ข่าวในประเทศ
1. ธปท. เตรียมหารือ นรม. เพื่อหาแนวทางลดผลขาดทุนสะสม ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท. เตรียมหารือกับ นรม. และ ก.คลัง เพื่อหาแนวทางลดผลขาดทุนสะสมของ ธปท. ที่เกิดจากการเข้าซื้อขายอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ โดยที่ผ่านมา ธปท. ได้ตัดบัญชีเป็นขาดทุนไปแล้ว ณ สิ้นปี 40 จำนวน8.3-8.4 หมื่น ล.บาท และจะตัดบัญชีขาดทุนสะสมเป็นรายปีอีกปีละ 1.68 หมื่น ล.บาทเป็นเวลา 5 ปี นอกจากนั้นอาจมีผลขาดทุนต่อเนื่องอีกในปี 41 และ 42 ซึ่งประมาณการไว้ 2.4 แสน ล.บาท ซึ่งแนวทางที่ผ่านมาจะมีการแก้ไข พ.ร.บ. ธนาคารแห่งประเทศไทยเพื่อรวมบัญชี แต่ในขณะนี้มิได้ดำเนินการในแนวทางดังกล่าวแล้ว จึงจำเป็นต้องหารือเพื่อหาแนวทางอื่นเพื่อแก้ไขฐานะของ ธปท. ต่อไป (ข่าวสด 16)
2. ธปท. คาดว่าเอ็นพีแอลในปี 44 จะลดลงร้อยละ 10 รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ว่า ปี 44 หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) จะปรับตัวลดลงประมาณร้อยละ 10 ซึ่งเป็นผลมาจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ในช่วงที่ผ่านมา ตามกระบวนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้กับคณะกรรมการเพื่อส่งเสริมการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ (คปน.) และที่ ธพ. เจรจาปรับหนี้กับลูกค้าเอง ประกอบกับ ธพ. ได้โอนเอ็นพีแอลที่มีเจ้าหนี้ตั้งแต่ 2 รายขึ้นไปให้บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (ทีเอเอ็มซี) บริหารแทนด้วย จึงทำให้ปัญหาเอ็นพีแอลได้รับการแก้ไขจนมีแนวโน้มปรับตัวลดลงดังกล่าว โดยในการพิจารณายอดเอ็นพีแอลในส่วนที่โอนมาไว้ที่ทีเอเอ็มซีนั้นเป็นการเปลี่ยนจากหนี้เสียเป็นสินทรัพย์เสียจะนับเป็นเอ็นพีแอลทั้งหมดไม่ได้ แต่ยังถือว่าเป็นปัญหาเศรษฐกิจที่ต้องได้รับการแก้ไขเช่นเดิม โดยเอ็นพีแอลที่โอนมาจากบริษัทบริหารสินทรัพย์กรุงเทพฯ พาณิชยการ และบริษัทบริหารสินทรัพย์สุขุมวิท ซึ่งมีมูลหนี้สูงได้เรียกเจ้าหนี้และลูกหนี้ของเอเอ็มซีทั้ง 2 แห่งเข้ามาลงนามในสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้แล้ว (ข่าวสด 17)
3. ทีเอเอ็มซีจะออกพันธบัตรเพื่อรับซื้อหนี้เสียให้กับกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ กรรมการผู้จัดการ ธ.เพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) ในฐานะคณะทำงานพิจารณาแนวทางการจัดตั้งบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (ทีเอเอ็มซี) เปิดเผยว่า ทีเอเอ็มซีจะใช้วิธีรับซื้อหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ของ ธ.พาณิชย์ของรัฐ 4 แห่งด้วยการออกพันธบัตรให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเป็นการชำระหนี้ โดยเมื่อรับซื้อเอ็นพีแอลจากเอเอ็มซีทั้ง 4 แห่งมาแล้วจะปล่อยให้ทีมบริหารของเอเอ็มซีแต่ละแห่งดำเนินการต่อไป โดยจะแบ่งการบริหารออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกเป็นเอ็นพีแอลที่มีเจ้าหนี้เป็นกองทุนฟื้นฟูฯ เพียงรายเดียวคงปล่อยให้เอเอ็มซีแต่ละแห่งดูแลต่อไป ส่วนกลุ่มที่สองเป็นเอ็นพีแอลที่มีเจ้าหนี้หลายราย ให้โอนมาอยู่ในการดูแลของทีเอเอ็มซี ซึ่งคาดว่าวิธีดังกล่าวจะทำให้การบริหารเอ็นพีแอลมีประสิทธิภาพมากกว่า (เดลินิวส์ 17)
ข่าวต่างประเทศ
1. ดัชนีราคาผู้ผลิตของ สรอ. ลดลงร้อยละ 0.1 ในเดือน มี.ค. 44 รายงานจากวอชิงตันเมื่อ 12 เม.ย.44 ก. แรงงาน สรอ. เปิดเผยว่า เดือน มี.ค. 44 ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) โดยรวม ลดลงร้อยละ 0.1 ซึ่งเป็นผลจากราคาพลังงานที่ลดลง และเป็นครั้งแรกที่ลดลงนับตั้งแต่ที่เคยลดลงร้อยละ 0.1 เช่นกันในเดือน ส.ค.43 โดยราคาพลังงานในระดับราคาขายส่งในเดือน มี.ค.44 ลดลงร้อยละ 2.6 หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 ในเดือน ก.พ.44 นับเป็นการลดลงมากที่สุดตั้งแต่ที่เคยลดลงร้อยละ 3.5 ในเดือน เม.ย. 43 ส่วนดัชนีราคาผู้ผลิตพื้นฐาน (Core PPI) ซึ่งไม่รวมราคาอาหารและพลังงานที่ผันผวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 ในเดือน มี.ค.44 ก่อนหน้านี้ นักเศรษฐศาสตร์แห่งวอลล์สตรีทคาดไว้ว่า PPI โดยรวมจะไม่เปลี่ยนแปลง และ Core PPI จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 จากรายงานครั้งนี้ น่าจะส่งผลให้คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของ ธ. กลางคลายความกังวลเรื่องเงินเฟ้อลงได้ หลังจากที่ได้ลดอัตราดอกเบี้ยลงอย่างรุนแรงเมื่อต้นปี 44 เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจที่อ่อนแอ(รอยเตอร์12)
2. สินค้าคงคลังของธุรกิจ สรอ. ในเดือน ก.พ. 44 ลดลงเป็นครั้งแรกในรอบมากกว่า 2 ปี รายงานจากวอชิงตันเมื่อ 13 เม.ย.44 ก. พาณิชย์ สรอ. เปิดเผยว่า สินค้าคงคลังของธุรกิจในเดือน ก.พ.44 มีมูลค่า 1.219 ล้านล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงร้อยละ 0.2 หลังจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 ในเดือน ม.ค.44 นับเป็นการลดลงครั้งแรกตั้งแต่ที่เคยลดลงร้อยละ 0.1 ในเดือน ธ.ค.41 และเป็นการลดลงมากที่สุดตั้งแต่ที่ลดลงร้อยละ 0.3 ในเดือน มี.ค.39 รายงานดังกล่าว นับเป็นข่าวดีสำหรับเศรษฐกิจของ สรอ. ซึ่งจะสนับสนุนความหวังบางประการว่าความไม่สมดุลของสินค้าคงคลังอาจกำลังปรับตัวดีขึ้น(รอยเตอร์13)
3. การค้าปลีกของ สรอ.ลดลงร้อยละ 0.2 ในเดือน มี.ค.44 รายงานจากวอชิงตันเมื่อ 12 เม.ย.44 ก.พาณิชย์เปิดเผยว่า เดือน มี.ค.44 ยอดขายปลีกโดยรวมของอุตสาหกรรมประเภทต่างๆ มีมูลค่า 274.09 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. ลดลงร้อยละ 0.2 หลังปรับฤดูกาล ซึ่งเกินความคาดหมายของนักเศรษฐศาสต์ที่คาดว่าจะไม่เปลี่ยนแปลง และเทียบกับตัวเลขเบื้องต้นในเดือน ก.พ.44 ที่ลดลงร้อยละ 0.2 เช่นเดียวกัน และไม่เปลี่ยนแปลงหลังปรับตัวเลข แต่หากไม่รวมยอดขายรถยนต์ การค้าปลีกในเดือน มี.ค. ลดลงร้อยละ 0.1 ทั้งนี้ ในเดือน มี.ค.44 ยอดขายรถยนต์ลดลงร้อยละ 0.8 ซึ่งลดลงมากที่สุดนับตั้งแต่เดือน พ.ย.43 ที่ลดลงร้อยละ 1.4 สินค้าคงทนซึ่งมีอายุการใช้งานตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป ลดลงถึงร้อยละ 0.7 วัสดุก่อสร้าง ลดลงร้อยละ 1.2 ซึ่งลดลงมากที่สุดนับตั้งแต่เดือน ก.ย.43 ที่ลดลงร้อยละ 1.2 ยอดขายน้ำมันเบนซิน ลดลงร้อยละ 2.0 ต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือน ธ.ค.43 ที่ลดลงร้อยละ 2.5 ทั้งนี้ นักเศรษฐศาสตร์กล่าวว่าการที่ยอดขายปลีกในเดือน มี.ค.โน้มต่ำลงแสดงถึงภาวะเศรษฐกิจของ สรอ.ที่ชะลอตัวลง และจะเพิ่มโอกาสที่ ธ.กลางฯ จะลดอัตราดอกเบี้ยลงอีกในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินครั้งหน้าในวันที่ 15 พ.ค.44 (รอยเตอร์ 12)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์ สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 12 เม.ย.44 45.401 (45.395)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 12 เม.ย. 44ซื้อ 45. 2386 (45.2079) ขาย 45.5456 (45.4963)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,600 (5,550) ขาย 5,700 (5,650)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน - (24.79)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 16.69 (16.69) ดีเซลหมุนเร็ว 13.94 (13.94)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. ธปท. เตรียมหารือ นรม. เพื่อหาแนวทางลดผลขาดทุนสะสม ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท. เตรียมหารือกับ นรม. และ ก.คลัง เพื่อหาแนวทางลดผลขาดทุนสะสมของ ธปท. ที่เกิดจากการเข้าซื้อขายอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ โดยที่ผ่านมา ธปท. ได้ตัดบัญชีเป็นขาดทุนไปแล้ว ณ สิ้นปี 40 จำนวน8.3-8.4 หมื่น ล.บาท และจะตัดบัญชีขาดทุนสะสมเป็นรายปีอีกปีละ 1.68 หมื่น ล.บาทเป็นเวลา 5 ปี นอกจากนั้นอาจมีผลขาดทุนต่อเนื่องอีกในปี 41 และ 42 ซึ่งประมาณการไว้ 2.4 แสน ล.บาท ซึ่งแนวทางที่ผ่านมาจะมีการแก้ไข พ.ร.บ. ธนาคารแห่งประเทศไทยเพื่อรวมบัญชี แต่ในขณะนี้มิได้ดำเนินการในแนวทางดังกล่าวแล้ว จึงจำเป็นต้องหารือเพื่อหาแนวทางอื่นเพื่อแก้ไขฐานะของ ธปท. ต่อไป (ข่าวสด 16)
2. ธปท. คาดว่าเอ็นพีแอลในปี 44 จะลดลงร้อยละ 10 รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ว่า ปี 44 หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) จะปรับตัวลดลงประมาณร้อยละ 10 ซึ่งเป็นผลมาจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ในช่วงที่ผ่านมา ตามกระบวนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้กับคณะกรรมการเพื่อส่งเสริมการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ (คปน.) และที่ ธพ. เจรจาปรับหนี้กับลูกค้าเอง ประกอบกับ ธพ. ได้โอนเอ็นพีแอลที่มีเจ้าหนี้ตั้งแต่ 2 รายขึ้นไปให้บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (ทีเอเอ็มซี) บริหารแทนด้วย จึงทำให้ปัญหาเอ็นพีแอลได้รับการแก้ไขจนมีแนวโน้มปรับตัวลดลงดังกล่าว โดยในการพิจารณายอดเอ็นพีแอลในส่วนที่โอนมาไว้ที่ทีเอเอ็มซีนั้นเป็นการเปลี่ยนจากหนี้เสียเป็นสินทรัพย์เสียจะนับเป็นเอ็นพีแอลทั้งหมดไม่ได้ แต่ยังถือว่าเป็นปัญหาเศรษฐกิจที่ต้องได้รับการแก้ไขเช่นเดิม โดยเอ็นพีแอลที่โอนมาจากบริษัทบริหารสินทรัพย์กรุงเทพฯ พาณิชยการ และบริษัทบริหารสินทรัพย์สุขุมวิท ซึ่งมีมูลหนี้สูงได้เรียกเจ้าหนี้และลูกหนี้ของเอเอ็มซีทั้ง 2 แห่งเข้ามาลงนามในสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้แล้ว (ข่าวสด 17)
3. ทีเอเอ็มซีจะออกพันธบัตรเพื่อรับซื้อหนี้เสียให้กับกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ กรรมการผู้จัดการ ธ.เพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) ในฐานะคณะทำงานพิจารณาแนวทางการจัดตั้งบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (ทีเอเอ็มซี) เปิดเผยว่า ทีเอเอ็มซีจะใช้วิธีรับซื้อหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ของ ธ.พาณิชย์ของรัฐ 4 แห่งด้วยการออกพันธบัตรให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเป็นการชำระหนี้ โดยเมื่อรับซื้อเอ็นพีแอลจากเอเอ็มซีทั้ง 4 แห่งมาแล้วจะปล่อยให้ทีมบริหารของเอเอ็มซีแต่ละแห่งดำเนินการต่อไป โดยจะแบ่งการบริหารออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกเป็นเอ็นพีแอลที่มีเจ้าหนี้เป็นกองทุนฟื้นฟูฯ เพียงรายเดียวคงปล่อยให้เอเอ็มซีแต่ละแห่งดูแลต่อไป ส่วนกลุ่มที่สองเป็นเอ็นพีแอลที่มีเจ้าหนี้หลายราย ให้โอนมาอยู่ในการดูแลของทีเอเอ็มซี ซึ่งคาดว่าวิธีดังกล่าวจะทำให้การบริหารเอ็นพีแอลมีประสิทธิภาพมากกว่า (เดลินิวส์ 17)
ข่าวต่างประเทศ
1. ดัชนีราคาผู้ผลิตของ สรอ. ลดลงร้อยละ 0.1 ในเดือน มี.ค. 44 รายงานจากวอชิงตันเมื่อ 12 เม.ย.44 ก. แรงงาน สรอ. เปิดเผยว่า เดือน มี.ค. 44 ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) โดยรวม ลดลงร้อยละ 0.1 ซึ่งเป็นผลจากราคาพลังงานที่ลดลง และเป็นครั้งแรกที่ลดลงนับตั้งแต่ที่เคยลดลงร้อยละ 0.1 เช่นกันในเดือน ส.ค.43 โดยราคาพลังงานในระดับราคาขายส่งในเดือน มี.ค.44 ลดลงร้อยละ 2.6 หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 ในเดือน ก.พ.44 นับเป็นการลดลงมากที่สุดตั้งแต่ที่เคยลดลงร้อยละ 3.5 ในเดือน เม.ย. 43 ส่วนดัชนีราคาผู้ผลิตพื้นฐาน (Core PPI) ซึ่งไม่รวมราคาอาหารและพลังงานที่ผันผวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 ในเดือน มี.ค.44 ก่อนหน้านี้ นักเศรษฐศาสตร์แห่งวอลล์สตรีทคาดไว้ว่า PPI โดยรวมจะไม่เปลี่ยนแปลง และ Core PPI จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 จากรายงานครั้งนี้ น่าจะส่งผลให้คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของ ธ. กลางคลายความกังวลเรื่องเงินเฟ้อลงได้ หลังจากที่ได้ลดอัตราดอกเบี้ยลงอย่างรุนแรงเมื่อต้นปี 44 เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจที่อ่อนแอ(รอยเตอร์12)
2. สินค้าคงคลังของธุรกิจ สรอ. ในเดือน ก.พ. 44 ลดลงเป็นครั้งแรกในรอบมากกว่า 2 ปี รายงานจากวอชิงตันเมื่อ 13 เม.ย.44 ก. พาณิชย์ สรอ. เปิดเผยว่า สินค้าคงคลังของธุรกิจในเดือน ก.พ.44 มีมูลค่า 1.219 ล้านล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงร้อยละ 0.2 หลังจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 ในเดือน ม.ค.44 นับเป็นการลดลงครั้งแรกตั้งแต่ที่เคยลดลงร้อยละ 0.1 ในเดือน ธ.ค.41 และเป็นการลดลงมากที่สุดตั้งแต่ที่ลดลงร้อยละ 0.3 ในเดือน มี.ค.39 รายงานดังกล่าว นับเป็นข่าวดีสำหรับเศรษฐกิจของ สรอ. ซึ่งจะสนับสนุนความหวังบางประการว่าความไม่สมดุลของสินค้าคงคลังอาจกำลังปรับตัวดีขึ้น(รอยเตอร์13)
3. การค้าปลีกของ สรอ.ลดลงร้อยละ 0.2 ในเดือน มี.ค.44 รายงานจากวอชิงตันเมื่อ 12 เม.ย.44 ก.พาณิชย์เปิดเผยว่า เดือน มี.ค.44 ยอดขายปลีกโดยรวมของอุตสาหกรรมประเภทต่างๆ มีมูลค่า 274.09 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. ลดลงร้อยละ 0.2 หลังปรับฤดูกาล ซึ่งเกินความคาดหมายของนักเศรษฐศาสต์ที่คาดว่าจะไม่เปลี่ยนแปลง และเทียบกับตัวเลขเบื้องต้นในเดือน ก.พ.44 ที่ลดลงร้อยละ 0.2 เช่นเดียวกัน และไม่เปลี่ยนแปลงหลังปรับตัวเลข แต่หากไม่รวมยอดขายรถยนต์ การค้าปลีกในเดือน มี.ค. ลดลงร้อยละ 0.1 ทั้งนี้ ในเดือน มี.ค.44 ยอดขายรถยนต์ลดลงร้อยละ 0.8 ซึ่งลดลงมากที่สุดนับตั้งแต่เดือน พ.ย.43 ที่ลดลงร้อยละ 1.4 สินค้าคงทนซึ่งมีอายุการใช้งานตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป ลดลงถึงร้อยละ 0.7 วัสดุก่อสร้าง ลดลงร้อยละ 1.2 ซึ่งลดลงมากที่สุดนับตั้งแต่เดือน ก.ย.43 ที่ลดลงร้อยละ 1.2 ยอดขายน้ำมันเบนซิน ลดลงร้อยละ 2.0 ต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือน ธ.ค.43 ที่ลดลงร้อยละ 2.5 ทั้งนี้ นักเศรษฐศาสตร์กล่าวว่าการที่ยอดขายปลีกในเดือน มี.ค.โน้มต่ำลงแสดงถึงภาวะเศรษฐกิจของ สรอ.ที่ชะลอตัวลง และจะเพิ่มโอกาสที่ ธ.กลางฯ จะลดอัตราดอกเบี้ยลงอีกในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินครั้งหน้าในวันที่ 15 พ.ค.44 (รอยเตอร์ 12)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์ สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 12 เม.ย.44 45.401 (45.395)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 12 เม.ย. 44ซื้อ 45. 2386 (45.2079) ขาย 45.5456 (45.4963)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,600 (5,550) ขาย 5,700 (5,650)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน - (24.79)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 16.69 (16.69) ดีเซลหมุนเร็ว 13.94 (13.94)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-