ญี่ปุ่นจะปรับเปลี่ยนการบริหารการนำเข้าข้าวตามพันธกรณีที่ผูกพันภายใต้ WTO โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2544 เป็นต้นไป ทั้งนี้มีสาเหตุมาจากแรงกดดัน 2 ประการ คือ 1) ประเทศผู้ส่งออกข้าวอื่นๆ ต้องการให้การนำเข้ามีความโปร่งใสมากขึ้น และ2) ภาวะเศรษฐกิจของญี่ปุ่นกำลังประสบปัญหา ทำให้รมว.เกษตรฯ ได้รับการร้องขอจากรมว.คลังขอให้พิจารณาทบทวนการนำเข้าข้าวของญี่ปุ่น แต่เดิมญี่ปุ่นกำหนดโควตานำเข้าข้าวขั้นต่ำ(Minimum Access : MA) ในปีงบประมาณที่ผ่านมา (1 เม.ย. 43-31 มี.ค. 44) กำหนดโควตาจำนวน 682,200 ตัน ในอัตราภาษีนำเข้าภายใต้โควตาร้อยละ 0 โดยใช้วิธีการประมูล (ในความดูแลของ Food Agency ภายใต้กระทรวงเกษตรฯ ของญี่ปุ่น) ซึ่งมี 2 รูปแบบ คือ
1. การประมูลแบบทั่วไป (Ordinary Tender) Food Agency ทำหน้าที่กำหนดชนิดและปริมาณข้าวที่จะประมูลตามความต้องการของอุตสาหกรรมเป็นส่วนใหญ่ จำแนกเป็น
1.1 Country Specified Tender เป็นการนำเข้าตามความต้องการของตลาดในประเทศ โดยไทยมีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 25.7 แหล่งนำเข้าสำคัญมาจาก 4 ประเทศหลัก คือ สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย จีน และไทย
1.2 Not Country Specified Tender หรือ Global Tender เป็นการนำเข้าทั่วไป โดยไทยมีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 24.5
2. การประมูลแบบซื้อมาขายไป (Simultaneous Buy and Sell : SBS) เป็นการนำเข้าที่ขึ้นกับปริมาณความต้องการของผู้นำเข้า ใช้สำหรับการบริโภคทั่วไป (table rice) แหล่งนำเข้า ได้แก่ สหรัฐฯ ออสเตรเลีย จีน ไทย เวียดนาม อินเดีย อุรุกวัย ปากีสถาน อิตาลี สเปน อียิปต์ และอินโดนีเซีย
ในกรณีนำเข้าเกินโควตาที่กำหนด ผู้นำเข้าจะต้องเสียอัตราภาษีนำเข้านอกโควตา 341 เยน/กก. ทั้งนี้ในปีงบประมาณที่ผ่านมา ญี่ปุ่นมีการนำเข้าประมาณ 200 ตัน โดยเป็นการนำเข้าจากไทยประมาณ 100 ตัน
ในปีงบประมาณ 2000 ญี่ปุ่นเปิดประมูลนำเข้าข้าวทั้งหมดจำนวน 693,039 ตัน เป็นการนำเข้าแบบ Ordinary Tender จำนวน 573,039 ตัน ซึ่งแยกย่อยเป็น Country Specified จำนวน 448,000 ตัน และ Not Country Specified 120,039 ตัน และแบบ SBS 120,000 ตัน ญี่ปุ่นนำเข้าข้าวจากไทยจำนวน 149,330 ตัน คิดเป็นร้อยละ 21.5 นอกจากนี้เป็นการนำเข้าจาก สหรัฐฯ ร้อยละ 48 ออสเตรเลีย ร้อยละ 16 จีนร้อยละ 12 และเวียดนามร้อยละ 2
การบริหารการนำเข้าข้าวรูปแบบใหม่ที่ญี่ปุ่นจะเริ่มนำมาใช้ในวันที่ 1 เมษายน ศกนี้ มีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้
ลดปริมาณนำเข้าแบบ SBS ซึ่งผู้แทน Food Agency ชี้แจงว่า จะไม่ส่งผลกระทบต่อไทยมากนัก เนื่องจากไทยมีส่วนแบ่งตลาดน้อยมากคือ ประมาณร้อยละ 4 คาดว่าการลดปริมาณดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อการนำเข้าข้าวจากจีน ซึ่งมีส่วนแบ่งตลาดมากที่สุด คือ ร้อยละ 44 และสหรัฐฯ ร้อยละ 38
ลดปริมาณนำเข้าแบบ Country Specified Tender ซึ่งญี่ปุ่นยังไม่ได้แจ้งปริมาณที่แน่นอนให้ทราบ
ขยายปริมาณนำเข้าแบบ Not Country Specified Tender โดยเฉพาะจะมีการขยายปริมาณนำเข้าแป้งข้าว (rice flour) เพิ่มขึ้น
เพิ่มการนำเข้าข้าวแบบ Experimental Trial Quota (ETQ) จำนวน 10,000 ตัน เพื่อใช้ใน
อุตสาหกรรม โดยกำหนดว่า ข้าวที่เข้าประมูลจะต้องเป็นข้าวพันธุ์ใหม่หรือเป็นข้าวที่ไม่มีการจำหน่ายในญี่ปุ่นเลย และจะจัดสรรการประมูลให้ประเทศละไม่เกิน 5,000 ตัน ซึ่งญี่ปุ่นได้ทดลองนำเข้าด้วยวิธีนี้เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา จำนวน 5,000 ตัน โดยประเทศอุรุกวัยชนะการประมูลทั้งหมด สำหรับการประมูลในปีงบประมาณ 2001 (1 เม.ย. 44-31 มี.ค. 45) ญี่ปุ่นกำหนดปริมาณนำเข้าในแบบ ETQ จำนวน 10,000 ตัน ทั้งนี้ ประเทศไทยได้แจ้งความจำนงเข้าร่วมโครงการ ETQ แล้ว แต่ยังไม่ได้เข้าร่วมแข่งขันการประมูลนำเข้า ซึ่งผู้แทน Food Agency ได้ชักชวนให้ไทยพยายามใช้โอกาสการส่งออกข้าวภายใต้ ETQ
การปรับเปลี่ยนการบริหารการนำเข้าข้าวดังกล่าว จะไม่ส่งผลกระทบต่อส่วนแบ่งตลาดข้าวหอมมะลิของไทยในญี่ปุ่น เนื่องจากการลดปริมาณนำเข้าข้าวแบบ SBS จะมีผลต่อส่วนแบ่งตลาดของข้าวจีน ซึ่งเป็นประเทศที่มีส่วนแบ่งตลาดมากที่สุด ในขณะที่ไทยมีส่วนแบ่งเพียงเล็กน้อย ส่วนการลดปริมาณนำเข้าแบบ Country Specified Tender น่าจะมีผลกระทบต่อสหรัฐฯ และไทย แต่ขณะนี้ยังไม่สามารถสรุปได้ชัดเจน ทั้งนี้ ญี่ปุ่นจะเริ่มประมูลนำเข้าข้าวตามแนวทางที่ปรับเปลี่ยนใหม่ โดยครั้งแรกจะเริ่มในเดือนพฤษภาคม 2544 อย่างไรก็ตาม ผู้แทน Food Agency ได้แจ้งว่า จะพยายามรักษาส่วนแบ่งตลาดของข้าวไทยไว้ในระดับที่ไม่ลดลง และขอให้ฝ่ายไทยพยายามใช้โอกาสส่งข้าวภายใต้ ETQ ในการประมูลครั้งต่อไปในปีหน้า
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ เมษายน 2544--
-ปส-
1. การประมูลแบบทั่วไป (Ordinary Tender) Food Agency ทำหน้าที่กำหนดชนิดและปริมาณข้าวที่จะประมูลตามความต้องการของอุตสาหกรรมเป็นส่วนใหญ่ จำแนกเป็น
1.1 Country Specified Tender เป็นการนำเข้าตามความต้องการของตลาดในประเทศ โดยไทยมีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 25.7 แหล่งนำเข้าสำคัญมาจาก 4 ประเทศหลัก คือ สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย จีน และไทย
1.2 Not Country Specified Tender หรือ Global Tender เป็นการนำเข้าทั่วไป โดยไทยมีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 24.5
2. การประมูลแบบซื้อมาขายไป (Simultaneous Buy and Sell : SBS) เป็นการนำเข้าที่ขึ้นกับปริมาณความต้องการของผู้นำเข้า ใช้สำหรับการบริโภคทั่วไป (table rice) แหล่งนำเข้า ได้แก่ สหรัฐฯ ออสเตรเลีย จีน ไทย เวียดนาม อินเดีย อุรุกวัย ปากีสถาน อิตาลี สเปน อียิปต์ และอินโดนีเซีย
ในกรณีนำเข้าเกินโควตาที่กำหนด ผู้นำเข้าจะต้องเสียอัตราภาษีนำเข้านอกโควตา 341 เยน/กก. ทั้งนี้ในปีงบประมาณที่ผ่านมา ญี่ปุ่นมีการนำเข้าประมาณ 200 ตัน โดยเป็นการนำเข้าจากไทยประมาณ 100 ตัน
ในปีงบประมาณ 2000 ญี่ปุ่นเปิดประมูลนำเข้าข้าวทั้งหมดจำนวน 693,039 ตัน เป็นการนำเข้าแบบ Ordinary Tender จำนวน 573,039 ตัน ซึ่งแยกย่อยเป็น Country Specified จำนวน 448,000 ตัน และ Not Country Specified 120,039 ตัน และแบบ SBS 120,000 ตัน ญี่ปุ่นนำเข้าข้าวจากไทยจำนวน 149,330 ตัน คิดเป็นร้อยละ 21.5 นอกจากนี้เป็นการนำเข้าจาก สหรัฐฯ ร้อยละ 48 ออสเตรเลีย ร้อยละ 16 จีนร้อยละ 12 และเวียดนามร้อยละ 2
การบริหารการนำเข้าข้าวรูปแบบใหม่ที่ญี่ปุ่นจะเริ่มนำมาใช้ในวันที่ 1 เมษายน ศกนี้ มีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้
ลดปริมาณนำเข้าแบบ SBS ซึ่งผู้แทน Food Agency ชี้แจงว่า จะไม่ส่งผลกระทบต่อไทยมากนัก เนื่องจากไทยมีส่วนแบ่งตลาดน้อยมากคือ ประมาณร้อยละ 4 คาดว่าการลดปริมาณดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อการนำเข้าข้าวจากจีน ซึ่งมีส่วนแบ่งตลาดมากที่สุด คือ ร้อยละ 44 และสหรัฐฯ ร้อยละ 38
ลดปริมาณนำเข้าแบบ Country Specified Tender ซึ่งญี่ปุ่นยังไม่ได้แจ้งปริมาณที่แน่นอนให้ทราบ
ขยายปริมาณนำเข้าแบบ Not Country Specified Tender โดยเฉพาะจะมีการขยายปริมาณนำเข้าแป้งข้าว (rice flour) เพิ่มขึ้น
เพิ่มการนำเข้าข้าวแบบ Experimental Trial Quota (ETQ) จำนวน 10,000 ตัน เพื่อใช้ใน
อุตสาหกรรม โดยกำหนดว่า ข้าวที่เข้าประมูลจะต้องเป็นข้าวพันธุ์ใหม่หรือเป็นข้าวที่ไม่มีการจำหน่ายในญี่ปุ่นเลย และจะจัดสรรการประมูลให้ประเทศละไม่เกิน 5,000 ตัน ซึ่งญี่ปุ่นได้ทดลองนำเข้าด้วยวิธีนี้เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา จำนวน 5,000 ตัน โดยประเทศอุรุกวัยชนะการประมูลทั้งหมด สำหรับการประมูลในปีงบประมาณ 2001 (1 เม.ย. 44-31 มี.ค. 45) ญี่ปุ่นกำหนดปริมาณนำเข้าในแบบ ETQ จำนวน 10,000 ตัน ทั้งนี้ ประเทศไทยได้แจ้งความจำนงเข้าร่วมโครงการ ETQ แล้ว แต่ยังไม่ได้เข้าร่วมแข่งขันการประมูลนำเข้า ซึ่งผู้แทน Food Agency ได้ชักชวนให้ไทยพยายามใช้โอกาสการส่งออกข้าวภายใต้ ETQ
การปรับเปลี่ยนการบริหารการนำเข้าข้าวดังกล่าว จะไม่ส่งผลกระทบต่อส่วนแบ่งตลาดข้าวหอมมะลิของไทยในญี่ปุ่น เนื่องจากการลดปริมาณนำเข้าข้าวแบบ SBS จะมีผลต่อส่วนแบ่งตลาดของข้าวจีน ซึ่งเป็นประเทศที่มีส่วนแบ่งตลาดมากที่สุด ในขณะที่ไทยมีส่วนแบ่งเพียงเล็กน้อย ส่วนการลดปริมาณนำเข้าแบบ Country Specified Tender น่าจะมีผลกระทบต่อสหรัฐฯ และไทย แต่ขณะนี้ยังไม่สามารถสรุปได้ชัดเจน ทั้งนี้ ญี่ปุ่นจะเริ่มประมูลนำเข้าข้าวตามแนวทางที่ปรับเปลี่ยนใหม่ โดยครั้งแรกจะเริ่มในเดือนพฤษภาคม 2544 อย่างไรก็ตาม ผู้แทน Food Agency ได้แจ้งว่า จะพยายามรักษาส่วนแบ่งตลาดของข้าวไทยไว้ในระดับที่ไม่ลดลง และขอให้ฝ่ายไทยพยายามใช้โอกาสส่งข้าวภายใต้ ETQ ในการประมูลครั้งต่อไปในปีหน้า
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ เมษายน 2544--
-ปส-