นายนริศ ชัยสูตร ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะหัวหน้าคณะเจรจากลุ่มบริการด้านการเงินฝ่ายไทย กล่าวว่า ในวันที่สองของการเจรจา ฝ่ายไทยได้ยกประเด็นที่มีความอ่อนไหวต่อเศรษฐกิจไทยขึ้นหารือกับฝ่ายสหรัฐฯ กล่าวคือได้หารือในมาตราที่มีในร่างของไทย แต่ไม่มีในร่างของฝ่ายสหรัฐฯซึ่งสหรัฐฯ ยังไม่ยอมรับ ได้แก่ (1) มาตรการจำกัดเงินทุนไหลออกกรณีประเทศประสบปัญหาดุลการชำระเงิน (Restriction to Safeguard the Balance of Payments) ฝ่ายไทยต้องการให้มีมาตรานี้ เนื่องจากเป็นมาตรการที่เป็นที่ยอมรับภายใต้ GATS ที่จะอนุญาตให้คู่สัญญาสามารถระงับการใช้ความตกลงฯ ได้ กรณีเกิดปัญหาดุลการชำระเงิน และ (2) มาตรการเพื่อรักษาเสถียรภาพของระบบการเงินและเศรษฐกิจมหภาค (Prudential Measures and Macroeconomic and Financial Stability) ซึ่งฝ่ายไทยต้องมีการระบุไว้ในความตกลงฯ เนื่องจากเป็นความจำเป็นของประเทศขนาดเล็กที่ต้องมีมาตรการเหล่านี้เพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ
ฝ่ายสหรัฐฯ เห็นว่า มาตราข้อยกเว้น (Exception) ในร่างของสหรัฐฯ น่าจะยืดหยุ่นเพียงพอ ไม่จำเป็นต้องใช้ 2 มาตราดังกล่าวตามที่ไทยเสนอ ซึ่งมาตราข้อยกเว้น ได้กล่าวถึงการใช้มาตรการของทางการไทยที่สามารถขอยกเว้นได้ภายใต้ความตกลงฯ มี 4 กรณี ได้แก่ (1) การดำเนินมาตรการตามหลักการ Prudential Reasons รวมถึงการคุ้มครองสิทธิของนักลงทุนและผู้ฝากเงิน (2) มาตรการตามนโยบายการเงินเพื่อดำรงไว้ซึ่งความมั่นคงและเสถียรภาพของระบบการเงินในประเทศ (3) มาตรการห้ามการโอนเงินระหว่างประเทศไปยังสาขาหรือบริษัท หรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง เพื่อรักษาเสถียรภาพของระบบการเงิน (4) มาตรการเพื่อการป้องปรามธุรกรรมที่ผิดกฎหมาย
ฝ่ายไทยแจ้งว่า ยังมีกฎหมายควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน ซึ่งให้อำนาจทางการในการควบคุมการเคลื่อนย้ายเงินเข้าออกได้ ในกรณีเกิดปัญหาดุลการชำระเงิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการควบคุมการเคลื่อนย้ายเงินทุนระยะสั้น เพื่อเป็นเครื่องมือป้องกัน/แก้ไขวิกฤตการด้านดุลการชำระเงิน ซึ่งข้อยกเว้นของสหรัฐฯ กล่าวถึงเฉพาะการดำเนินนโยบายการเงินซึ่งรวมถึง นโยบายสินเชื่อและนโยบายอัตราแลกเปลี่ยน อาจจะไม่เพียงพอ เพราะมาตรการรักษาเสถียรภาพของเศรษฐกิจมหภาค (Macroeconomic Stability) ของประเทศยังเชื่อมโยงกับนโยบายการคลังอื่นๆ ด้วย ซึ่งทั้งสองฝ่ายเห็นว่าเรื่องนี้เป็นประเด็นละเอียดอ่อนเชื่อมโยงกับความตกลงอื่นๆ เช่น การลงทุนด้วย จึงตกลงที่เชิญผู้เชี่ยวชาญในสาขานี้จากทั้งสองฝ่ายมาหารือร่วมกันในการประชุมครั้งต่อไป
นอกจากนี้ สหรัฐฯ ยังต้องการเจรจาเรื่องการเปิดตลาดการเงิน (Market Access) ของฝ่ายไทย ซึ่งฝ่ายไทยแจ้งว่าขณะนี้ยังไม่เห็นภาพรวมว่าไทยได้ประโยชน์ในการเจรจาสาขาอื่นๆ ภายใต้ความ ตกลงฯ เนื่องจากสถาบันการเงินของไทยไม่ได้รับประโยชน์จากการเปิดตลาดของสหรัฐฯ เพราะมีข้อจำกัดในหลายๆ ด้าน จึงยังไม่สามารถพิจารณาได้ สหรัฐฯ ยังได้หารือเรื่องกฎเกณฑ์การดำเนินธุรกิจประกันภัยในประเทศไทยด้วย ซึ่งฝ่ายไทยได้แจ้งว่าสหรัฐฯ มีส่วนแบ่งการตลาดค่อนข้างมากสำหรับธุรกิจประกันภัยในประเทศไทยอยู่แล้ว
ทั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะเจรจาครั้งต่อไปในเดือนมกราคม 2549 ณ ประเทศไทยต่อไป ซึ่งคาดว่าการเจรจาจะเข้มข้นเพิ่มมากขึ้น
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 107/2548 21 พฤศจิกายน 48--
ฝ่ายสหรัฐฯ เห็นว่า มาตราข้อยกเว้น (Exception) ในร่างของสหรัฐฯ น่าจะยืดหยุ่นเพียงพอ ไม่จำเป็นต้องใช้ 2 มาตราดังกล่าวตามที่ไทยเสนอ ซึ่งมาตราข้อยกเว้น ได้กล่าวถึงการใช้มาตรการของทางการไทยที่สามารถขอยกเว้นได้ภายใต้ความตกลงฯ มี 4 กรณี ได้แก่ (1) การดำเนินมาตรการตามหลักการ Prudential Reasons รวมถึงการคุ้มครองสิทธิของนักลงทุนและผู้ฝากเงิน (2) มาตรการตามนโยบายการเงินเพื่อดำรงไว้ซึ่งความมั่นคงและเสถียรภาพของระบบการเงินในประเทศ (3) มาตรการห้ามการโอนเงินระหว่างประเทศไปยังสาขาหรือบริษัท หรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง เพื่อรักษาเสถียรภาพของระบบการเงิน (4) มาตรการเพื่อการป้องปรามธุรกรรมที่ผิดกฎหมาย
ฝ่ายไทยแจ้งว่า ยังมีกฎหมายควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน ซึ่งให้อำนาจทางการในการควบคุมการเคลื่อนย้ายเงินเข้าออกได้ ในกรณีเกิดปัญหาดุลการชำระเงิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการควบคุมการเคลื่อนย้ายเงินทุนระยะสั้น เพื่อเป็นเครื่องมือป้องกัน/แก้ไขวิกฤตการด้านดุลการชำระเงิน ซึ่งข้อยกเว้นของสหรัฐฯ กล่าวถึงเฉพาะการดำเนินนโยบายการเงินซึ่งรวมถึง นโยบายสินเชื่อและนโยบายอัตราแลกเปลี่ยน อาจจะไม่เพียงพอ เพราะมาตรการรักษาเสถียรภาพของเศรษฐกิจมหภาค (Macroeconomic Stability) ของประเทศยังเชื่อมโยงกับนโยบายการคลังอื่นๆ ด้วย ซึ่งทั้งสองฝ่ายเห็นว่าเรื่องนี้เป็นประเด็นละเอียดอ่อนเชื่อมโยงกับความตกลงอื่นๆ เช่น การลงทุนด้วย จึงตกลงที่เชิญผู้เชี่ยวชาญในสาขานี้จากทั้งสองฝ่ายมาหารือร่วมกันในการประชุมครั้งต่อไป
นอกจากนี้ สหรัฐฯ ยังต้องการเจรจาเรื่องการเปิดตลาดการเงิน (Market Access) ของฝ่ายไทย ซึ่งฝ่ายไทยแจ้งว่าขณะนี้ยังไม่เห็นภาพรวมว่าไทยได้ประโยชน์ในการเจรจาสาขาอื่นๆ ภายใต้ความ ตกลงฯ เนื่องจากสถาบันการเงินของไทยไม่ได้รับประโยชน์จากการเปิดตลาดของสหรัฐฯ เพราะมีข้อจำกัดในหลายๆ ด้าน จึงยังไม่สามารถพิจารณาได้ สหรัฐฯ ยังได้หารือเรื่องกฎเกณฑ์การดำเนินธุรกิจประกันภัยในประเทศไทยด้วย ซึ่งฝ่ายไทยได้แจ้งว่าสหรัฐฯ มีส่วนแบ่งการตลาดค่อนข้างมากสำหรับธุรกิจประกันภัยในประเทศไทยอยู่แล้ว
ทั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะเจรจาครั้งต่อไปในเดือนมกราคม 2549 ณ ประเทศไทยต่อไป ซึ่งคาดว่าการเจรจาจะเข้มข้นเพิ่มมากขึ้น
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 107/2548 21 พฤศจิกายน 48--