องค์กรอุทธรณ์แหกกฎ WTO เอาใจกลุ่ม NGOs สิ่งแวดล้อม -------------------------------------------------------------------------------- องค์กรอุทธรณ์ของ WTO ที่พิจารณา กรณีพิพาทระหว่างไทยและพวกกับสหรัฐฯ เรื่องกุ้งกับเต่ายอมพิจารณา ข้อคิดเห็นของกลุ่ม NGOs ด้านสิ่งแวดล้อมในการพิจารณาคดีนี้ เข้าใจว่าถูกกดดันอย่างหนักจากทั้งสหรัฐฯ และองค์กรเอกชน ทั้งๆ ที่ไม่มีบทบัญญัติของกระบวนการยุติข้อพิพาท (Dispute Settlement Understanding : DSU) และวิธีพิจารณาความ (Working Procedures) ของ WTO อนุญาตให้องค์กรอื่นที่มิใช่สมาชิก เข้ามีส่วน ร่วมในกระบวนการพิจารณาแต่อย่างใดเว้นแต่จะมีการร้องขอขององค์กรอุทธรณ์ ในกรณีนี้ปรากฎข้อเท็จ จริงว่า ในขั้นตอนการพิจารณาของคณะผู้พิจารณา (Panel) คณะผู้พิจารณาได้ชี้ขาดไม่รับ Amicus brief ของ NGOs เพราะคณะผู้พิจารณาไม่ได้ขอและขัดกับบทบัญญัติว่า ด้วยการยุติข้อพิพาทที่ให้อำนาจการขอความเห็น จากฝ่ายต่างๆ ได้ แต่ต้องเกิดจากการตัดสินของคณะผู้พิจารณาเอง และนอกจากคู่กรณีและประเทศที่มีส่วนได้ เสียแล้ว ประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะคนนอกไม่มีสิทธิเสนอข้อคิดเห็นไม่ว่าในลักษณะใด NGOs จึงได้เสนอ เอกสารไปยังสหรัฐฯ และสหรัฐฯ ได้ผนวกเป็นภาคผนวกในคำให้การของตนทำให้เกิดปัญหาว่าเป็นการ หลบเลี่ยงกฎเกณฑ์ การที่องค์กรอุทธรณ์ตัดสินใจดังกล่าวโดยยังไม่มีคำชี้แจงในขณะตัดสินรับจนกว่าจะมี รายงานของตนออกมาในอีกประมาณ 30-60 วันข้างหน้า ถือได้ว่าเป็นการใช้อำนาจที่มีอยู่เกินขอบเขตและไม่ เป็นธรรม ซึ่งเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของ WTO ซึ่งจะมีผลเป็นการทำลายระบบความยุติธรรมของการ พิจารณายุติข้อพิพาทของ WTO รวมถึงภาพพจน์ความเป็นธรรมของ องค์กรอุทธรณ์เอง เพราะนอกจากจะเป็น การตัดสินที่ขัดกับกฎระเบียบและวิธีปฏิบัติของการยุติข้อพิพาทแล้วยังเป็นการสร้างหลักเกณฑ์ใหม่ขึ้นเอง โดยที่แท้จริงแล้ว การสร้างหลักเกณฑ์ใดๆ จะต้องดำเนินการและเห็นชอบโดยสมาชิก WTO เท่านั้น นอกจากนี้ ยังเป็นการกดดันเวลาต่อกลุ่มผู้ถูกอุทธรณ์เนื่องจากต้องเพิ่มงานการโต้แย้งของ NGOs ต่างๆ ถึง 4 ฉบับ ในระยะ เวลากระชั้นชิด ขณะเดียวกันกลับเป็นการเปิดโอกาสให้สหรัฐฯ มีเวลาทบทวนปรับปรุงเอกสารที่ยื่น อุทธรณ์ โดยนำข้อชี้แนะของ NGOs มาประกอบการพิจารณา ในการยื่นเอกสารข้อคิดเห็น (submission) ของสหรัฐฯ ต่อองค์กรอุทธรณ์เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2541 นั้น สหรัฐฯ ได้ผนวกข้อคิดเห็น/ข้อโต้แย้ง (amicus briefs) ของ NGOs 3 กลุ่มเสนอต่อองค์กรอุทธรณ์ด้วย คือ กลุ่ม Earth Island Institute และพวก กลุ่ม WWF International และกลุ่ม Center for International Environmental Law (CIEL) และพวก ที่คัดค้านผลสรุป การพิจารณาว่ามาตรการห้ามนำเข้ากุ้งของสหรัฐฯ ที่มีเงื่อนไขบังคับให้ใช้เครื่องมือ TEDs ในการจับกุ้งเป็น มาตรการที่มีผลคุกคามต่อระบบการค้าพหุภาคีและขัดกับบทบัญญัติมาตรา 20 ของความตกลง GATT 1994 เอกสารของ NGOs ดังกล่าว นอกจากจะมีประเด็นข้อกฎหมายแล้ว ยังได้ระบุประเด็นข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการ อนุรักษ์เต่าทะเลอีกด้วย อย่างไรก็ตาม สหรัฐฯ ได้กันตัวเองออกจากความเห็น ของกลุ่ม NGOs ว่าเอกสาร ความเห็นของ NGOs มีความเป็นอิสระ ไม่เกี่ยวข้องกับความเห็นของสหรัฐฯ ในกรณีพิพาทนี้ ในขณะเดียวกัน เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2541 ซึ่งเลยกำหนดเวลาที่ผู้อุทธรณ์จะยื่นเอกสารข้อคิดเห็นไปแล้วนั้น กลุ่ม CIEL ได้ยื่นเอกสารข้อคิดเห็นของตนที่ได้แก้ไขปรับปรุงใหม่ให้กับองค์กรอุทธรณ์โดยตรง โดยไม่ผ่านสหรัฐฯ แต่อย่างใดกลุ่มผู้ถูกยื่นอุทธรณ์ (appellees) ซึ่งประกอบด้วยอินเดีย ปากีสถาน มาเลเซีย และไทยได้ยื่นคัดค้าน การเข้ามามีส่วนร่วมของ NGOs ดังกล่าว โดยได้ระบุในเอกสารข้อคิดเห็น (submissions) ว่าการยื่นเอกสาร "amicus briefs" ของ NGOs ขัดกับบทบัญญัติว่าด้วยกระบวนการยุติข้อพิพาทที่ไม่อนุญาต ให้บุคคลภายนอก ที่ไม่ได้เป็นสมาชิกของ WTO เข้ามามีส่วนร่วมในการให้ข้อคิดเห็นเว้นแต่ว่าองค์กร อุทธรณ์จะร้องขอ นอกจากนี้เอกสารของ NGOs ยังประกอบด้วยประเด็นข้อเท็จจริง ซึ่งในขั้นตอนของการอุทธรณ์นั้น จะต้อง อุทธรณ์เฉพาะข้อกฎหมายเท่านั้น และเรียกร้องให้องค์กรอุทธรณ์ปฏิเสธเอกสาร amicus briefs ดังกล่าว อย่างไรก็ตาม ข้อคัดค้านของกลุ่มผู้ถูกยื่นอุทธรณ์ไม่เป็นผล เนื่องจากเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม ศกนี้ องค์กรอุทธรณ์ ได้มีหนังสือแจ้งต่อคู่กรณีและประเทศผู้มีส่วนได้เสีย (third party) ว่าจะยอมรับฟังข้อคิดเห็นของ NGOs ทั้งสามที่ได้ยื่นผ่านสหรัฐฯ รวมทั้งยอมรับพิจารณาเอกสารของ CIEL ที่ได้ยื่นแยกต่างหากภายหลังอีกด้วย โดยจะให้เหตุผลในรายงานผลการตัดสินในภายหลัง รวมทั้งได้ขอให้สหรัฐฯ พิจารณาว่าจะยอมรับ amicus briefs ของ NGOs ทั้งหมดหรืออันใดอันหนึ่ง พร้อมกับเปิดโอกาสให้ผู้ถูกยื่นอุทธรณ์และประเทศผู้มีส่วน ได้เสียให้ข้อคิดเห็น/ข้อโต้แย้งได้ด้วยผลจากการที่องค์กรอุทธรณ์ได้ยอมรับเอกสาร amicus briefs ทำให้กลุ่มผู้ ถูกยื่นอุทธรณ์ได้ทำหนังสือคัดค้านอีกครั้งหนึ่งโดยแสดงความผิดหวังต่อการตัดสินดังกล่าว และย้ำว่าองค์กร อุทธรณ์ควรเคร่งครัดต่อกฎระเบียบ โดยการสนับสนุนระบบการค้าพหุภาคีซึ่งเป็นองค์การที่ดูแลด้าน กฎระเบียบการค้า พร้อมกับให้เหตุผลในข้อกฎหมายว่าภายใต้กระบวนการยุติข้อพิพาท ไม่อนุญาตให้บุคคล ภายนอกอื่นเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการยุติข้อพิพาทแต่อย่างใดอันที่จริง ก่อนหน้านี้ ภายใต้การพิจารณา ของคณะผู้พิจารณา (panel) ในคดีนี้ กลุ่ม NGOs ก็ได้กดดันให้คณะผู้พิจารณายอมรับพิจารณา "amicus brief" ของตนจนเป็นผลสำเร็จ แม้ว่ากลุ่มผู้ฟ้องร่วม (ในขณะนั้น) จะคัดค้านก็ตามแต่ทั้งนี้ คณะผู้พิจารณาได้มีเงื่อนไข ว่าสหรัฐฯ จะต้องยอมรับว่าเป็นส่วนหนึ่งของเอกสารของสหรัฐฯ และไม่ได้มีการยอมรับโดยตรงโดยไม่ผ่าน คู่กรณีเหมือนอย่างที่องค์กรอุทธรณ์ได้ยอมรับเอกสารของ CIEL กรณีพิพาทเรื่องสหรัฐฯ ห้ามนำเข้ากุ้ง โดยอ้างวัตถุประสงค์เพื่อคุ้งครองเต่าทะเลนี้ คณะผู้พิจารณาได้มีข้อสรุปผลการพิจารณาว่ามาตรการของสหรัฐฯ มีผลคุกคามต่อระบบการค้าพหุภาคี และมาตรการอนุรักษ์เต่าทะเลนั้นมีหลายวิธี เครื่องมือ TEDs เป็นเพียง มาตรการหนึ่งเท่านั้น การคุ้มครองเต่าทะเลจะมีประสิทธิภาพได้จะต้องมีการ อนุรักษ์เต่าทะเลในหลายๆ ด้าน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม เศรษฐกิจและสังคมของแต่ละประเทศ อย่างไรก็ตาม สหรัฐฯ ซึ่งแพ้คดีได้ขอ อุทธรณ์ต่อองค์กรยุติข้อพิพาท (Dispute Settlement Body) เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2541 การพิจารณาคดีในขั้น อุทธรณ์อยู่ภายใต้อำนาจหน้าที่ขององค์กรอุทธรณ์ (appellate body) ที่ได้รับแต่งตั้งจำนวน 3 คน จากจำนวน ทั้งหมด 7 คนองค์กรอุทธรณ์จะประชุมพิจารณาคดี (oral hearing) ในวันที่ 19 - 20 สิงหาคม 2541 และจะแจ้ง ผลการตัดสินในราวกลางเดือนกันยายน ศกนี้ การตัดสินขององค์กรอุทธรณ์ นี้ถือว่าเป็นการชี้ขาดขั้นสุดท้าย และถือว่าเป็นที่สุดแล้ว ดังนั้น ความเป็นธรรมของการตัดสินขององค์กรอุทธรณ์ จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อ การคงอยู่ของความน่าเชื่อถือของ WTO ภายใต้ระบบการค้าพหุภาคีที่เพิ่งจะเฉลิมฉลองครบรอบ 50 ปี เมื่อ เดือนพฤษภาคม 2541 ที่ผ่านมา แม้ว่าคดีเรื่องกุ้งกับเต่าทะเลจะมีความยากและซับซ้อน มากยิ่ง แต่สิ่งที่ท้าทาย และยากยิ่งกว่าสำหรับองค์กรอุทธรณ์ในคดีนี้ คือจะยืนหยัดต้านแรงกดดันจากกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ได้อย่างไร โดยมี "เกียรติยศและความเป็นธรรม" ของตนในฐานะศาลสูงสุดของ WTO และความคงอยู่ของ ระบบการค้าพหุภาคีซึ่งถือได้ว่าเป็นระบบที่เป็นธรรมมากที่สุดในขณะนี้เป็นเดิมพัน ติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติมผ่าน E-mail mailto:thai(WTO)@lprolink.ch หรือ http://www.dbe.moc.go.th/MOCOff/Oversea/OverSeaPart.html More Information Contact to The Permanent Mission of Thailand to the World Trade Organization (WTO)
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กุมภาพันธ์ 2543--
-ปส-
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กุมภาพันธ์ 2543--
-ปส-