือบ 10 เท่า จากปี 2523 ประเทศในอาเซียนที่นักลงทุนต่างชาตินิยมเข้ามาลงทุน คือ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม โดยนักลงทุนต่างชาติรายใหญ่ที่เข้ามาลงทุนในกลุ่มอาเซียน ได้แก่ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป รวมทั้งสิงคโปร์ ซึ่งเป็นสมาชิกของกลุ่มอาเซียนเองด้วย
ปัจจัยสำคัญที่เกื้อหนุนต่อการลงทุนทางตรงจากต่างประเทศในกลุ่มอาเซียน ได้แก่
1. ตลาดขนาดใหญ่ ปัจจุบันอาเซียนมีสมาชิกรวมทั้งสิ้น 10 ประเทศ ประกอบด้วย บรูไน กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย พม่า ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม มีประชากรรวมกันกว่า 500 ล้านคน ส่งผลให้อาเซียนเป็นตลาดการค้าขนาดใหญ่ที่สุดในโลก นอกจากนี้ ยังมีสิงคโปร์ซึ่งเป็นศูนย์กลางการส่งออกต่อ (Re-exports) ที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลก เปรียบเสมือนประตูการค้าเชื่อมโยงอาเซียนกับทวีปยุโรปและอเมริกาอีกด้วย
2. ผลตอบแทนจากการลงทุนสูง จากการศึกษาขององค์กรและหน่วยงานต่าง ๆ อาทิ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าของญี่ปุ่น กระทรวงพาณิชย์ของสหรัฐอเมริกา และคณะกรรมาธิการยุโรป พบว่า ภูมิภาคอาเซียนเป็นแหล่งลงทุนที่ให้ผลตอบแทนสูงที่สุดแห่งหนึ่งของโลก เนื่องจากอัตราค่าจ้างแรงงานต่ำ ซึ่งช่วยลดต้นทุนในการดำเนินธุรกิจลงได้มาก
3. นโยบายส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศมีความชัดเจน
- รัฐบาลของทุกประเทศในกลุ่มอาเซียนมีนโยบายสนับสนุนการลงทุนทางตรงจากต่างประเทศที่ชัดเจน โดยเฉพาะกิจการที่ขาดแคลนบุคลากรผู้เชี่ยวชาญและใช้เทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัย อาทิ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ พลังงาน โทรคมนาคม ธุรกิจบริการและการเงิน เป็นต้น โดยมีการให้สิทธิประโยชน์ด้านภาษีแก่นักลงทุนต่างชาติหลายประการ
- กลุ่มอาเซียนได้ร่วมกันจัดตั้งเขตการลงทุนอาเซียน (ASEAN Investment Area : AIA) ขึ้นเมื่อปี 2541 โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเปิดเสรีการลงทุนในทุกอุตสาหกรรม และให้การประติบัติเยี่ยงคนชาติ (National Treatment) แก่นักลงทุนจากทุกชาติในกลุ่มอาเซียนโดยเท่าเทียมกัน
- กลุ่มอาเซียนได้ร่วมกันเสนอมาตรการเร่งรัดการลงทุนของกลุ่มอาเซียน (Bold Measures) ขึ้นเมื่อปี 2541 เพื่อเร่งรัดการเปิดเสรีการลงทุนของประเทศสมาชิกอาเซียนเดิมและพม่าให้แล้วเสร็จภายในปี 2546 ส่วนเวียดนาม ลาว และกัมพูชาให้เปิดเสรีการลงทุนให้แล้วเสร็จภายในปี 2553 นอกจากนี้ ให้สมาชิกอาเซียนทั้งหมดเร่งเปิดเสรีการลงทุนให้แก่นักลงทุนนอกกลุ่มอาเซียนให้แล้วเสร็จภายในปี 2563
ในปี 2543 หลายประเทศในกลุ่มอาเซียนเริ่มฟื้นตัวจากวิกฤติเศรษฐกิจเอเชีย และหันมาดำเนินมาตรการส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศอย่างจริงจังมากขึ้น เช่น รัฐบาลเวียดนามได้ประกาศแก้ไขกฎหมายการลงทุนหลายฉบับ และรัฐบาลฟิลิปปินส์อนุมัติกฎหมายเปิดเสรีธุรกิจค้าปลีก (Retail Trade Liberalization) เพื่อสนับสนุนการลงทุนจากต่างประเทศ เป็นต้น จึงคาดว่าการลงทุนทางตรงจากต่างประเทศในกลุ่มอาเซียนจะมีแนวโน้มขยายตัวมากขึ้น--จบ--
-อน-
ปัจจัยสำคัญที่เกื้อหนุนต่อการลงทุนทางตรงจากต่างประเทศในกลุ่มอาเซียน ได้แก่
1. ตลาดขนาดใหญ่ ปัจจุบันอาเซียนมีสมาชิกรวมทั้งสิ้น 10 ประเทศ ประกอบด้วย บรูไน กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย พม่า ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม มีประชากรรวมกันกว่า 500 ล้านคน ส่งผลให้อาเซียนเป็นตลาดการค้าขนาดใหญ่ที่สุดในโลก นอกจากนี้ ยังมีสิงคโปร์ซึ่งเป็นศูนย์กลางการส่งออกต่อ (Re-exports) ที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลก เปรียบเสมือนประตูการค้าเชื่อมโยงอาเซียนกับทวีปยุโรปและอเมริกาอีกด้วย
2. ผลตอบแทนจากการลงทุนสูง จากการศึกษาขององค์กรและหน่วยงานต่าง ๆ อาทิ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าของญี่ปุ่น กระทรวงพาณิชย์ของสหรัฐอเมริกา และคณะกรรมาธิการยุโรป พบว่า ภูมิภาคอาเซียนเป็นแหล่งลงทุนที่ให้ผลตอบแทนสูงที่สุดแห่งหนึ่งของโลก เนื่องจากอัตราค่าจ้างแรงงานต่ำ ซึ่งช่วยลดต้นทุนในการดำเนินธุรกิจลงได้มาก
3. นโยบายส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศมีความชัดเจน
- รัฐบาลของทุกประเทศในกลุ่มอาเซียนมีนโยบายสนับสนุนการลงทุนทางตรงจากต่างประเทศที่ชัดเจน โดยเฉพาะกิจการที่ขาดแคลนบุคลากรผู้เชี่ยวชาญและใช้เทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัย อาทิ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ พลังงาน โทรคมนาคม ธุรกิจบริการและการเงิน เป็นต้น โดยมีการให้สิทธิประโยชน์ด้านภาษีแก่นักลงทุนต่างชาติหลายประการ
- กลุ่มอาเซียนได้ร่วมกันจัดตั้งเขตการลงทุนอาเซียน (ASEAN Investment Area : AIA) ขึ้นเมื่อปี 2541 โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเปิดเสรีการลงทุนในทุกอุตสาหกรรม และให้การประติบัติเยี่ยงคนชาติ (National Treatment) แก่นักลงทุนจากทุกชาติในกลุ่มอาเซียนโดยเท่าเทียมกัน
- กลุ่มอาเซียนได้ร่วมกันเสนอมาตรการเร่งรัดการลงทุนของกลุ่มอาเซียน (Bold Measures) ขึ้นเมื่อปี 2541 เพื่อเร่งรัดการเปิดเสรีการลงทุนของประเทศสมาชิกอาเซียนเดิมและพม่าให้แล้วเสร็จภายในปี 2546 ส่วนเวียดนาม ลาว และกัมพูชาให้เปิดเสรีการลงทุนให้แล้วเสร็จภายในปี 2553 นอกจากนี้ ให้สมาชิกอาเซียนทั้งหมดเร่งเปิดเสรีการลงทุนให้แก่นักลงทุนนอกกลุ่มอาเซียนให้แล้วเสร็จภายในปี 2563
ในปี 2543 หลายประเทศในกลุ่มอาเซียนเริ่มฟื้นตัวจากวิกฤติเศรษฐกิจเอเชีย และหันมาดำเนินมาตรการส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศอย่างจริงจังมากขึ้น เช่น รัฐบาลเวียดนามได้ประกาศแก้ไขกฎหมายการลงทุนหลายฉบับ และรัฐบาลฟิลิปปินส์อนุมัติกฎหมายเปิดเสรีธุรกิจค้าปลีก (Retail Trade Liberalization) เพื่อสนับสนุนการลงทุนจากต่างประเทศ เป็นต้น จึงคาดว่าการลงทุนทางตรงจากต่างประเทศในกลุ่มอาเซียนจะมีแนวโน้มขยายตัวมากขึ้น--จบ--
-อน-