นายเกริกไกร จีระแพทย์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า บริษัท St. Maxens บริษัทที่ปรึกษาด้าน GSP ของไทยในสหรัฐฯ
แจ้งว่า เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2543 ผู้แทนการค้าของสหรัฐฯ (USTR) ได้ประกาศผลการทบทวน GSP ประจำปี 2542 ปรากฏว่ามีสินค้าไทยได้รับ
การผ่อนผันไม่ให้ระงับสิทธิ GSP กรณี De Minimis Waivers จำนวน 6 รายการ โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2543 เป็นต้นไป ทั้งนี้
กรมการค้าต่างประเทศได้ยื่นคำร้องขอผ่อนผัน ไม่ให้ระงับสิทธิ GSP สินค้าดังกล่าว เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2543
รายการสินค้าที่ได้รับการคืนสิทธิทั้ง 6 รายการ มีรายละเอียด ดังนี้
==========================================================================
ลำดับที่ พิกัดฯ รายการสินค้า ภาษีนำเข้าสหรัฐฯ
ปี 2543 (%)
==========================================================================
1. 0813.40.10 มะละกอแห้ง 1.8
2. 1102.30.00 แป้งข้าว 0.09 c/kg
3. 1605.90.10 หอยลายต้มบรรจุในภาชนะอัดลม 10
4. 2008.99.35 ลิ้นจี่และลำไยปรุงแต่ง 7
5. 2008.99.50 มะละกอส่วนที่ไม่ใช่เนื้อปรุงแต่ง 1.8
6. 8528.12.80 เครื่องรับโทรทัศน์สีพร้อม 3.9
เครื่องเล่นวีดีโอมีขนาดเส้น
ทะแยงมุมมากกว่า 34.29 ซม.
===========================================================================
ทั้งนี้ หากมีการส่งออกสินค้าดังกล่าวไปสหรัฐฯ โดยใช้สิทธิ GSP ผู้นำเข้าสหรัฐฯ จะได้รับการยกเว้นภาษีนำเข้า และรายการที่ไทยจะ
ได้รับประโยชน์จากการผ่อนผันครั้งนี้มากที่สุด คือ หอยลายต้มบรรจุในภาชนะอัดลม ลิ้นจี่และลำไยปรุงแต่ง และ เครื่องรับโทรทัศน์สีพร้อมเครื่อง
เล่นวีดีโอ เนื่องจากมีอัตราภาษีนำเข้าสหรัฐฯ ค่อนข้างสูง โดยอยู่ในช่วงร้อยละ 3.9 - 10
นอกจากนี้ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า ตามกฏการขอผ่อนผันไม่ให้ระงับสิทธิกรณีนี้ กำหนดไว้ว่า หากสินค้าใดมี
ส่วนแบ่งตลาดนำเข้าสหรัฐฯ เกินร้อยละ 50 แต่มูลค่ารวมของสินค้านั้นที่สหรัฐฯ นำเข้าจากทั่วโลกต่ำกว่าที่สหรัฐฯ กำหนดไว้ ซึ่งในปี 2542 เท่ากับ
14.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สินค้านั้นก็อาจจะได้รับการผ่อนผันไม่ถูกระงับสิทธิ GSP
--กรมการค้าต่างประเทศ กรกฎาคม 2543--
-อน-
แจ้งว่า เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2543 ผู้แทนการค้าของสหรัฐฯ (USTR) ได้ประกาศผลการทบทวน GSP ประจำปี 2542 ปรากฏว่ามีสินค้าไทยได้รับ
การผ่อนผันไม่ให้ระงับสิทธิ GSP กรณี De Minimis Waivers จำนวน 6 รายการ โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2543 เป็นต้นไป ทั้งนี้
กรมการค้าต่างประเทศได้ยื่นคำร้องขอผ่อนผัน ไม่ให้ระงับสิทธิ GSP สินค้าดังกล่าว เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2543
รายการสินค้าที่ได้รับการคืนสิทธิทั้ง 6 รายการ มีรายละเอียด ดังนี้
==========================================================================
ลำดับที่ พิกัดฯ รายการสินค้า ภาษีนำเข้าสหรัฐฯ
ปี 2543 (%)
==========================================================================
1. 0813.40.10 มะละกอแห้ง 1.8
2. 1102.30.00 แป้งข้าว 0.09 c/kg
3. 1605.90.10 หอยลายต้มบรรจุในภาชนะอัดลม 10
4. 2008.99.35 ลิ้นจี่และลำไยปรุงแต่ง 7
5. 2008.99.50 มะละกอส่วนที่ไม่ใช่เนื้อปรุงแต่ง 1.8
6. 8528.12.80 เครื่องรับโทรทัศน์สีพร้อม 3.9
เครื่องเล่นวีดีโอมีขนาดเส้น
ทะแยงมุมมากกว่า 34.29 ซม.
===========================================================================
ทั้งนี้ หากมีการส่งออกสินค้าดังกล่าวไปสหรัฐฯ โดยใช้สิทธิ GSP ผู้นำเข้าสหรัฐฯ จะได้รับการยกเว้นภาษีนำเข้า และรายการที่ไทยจะ
ได้รับประโยชน์จากการผ่อนผันครั้งนี้มากที่สุด คือ หอยลายต้มบรรจุในภาชนะอัดลม ลิ้นจี่และลำไยปรุงแต่ง และ เครื่องรับโทรทัศน์สีพร้อมเครื่อง
เล่นวีดีโอ เนื่องจากมีอัตราภาษีนำเข้าสหรัฐฯ ค่อนข้างสูง โดยอยู่ในช่วงร้อยละ 3.9 - 10
นอกจากนี้ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า ตามกฏการขอผ่อนผันไม่ให้ระงับสิทธิกรณีนี้ กำหนดไว้ว่า หากสินค้าใดมี
ส่วนแบ่งตลาดนำเข้าสหรัฐฯ เกินร้อยละ 50 แต่มูลค่ารวมของสินค้านั้นที่สหรัฐฯ นำเข้าจากทั่วโลกต่ำกว่าที่สหรัฐฯ กำหนดไว้ ซึ่งในปี 2542 เท่ากับ
14.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สินค้านั้นก็อาจจะได้รับการผ่อนผันไม่ถูกระงับสิทธิ GSP
--กรมการค้าต่างประเทศ กรกฎาคม 2543--
-อน-