ระดับราคา : ในช่วงครึ่งแรกของปี 2543 อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (%yoy) มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเล็กน้อย จากร้อยละ 0.2 ในไตรมาสแรก
เป็นร้อยละ 1.0 ในไตรมาสที่สอง ซึ่งอยู่ภายในเป้าหมาย ของนโยบายการเงินร้อยละ 0 - 3.5
ดัชนีราคาผู้บริโภคในช่วงครึ่งแรกของปี 2543 เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.2 โดยเป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าหมวด
อื่นๆที่มิใช่อาหารร้อยละ 3.0 ในขณะที่ราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่มลดลงร้อยละ -1.6 สำหรับดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (ไม่รวมราคาอาหารสด
และพลังงาน)ในครึ่งแรกของปี 2543 เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.6
อัตราเงินเฟ้อรายไตรมาส
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 ครึ่งแรก ครึ่งหลัง ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ครึ่งแร
ดัชนีราคาผู้บริโภค (% qoq) 0 -0.9 0.3 0.6 - - 0.8 -0.1 -
(% yoy) 2.6 -0.5 -1 0.1 1.1 -0.5 0.9 1.6 1.2
- หมวดอาหารและเครื่องดื่ม (% qoq) -0.1 -1 -0.6 -0.4 - - 0.3 -0.8 -
(% yoy) 3 -1.2 -2.9 -2.1 0.8 -2.4 -1.7 -1.6 -1.6
- หมวดอื่นๆ ที่มิใช่อาหาร (% qoq) 0.1 -0.7 0.9 1.1 - - 1.1 0.4 -
(% yoy) 2.4 0 0.2 1.4 1.2 0.7 2.4 3.6 3
ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (% qoq) 0.6 -0.6 0.3 0.4 - - 0.2 0.1 -
(% yoy) 4 1.6 0.9 0.7 2.8 0.8 0.2 1 0.6
ที่มา: สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
หมายเหตุ : %qoq หมายถึง อัตราการเปลี่ยนแปลงจากไตรมาสก่อน
%yoy หมายถึง อัตราการเปลี่ยนแปลงจากระยะเดียวกันปีก่อน
สาเหตุสำคัญที่ทำให้อัตราเงินเฟ้อในครึ่งแรกของปี 2543 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ได้แก่
1.1 การเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก ทำให้ต้นทุนเชื้อเพลิงภายในประเทศ ประกอบด้วยราคาน้ำมันเบนซิน
และน้ำมันดีเซลหมุนเร็วปรับสูงขึ้นเช่นกัน ในอัตราร้อยละ 36.4 และ ร้อยละ 47.2 ในครึ่งแรกของปี 2543 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
ตามลำดับ
1.2 การปรับเพิ่มขึ้นของต้นทุนราคาค่าเชื้อเพลิง ส่งผลให้ค่าไฟฟ้าในช่วงครึ่งแรกของปี 2543 ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.5 เมื่อเทียบ
กับช่วงเดียวกันปีก่อน
1.3 การอ่อนตัวต่อเนื่องของค่าเงินบาทในครึ่งแรกของปี 2543 โดยค่าเงินอ่อนค่าลงจาก 37.12 บาท/ดอลลาร์ สรอ. ในครึ่งแรก
ของปี 2542 เป็น 38.16 บาท/ดอลลาร์ สรอ. ในครึ่งแรกของปี 2543 ส่งผลให้ราคาสินค้านำเข้าในรูปเงินบาทปรับสูงขึ้น
ส่วนราคาสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่มส่งผลตรงกันข้ามต่ออัตราเงินเฟ้อ โดยลดลงร้อยละ —1.6 ในครึ่งแรกของปี 2543 เมื่อ
เทียบกับครึ่งแรกของปี 2542 เนื่องจากปริมาณผลผลิตเกษตรออกสู่ตลาดมากขึ้น อาทิ หมูเนื้อแดง ไก่สด และผักและผลไม้บางชนิด
ในช่วงครึ่งแรกของปี 2543 อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับที่สูงกว่าอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอย่างต่อเนื่อง สาเหตุสำคัญเนื่องจากการปรับเพิ่ม
ขึ้นอย่างต่อเนื่องของราคาน้ำมัน ซึ่งสังเกตได้จากการเพิ่มขึ้นของราคาพลังงาน ทั้งนี้ ในช่วงครึ่งหลังของปี 2543 คาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะยังคงมี
แนวโน้มสูงกว่าอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน สาเหตุสำคัญเนื่องจาก คาดว่าราคาน้ำมันจะยังทรงตัวในระดับสูง
ความเคลื่อนไหวของราคาน้ำมัน ค่าไฟฟ้าและอัตราแลกเปลี่ยน
ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ม.ค. -มิ.ย.
น้ำมันดูไบ (ดอลลาร์ สรอ./บาเรล) 23.43 24.66 25.08 22.15 25.76 27.22 24.72
น้ำมันเบนซิน 97 (บาท/ลิตร) 13.95 14.67 15.28 14.15 15.1 15.58 14.79
น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว (บาท/ลิตร) 11.11 11.6 12.42 11.41 11.76 12.46 11.79
ค่าไฟฟ้า (บาท/ยูนิต) 2.02 2.02 2.02 2.07 2.07 2.07 2.05
อัตราแลกเปลี่ยน (บาท/ดอลลาร์สรอ.) 37.35 37.71 37.9 37.97 38.95 39.06 38.16
ที่มา: กระทรวงพาณิชย์ และธนาคารแห่งประเทศไทย
สำหรับประเทศในภูมิภาคในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2543 ประเทศที่มีอัตราเงินเฟ้อร้อยละ 1 — 2 ใกล้เคียงกับไทย ได้แก่ มาเลเซีย
สิงคโปร์ ไต้หวัน และเกาหลีใต้ ในขณะที่ฟิลิปปินส์มีอัตรา เงินเฟ้อร้อยละ 3.3 ส่วนจีนและอินโดนีเซียมีอัตราเงินเฟ้อใกล้เคียงกับ 0 และฮ่องกงมี
อัตราเงินเฟ้อ ติดลบ
สำหรับดัชนีราคาผู้ผลิตปรับตัวสอดคล้องกับดัชนีราคาผู้บริโภค โดยดัชนีราคาผู้ผลิต ในครึ่งแรกของปี 2543 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9 เทียบกับ
การลดลงร้อยละ —5.8 ในระยะเดียวกันปีก่อน ทั้งนี้เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าในหมวดผลิตภัณฑ์จากเหมือง และหมวดผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม
ตามราคา น้ำมันดิบในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้น
เงินเฟ้อของประเทศในภูมิภาค
(อัตราเพิ่มของดัชนีราคาผู้บริโภคจากระยะเดียวกันปีก่อน)
ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. ม.ค.-พ.ค.
อินโดนีเซีย 0.3 -0.9 -1.2 0.1 1.2 -0.1
ฟิลิปปินส์ 2.6 3 3.3 3.6 4 3.3
มาเลเซีย 1.6 1.5 1.5 1.5 1.3 1.5
สิงคโปร์ 0.9 1.2 1.2 1.1 0.6 1
ไทย 0.5 0.9 1.1 1.2 1.7 1.1
จีน -0.2 0.7 -0.2 -0.3 0.1 0
ฮ่องกง -5.3 -5.1 -5 -3.9 -4.5 -4.8
ไต้หวัน 0.5 0.9 1.1 1.3 1.6 1.1
เกาหลีใต้ 1.6 1.4 1.6 1 1.1 1.4
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
เป็นร้อยละ 1.0 ในไตรมาสที่สอง ซึ่งอยู่ภายในเป้าหมาย ของนโยบายการเงินร้อยละ 0 - 3.5
ดัชนีราคาผู้บริโภคในช่วงครึ่งแรกของปี 2543 เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.2 โดยเป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าหมวด
อื่นๆที่มิใช่อาหารร้อยละ 3.0 ในขณะที่ราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่มลดลงร้อยละ -1.6 สำหรับดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (ไม่รวมราคาอาหารสด
และพลังงาน)ในครึ่งแรกของปี 2543 เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.6
อัตราเงินเฟ้อรายไตรมาส
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 ครึ่งแรก ครึ่งหลัง ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ครึ่งแร
ดัชนีราคาผู้บริโภค (% qoq) 0 -0.9 0.3 0.6 - - 0.8 -0.1 -
(% yoy) 2.6 -0.5 -1 0.1 1.1 -0.5 0.9 1.6 1.2
- หมวดอาหารและเครื่องดื่ม (% qoq) -0.1 -1 -0.6 -0.4 - - 0.3 -0.8 -
(% yoy) 3 -1.2 -2.9 -2.1 0.8 -2.4 -1.7 -1.6 -1.6
- หมวดอื่นๆ ที่มิใช่อาหาร (% qoq) 0.1 -0.7 0.9 1.1 - - 1.1 0.4 -
(% yoy) 2.4 0 0.2 1.4 1.2 0.7 2.4 3.6 3
ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (% qoq) 0.6 -0.6 0.3 0.4 - - 0.2 0.1 -
(% yoy) 4 1.6 0.9 0.7 2.8 0.8 0.2 1 0.6
ที่มา: สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์
หมายเหตุ : %qoq หมายถึง อัตราการเปลี่ยนแปลงจากไตรมาสก่อน
%yoy หมายถึง อัตราการเปลี่ยนแปลงจากระยะเดียวกันปีก่อน
สาเหตุสำคัญที่ทำให้อัตราเงินเฟ้อในครึ่งแรกของปี 2543 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ได้แก่
1.1 การเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก ทำให้ต้นทุนเชื้อเพลิงภายในประเทศ ประกอบด้วยราคาน้ำมันเบนซิน
และน้ำมันดีเซลหมุนเร็วปรับสูงขึ้นเช่นกัน ในอัตราร้อยละ 36.4 และ ร้อยละ 47.2 ในครึ่งแรกของปี 2543 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
ตามลำดับ
1.2 การปรับเพิ่มขึ้นของต้นทุนราคาค่าเชื้อเพลิง ส่งผลให้ค่าไฟฟ้าในช่วงครึ่งแรกของปี 2543 ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.5 เมื่อเทียบ
กับช่วงเดียวกันปีก่อน
1.3 การอ่อนตัวต่อเนื่องของค่าเงินบาทในครึ่งแรกของปี 2543 โดยค่าเงินอ่อนค่าลงจาก 37.12 บาท/ดอลลาร์ สรอ. ในครึ่งแรก
ของปี 2542 เป็น 38.16 บาท/ดอลลาร์ สรอ. ในครึ่งแรกของปี 2543 ส่งผลให้ราคาสินค้านำเข้าในรูปเงินบาทปรับสูงขึ้น
ส่วนราคาสินค้าหมวดอาหารและเครื่องดื่มส่งผลตรงกันข้ามต่ออัตราเงินเฟ้อ โดยลดลงร้อยละ —1.6 ในครึ่งแรกของปี 2543 เมื่อ
เทียบกับครึ่งแรกของปี 2542 เนื่องจากปริมาณผลผลิตเกษตรออกสู่ตลาดมากขึ้น อาทิ หมูเนื้อแดง ไก่สด และผักและผลไม้บางชนิด
ในช่วงครึ่งแรกของปี 2543 อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับที่สูงกว่าอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอย่างต่อเนื่อง สาเหตุสำคัญเนื่องจากการปรับเพิ่ม
ขึ้นอย่างต่อเนื่องของราคาน้ำมัน ซึ่งสังเกตได้จากการเพิ่มขึ้นของราคาพลังงาน ทั้งนี้ ในช่วงครึ่งหลังของปี 2543 คาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะยังคงมี
แนวโน้มสูงกว่าอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน สาเหตุสำคัญเนื่องจาก คาดว่าราคาน้ำมันจะยังทรงตัวในระดับสูง
ความเคลื่อนไหวของราคาน้ำมัน ค่าไฟฟ้าและอัตราแลกเปลี่ยน
ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ม.ค. -มิ.ย.
น้ำมันดูไบ (ดอลลาร์ สรอ./บาเรล) 23.43 24.66 25.08 22.15 25.76 27.22 24.72
น้ำมันเบนซิน 97 (บาท/ลิตร) 13.95 14.67 15.28 14.15 15.1 15.58 14.79
น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว (บาท/ลิตร) 11.11 11.6 12.42 11.41 11.76 12.46 11.79
ค่าไฟฟ้า (บาท/ยูนิต) 2.02 2.02 2.02 2.07 2.07 2.07 2.05
อัตราแลกเปลี่ยน (บาท/ดอลลาร์สรอ.) 37.35 37.71 37.9 37.97 38.95 39.06 38.16
ที่มา: กระทรวงพาณิชย์ และธนาคารแห่งประเทศไทย
สำหรับประเทศในภูมิภาคในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2543 ประเทศที่มีอัตราเงินเฟ้อร้อยละ 1 — 2 ใกล้เคียงกับไทย ได้แก่ มาเลเซีย
สิงคโปร์ ไต้หวัน และเกาหลีใต้ ในขณะที่ฟิลิปปินส์มีอัตรา เงินเฟ้อร้อยละ 3.3 ส่วนจีนและอินโดนีเซียมีอัตราเงินเฟ้อใกล้เคียงกับ 0 และฮ่องกงมี
อัตราเงินเฟ้อ ติดลบ
สำหรับดัชนีราคาผู้ผลิตปรับตัวสอดคล้องกับดัชนีราคาผู้บริโภค โดยดัชนีราคาผู้ผลิต ในครึ่งแรกของปี 2543 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9 เทียบกับ
การลดลงร้อยละ —5.8 ในระยะเดียวกันปีก่อน ทั้งนี้เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าในหมวดผลิตภัณฑ์จากเหมือง และหมวดผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม
ตามราคา น้ำมันดิบในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้น
เงินเฟ้อของประเทศในภูมิภาค
(อัตราเพิ่มของดัชนีราคาผู้บริโภคจากระยะเดียวกันปีก่อน)
ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. ม.ค.-พ.ค.
อินโดนีเซีย 0.3 -0.9 -1.2 0.1 1.2 -0.1
ฟิลิปปินส์ 2.6 3 3.3 3.6 4 3.3
มาเลเซีย 1.6 1.5 1.5 1.5 1.3 1.5
สิงคโปร์ 0.9 1.2 1.2 1.1 0.6 1
ไทย 0.5 0.9 1.1 1.2 1.7 1.1
จีน -0.2 0.7 -0.2 -0.3 0.1 0
ฮ่องกง -5.3 -5.1 -5 -3.9 -4.5 -4.8
ไต้หวัน 0.5 0.9 1.1 1.3 1.6 1.1
เกาหลีใต้ 1.6 1.4 1.6 1 1.1 1.4
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-