กรุงเทพฯ--19 มิ.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
วันนี้ (16 มิถุนายน) นายดอน ปรมัตถ์วินัย อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนเกี่ยวกับผลการเยือนกัมพูชาของ ฯพณฯ นายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี และคณะ ระหว่างวันที่ 14-16 มิถุนายน 2543 สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. การเยือนกัมพูชาของนายกรัฐมนตรีในครั้งนี้ เป็นการเยือนอย่างเป็นทางการครั้งแรกภายหลังจากเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และร่วมเฉลิมฉลองเนื่องในโอกาสครบ 50 ปีของการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทย-กัมพูชา
2. นายกรัฐมนตรีได้พบและหารือกับสมเด็จฮุนเซน นายกรัฐมนตรี โดยมีประเด็นสำคัญของการหารือ ดังนี้
2.1 การจัดทำกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างไทย-กัมพูชา
2.2 ฝ่ายไทยได้ขอบคุณฝ่ายกัมพูชาในการแก้ไขปัญหาเขตแดนที่คลองลึก
3. ในการหารือข้อราชการเต็มคณะระหว่างคณะผู้แทนไทย-กัมพูชา มีประเด็นสำคัญดังนี้
3.1 ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบที่จะจัดทำกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างไทย-กัมพูชา เพื่อให้การพัฒนาเศรษฐกิจของแต่ละฝ่ายประสานและเกื้อกูลกัน
3.2 ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบที่จะจัดทำกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ครอบคลุมพื้นที่ชายแดนเชื่อมต่อระหว่างไทย-ลาว-กัมพูชา ซึ่งเรื่องนี้ จะต้องหารือกับฝ่ายลาวต่อไป
3.3 ไทยจะพิจารณาสนับสนุนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของกัมพูชาทั้งในกรอบทวิภาคีและไตรภาคี
3.4 ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องกันที่จะขยายความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวระหว่างกัน รวมทั้งภายใต้ “โครงการสิ่งมหัศจรรย์สุวรรณภูมิ” โดยจะมีการประชุมระดับรัฐมนตรี 5 ประเทศที่จังหวัดเสียมราฐในเร็ว ๆ นี้
3.5 ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องกันที่จะเพิ่มความร่วมมือด้านการป้องกันและ ปราบปรามยาเสพติด โดยเน้นการทำให้โครงการนำร่องที่จังหวัดตราด —เกาะกง เกิดผลเป็นรูปธรรมโดยเร็ว
3.6 ไทยพร้อมจะสนับสนุนคำขอของกัมพูชาที่จะเข้าเป็นภาคีขององค์การการค้าโลก
3.7 ไทยพร้อมจะให้สิทธิประโยชน์ทางการค้าสินค้าเกษตรกับกัมพูชาในรูปของภาษีศุลกากรในอัตราที่เทียบเท่ากับประเทศภาคีองค์การการค้าโลก
3.8 ไทยยินดีให้ความร่วมมือด้านสาธารณสุขในด้านการรักษาพยาบาลแก่ประชาชนชาวกัมพูชาบริเวณชายแดนที่ต้องการรับการรักษาเร่งด่วน
4. นายกรัฐมนตรีและสมเด็จฮุนเซนได้เป็นสักขีพยานในการลงนามความตกลงต่าง ๆ ดังนี้
4.1 ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือเกี่ยวกับการส่งคืนยานพาหนะที่ถูก ลักลอบหรือยักยอก
4.2 ความตกลงในการต่อต้านการเคลื่อนย้ายโดยผิดกฎหมายและการ ลักลอบขนข้ามแดนซึ่งสังหาริมทรัพย์และส่งคืนให้แก่ประเทศที่เป็นแหล่งกำเนิด
4.3 บันทึกความเข้าใจว่าด้วยการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบก
5. การหารือระหว่างนายกรัฐมนตรีกับสมเด็จเจีย ซิม ประธานวุฒิสภาของกัมพูชา เป็นไปด้วยบรรยากาศฉันท์มิตรและด้วยไมตรีจิตและมิตรภาพ
6. นายกรัฐมนตรีได้หารือกับสมเด็จกรมพระนโรดม รณฤทธิ์ ประธานสภาผู้แทน-ราษฎรกัมพูชา มีสาระสำคัญของการหารือดังนี้
6.1 ฝ่ายกัมพูชาขอให้ไทยให้ความช่วยเหลือด้านการพัฒนาแก่กัมพูชา ต่อไป
6.2 เสนอให้รัฐสภาทั้งสองฝ่ายมีการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ระหว่างกัน
6.3 ฝ่ายกัมพูชาเชิญนายกรัฐมนตรีไปเยือนกัมพูชาอีกครั้งในฐานะแขกพิเศษของรัฐสภากัมพูชา
7. ก่อนเดินทางกลับประเทศไทย นายกรัฐมนตรีได้หารือกับสมเด็จฮุนเซน อีกครั้งหนึ่ง มีสาระสำคัญของการหารือ ดังนี้
7.1 สมเด็จฮุนเซนได้หารือเกี่ยวกับการใช้ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานที่ไทยสร้างขึ้น โดยเห็นว่าวิชาที่สอนหรือฝึกอบรมในขณะนี้สอดคล้องกับความต้องการของกัมพูชา และเพื่อให้ศูนย์ฯ เป็นประโยชน์มากขึ้น นายกรัฐมนตรีจะปรึกษากับภาคเอกชนไทยเพื่อหาทางจัดสร้างหอพักในศูนย์ฯ เพื่อให้นักศึกษากัมพูชาที่อยู่ไกลสามารถเข้าเรียนและพักในศูนย์ฯ ได้
7.2 นายกรัฐมนตรีได้ขอความร่วมมือสมเด็จฮุนเซนในการทำประมงร่วมที่จังหวัดตราดและเกาะกง ซึ่งสมเด็จฮุนเซนยินดีที่จะให้ความร่วมมือและจะพิจารณาให้การสนับสนุนการร่วมลงทุนด้านประมงต่อไป
8. กระทรวงการต่างประเทศ ขอแจ้งว่า เหตุการณ์การประท้วงและการเหยียบย่ำ ธงชาติไทยของนักศึกษากัมพูชาที่กระทำในบริเวณมหาวิทยาลัยพนมเปญนั้น เจ้าหน้าที่ระดับสูงของกัมพูชาได้แสดงความเสียใจต่อเหตุการณ์ดังกล่าว โดยยืนยันว่าเป็นการกระทำของคนกลุ่มน้อยต่อประเทศเพื่อนบ้านโดยรอบของกัมพูชาเพื่อหวังผลทางการเมือง ซึ่งนายกรัฐมนตรีและคณะได้รับทราบเหตุการณ์ดังกล่าวจากสื่อมวลชนไทยและกัมพูชาภายหลัง โดยมิได้พบเห็นเหตุการณ์ ดังกล่าวแต่อย่างใด
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-
วันนี้ (16 มิถุนายน) นายดอน ปรมัตถ์วินัย อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนเกี่ยวกับผลการเยือนกัมพูชาของ ฯพณฯ นายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี และคณะ ระหว่างวันที่ 14-16 มิถุนายน 2543 สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. การเยือนกัมพูชาของนายกรัฐมนตรีในครั้งนี้ เป็นการเยือนอย่างเป็นทางการครั้งแรกภายหลังจากเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และร่วมเฉลิมฉลองเนื่องในโอกาสครบ 50 ปีของการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทย-กัมพูชา
2. นายกรัฐมนตรีได้พบและหารือกับสมเด็จฮุนเซน นายกรัฐมนตรี โดยมีประเด็นสำคัญของการหารือ ดังนี้
2.1 การจัดทำกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างไทย-กัมพูชา
2.2 ฝ่ายไทยได้ขอบคุณฝ่ายกัมพูชาในการแก้ไขปัญหาเขตแดนที่คลองลึก
3. ในการหารือข้อราชการเต็มคณะระหว่างคณะผู้แทนไทย-กัมพูชา มีประเด็นสำคัญดังนี้
3.1 ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบที่จะจัดทำกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างไทย-กัมพูชา เพื่อให้การพัฒนาเศรษฐกิจของแต่ละฝ่ายประสานและเกื้อกูลกัน
3.2 ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบที่จะจัดทำกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ครอบคลุมพื้นที่ชายแดนเชื่อมต่อระหว่างไทย-ลาว-กัมพูชา ซึ่งเรื่องนี้ จะต้องหารือกับฝ่ายลาวต่อไป
3.3 ไทยจะพิจารณาสนับสนุนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของกัมพูชาทั้งในกรอบทวิภาคีและไตรภาคี
3.4 ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องกันที่จะขยายความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวระหว่างกัน รวมทั้งภายใต้ “โครงการสิ่งมหัศจรรย์สุวรรณภูมิ” โดยจะมีการประชุมระดับรัฐมนตรี 5 ประเทศที่จังหวัดเสียมราฐในเร็ว ๆ นี้
3.5 ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องกันที่จะเพิ่มความร่วมมือด้านการป้องกันและ ปราบปรามยาเสพติด โดยเน้นการทำให้โครงการนำร่องที่จังหวัดตราด —เกาะกง เกิดผลเป็นรูปธรรมโดยเร็ว
3.6 ไทยพร้อมจะสนับสนุนคำขอของกัมพูชาที่จะเข้าเป็นภาคีขององค์การการค้าโลก
3.7 ไทยพร้อมจะให้สิทธิประโยชน์ทางการค้าสินค้าเกษตรกับกัมพูชาในรูปของภาษีศุลกากรในอัตราที่เทียบเท่ากับประเทศภาคีองค์การการค้าโลก
3.8 ไทยยินดีให้ความร่วมมือด้านสาธารณสุขในด้านการรักษาพยาบาลแก่ประชาชนชาวกัมพูชาบริเวณชายแดนที่ต้องการรับการรักษาเร่งด่วน
4. นายกรัฐมนตรีและสมเด็จฮุนเซนได้เป็นสักขีพยานในการลงนามความตกลงต่าง ๆ ดังนี้
4.1 ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือเกี่ยวกับการส่งคืนยานพาหนะที่ถูก ลักลอบหรือยักยอก
4.2 ความตกลงในการต่อต้านการเคลื่อนย้ายโดยผิดกฎหมายและการ ลักลอบขนข้ามแดนซึ่งสังหาริมทรัพย์และส่งคืนให้แก่ประเทศที่เป็นแหล่งกำเนิด
4.3 บันทึกความเข้าใจว่าด้วยการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบก
5. การหารือระหว่างนายกรัฐมนตรีกับสมเด็จเจีย ซิม ประธานวุฒิสภาของกัมพูชา เป็นไปด้วยบรรยากาศฉันท์มิตรและด้วยไมตรีจิตและมิตรภาพ
6. นายกรัฐมนตรีได้หารือกับสมเด็จกรมพระนโรดม รณฤทธิ์ ประธานสภาผู้แทน-ราษฎรกัมพูชา มีสาระสำคัญของการหารือดังนี้
6.1 ฝ่ายกัมพูชาขอให้ไทยให้ความช่วยเหลือด้านการพัฒนาแก่กัมพูชา ต่อไป
6.2 เสนอให้รัฐสภาทั้งสองฝ่ายมีการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ระหว่างกัน
6.3 ฝ่ายกัมพูชาเชิญนายกรัฐมนตรีไปเยือนกัมพูชาอีกครั้งในฐานะแขกพิเศษของรัฐสภากัมพูชา
7. ก่อนเดินทางกลับประเทศไทย นายกรัฐมนตรีได้หารือกับสมเด็จฮุนเซน อีกครั้งหนึ่ง มีสาระสำคัญของการหารือ ดังนี้
7.1 สมเด็จฮุนเซนได้หารือเกี่ยวกับการใช้ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานที่ไทยสร้างขึ้น โดยเห็นว่าวิชาที่สอนหรือฝึกอบรมในขณะนี้สอดคล้องกับความต้องการของกัมพูชา และเพื่อให้ศูนย์ฯ เป็นประโยชน์มากขึ้น นายกรัฐมนตรีจะปรึกษากับภาคเอกชนไทยเพื่อหาทางจัดสร้างหอพักในศูนย์ฯ เพื่อให้นักศึกษากัมพูชาที่อยู่ไกลสามารถเข้าเรียนและพักในศูนย์ฯ ได้
7.2 นายกรัฐมนตรีได้ขอความร่วมมือสมเด็จฮุนเซนในการทำประมงร่วมที่จังหวัดตราดและเกาะกง ซึ่งสมเด็จฮุนเซนยินดีที่จะให้ความร่วมมือและจะพิจารณาให้การสนับสนุนการร่วมลงทุนด้านประมงต่อไป
8. กระทรวงการต่างประเทศ ขอแจ้งว่า เหตุการณ์การประท้วงและการเหยียบย่ำ ธงชาติไทยของนักศึกษากัมพูชาที่กระทำในบริเวณมหาวิทยาลัยพนมเปญนั้น เจ้าหน้าที่ระดับสูงของกัมพูชาได้แสดงความเสียใจต่อเหตุการณ์ดังกล่าว โดยยืนยันว่าเป็นการกระทำของคนกลุ่มน้อยต่อประเทศเพื่อนบ้านโดยรอบของกัมพูชาเพื่อหวังผลทางการเมือง ซึ่งนายกรัฐมนตรีและคณะได้รับทราบเหตุการณ์ดังกล่าวจากสื่อมวลชนไทยและกัมพูชาภายหลัง โดยมิได้พบเห็นเหตุการณ์ ดังกล่าวแต่อย่างใด
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-