วันที่ 27 กันยายน 2544 นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค ประธาน
คณะกรรมาธิการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ และนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ
โฆษกกรรมาธิการ ร่วมกันแถลงผลการประชุมว่า คณะกรรมาธิการได้เชิญ พล.อ.ปอง มณีศิลป์ ผบ.ทอ.
และคณะเข้าชี้แจงกรณีการทำสัญญาจัดซื้ออุปกรณ์อะไหล่เพื่อซ่อมเฮลิคอปเตอร์
รุ่น ยู เอช วัน 100 ซึ่งเป็นงบประมาณผูกพัน 3 ปี เริ่มจากปีงบประมาณ 44-46 ตามที่ได้
ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 40 โดยมีการกำหนดทีโออาร์ให้ซ่อมบำรุงเป็นแบบพิเศษ โดยได้ส่งเงื่อนไข
ราคาไปยังบริษัทต่าง ๆ ทั่วโลก จำนวน 18 บริษัท แต่มีเพียง 4 บริษัท จาก 9 บริษัทที่ผ่าน
การรับรองทางเทคนิคจากกองทัพสหรัฐอเมริกา
นายศักดิ์สยาม โฆษกกรรมาธิการ กล่าวเพิ่มเติมว่า กรรมาธิการฯ เห็นว่า
การจัดซื้ออุปกรณ์จัดซ่อมบำรุงเฮลิคอปเตอร์ มีงบประมาณสูงเกือบ 1 พันล้านบาท และได้
ตรวจเอกสารราคาอะไหล่จากบริษัทเบลส์ สหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นผู้ผลิตอะไหล่เฮลิคอปเตอร์รุ่น
ดังกล่าว เปรียบเทียบกับบริษัทของอิสราเอลพบว่าแพงกว่าถึง 15% โดยกองทัพอากาศระบุว่า
การเลือกบริษัทอิสราเอลเนื่องจากบริษัทเบลส์ไม่ผ่านที่โออาร์ของกองทัพอากาศ นอกจากนี้ในการ
จัดซื้อจัดจ้างที่มีมูลค่าเกิน 300 ล้านบาท จะต้องได้รับการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี และต้องเป็นสัญญา
ต่างตอบแทนอีกด้วย ขณะเดียวกันที่ผ่านมากองทัพอากาศก็เคยจัดซ่อมบำรุงเฮลิคอปเตอร์ให้กับกองทัพบก
ราคาลำละ 35 ล้านบาท แต่การจัดซื้ออุปกรณ์ซ่อมบำรุงเฮลิคอปเตอร์ จำนวน 19 ลำ ครั้งนี้กลับใช้
งบประมาณสูงถึงลำละ 53 ล้านบาท
---------------------------------------------------
วัชรา ฉิมคล้าย / ผู้สรุป
นุสรา เกตุแก้ว / พิมพ์
คณะกรรมาธิการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ และนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ
โฆษกกรรมาธิการ ร่วมกันแถลงผลการประชุมว่า คณะกรรมาธิการได้เชิญ พล.อ.ปอง มณีศิลป์ ผบ.ทอ.
และคณะเข้าชี้แจงกรณีการทำสัญญาจัดซื้ออุปกรณ์อะไหล่เพื่อซ่อมเฮลิคอปเตอร์
รุ่น ยู เอช วัน 100 ซึ่งเป็นงบประมาณผูกพัน 3 ปี เริ่มจากปีงบประมาณ 44-46 ตามที่ได้
ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 40 โดยมีการกำหนดทีโออาร์ให้ซ่อมบำรุงเป็นแบบพิเศษ โดยได้ส่งเงื่อนไข
ราคาไปยังบริษัทต่าง ๆ ทั่วโลก จำนวน 18 บริษัท แต่มีเพียง 4 บริษัท จาก 9 บริษัทที่ผ่าน
การรับรองทางเทคนิคจากกองทัพสหรัฐอเมริกา
นายศักดิ์สยาม โฆษกกรรมาธิการ กล่าวเพิ่มเติมว่า กรรมาธิการฯ เห็นว่า
การจัดซื้ออุปกรณ์จัดซ่อมบำรุงเฮลิคอปเตอร์ มีงบประมาณสูงเกือบ 1 พันล้านบาท และได้
ตรวจเอกสารราคาอะไหล่จากบริษัทเบลส์ สหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นผู้ผลิตอะไหล่เฮลิคอปเตอร์รุ่น
ดังกล่าว เปรียบเทียบกับบริษัทของอิสราเอลพบว่าแพงกว่าถึง 15% โดยกองทัพอากาศระบุว่า
การเลือกบริษัทอิสราเอลเนื่องจากบริษัทเบลส์ไม่ผ่านที่โออาร์ของกองทัพอากาศ นอกจากนี้ในการ
จัดซื้อจัดจ้างที่มีมูลค่าเกิน 300 ล้านบาท จะต้องได้รับการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี และต้องเป็นสัญญา
ต่างตอบแทนอีกด้วย ขณะเดียวกันที่ผ่านมากองทัพอากาศก็เคยจัดซ่อมบำรุงเฮลิคอปเตอร์ให้กับกองทัพบก
ราคาลำละ 35 ล้านบาท แต่การจัดซื้ออุปกรณ์ซ่อมบำรุงเฮลิคอปเตอร์ จำนวน 19 ลำ ครั้งนี้กลับใช้
งบประมาณสูงถึงลำละ 53 ล้านบาท
---------------------------------------------------
วัชรา ฉิมคล้าย / ผู้สรุป
นุสรา เกตุแก้ว / พิมพ์