กระทรวงพาณิชย์พร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำโดยอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศลงพื้นที่เชียงราย พบปะผู้แทนภาคราชการและเอกชนของจังหวัด หารือการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน เห็นพ้องที่แม่สาย เชียงแสน เชียงของ นอกจากนี้ยังร่วมหารือกับฝ่ายพม่าที่จังหวัดท่าขี้เหล็ก เมื่อวันที่ 8-9 มกราคม 2543 ที่ผ่านมา
นายเกริกไกร จีระแพทย์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการเพื่อการสนับสนุนการค้าชายแดนและประธานคณะอนุกรรมการเพื่อแก้ไขปัญหาการค้าชายแดน เปิดเผยว่า สืบเนื่องจากการประชุมคณะกรรมการสนับสนุนการค้าชายแดน เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2542 ที่มีนายศุภชัย พานิชภักดิ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธาน ได้หยิบยกประเด็นเรื่องหอการค้าจังหวัดเชียงรายและชมรมพ่อค้า แม่ค้า จังหวัดเชียงราย มีหนังสือขอให้พิจารณาดำเนินการใน 3 เรื่อง คือ 1. การจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนจังหวัดเชียงราย 2. การเร่งสร้างสะพานแห่งที่ 2 แม่สาย-ท่าขี้เหล็ก 3. การใช้แรงงานคนต่างด้าว และที่ประชุมได้มอบหมายให้อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศนำคณะเดินทางไปจังหวัดเชียงรายเพื่อศึกษาในเรื่องนี้
ทั้งนี้ คณะฯ ได้พบปะกับผู้แทนภาคราชการและเอกชน อาทิเช่น ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย (นายผดุง ตระกูลดิษฐ์) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงราย ประธานหอการค้าจังหวัดเชียงราย ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดเชียงราย โดยได้ร่วมหารือทั้ง 3 เรื่องดังกล่าว ได้ข้อสรุปดังนี้
1. การจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน สามารถสรุปข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะร่วม 6 ข้อ คือ
(1) ต้องมีนโยบายที่แน่ชัดในการจัดตั้ง
(2) การสร้างความสัมพันธ์อันดีกับประเทศเพื่อนบ้านเป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินการสู่ผลสำเร็จ
(3) การให้สิทธิพิเศษในเขตเศรษฐกิจฯ จะเป็นสิ่งจูงใจให้นักลงทุนสนใจเข้ามาลงทุน
(4)ในการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษฯ ควรพิจารณาดำเนินการควบคู่ไปกับการพัฒนาเส้นทางคมนาคมเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน
(5) เขตเศรษฐกิจจะเป็น gate way ไปสู่ประเทศเพื่อนบ้าน เช่น จีน พม่า ลาว อันจะเป็นส่วนส่งเสริมโครงการสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ
(6) จังหวัดเชียงรายมีศักยภาพที่จะจัดตั้งเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ
2. การสร้างสะพานแห่งที่ 2 ข้ามแม่น้ำสายที่แม่สาย-ท่าขี้เหล็ก ขอให้ภาครัฐเร่งดำเนินการโดยเร็ว
3. การใช้แรงงานต่างด้าว จังหวัดเชียงรายไม่ประสบปัญหาในเรื่องนี้มากเท่าจังหวัดอื่น อย่างไรก็ดี ต้องการให้รัฐบาลมีนโยบายเกี่ยวกับการใช้แรงงานคนต่างด้าวที่แน่ชัด เพื่อความมั่นใจของนักลงทุน
นอกจากนี้อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศได้ร่วมหารือกับฝ่ายพม่า ซึ่งมีพันโทแต็ด ไนวิน ผู้ว่าราชการจังหวัดท่าขี้เหล็กเป็นหัวหน้าคณะฝ่ายพม่า โดยฝ่ายไทยได้แจ้งแก่ฝ่ายพม่าในเรื่องต่าง ๆ ในภาพรวมเช่น
1. การร่วมมือเกี่ยวกับการค้าชายแดน โดยการมองถึงการพัฒนาทั้งภูมิภาค ซึ่งมี ไทย พม่า จีนตอนใต้ และลาว
2. การร่วมมือในการใช้ทรัพยากรแรงงาน ความถนัดของแต่ละฝ่าย เพื่อร่วมกันผลิตสินค้าส่งออกไปขายต่างประเทศ
3. การค้าชายแดนเป็นปัจจัยหนึ่งของความร่วมมือของเหลี่ยมเศรษฐกิจและสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ จะเกิดขึ้นได้ ทั้งสองฝ่ายจะต้องมีการวางแผนร่วมกัน และมีการปฏิบัติพร้อมกัน
4. การสนับสนุนในด้านการท่องเที่ยวในกลุ่มอาเซียน เล็งเห็นว่านักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางมาประเทศไทย ควรสนับสนุนให้มีการเดินทางต่อไปยังประเทศเพื่อนบ้าน เช่น พม่า ลาวและกัมพูชาได้โดยไม่ต้องย้อนกลับมาประเทศไทยอีก ด้านฝ่ายพม่าได้แจ้งเรื่องและความต้องการของฝ่ายพม่าพอสรุปได้ดังนี้
1. การเพิ่มด่านถาวรที่ทำการค้าชายแดนกับไทยเพิ่มขึ้นที่ด่านเจดีย์สามองค์ นอกเหนือจากเดิมมีอยู่ 3 ด่านแล้ว
2. ต้องการให้มีการประสานและพบปะหารือแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นในเรื่อง การค้า การลงทุน ภาษี และกฎระเบียบ ระหว่างพ่อค้าท้องถิ่นทั้งสองประเทศ
3. ความต้องการให้ฝ่ายไทยรับซื้อสินค้าเกษตรให้มากขึ้น เช่น กระเทียม เนื่องจากพม่า มีผลผลิตทางการเกษตรเป็นจำนวนมาก
-กรมการค้าต่างประเทศ กุมภาพันธ์ 2543--
-อน-
นายเกริกไกร จีระแพทย์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการเพื่อการสนับสนุนการค้าชายแดนและประธานคณะอนุกรรมการเพื่อแก้ไขปัญหาการค้าชายแดน เปิดเผยว่า สืบเนื่องจากการประชุมคณะกรรมการสนับสนุนการค้าชายแดน เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2542 ที่มีนายศุภชัย พานิชภักดิ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธาน ได้หยิบยกประเด็นเรื่องหอการค้าจังหวัดเชียงรายและชมรมพ่อค้า แม่ค้า จังหวัดเชียงราย มีหนังสือขอให้พิจารณาดำเนินการใน 3 เรื่อง คือ 1. การจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนจังหวัดเชียงราย 2. การเร่งสร้างสะพานแห่งที่ 2 แม่สาย-ท่าขี้เหล็ก 3. การใช้แรงงานคนต่างด้าว และที่ประชุมได้มอบหมายให้อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศนำคณะเดินทางไปจังหวัดเชียงรายเพื่อศึกษาในเรื่องนี้
ทั้งนี้ คณะฯ ได้พบปะกับผู้แทนภาคราชการและเอกชน อาทิเช่น ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย (นายผดุง ตระกูลดิษฐ์) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงราย ประธานหอการค้าจังหวัดเชียงราย ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดเชียงราย โดยได้ร่วมหารือทั้ง 3 เรื่องดังกล่าว ได้ข้อสรุปดังนี้
1. การจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน สามารถสรุปข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะร่วม 6 ข้อ คือ
(1) ต้องมีนโยบายที่แน่ชัดในการจัดตั้ง
(2) การสร้างความสัมพันธ์อันดีกับประเทศเพื่อนบ้านเป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินการสู่ผลสำเร็จ
(3) การให้สิทธิพิเศษในเขตเศรษฐกิจฯ จะเป็นสิ่งจูงใจให้นักลงทุนสนใจเข้ามาลงทุน
(4)ในการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษฯ ควรพิจารณาดำเนินการควบคู่ไปกับการพัฒนาเส้นทางคมนาคมเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน
(5) เขตเศรษฐกิจจะเป็น gate way ไปสู่ประเทศเพื่อนบ้าน เช่น จีน พม่า ลาว อันจะเป็นส่วนส่งเสริมโครงการสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ
(6) จังหวัดเชียงรายมีศักยภาพที่จะจัดตั้งเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ
2. การสร้างสะพานแห่งที่ 2 ข้ามแม่น้ำสายที่แม่สาย-ท่าขี้เหล็ก ขอให้ภาครัฐเร่งดำเนินการโดยเร็ว
3. การใช้แรงงานต่างด้าว จังหวัดเชียงรายไม่ประสบปัญหาในเรื่องนี้มากเท่าจังหวัดอื่น อย่างไรก็ดี ต้องการให้รัฐบาลมีนโยบายเกี่ยวกับการใช้แรงงานคนต่างด้าวที่แน่ชัด เพื่อความมั่นใจของนักลงทุน
นอกจากนี้อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศได้ร่วมหารือกับฝ่ายพม่า ซึ่งมีพันโทแต็ด ไนวิน ผู้ว่าราชการจังหวัดท่าขี้เหล็กเป็นหัวหน้าคณะฝ่ายพม่า โดยฝ่ายไทยได้แจ้งแก่ฝ่ายพม่าในเรื่องต่าง ๆ ในภาพรวมเช่น
1. การร่วมมือเกี่ยวกับการค้าชายแดน โดยการมองถึงการพัฒนาทั้งภูมิภาค ซึ่งมี ไทย พม่า จีนตอนใต้ และลาว
2. การร่วมมือในการใช้ทรัพยากรแรงงาน ความถนัดของแต่ละฝ่าย เพื่อร่วมกันผลิตสินค้าส่งออกไปขายต่างประเทศ
3. การค้าชายแดนเป็นปัจจัยหนึ่งของความร่วมมือของเหลี่ยมเศรษฐกิจและสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ จะเกิดขึ้นได้ ทั้งสองฝ่ายจะต้องมีการวางแผนร่วมกัน และมีการปฏิบัติพร้อมกัน
4. การสนับสนุนในด้านการท่องเที่ยวในกลุ่มอาเซียน เล็งเห็นว่านักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางมาประเทศไทย ควรสนับสนุนให้มีการเดินทางต่อไปยังประเทศเพื่อนบ้าน เช่น พม่า ลาวและกัมพูชาได้โดยไม่ต้องย้อนกลับมาประเทศไทยอีก ด้านฝ่ายพม่าได้แจ้งเรื่องและความต้องการของฝ่ายพม่าพอสรุปได้ดังนี้
1. การเพิ่มด่านถาวรที่ทำการค้าชายแดนกับไทยเพิ่มขึ้นที่ด่านเจดีย์สามองค์ นอกเหนือจากเดิมมีอยู่ 3 ด่านแล้ว
2. ต้องการให้มีการประสานและพบปะหารือแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นในเรื่อง การค้า การลงทุน ภาษี และกฎระเบียบ ระหว่างพ่อค้าท้องถิ่นทั้งสองประเทศ
3. ความต้องการให้ฝ่ายไทยรับซื้อสินค้าเกษตรให้มากขึ้น เช่น กระเทียม เนื่องจากพม่า มีผลผลิตทางการเกษตรเป็นจำนวนมาก
-กรมการค้าต่างประเทศ กุมภาพันธ์ 2543--
-อน-