การลงทุนภาคเอกชน : มีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้น ตามการฟื้นตัวของอุปสงค์ในประเทศและการส่งออก โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการโน้มลง ของอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง
เครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชน
หมายเหตุ : การนำเข้า สินค้าทุนที่หักสินค้าขั้นกลางออก และปรับเป็นราคา ณ ปี 2538
การลงทุนภาคเอกชน (ณ ราคา คงที่) ในไตรมาสแรกของปีนี้มีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อน แม้จะมีระดับการลงทุนลดลงจากไตรมาสสุดท้ายของปีก่อน สอดคล้องกับการขยายตัวของเครื่องชี้ที่สำคัญคือ ยอดจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ การนำเข้าสินค้าทุน ณ ราคาคงที่ และ ยอดจำหน่ายปูนซีเมนต์ โดยการลงทุนด้านเครื่องจักรและอุปกรณ์ปรับตัวดีขึ้นตามการฟื้นตัวของอุปสงค์ในประเทศและอุปสงค์ต่อการส่งออก ขณะที่การลงทุนด้านการก่อสร้างเริ่มปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้น
ทั้งนี้ การขยายตัวของการลงทุนเป็นผลจาก (1) ภาคการผลิตบางสาขามีการใช้อัตรากำลังการผลิตสูงเกินกว่าร้อยละ 90 (อาทิ แผงวงจรไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์กระดาษ และโลหะสังกะสี ) จึงเป็นแรงผลักดันให้เกิดการลงทุนใหม่ (2) ผลของมาตรการสนับสนุนการลงทุน และความคืบหน้าของการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ และ (3) อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงโน้มต่ำลง
การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน : มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นตามการขยายตัวของการอุปโภค สินค้าคงทน ซึ่งเป็นผลจากการโน้มลงของอัตราดอกเบี้ย และมาตรการกระตุ้นอุปสงค์ ในประเทศของทางการ แต่ยังมีความเสี่ยงจากภาวะการเลิกจ้างงาน และการลดลงของ รายได้เกษตร การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้มีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน สอดคล้องกับการขยายตัวของเครื่องชี้การอุปโภคบริโภคภาค เอกชนที่สำคัญ อาทิ ยอดจำหน่ายรถยนต์นั่ง ยอดจำหน่ายรถจักรยานยนต์ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ยอดจำหน่ายห้างสรรพสินค้า และคาดว่าเป็นการปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้นจากไตรมาสสุดท้ายของ ปีก่อน ซึ่งเป็นผลจากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ประกอบกับมาตรการกระตุ้นอุปสงค์ในประเทศ และการโน้มต่ำลงของอัตราดอกเบี้ย อย่างไรก็ตาม การฟื้นตัวของการอุปโภคบริโภคยังมีความเสี่ยงจากการฟื้นตัวของทางเศรษฐกิจ ซึ่งการปรับตัวของธุรกิจอาจกระทบต่อภาวะการจ้างงาน และรายได้ของครัวเรือน รวมทั้ง แนวโน้มรายได้เกษตรกรที่ปรับลดลง เครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชน
การใช้จ่ายภาครัฐ : มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ตามการใช้จ่ายของรัฐบาล เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัว ของอุปสงค์ในประเทศ และการลงทุนของรัฐวิสาหกิจที่ปรับตัวดีขึ้น
เครื่องชี้ภาวะการใช้จ่ายภาครัฐ
การใช้จ่ายภาครัฐมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน จากการขยายตัวของรายจ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภค แต่ในอัตราที่ชะลอลงจากการลดลงของงบประมาณ ทั้งนี้ เป็นการดำเนินนโยบายกระตุ้นอุปสงค์ในประเทศต่อเนื่อง เพื่อสนับสนุนให้เกิดการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน
ขณะที่การลงทุนภาครัฐมีแนวโน้มลดลงต่อเนื่องจากช่วงเดียวกันปีก่อน ตามรายจ่ายด้านการลงทุนของรัฐบาลที่ลดลง สะท้อนการลดบทบาทการลงทุนภาครัฐ อย่างไรก็ตามการลงทุนของรัฐวิสาหกิจมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามการฟื้นตัวของอุปสงค์ในประเทศ ส่งผลให้การลงทุนภาครัฐ มีแนวโน้มขยายตัวเมื่อเทียบกันช่วงเดียวกันปีก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
เครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชน
หมายเหตุ : การนำเข้า สินค้าทุนที่หักสินค้าขั้นกลางออก และปรับเป็นราคา ณ ปี 2538
การลงทุนภาคเอกชน (ณ ราคา คงที่) ในไตรมาสแรกของปีนี้มีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อน แม้จะมีระดับการลงทุนลดลงจากไตรมาสสุดท้ายของปีก่อน สอดคล้องกับการขยายตัวของเครื่องชี้ที่สำคัญคือ ยอดจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ การนำเข้าสินค้าทุน ณ ราคาคงที่ และ ยอดจำหน่ายปูนซีเมนต์ โดยการลงทุนด้านเครื่องจักรและอุปกรณ์ปรับตัวดีขึ้นตามการฟื้นตัวของอุปสงค์ในประเทศและอุปสงค์ต่อการส่งออก ขณะที่การลงทุนด้านการก่อสร้างเริ่มปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้น
ทั้งนี้ การขยายตัวของการลงทุนเป็นผลจาก (1) ภาคการผลิตบางสาขามีการใช้อัตรากำลังการผลิตสูงเกินกว่าร้อยละ 90 (อาทิ แผงวงจรไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์กระดาษ และโลหะสังกะสี ) จึงเป็นแรงผลักดันให้เกิดการลงทุนใหม่ (2) ผลของมาตรการสนับสนุนการลงทุน และความคืบหน้าของการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ และ (3) อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงโน้มต่ำลง
การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน : มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นตามการขยายตัวของการอุปโภค สินค้าคงทน ซึ่งเป็นผลจากการโน้มลงของอัตราดอกเบี้ย และมาตรการกระตุ้นอุปสงค์ ในประเทศของทางการ แต่ยังมีความเสี่ยงจากภาวะการเลิกจ้างงาน และการลดลงของ รายได้เกษตร การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้มีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน สอดคล้องกับการขยายตัวของเครื่องชี้การอุปโภคบริโภคภาค เอกชนที่สำคัญ อาทิ ยอดจำหน่ายรถยนต์นั่ง ยอดจำหน่ายรถจักรยานยนต์ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ยอดจำหน่ายห้างสรรพสินค้า และคาดว่าเป็นการปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้นจากไตรมาสสุดท้ายของ ปีก่อน ซึ่งเป็นผลจากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ประกอบกับมาตรการกระตุ้นอุปสงค์ในประเทศ และการโน้มต่ำลงของอัตราดอกเบี้ย อย่างไรก็ตาม การฟื้นตัวของการอุปโภคบริโภคยังมีความเสี่ยงจากการฟื้นตัวของทางเศรษฐกิจ ซึ่งการปรับตัวของธุรกิจอาจกระทบต่อภาวะการจ้างงาน และรายได้ของครัวเรือน รวมทั้ง แนวโน้มรายได้เกษตรกรที่ปรับลดลง เครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชน
การใช้จ่ายภาครัฐ : มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ตามการใช้จ่ายของรัฐบาล เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัว ของอุปสงค์ในประเทศ และการลงทุนของรัฐวิสาหกิจที่ปรับตัวดีขึ้น
เครื่องชี้ภาวะการใช้จ่ายภาครัฐ
การใช้จ่ายภาครัฐมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน จากการขยายตัวของรายจ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภค แต่ในอัตราที่ชะลอลงจากการลดลงของงบประมาณ ทั้งนี้ เป็นการดำเนินนโยบายกระตุ้นอุปสงค์ในประเทศต่อเนื่อง เพื่อสนับสนุนให้เกิดการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน
ขณะที่การลงทุนภาครัฐมีแนวโน้มลดลงต่อเนื่องจากช่วงเดียวกันปีก่อน ตามรายจ่ายด้านการลงทุนของรัฐบาลที่ลดลง สะท้อนการลดบทบาทการลงทุนภาครัฐ อย่างไรก็ตามการลงทุนของรัฐวิสาหกิจมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามการฟื้นตัวของอุปสงค์ในประเทศ ส่งผลให้การลงทุนภาครัฐ มีแนวโน้มขยายตัวเมื่อเทียบกันช่วงเดียวกันปีก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-