เศรษฐกิจโดยรวมของภาคใต้ ในเดือนเมษายนนี้หดตัวลงจากเดือนก่อน ด้วยมีแรงฉุดทั้งจากปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก ปัจจัยภายในที่สำคัญคือผลผลิตการเกษตรลดน้อยลง การใช้จ่ายของภาครัฐลดลง การค้าโดยรวมไม่เด่นนัก โดยเฉพาะการซื้อขายรถยนต์ และการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ไม่มี ขณะเดียวกันทางด้านปัจจัยภายนอกนั้น การส่งออกมูลค่าลดลง เพราะได้รับผลกระทบโดยตรงจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวของประเทศสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น นอกจากนี้ การท่องเที่ยวโดยรวมนักท่องเที่ยวต่างประเทศเดินทางเข้ามาลดลงจากเดือนก่อน ทำให้ปริมาณเงินหมุนเวียนภายในระบบเศรษฐกิจลดน้อยลง รวมตลอดถึงสถิติปริมาณและมูลค่าการใช้เช็คของภาคธุรกิจลดลงเช่นเดียวกัน
ภาคการเงิน
สถิติปริมาณเงินสดรับ-จ่ายผ่านผู้แทนธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคใต้ ตลอดเดือนเมษายนมีจำนวนรวมเพียง 27,937.0 ล้านบาท ลดลงจากเมื่อเดือนก่อนร้อยละ 0.3 แยกเป็นเงินสดที่สาขาธนาคารพาณิชย์นำส่งผู้แทน ธปท. (เงินสดรับ) จำนวน 13,557.1 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 2.9 และปริมาณเงินสดที่สาขาธนาคารพาณิชย์ขอเบิกจากผู้แทน ธปท. (เงินสดจ่าย) จำนวน 14,379.9 ล้านบาท ใกล้เคียงกับจำนวน 14,054.2 ล้านบาทเมื่อเดือนก่อน
ขณะเดียวกันสถิติปริมาณเงินโอนระหว่างสาขาธนาคารพาณิชย์ในภาคใต้กับสำนักงานใหญ่ มีจำนวนรวมเพียง 12,867.3 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 2.0 และสถิติการใช้เช็คของภาคธุรกิจผ่านสำนักหักบัญชีในเดือนเมษายนมีจำนวนรวมเพียง 395,513 ฉบับ คิดเป็นมูลค่า 31,042.2 ล้านบาท เทียบกับเดือนก่อนลดลงร้อยละ 3.3 และ 8.9 ตามลำดับ นอกจากนี้สัดส่วนมูลค่าเช็คคืนเพราะไม่มีเงินต่อเช็ครับเข้ารวมในเดือนเมษายนเท่ากับร้อยละ 1.4 สูงกว่าสัดส่วนร้อยละ 1.3 เมื่อเดือนก่อน
ภาคการคลัง
ในเดือนเมษายนนี้ ส่วนราชการเบิกจ่ายเงินงบประมาณรวมเพียง 5,664.4 ล้านบาท ลดลงจากจำนวน 6,193.2 ล้านบาทเมื่อเดือนก่อนร้อยละ 8.5 เพราะโครงการลงทุนต่าง ๆ ต้องเลื่อนการดำเนินงาน เนื่องจากผลของการปรับเปลี่ยนรัฐบาล ทำให้แนวทางการบริหารประเทศเปลี่ยนแปลงไป
ดัชนีราคา
ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของภาคใต้ ในเดือนเมษายนนี้เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 0.7 ทั้งนี้ มีสาเหตุจากราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น ค่าเงินบาทอ่อนค่าลง และมีการปรับเพิ่มอัตราภาษีสรรพสามิตในสินค้าบุหรี่และสุราเป็นสำคัญ
ภาคการเกษตร
ในเดือนนี้ปริมาณผลผลิตของพืชผลเกษตรส่วนใหญ่ลดลง ทั้งยางพารา ปาล์มน้ำมัน และกาแฟ เนื่องจากยังอยู่ในช่วงฤดูกาลต้นยางผลัดใบ ในขณะที่ปาล์มน้ำมันอยู่ในช่วงปลายฤดูกาล และกาแฟซึ่งเกษตรกรเก็บเกี่ยวผลผลิตได้เกือบเสร็จสิ้นแล้ว มีเพียงผลผลิตข้าวนาปีของฤดูกาลใหม่ ซึ่งเกษตรกรกำลังเก็บเกี่ยวผลผลิต และผลผลิตออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น
ทางด้านราคาพืชผลนั้น ปรากฏว่าราคายางแผ่นดิบชั้น 3 เฉลี่ยกิโลกรัมละ 24.11 บาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 7.8 เพราะผลผลิตในตลาดมีน้อย ประกอบกับผลจากการที่ INRO ได้จำหน่ายยางในสต็อกไปกว่า 1 แสนตันเมื่อเดือนก่อน จึงผลักดันให้ราคายางขยับเพิ่มสูงขึ้น ส่วนราคาผลปาล์มสดทั้งทะลายเฉลี่ยกิโลกรัมละ 1.14 บาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 9.6 เพราะได้รับผลดีจากมาตรการแทรกแซงตลาดน้ำมันปาล์มของทางการ ทางด้านราคาเมล็ดกาแฟดิบคละ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 31.47 บาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 1.5 และราคาข้าวเปลือกเจ้าพันธุ์พื้นเมืองชนิด 25% เฉลี่ยเมตริกตันละ 3,726.0 บาท ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 2.9
ส่วนสาขาการประมงโดยรวมยังไม่ดีนัก ด้วยข้อจำกัดของต้นทุนราคาน้ำมัน ปัญหา ต่อเนื่องในการทำประมงกับประเทศเพื่อนบ้าน และเป็นช่วงเวลาปิดอ่าวไทยเพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
ภาคอุตสาหกรรม
ธุรกรรมการผลิตและการค้าของภาคอุตสาหกรรม ในเดือนนี้ลดน้อยลงจากเดือนก่อน เพราะส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมต่อเนื่องจากภาคการเกษตร และจำเป็นต้องพึ่งพาตลาดต่างประเทศ จึงได้รับผลกระทบโดยตรงจากภาวะชะลอตัวของตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะตลาดสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นเป็นสำคัญ ดังเห็นได้จากปริมาณการผลิตยางแท่งมีจำนวนรวมเพียง 54,078.7 เมตริกตัน ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 12.1 นอกจากนี้ราคายางแท่ง STR 20 เฉลี่ยเพียงกิโลกรัมละ 23.46 บาท ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 0.6 เพราะมีการแข่งขันลดราคาจำหน่ายจากกลุ่มพ่อค้าของอินโดนีเซีย เนื่องจากมี ข้อได้เปรียบจากค่าเงินที่อ่อนกว่าไทย ทำให้ตลาดหันเหไปซื้อจากอินโดนีเซียทดแทน นอกจากนี้ ธุรกรรมการค้าส่งออกของอุตสาหกรรมไม้ยางพาราแปรรูป อาหารทะเลแช่แข็งและอาหารทะเลกระป๋องได้รับผลกระทบเช่นเดียวกัน ทำให้มูลค่าส่งออกไม้ยางพาราแปรรูปในเดือนเมษายนเหลือเพียง 259.7 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 17.7 มูลค่าส่งออกอาหารทะเลแช่แข็งเท่ากับ 1,545.9 ล้านบาท ลดลง ร้อยละ 10.4 (โดยเฉพาะกุ้งกุลาดำแช่แข็งมีมูลค่าลดลงมากถึงร้อยละ 31.1) และมูลค่าส่งออกอาหารทะเลกระป๋องเท่ากับ 810.0 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 10.0 ส่วนในสาขาเหมืองแร่และก๊าซธรรมชาตินั้น ธุรกรรมการผลิตและการค้ายังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ภาคการท่องเที่ยว
สถิตินักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามาพักผ่อนในเดือนเมษายนมีจำนวนรวมเพียง 170,383 คน ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 5.3 แยกประเภทเป็นนักท่องเที่ยวมาเลเซีย 74,518 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.5 สิงคโปร์ 11,032 คน ลดลงร้อยละ 15.7 และชาติอื่น ๆ 84,833 คน ลดลงร้อยละ 15.2 ทั้งนี้ เพราะขณะนี้เป็นช่วงที่นักท่องเที่ยวไม่นิยมเดินทางเข้ามาพักผ่อนทางฝั่งทะเลตะวันตก เพื่อหลีกเลี่ยงลมมรสุมและฝนตก ประกอบกับข่าวเหตุการณ์ระเบิดในภาคใต้ตอนล่าง การประกาศหยุดให้บริการของสายการบินไทยและมาเลเซีย ระหว่างเส้นทางหาดใหญ่-กัวลาลัมเปอร์ และการเปลี่ยนเส้นทางเดินเรือของเรือโดยสารขนาดใหญ่จากสิงคโปร์ จึงทำให้สถิตินักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาทางบริเวณภาคใต้ตอนล่างน้อยลงตามไปด้วย
ภาคการลงทุน
ในเดือนเมษายนนี้มีโครงการที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนเพียง 2 โครงการ เงินลงทุนรวม 24.0 ล้านบาท
การจดทะเบียนธุรกิจนิติบุคคล 190 ราย เงินทุนจดทะเบียนรวม 356.9 ล้านบาท น้อยกว่าเดือนก่อนร้อยละ 23.1 และร้อยละ 23.7
พื้นที่ก่อสร้างมีเพียง 67,417 ตารางเมตร ลดลงร้อยละ 22.5
ภาคการค้า
ภาคการค้าโดยรวมในเดือนนี้ไม่เด่นชัดนัก แม้ว่าเป็นช่วงเทศกาลสงกรานต์ อีกทั้งเป็นช่วงเวลาใกล้เปิดภาคเรียน ซึ่งมักมีการจับจ่ายใช้สอยสินค้าอุปโภคบริโภคต่าง ๆ โดยในเดือนนี้จัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มได้ 377.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 6.2
สำหรับการจำหน่ายรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล และรถจักรยานยนต์ ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 10.4 12.3 และ 20.5 ตามลำดับ เนื่องจากในช่วงเวลานี้ประชาชนไม่นิยมซื้อยานพาหนะด้วยความเชื่อของประชาชนในพื้นที่
ภาคการค้าระหว่างประเทศ
ตลอดเดือนเมษายนนี้ สถิติสินค้าส่งออกผ่านด่านศุลกากรภาคใต้มีมูลค่าเพียง 11,552.9 ล้านบาท ลดลงจากมูลค่า 12,424.8 ล้านบาทเมื่อเดือนก่อนร้อยละ 7.0 เหตุผลสำคัญเพราะตลาดต่างประเทศที่สำคัญ ทั้งสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นต่างประสบปัญหาเศรษฐกิจชะลอตัว สินค้าส่งออกสำคัญหลายประเภทจึงมีมูลค่าลดลงได้แก่ ยางพารา อาหารบรรจุกระป๋อง อาหารทะเลแข่งแข็งและ ไม้ยางพาราแปรรูป
ส่วนสถิติสินค้านำเข้ามีมูลค่ารวม 4,846.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากมูลค่า 3,773.8 ล้านบาทเมื่อเดือนก่อนร้อยละ 28.4 สินค้านำเข้าที่มูลค่าเพิ่มขึ้นได้แก่ เครื่องจักรและอุปกรณ์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 57.5 และสัตว์น้ำเพิ่มขึ้นร้อยละ 35.4
แนวโน้มภาวะเศรษฐกิจเดือน พ.ค. 2544
สำหรับแนวโน้มภาวะเศรษฐกิจของภาคใต้เดือนพฤษภาคม คาดว่าน่าจะขยายตัวขึ้นจากเดือนเมษายน เพราะพืชผลเกษตรที่สำคัญคือยางพาราสามารถผลิตได้เต็มที่ การทำประมงน่าจะดีขึ้น เพราะเป็นช่วงเปิดอ่าวไทย และภาคการค้าในท้องถิ่นคาดว่าจะขยายตัวขึ้น โดยเฉพาะการจำหน่ายยานพาหนะ เนื่องจากประชาชนเลื่อนการซื้อยานพาหนะจากเดือนก่อนมาเป็นเดือนพฤษภาคม ด้วยความเชื่อของประชาชนในพื้นที่
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-
ภาคการเงิน
สถิติปริมาณเงินสดรับ-จ่ายผ่านผู้แทนธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคใต้ ตลอดเดือนเมษายนมีจำนวนรวมเพียง 27,937.0 ล้านบาท ลดลงจากเมื่อเดือนก่อนร้อยละ 0.3 แยกเป็นเงินสดที่สาขาธนาคารพาณิชย์นำส่งผู้แทน ธปท. (เงินสดรับ) จำนวน 13,557.1 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 2.9 และปริมาณเงินสดที่สาขาธนาคารพาณิชย์ขอเบิกจากผู้แทน ธปท. (เงินสดจ่าย) จำนวน 14,379.9 ล้านบาท ใกล้เคียงกับจำนวน 14,054.2 ล้านบาทเมื่อเดือนก่อน
ขณะเดียวกันสถิติปริมาณเงินโอนระหว่างสาขาธนาคารพาณิชย์ในภาคใต้กับสำนักงานใหญ่ มีจำนวนรวมเพียง 12,867.3 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 2.0 และสถิติการใช้เช็คของภาคธุรกิจผ่านสำนักหักบัญชีในเดือนเมษายนมีจำนวนรวมเพียง 395,513 ฉบับ คิดเป็นมูลค่า 31,042.2 ล้านบาท เทียบกับเดือนก่อนลดลงร้อยละ 3.3 และ 8.9 ตามลำดับ นอกจากนี้สัดส่วนมูลค่าเช็คคืนเพราะไม่มีเงินต่อเช็ครับเข้ารวมในเดือนเมษายนเท่ากับร้อยละ 1.4 สูงกว่าสัดส่วนร้อยละ 1.3 เมื่อเดือนก่อน
ภาคการคลัง
ในเดือนเมษายนนี้ ส่วนราชการเบิกจ่ายเงินงบประมาณรวมเพียง 5,664.4 ล้านบาท ลดลงจากจำนวน 6,193.2 ล้านบาทเมื่อเดือนก่อนร้อยละ 8.5 เพราะโครงการลงทุนต่าง ๆ ต้องเลื่อนการดำเนินงาน เนื่องจากผลของการปรับเปลี่ยนรัฐบาล ทำให้แนวทางการบริหารประเทศเปลี่ยนแปลงไป
ดัชนีราคา
ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของภาคใต้ ในเดือนเมษายนนี้เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 0.7 ทั้งนี้ มีสาเหตุจากราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น ค่าเงินบาทอ่อนค่าลง และมีการปรับเพิ่มอัตราภาษีสรรพสามิตในสินค้าบุหรี่และสุราเป็นสำคัญ
ภาคการเกษตร
ในเดือนนี้ปริมาณผลผลิตของพืชผลเกษตรส่วนใหญ่ลดลง ทั้งยางพารา ปาล์มน้ำมัน และกาแฟ เนื่องจากยังอยู่ในช่วงฤดูกาลต้นยางผลัดใบ ในขณะที่ปาล์มน้ำมันอยู่ในช่วงปลายฤดูกาล และกาแฟซึ่งเกษตรกรเก็บเกี่ยวผลผลิตได้เกือบเสร็จสิ้นแล้ว มีเพียงผลผลิตข้าวนาปีของฤดูกาลใหม่ ซึ่งเกษตรกรกำลังเก็บเกี่ยวผลผลิต และผลผลิตออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น
ทางด้านราคาพืชผลนั้น ปรากฏว่าราคายางแผ่นดิบชั้น 3 เฉลี่ยกิโลกรัมละ 24.11 บาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 7.8 เพราะผลผลิตในตลาดมีน้อย ประกอบกับผลจากการที่ INRO ได้จำหน่ายยางในสต็อกไปกว่า 1 แสนตันเมื่อเดือนก่อน จึงผลักดันให้ราคายางขยับเพิ่มสูงขึ้น ส่วนราคาผลปาล์มสดทั้งทะลายเฉลี่ยกิโลกรัมละ 1.14 บาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 9.6 เพราะได้รับผลดีจากมาตรการแทรกแซงตลาดน้ำมันปาล์มของทางการ ทางด้านราคาเมล็ดกาแฟดิบคละ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 31.47 บาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 1.5 และราคาข้าวเปลือกเจ้าพันธุ์พื้นเมืองชนิด 25% เฉลี่ยเมตริกตันละ 3,726.0 บาท ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 2.9
ส่วนสาขาการประมงโดยรวมยังไม่ดีนัก ด้วยข้อจำกัดของต้นทุนราคาน้ำมัน ปัญหา ต่อเนื่องในการทำประมงกับประเทศเพื่อนบ้าน และเป็นช่วงเวลาปิดอ่าวไทยเพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
ภาคอุตสาหกรรม
ธุรกรรมการผลิตและการค้าของภาคอุตสาหกรรม ในเดือนนี้ลดน้อยลงจากเดือนก่อน เพราะส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมต่อเนื่องจากภาคการเกษตร และจำเป็นต้องพึ่งพาตลาดต่างประเทศ จึงได้รับผลกระทบโดยตรงจากภาวะชะลอตัวของตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะตลาดสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นเป็นสำคัญ ดังเห็นได้จากปริมาณการผลิตยางแท่งมีจำนวนรวมเพียง 54,078.7 เมตริกตัน ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 12.1 นอกจากนี้ราคายางแท่ง STR 20 เฉลี่ยเพียงกิโลกรัมละ 23.46 บาท ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 0.6 เพราะมีการแข่งขันลดราคาจำหน่ายจากกลุ่มพ่อค้าของอินโดนีเซีย เนื่องจากมี ข้อได้เปรียบจากค่าเงินที่อ่อนกว่าไทย ทำให้ตลาดหันเหไปซื้อจากอินโดนีเซียทดแทน นอกจากนี้ ธุรกรรมการค้าส่งออกของอุตสาหกรรมไม้ยางพาราแปรรูป อาหารทะเลแช่แข็งและอาหารทะเลกระป๋องได้รับผลกระทบเช่นเดียวกัน ทำให้มูลค่าส่งออกไม้ยางพาราแปรรูปในเดือนเมษายนเหลือเพียง 259.7 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 17.7 มูลค่าส่งออกอาหารทะเลแช่แข็งเท่ากับ 1,545.9 ล้านบาท ลดลง ร้อยละ 10.4 (โดยเฉพาะกุ้งกุลาดำแช่แข็งมีมูลค่าลดลงมากถึงร้อยละ 31.1) และมูลค่าส่งออกอาหารทะเลกระป๋องเท่ากับ 810.0 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 10.0 ส่วนในสาขาเหมืองแร่และก๊าซธรรมชาตินั้น ธุรกรรมการผลิตและการค้ายังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ภาคการท่องเที่ยว
สถิตินักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามาพักผ่อนในเดือนเมษายนมีจำนวนรวมเพียง 170,383 คน ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 5.3 แยกประเภทเป็นนักท่องเที่ยวมาเลเซีย 74,518 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.5 สิงคโปร์ 11,032 คน ลดลงร้อยละ 15.7 และชาติอื่น ๆ 84,833 คน ลดลงร้อยละ 15.2 ทั้งนี้ เพราะขณะนี้เป็นช่วงที่นักท่องเที่ยวไม่นิยมเดินทางเข้ามาพักผ่อนทางฝั่งทะเลตะวันตก เพื่อหลีกเลี่ยงลมมรสุมและฝนตก ประกอบกับข่าวเหตุการณ์ระเบิดในภาคใต้ตอนล่าง การประกาศหยุดให้บริการของสายการบินไทยและมาเลเซีย ระหว่างเส้นทางหาดใหญ่-กัวลาลัมเปอร์ และการเปลี่ยนเส้นทางเดินเรือของเรือโดยสารขนาดใหญ่จากสิงคโปร์ จึงทำให้สถิตินักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาทางบริเวณภาคใต้ตอนล่างน้อยลงตามไปด้วย
ภาคการลงทุน
ในเดือนเมษายนนี้มีโครงการที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนเพียง 2 โครงการ เงินลงทุนรวม 24.0 ล้านบาท
การจดทะเบียนธุรกิจนิติบุคคล 190 ราย เงินทุนจดทะเบียนรวม 356.9 ล้านบาท น้อยกว่าเดือนก่อนร้อยละ 23.1 และร้อยละ 23.7
พื้นที่ก่อสร้างมีเพียง 67,417 ตารางเมตร ลดลงร้อยละ 22.5
ภาคการค้า
ภาคการค้าโดยรวมในเดือนนี้ไม่เด่นชัดนัก แม้ว่าเป็นช่วงเทศกาลสงกรานต์ อีกทั้งเป็นช่วงเวลาใกล้เปิดภาคเรียน ซึ่งมักมีการจับจ่ายใช้สอยสินค้าอุปโภคบริโภคต่าง ๆ โดยในเดือนนี้จัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มได้ 377.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 6.2
สำหรับการจำหน่ายรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล และรถจักรยานยนต์ ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 10.4 12.3 และ 20.5 ตามลำดับ เนื่องจากในช่วงเวลานี้ประชาชนไม่นิยมซื้อยานพาหนะด้วยความเชื่อของประชาชนในพื้นที่
ภาคการค้าระหว่างประเทศ
ตลอดเดือนเมษายนนี้ สถิติสินค้าส่งออกผ่านด่านศุลกากรภาคใต้มีมูลค่าเพียง 11,552.9 ล้านบาท ลดลงจากมูลค่า 12,424.8 ล้านบาทเมื่อเดือนก่อนร้อยละ 7.0 เหตุผลสำคัญเพราะตลาดต่างประเทศที่สำคัญ ทั้งสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นต่างประสบปัญหาเศรษฐกิจชะลอตัว สินค้าส่งออกสำคัญหลายประเภทจึงมีมูลค่าลดลงได้แก่ ยางพารา อาหารบรรจุกระป๋อง อาหารทะเลแข่งแข็งและ ไม้ยางพาราแปรรูป
ส่วนสถิติสินค้านำเข้ามีมูลค่ารวม 4,846.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากมูลค่า 3,773.8 ล้านบาทเมื่อเดือนก่อนร้อยละ 28.4 สินค้านำเข้าที่มูลค่าเพิ่มขึ้นได้แก่ เครื่องจักรและอุปกรณ์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 57.5 และสัตว์น้ำเพิ่มขึ้นร้อยละ 35.4
แนวโน้มภาวะเศรษฐกิจเดือน พ.ค. 2544
สำหรับแนวโน้มภาวะเศรษฐกิจของภาคใต้เดือนพฤษภาคม คาดว่าน่าจะขยายตัวขึ้นจากเดือนเมษายน เพราะพืชผลเกษตรที่สำคัญคือยางพาราสามารถผลิตได้เต็มที่ การทำประมงน่าจะดีขึ้น เพราะเป็นช่วงเปิดอ่าวไทย และภาคการค้าในท้องถิ่นคาดว่าจะขยายตัวขึ้น โดยเฉพาะการจำหน่ายยานพาหนะ เนื่องจากประชาชนเลื่อนการซื้อยานพาหนะจากเดือนก่อนมาเป็นเดือนพฤษภาคม ด้วยความเชื่อของประชาชนในพื้นที่
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-