สถานะปัจจุบัน
- ที่ประชุมรัฐมนตรีเอเปค ครั้งที่ 12 เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2543 ณ กรุงบันดาร์เสรี เบกาวัน ประเทศบรูไน ได้ให้ความสำคัญต่อการเสริมสร้างขีดความสามารถของสมาชิกกำลังพัฒนาในการปฏิบัติตามความตกลงภายใต้ WTO และได้ตกลงที่จะมีบทบาทสนับสนุนและผลักดัน WTO ให้เริ่มการเจรจาการค้ารอบใหม่โดยเร็วที่สุด ที่ประชุมยังได้ให้ความสำคัญต่อประเด็นเศรษฐกิจใหม่ (New Economy) ที่เน้นประโยชน์จากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) รวมทั้งการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อสร้างโอกาสใหม่ ๆ ในการเติบโตทางเศรษฐกิจและมาตรฐานความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของประเทศสมาชิก
- การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสเอเปค ครั้งที่ 1/2544 ระหว่างวันที่ 11-13 กุมภาพันธ์ 2544 ณ กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน สรุปผลได้ดังนี้
- สมาชิกได้ยืนยันการปฏิบัติตามข้อผูกพันในกรอบเอเปคอย่างต่อเนื่อง
- สมาชิกตกลงจะดำเนินการเพื่อสร้างแรงกระตุ้น (momentum) ให้เกิดการเจรจาการค้ารอบใหม่
- ที่ประชุมเห็นชอบแผนงาน strategic APEC plan ที่ริเริ่มโดยญี่ปุ่น สำหรับการเพิ่มขีดความสามารถของสมาชิกในการปฏิบัติตามพันธกรณี WTO
- ที่ประชุมยืนยันให้แผนปฏิบัติการของแต่ละสมาชิก (IAP) เป็นกลไกสำคัญที่สุดในการบรรลุเป้าหมายของเอเปค และมอบหมายให้สำนักเลขาธิการเอเปคแต่งตั้ง focal point เพื่อให้คำแนะนำ ประสานงาน และช่วยเหลือสมาชิกในการจัดทำ e-IAP ตามระบบใหม่
- ไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดประชุม APEC Automotive Dialogue ครั้งที่ 3 ระหว่างวันที่ 3-5 เมษายน ศกนี้ และให้สมาชิกหารือกันต่อไปเพื่อเร่งหาข้อสรุปของ Terms of Reference สำหรับการจัดประชุม APCE Chemical Dialogue ที่สหรัฐฯ ยกร่างขึ้น
- ไทยเสนอตัวเป็นเจ้าภาพจัดงาน APEC Investment Mart ครั้งที่ 4 ในปี 2546 ซึ่งเป็นปีที่ไทยจะเป็นประธานและเจ้าภาพจัดการประชุมรัฐมนตรีเอเปค
- ที่ประชุมตกลงจัดตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจ (Ad Hoc Task Force) เพื่อจัดทำแผนแม่บท เรื่อง e-APEC เพื่อให้แต่ละประเทศบรรลุเป้าหมายการค้าไร้กระดาษภายในปี 2548 สำหรับประเทศพัฒนาแล้ว และภายในปี 2553 สำหรับประเทศกำลังพัฒนา รวมทั้งเห็นชอบการขยายเวลาปฏิบัติงานของคณะทำงานด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ออกไปอีก 2 ปี และให้เน้นงานด้านการเสริมสร้างขีดความความสามารถของสมาชิก และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ต่อไป
3. การป้องกันการทุ่มตลาด
- ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ประเทศกำลังพัฒนาเป็นกลุ่มเป้าหมายที่ถูกใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด (Anti-Dumping Measures : AD) มากที่สุด ส่งผลให้เกิดความไม่แน่นอน และความไม่มีเสถียรภาพในการส่งออกรวมทั้งส่งผลทำให้มูลค่าการค้า และส่วนแบ่งตลาดของประเทศกำลังพัฒนาลดลง
- ประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่รวมทั้งประเทศไทย ตลอดจนประเทศพัฒนาแล้วบางประเทศที่มักตกเป็นเป้าหมายของการถูกเก็บ AD เช่น ญี่ปุ่น และเกาหลี เห็นว่าการปฏิบัติตามพันธกรณี WTO ที่ผ่านมาในส่วนของการใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด ยังมีปัญหาขาดความชัดเจน จึงได้เรียกร้องให้มีการทบทวนแก้ไขความตกลงว่าด้วยการทุ่มตลาด เพื่อลดการบิดเบือนทางการค้า และให้เกิดความเป็นธรรมกับประเทศกำลังพัฒนามากขึ้น
- ที่ผ่านมาไทยถูกไต่สวนและเรียกเก็บอากร AD/CVD กับสินค้าส่งออกหลายรายการจากหลายประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา เก็บอากร AD ในสินค้าสับปะรดกระป๋อง ข้อต่อท่อเหล็ก เฟอร์ฟูลอัลกอฮอล์ และท่อเหล็ก ออสเตรเลีย เก็บ AD 4 รายการ สหภาพยุโรป 15 รายการแคนาดา 3 รายการ มาเลเซีย 2 รายการ และถูกเก็บอากร CVD ในสินค้าเหล็กแผ่นรีดร้อนจากแคนาดา และสินค้าโพลีไทลีน เทเรพทาเรด จากสหภาพยุโรป เป็นต้น
- ในขณะที่ไทยเรียกเก็บอากร AD กับสินค้าไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์จากอินเดีย เหล็กจากโปแลนด์และเกาหลีใต้ และกระจกใสจากอินโดนีเซีย แต่ไม่เคยใช้มาตรการ CVD กับประเทศใด
- การทบทวนแก้ไขความตกลงเพื่อลดช่องทางการใช้ดุลยพินิจตามอำเภอใจของสมาชิก WTO รวมทั้งเพื่อให้การเปิดไต่สวน AD/CVD ทำได้ยากขึ้น จึงน่าจะเป็นประโยชน์และสร้างความมั่นใจแก่อุตสาหกรรมของไทยมากขึ้น โดยไทยพยายามผลักดันให้มีการปรับปรุงความตกลงว่าด้วยการอุดหนุนและการตอบโต้การทุ่มตลาดในการเจรจาพหุภาคีรอบใหม่นี้
4. เรื่องใหม่ ๆ ที่มีผลกระทบต่อการค้า
- ผลจากการเปิดเสรีทางการค้าที่ทำให้กำแพงภาษีหมดอำนาจลงไป ประกอบกับกระแสการให้ความสำคัญกับคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมที่เพิ่มขึ้น ประเทศต่าง ๆ จึงได้นำเรื่องอื่น ๆ มาเชื่อมโยงกับการค้ามากขึ้น เพื่อใช้เป็นมาตรการกีดกันทางการค้าอย่างแอบแฝง และปกป้องผลประโยชน์ของตนและประเทศภายในกลุ่มเดียวกัน เรื่องใหม่ ๆ ที่มีผลกระทบต่อการค้า ที่สำคัญ คือ
(1) สินค้าตัดแต่งทางพันธุกรรม (GMOs)
- ตั้งแต่ประมาณปี 2541-2542 สินค้า GMOs ได้กลายเป็นประเด็นทางการค้าระหว่างประเทศ ด้วยเกรงว่าสินค้า GMOs อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม โดยเริ่มจากการขัดแข้งระหว่างประเทศสหรัฐฯ ซึ่งเป็นผู้ผลิตสินค้า GMOs รายใหญ่ที่สุดของโลก และสหภาพยุโรปซึ่งเป็นผู้นำเข้าที่มีมาตรการกำกับสินค้า GMOs โดยเฉพาะการมีกฎระเบียบให้ติดฉลากสินค้า GMOs และต่อมาก็มีหลายประเทศที่ตามอย่างสหภาพยุโรป อาทิ ญี่ปุ่น และ ออสเตรเลีย ซึ่งได้ออกกฎหมายให้ติดฉลากสินค้า GMOs โดยจะมีผลบังคับใช้ในปี 2544
- ปัจจุบัน ถึงแม้จะไม่มีกฎเกณฑ์หรือข้อตกลงของ WTO ที่เกี่ยวข้องกับสินค้า GMOs โดยตรง แต่ก็อาจจะเกี่ยวข้องกับบางบทบัญญัติในความตกลง WTO อาทิ
- มาตรา XX ของแกตต์ 1994 (ข้อยกเว้นทั่วไป) ที่อนุญาตให้ประเทศสมาชิกไม่ปฏิบัติตามข้อผูกพันทั่วไปของ WTO ได้ในกรณีที่ต้องออกมาตรการเพื่อการปกป้องชีวิตและสุขภาพของมนุษย์และสัตว์ อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการปกป้องศีลธรรมอันดีงาม
- ความตกลงว่าด้วยสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (SPS) ในเรื่องของสุขอนามัยตามมาตรา 5.7 ที่กล่าวถึง เรื่องใหม่ ๆ ที่ยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่เพียงพอก็อนุญาตให้สมาชิกใช้ มาตราการสุขอนามัยเป็นการชั่วคราว (provisional measures) ได้
- ความตกลงว่าด้วยอุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า (TBT) ในเรื่องของการติดฉลากสินค้า
- ปัญหาสินค้า GMOs ยังได้ส่งผลกระทบถึงประเทศไทย เนื่องจากไทยมีความจำเป็นต้องนำเข้าวัตถุดิบ เช่น ถั่วเหลือง และข้าวโพด ซึ่งอาจเป็นสินค้า GMOs และบางส่วนจะถูกนำมาแปรรูปและส่งออกไปสหภาพยุโรปและประเทศต่างๆ
(2) สิ่งแวดล้อมที่กระทบต่อการค้า
- ปัจจุบันประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศพัฒนาแล้วเห็นว่ามาตรการทางการค้าจะมีประสิทธิภาพในการปกป้องอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมได้ดีกว่ามาตรการสิ่งแวดล้อม (Multilaeral Environment Agreements ; MEAs) ซึ่งเป็นมาตรการที่ใช้โดยสมัครใจ จึงได้มีกระแสผลักดันให้เป็นเรื่องหนึ่งในการเจรจารอบใหม่ นอกจากนี้ยังได้พยายามผลักดันมาตรการต่าง ๆ โดยอ้างเรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม อาทิ
* มาตรการการห้ามใช้สารบางชนิดในองค์ประกอบของผลิตภัณฑ์ และการกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์หลังจากที่บริโภคแล้ว เช่น ระเบียบของสหภาพยุโรปเกี่ยวกับเศษเหลือทิ้งของผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ในการนำไปใช้ใหม่ เงื่อนไขเกี่ยวกับการทำลาย เป็นต้น
* การนำเงื่อนไขกระบวนการผลิต (PPMs) ตั้งแต่แหล่งวัตถุดิบมาเป็นเงื่อนไขการติดฉลาก และการเพิ่มต้นทุนของประเทศผู้ส่งออกในการกำจัดของเสียหลังบริโภค
* การปิดฉลากเขียว (Eco-labelling) เป็นมาตรการที่สหภาพยุโรปนำมาใช้เพื่อสื่อให้ผู้บริโภคเข้าใจว่าเป็นสินค้าที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะมีผลกระทบต่อการผลิตสินค้าในประเทศที่มีเทคโนโลยีต่ำ
* สวัสดิภาพสัตว์ (Animal welfare) สหภาพยุโรปได้ออกกฎระเบียบใช้เป็นการภายในเมื่อเดือนมิถุนายน 2542 เป็นการปรับปรุงด้านสภาพแวดล้อมในการเลี้ยงสัตว์ สิ่งอำนวยความสะดวกในการขนส่งสัตว์มีชีวิต การดูแลสัตว์ในช่วงการฆ่าต้องไม่ให้สัตว์ทรมานและต้องไม่ให้สัตว์เกิดความตื่นตระหนก
* มาตรฐานสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวกับการค้า (Trade-related Environmental Measures) ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิต เช่น มาตรฐานบรรจุภัณฑ์ มาตรฐานระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม (ISO 14001)
* การติดฉลากสินค้า GMOs เป็นการใช้หลักการเตือนภัยล่วงหน้า เพราะยังไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าสินค้า GMOs เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมและมนุษย์ได้ชัดเจน
- ปัจจุบันยังไม่มีกฎระเบียบในเรื่องนี้ชัดเจนภายใต้ WTO มาตรการเหล่านี้จึงเป็นการบังคับใช้ภายในเท่านั้น
(3) สิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับการค้า
- ในเรื่องของสิทธิมนุษยชนที่ถูกนำมาเชื่อมโยงกับการค้าในปัจจุบัน คือ มาตรฐานแรงงาน(Trade and labour standards) ซึ่งประเทศที่พัฒนาแล้ววิตกว่า การขาดมาตรฐานแรงงานในประเทศกำลังพัฒนา ทำให้ได้เปรียบในด้านต้นทุนการผลิต การพยายามสร้างมาตรฐานแรงงานเพื่อยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ให้ดีขึ้นเป็นเรื่องที่ดีที่ประเทศต่าง ๆ ควรให้ความสำคัญ แต่ความพยายามที่จะผลักดันให้มีมาตรฐานแรงงานโดยมีเหตุผลเพื่อกีดกันทางการค้าอยู่เบื้องหลัง เป็นเรื่องที่ไม่สามารถยอมรับได้และควรคัดค้านอย่างยิ่ง ขณะนี้ ยังไม่มีกฎกติกาการค้าของ WTO ที่กำกับดูแลเรื่องมาตรฐานแรงงานที่เกี่ยวกับการค้า การบังคับใช้มาตรฐานแรงงานจึงถูกนำมาใช้ในรูปของมาตรการฝ่ายเดียว หรือในลักษณะเป็นเงื่อนไขในการให้สิทธิพิเศษทางการค้า (GSP)
(4) มาตรการกีดกันด้านสุขอนามัย
- ประเทศต่าง ๆ มีการกำหนดเงื่อนไขสุขอนามัยสำหรับสินค้านำเข้าโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเข้มงวดการนำเข้าสินค้าอาหาร ทั้งนี้ เพื่อคุ้มครองสุขภาพของประชาชน รวมทั้งเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรคต่าง ๆ นอกจากนี้ บางประเทศยังได้มีการเปลี่ยนแปลงวิธีการตรวจสอบจากเดิมซึ่งตรวจสอบเฉพาะสินค้าก่อนนำเข้า มาเป็นการตรวจสอบแบบครบวงจรตั้งแต่แหล่งวัตถุดิบ การขนส่ง กรรมวิธีการผลิต สุขอนามัยโรงงาน และสินค้าสำเร็จรูป และหากไม่ผ่านการตรวจสอบตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด จะไม่อนุญาตให้นำเข้าสินค้าจากประเทศนั้น ๆ ทั้งนี้ แต่ละประเทศจะกำหนดมาตรฐาน และความเข้มงวดที่แตกต่างกันออกไป
- ปัญหาการค้าที่เกิดมากขึ้นจากมาตรการด้านสุขอนามัย คือ ความแตกต่างของมาตรฐานสุขอนามัยในแต่ละประเทศ และความไม่สอดคล้องกับมาตรฐานระหว่างประเทศ ทั้งนี้ เนื่องจากมาตรฐานสุขอนามัยของ CODEX ซึ่งเป็นระบบมาตรฐานอาหารสากลที่ FAO และ WTO ร่วมกันสนับสนุนไม่ใช่มาตรฐานบังคับ ดังนั้น การเจรจาแก้ไขปัญหาอุปสรรคที่เกิดจากมาตรฐานสุขอนามัย จึงต้องใช้ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์เป็นหลักฐานในการเจรจาต่อรอง ซึ่งใช้เวลาและงบประมาณมาก แม้ว่า WTO จะได้กำหนดให้ความตกลงว่าด้วยการใช้มาตรการด้านสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (SPS) ต้องตั้งอยู่บนหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่เชื่อถือได้ เพื่อให้มีความโปร่งใสและไม่เป็นอุปสรรคทางการค้า แต่ข้อกังวลที่เกิดขึ้น คือ ข้อพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ที่ได้จะเป็นที่ยอมรับของประเทศผู้นำเข้ามากน้อยเพียงใด
(5) มาตรฐานอุตสาหกรรม
- ในความตกลงว่าด้วยอุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า (Technical Barriers to Trade : TBT) กำหนดว่า การออกกฎระเบียบและมาตรฐานต่าง ๆ ของสินค้าทั้งเกษตรและอุตสาหกรรมรวมถึงข้อกำหนดเรื่องการบรรจุหีบห่อ การทำเครื่องหมายและการปิดฉลาก และวิธีดำเนินการประเมินความสอดคล้องกับข้อบังคับทางเทคนิคและมาตรฐาน ต้องไม่ก่อให้เกิดอุปสรรคต่อการค้าระหว่างประเทศ ทั้งนี้ การออกกฎระเบียบดังกล่าวจะต้องอิงกับระบบมาตรฐานระหว่างประเทศ เพื่อมิให้เป็นข้อกีดกันทางการค้า และประเทศสมาชิกจะต้องแจ้งกฎระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องต่อ WTO เพื่อให้สมาชิกให้ข้อคิดเห็นได้
- ประเด็นปัญหา คือ หลายประเทศไม่มีการแจ้งและการแลกเปลี่ยนข้อมูลให้ WTO ได้แจ้งให้สมาชิกให้ข้อคิดเห็น ทำให้ผู้ประกอบการไม่สามารถวางแผนการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการและมาตรฐานสินค้านำเข้าของประเทศคู่ค้าได้
- นอกจากนี้ สหภาพยุโรป ได้มีนโยบายในการกำหนดมาตรฐานสินค้าอุตสาหกรรมของ สหภาพยุโรปให้เป็นหนึ่งเดียว เพื่อสนับสนุนนโยบายการเคลื่อนย้ายสินค้าได้โดยเสรีภายในสหภาพยุโรป ซึ่งจะเป็นอุปสรรคต่อประเทศที่สามที่จะต้องผลิตสินค้าให้ได้ตามมาตรฐานที่กำหนด
5. การปรับตัวเข้าสู่การค้ายุคใหม่
- ในโลกยุคใหม่ธุรกิจที่สามารถปรับตัวให้รองรับกับการเปลี่ยนแปลงได้เท่านั้นที่จะเป็นผู้อยู่รอดได้ ซึ่งในการปรับตัวดังกล่าว มีแนวทางการดำเนินการดังนี้
1) คุณภาพเป็นตัวนำ ซึ่งหมายถึง คุณภาพทั้งในการดำเนินธุรกิจ คุณภาพในการผลิต ตลอดจนถึงคุณภาพของสินค้าและบริการจัดจำหน่าย
2) ลดการพึ่งพารัฐ ด้วยกติกาการค้าใหม่ๆ การหวังการคุ้มครองปกป้องจากรัฐจะเป็นไปได้ยากขึ้น การปกป้องตนเองด้วยการบริหารต้นทุนและความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพจะมีความสำคัญมากต่อธุรกิจ
3) หาพันธมิตรทางการค้า และให้ความสำคัญกับการสร้างความเข้มแข็งของตลาดภายใน ผู้ประกอบการของไทยส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม ซึ่งจะต้องประสบการแข่งขันกับบริษัทข้ามชาติที่แผ่อิทธิพลอย่างกว้างขวาง ดังนั้น การสร้างพันธมิตรทางการค้า จึงเป็นสิ่งจำเป็นในการขยายตลาดการค้า นอกจากนี้ จะต้องให้ความสนใจกับการพัฒนาตลาดภายในให้แข็งแกร่งมากขึ้น เพื่อลดความเสี่ยงจากความไม่แน่นอนของตลาดส่งออก
4) ให้ความสำคัญกับผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เพราะเป็นเรื่องที่ประเทศต่างๆ จะใช้เป็นมาตรการกีดกันทางการค้ามากขึ้น
5) นำสินค้าและบริการเข้าสู่ระบบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อความสะดวกและรวดเร็วในการขยายตลาดและสามารถแข่งขันได้ในโลกการค้ามิติใหม่นี้
6. ความคาดหวังกับการค้ามิติใหม่
1) ในโลกการค้ามิติใหม่จะเป็นโลกที่มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นสำคัญและเป็นการค้าเสรีที่แท้จริง ปราศจากข้อกีดกันใดๆ ทั้งด้านภาษีและมิใช่ภาษี สินค้าสามารถเคลื่อนย้ายไปทั่วโลกได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถเลือกสินค้าที่มีคุณภาพดีที่สุดและมีราคาที่เป็นธรรม
2) ระบบการค้าโลกจะมีความเป็นธรรมและโปร่งใส ประเทศที่พัฒนาแล้วจะไม่สามารถใช้อำนาจหรือความเป็นใหญ่ในองค์กรระหว่างประเทศ ในการออกกฎข้อบังคับทางการค้าที่เป็นการเอาเปรียบหรือบีบบังคับประเทศเล็กๆ ให้ปฏิบัติตาม โดยการอ้างในเรื่องความปลอดภัยของมนุษย์และสัตว์ รวมทั้งสิ่งแวดล้อมโลก กฎระเบียบต่างๆมีแนวโน้มที่จะเป็นกติกาสากลมากขึ้น
3) ประเทศไทยมีความพร้อมที่จะก้าวเข้าสู่ระบบการค้ามิติใหม่ได้โดยเร็ว เพื่อนำมาซึ่งความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและการค้าของประเทศ
กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--
-สส-
- ที่ประชุมรัฐมนตรีเอเปค ครั้งที่ 12 เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2543 ณ กรุงบันดาร์เสรี เบกาวัน ประเทศบรูไน ได้ให้ความสำคัญต่อการเสริมสร้างขีดความสามารถของสมาชิกกำลังพัฒนาในการปฏิบัติตามความตกลงภายใต้ WTO และได้ตกลงที่จะมีบทบาทสนับสนุนและผลักดัน WTO ให้เริ่มการเจรจาการค้ารอบใหม่โดยเร็วที่สุด ที่ประชุมยังได้ให้ความสำคัญต่อประเด็นเศรษฐกิจใหม่ (New Economy) ที่เน้นประโยชน์จากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) รวมทั้งการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อสร้างโอกาสใหม่ ๆ ในการเติบโตทางเศรษฐกิจและมาตรฐานความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของประเทศสมาชิก
- การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสเอเปค ครั้งที่ 1/2544 ระหว่างวันที่ 11-13 กุมภาพันธ์ 2544 ณ กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน สรุปผลได้ดังนี้
- สมาชิกได้ยืนยันการปฏิบัติตามข้อผูกพันในกรอบเอเปคอย่างต่อเนื่อง
- สมาชิกตกลงจะดำเนินการเพื่อสร้างแรงกระตุ้น (momentum) ให้เกิดการเจรจาการค้ารอบใหม่
- ที่ประชุมเห็นชอบแผนงาน strategic APEC plan ที่ริเริ่มโดยญี่ปุ่น สำหรับการเพิ่มขีดความสามารถของสมาชิกในการปฏิบัติตามพันธกรณี WTO
- ที่ประชุมยืนยันให้แผนปฏิบัติการของแต่ละสมาชิก (IAP) เป็นกลไกสำคัญที่สุดในการบรรลุเป้าหมายของเอเปค และมอบหมายให้สำนักเลขาธิการเอเปคแต่งตั้ง focal point เพื่อให้คำแนะนำ ประสานงาน และช่วยเหลือสมาชิกในการจัดทำ e-IAP ตามระบบใหม่
- ไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดประชุม APEC Automotive Dialogue ครั้งที่ 3 ระหว่างวันที่ 3-5 เมษายน ศกนี้ และให้สมาชิกหารือกันต่อไปเพื่อเร่งหาข้อสรุปของ Terms of Reference สำหรับการจัดประชุม APCE Chemical Dialogue ที่สหรัฐฯ ยกร่างขึ้น
- ไทยเสนอตัวเป็นเจ้าภาพจัดงาน APEC Investment Mart ครั้งที่ 4 ในปี 2546 ซึ่งเป็นปีที่ไทยจะเป็นประธานและเจ้าภาพจัดการประชุมรัฐมนตรีเอเปค
- ที่ประชุมตกลงจัดตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจ (Ad Hoc Task Force) เพื่อจัดทำแผนแม่บท เรื่อง e-APEC เพื่อให้แต่ละประเทศบรรลุเป้าหมายการค้าไร้กระดาษภายในปี 2548 สำหรับประเทศพัฒนาแล้ว และภายในปี 2553 สำหรับประเทศกำลังพัฒนา รวมทั้งเห็นชอบการขยายเวลาปฏิบัติงานของคณะทำงานด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ออกไปอีก 2 ปี และให้เน้นงานด้านการเสริมสร้างขีดความความสามารถของสมาชิก และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ต่อไป
3. การป้องกันการทุ่มตลาด
- ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ประเทศกำลังพัฒนาเป็นกลุ่มเป้าหมายที่ถูกใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด (Anti-Dumping Measures : AD) มากที่สุด ส่งผลให้เกิดความไม่แน่นอน และความไม่มีเสถียรภาพในการส่งออกรวมทั้งส่งผลทำให้มูลค่าการค้า และส่วนแบ่งตลาดของประเทศกำลังพัฒนาลดลง
- ประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่รวมทั้งประเทศไทย ตลอดจนประเทศพัฒนาแล้วบางประเทศที่มักตกเป็นเป้าหมายของการถูกเก็บ AD เช่น ญี่ปุ่น และเกาหลี เห็นว่าการปฏิบัติตามพันธกรณี WTO ที่ผ่านมาในส่วนของการใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด ยังมีปัญหาขาดความชัดเจน จึงได้เรียกร้องให้มีการทบทวนแก้ไขความตกลงว่าด้วยการทุ่มตลาด เพื่อลดการบิดเบือนทางการค้า และให้เกิดความเป็นธรรมกับประเทศกำลังพัฒนามากขึ้น
- ที่ผ่านมาไทยถูกไต่สวนและเรียกเก็บอากร AD/CVD กับสินค้าส่งออกหลายรายการจากหลายประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา เก็บอากร AD ในสินค้าสับปะรดกระป๋อง ข้อต่อท่อเหล็ก เฟอร์ฟูลอัลกอฮอล์ และท่อเหล็ก ออสเตรเลีย เก็บ AD 4 รายการ สหภาพยุโรป 15 รายการแคนาดา 3 รายการ มาเลเซีย 2 รายการ และถูกเก็บอากร CVD ในสินค้าเหล็กแผ่นรีดร้อนจากแคนาดา และสินค้าโพลีไทลีน เทเรพทาเรด จากสหภาพยุโรป เป็นต้น
- ในขณะที่ไทยเรียกเก็บอากร AD กับสินค้าไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์จากอินเดีย เหล็กจากโปแลนด์และเกาหลีใต้ และกระจกใสจากอินโดนีเซีย แต่ไม่เคยใช้มาตรการ CVD กับประเทศใด
- การทบทวนแก้ไขความตกลงเพื่อลดช่องทางการใช้ดุลยพินิจตามอำเภอใจของสมาชิก WTO รวมทั้งเพื่อให้การเปิดไต่สวน AD/CVD ทำได้ยากขึ้น จึงน่าจะเป็นประโยชน์และสร้างความมั่นใจแก่อุตสาหกรรมของไทยมากขึ้น โดยไทยพยายามผลักดันให้มีการปรับปรุงความตกลงว่าด้วยการอุดหนุนและการตอบโต้การทุ่มตลาดในการเจรจาพหุภาคีรอบใหม่นี้
4. เรื่องใหม่ ๆ ที่มีผลกระทบต่อการค้า
- ผลจากการเปิดเสรีทางการค้าที่ทำให้กำแพงภาษีหมดอำนาจลงไป ประกอบกับกระแสการให้ความสำคัญกับคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมที่เพิ่มขึ้น ประเทศต่าง ๆ จึงได้นำเรื่องอื่น ๆ มาเชื่อมโยงกับการค้ามากขึ้น เพื่อใช้เป็นมาตรการกีดกันทางการค้าอย่างแอบแฝง และปกป้องผลประโยชน์ของตนและประเทศภายในกลุ่มเดียวกัน เรื่องใหม่ ๆ ที่มีผลกระทบต่อการค้า ที่สำคัญ คือ
(1) สินค้าตัดแต่งทางพันธุกรรม (GMOs)
- ตั้งแต่ประมาณปี 2541-2542 สินค้า GMOs ได้กลายเป็นประเด็นทางการค้าระหว่างประเทศ ด้วยเกรงว่าสินค้า GMOs อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม โดยเริ่มจากการขัดแข้งระหว่างประเทศสหรัฐฯ ซึ่งเป็นผู้ผลิตสินค้า GMOs รายใหญ่ที่สุดของโลก และสหภาพยุโรปซึ่งเป็นผู้นำเข้าที่มีมาตรการกำกับสินค้า GMOs โดยเฉพาะการมีกฎระเบียบให้ติดฉลากสินค้า GMOs และต่อมาก็มีหลายประเทศที่ตามอย่างสหภาพยุโรป อาทิ ญี่ปุ่น และ ออสเตรเลีย ซึ่งได้ออกกฎหมายให้ติดฉลากสินค้า GMOs โดยจะมีผลบังคับใช้ในปี 2544
- ปัจจุบัน ถึงแม้จะไม่มีกฎเกณฑ์หรือข้อตกลงของ WTO ที่เกี่ยวข้องกับสินค้า GMOs โดยตรง แต่ก็อาจจะเกี่ยวข้องกับบางบทบัญญัติในความตกลง WTO อาทิ
- มาตรา XX ของแกตต์ 1994 (ข้อยกเว้นทั่วไป) ที่อนุญาตให้ประเทศสมาชิกไม่ปฏิบัติตามข้อผูกพันทั่วไปของ WTO ได้ในกรณีที่ต้องออกมาตรการเพื่อการปกป้องชีวิตและสุขภาพของมนุษย์และสัตว์ อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการปกป้องศีลธรรมอันดีงาม
- ความตกลงว่าด้วยสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (SPS) ในเรื่องของสุขอนามัยตามมาตรา 5.7 ที่กล่าวถึง เรื่องใหม่ ๆ ที่ยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่เพียงพอก็อนุญาตให้สมาชิกใช้ มาตราการสุขอนามัยเป็นการชั่วคราว (provisional measures) ได้
- ความตกลงว่าด้วยอุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า (TBT) ในเรื่องของการติดฉลากสินค้า
- ปัญหาสินค้า GMOs ยังได้ส่งผลกระทบถึงประเทศไทย เนื่องจากไทยมีความจำเป็นต้องนำเข้าวัตถุดิบ เช่น ถั่วเหลือง และข้าวโพด ซึ่งอาจเป็นสินค้า GMOs และบางส่วนจะถูกนำมาแปรรูปและส่งออกไปสหภาพยุโรปและประเทศต่างๆ
(2) สิ่งแวดล้อมที่กระทบต่อการค้า
- ปัจจุบันประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศพัฒนาแล้วเห็นว่ามาตรการทางการค้าจะมีประสิทธิภาพในการปกป้องอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมได้ดีกว่ามาตรการสิ่งแวดล้อม (Multilaeral Environment Agreements ; MEAs) ซึ่งเป็นมาตรการที่ใช้โดยสมัครใจ จึงได้มีกระแสผลักดันให้เป็นเรื่องหนึ่งในการเจรจารอบใหม่ นอกจากนี้ยังได้พยายามผลักดันมาตรการต่าง ๆ โดยอ้างเรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม อาทิ
* มาตรการการห้ามใช้สารบางชนิดในองค์ประกอบของผลิตภัณฑ์ และการกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์หลังจากที่บริโภคแล้ว เช่น ระเบียบของสหภาพยุโรปเกี่ยวกับเศษเหลือทิ้งของผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ในการนำไปใช้ใหม่ เงื่อนไขเกี่ยวกับการทำลาย เป็นต้น
* การนำเงื่อนไขกระบวนการผลิต (PPMs) ตั้งแต่แหล่งวัตถุดิบมาเป็นเงื่อนไขการติดฉลาก และการเพิ่มต้นทุนของประเทศผู้ส่งออกในการกำจัดของเสียหลังบริโภค
* การปิดฉลากเขียว (Eco-labelling) เป็นมาตรการที่สหภาพยุโรปนำมาใช้เพื่อสื่อให้ผู้บริโภคเข้าใจว่าเป็นสินค้าที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะมีผลกระทบต่อการผลิตสินค้าในประเทศที่มีเทคโนโลยีต่ำ
* สวัสดิภาพสัตว์ (Animal welfare) สหภาพยุโรปได้ออกกฎระเบียบใช้เป็นการภายในเมื่อเดือนมิถุนายน 2542 เป็นการปรับปรุงด้านสภาพแวดล้อมในการเลี้ยงสัตว์ สิ่งอำนวยความสะดวกในการขนส่งสัตว์มีชีวิต การดูแลสัตว์ในช่วงการฆ่าต้องไม่ให้สัตว์ทรมานและต้องไม่ให้สัตว์เกิดความตื่นตระหนก
* มาตรฐานสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวกับการค้า (Trade-related Environmental Measures) ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิต เช่น มาตรฐานบรรจุภัณฑ์ มาตรฐานระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม (ISO 14001)
* การติดฉลากสินค้า GMOs เป็นการใช้หลักการเตือนภัยล่วงหน้า เพราะยังไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าสินค้า GMOs เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมและมนุษย์ได้ชัดเจน
- ปัจจุบันยังไม่มีกฎระเบียบในเรื่องนี้ชัดเจนภายใต้ WTO มาตรการเหล่านี้จึงเป็นการบังคับใช้ภายในเท่านั้น
(3) สิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับการค้า
- ในเรื่องของสิทธิมนุษยชนที่ถูกนำมาเชื่อมโยงกับการค้าในปัจจุบัน คือ มาตรฐานแรงงาน(Trade and labour standards) ซึ่งประเทศที่พัฒนาแล้ววิตกว่า การขาดมาตรฐานแรงงานในประเทศกำลังพัฒนา ทำให้ได้เปรียบในด้านต้นทุนการผลิต การพยายามสร้างมาตรฐานแรงงานเพื่อยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ให้ดีขึ้นเป็นเรื่องที่ดีที่ประเทศต่าง ๆ ควรให้ความสำคัญ แต่ความพยายามที่จะผลักดันให้มีมาตรฐานแรงงานโดยมีเหตุผลเพื่อกีดกันทางการค้าอยู่เบื้องหลัง เป็นเรื่องที่ไม่สามารถยอมรับได้และควรคัดค้านอย่างยิ่ง ขณะนี้ ยังไม่มีกฎกติกาการค้าของ WTO ที่กำกับดูแลเรื่องมาตรฐานแรงงานที่เกี่ยวกับการค้า การบังคับใช้มาตรฐานแรงงานจึงถูกนำมาใช้ในรูปของมาตรการฝ่ายเดียว หรือในลักษณะเป็นเงื่อนไขในการให้สิทธิพิเศษทางการค้า (GSP)
(4) มาตรการกีดกันด้านสุขอนามัย
- ประเทศต่าง ๆ มีการกำหนดเงื่อนไขสุขอนามัยสำหรับสินค้านำเข้าโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเข้มงวดการนำเข้าสินค้าอาหาร ทั้งนี้ เพื่อคุ้มครองสุขภาพของประชาชน รวมทั้งเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรคต่าง ๆ นอกจากนี้ บางประเทศยังได้มีการเปลี่ยนแปลงวิธีการตรวจสอบจากเดิมซึ่งตรวจสอบเฉพาะสินค้าก่อนนำเข้า มาเป็นการตรวจสอบแบบครบวงจรตั้งแต่แหล่งวัตถุดิบ การขนส่ง กรรมวิธีการผลิต สุขอนามัยโรงงาน และสินค้าสำเร็จรูป และหากไม่ผ่านการตรวจสอบตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด จะไม่อนุญาตให้นำเข้าสินค้าจากประเทศนั้น ๆ ทั้งนี้ แต่ละประเทศจะกำหนดมาตรฐาน และความเข้มงวดที่แตกต่างกันออกไป
- ปัญหาการค้าที่เกิดมากขึ้นจากมาตรการด้านสุขอนามัย คือ ความแตกต่างของมาตรฐานสุขอนามัยในแต่ละประเทศ และความไม่สอดคล้องกับมาตรฐานระหว่างประเทศ ทั้งนี้ เนื่องจากมาตรฐานสุขอนามัยของ CODEX ซึ่งเป็นระบบมาตรฐานอาหารสากลที่ FAO และ WTO ร่วมกันสนับสนุนไม่ใช่มาตรฐานบังคับ ดังนั้น การเจรจาแก้ไขปัญหาอุปสรรคที่เกิดจากมาตรฐานสุขอนามัย จึงต้องใช้ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์เป็นหลักฐานในการเจรจาต่อรอง ซึ่งใช้เวลาและงบประมาณมาก แม้ว่า WTO จะได้กำหนดให้ความตกลงว่าด้วยการใช้มาตรการด้านสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (SPS) ต้องตั้งอยู่บนหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่เชื่อถือได้ เพื่อให้มีความโปร่งใสและไม่เป็นอุปสรรคทางการค้า แต่ข้อกังวลที่เกิดขึ้น คือ ข้อพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ที่ได้จะเป็นที่ยอมรับของประเทศผู้นำเข้ามากน้อยเพียงใด
(5) มาตรฐานอุตสาหกรรม
- ในความตกลงว่าด้วยอุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า (Technical Barriers to Trade : TBT) กำหนดว่า การออกกฎระเบียบและมาตรฐานต่าง ๆ ของสินค้าทั้งเกษตรและอุตสาหกรรมรวมถึงข้อกำหนดเรื่องการบรรจุหีบห่อ การทำเครื่องหมายและการปิดฉลาก และวิธีดำเนินการประเมินความสอดคล้องกับข้อบังคับทางเทคนิคและมาตรฐาน ต้องไม่ก่อให้เกิดอุปสรรคต่อการค้าระหว่างประเทศ ทั้งนี้ การออกกฎระเบียบดังกล่าวจะต้องอิงกับระบบมาตรฐานระหว่างประเทศ เพื่อมิให้เป็นข้อกีดกันทางการค้า และประเทศสมาชิกจะต้องแจ้งกฎระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องต่อ WTO เพื่อให้สมาชิกให้ข้อคิดเห็นได้
- ประเด็นปัญหา คือ หลายประเทศไม่มีการแจ้งและการแลกเปลี่ยนข้อมูลให้ WTO ได้แจ้งให้สมาชิกให้ข้อคิดเห็น ทำให้ผู้ประกอบการไม่สามารถวางแผนการผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการและมาตรฐานสินค้านำเข้าของประเทศคู่ค้าได้
- นอกจากนี้ สหภาพยุโรป ได้มีนโยบายในการกำหนดมาตรฐานสินค้าอุตสาหกรรมของ สหภาพยุโรปให้เป็นหนึ่งเดียว เพื่อสนับสนุนนโยบายการเคลื่อนย้ายสินค้าได้โดยเสรีภายในสหภาพยุโรป ซึ่งจะเป็นอุปสรรคต่อประเทศที่สามที่จะต้องผลิตสินค้าให้ได้ตามมาตรฐานที่กำหนด
5. การปรับตัวเข้าสู่การค้ายุคใหม่
- ในโลกยุคใหม่ธุรกิจที่สามารถปรับตัวให้รองรับกับการเปลี่ยนแปลงได้เท่านั้นที่จะเป็นผู้อยู่รอดได้ ซึ่งในการปรับตัวดังกล่าว มีแนวทางการดำเนินการดังนี้
1) คุณภาพเป็นตัวนำ ซึ่งหมายถึง คุณภาพทั้งในการดำเนินธุรกิจ คุณภาพในการผลิต ตลอดจนถึงคุณภาพของสินค้าและบริการจัดจำหน่าย
2) ลดการพึ่งพารัฐ ด้วยกติกาการค้าใหม่ๆ การหวังการคุ้มครองปกป้องจากรัฐจะเป็นไปได้ยากขึ้น การปกป้องตนเองด้วยการบริหารต้นทุนและความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพจะมีความสำคัญมากต่อธุรกิจ
3) หาพันธมิตรทางการค้า และให้ความสำคัญกับการสร้างความเข้มแข็งของตลาดภายใน ผู้ประกอบการของไทยส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม ซึ่งจะต้องประสบการแข่งขันกับบริษัทข้ามชาติที่แผ่อิทธิพลอย่างกว้างขวาง ดังนั้น การสร้างพันธมิตรทางการค้า จึงเป็นสิ่งจำเป็นในการขยายตลาดการค้า นอกจากนี้ จะต้องให้ความสนใจกับการพัฒนาตลาดภายในให้แข็งแกร่งมากขึ้น เพื่อลดความเสี่ยงจากความไม่แน่นอนของตลาดส่งออก
4) ให้ความสำคัญกับผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เพราะเป็นเรื่องที่ประเทศต่างๆ จะใช้เป็นมาตรการกีดกันทางการค้ามากขึ้น
5) นำสินค้าและบริการเข้าสู่ระบบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อความสะดวกและรวดเร็วในการขยายตลาดและสามารถแข่งขันได้ในโลกการค้ามิติใหม่นี้
6. ความคาดหวังกับการค้ามิติใหม่
1) ในโลกการค้ามิติใหม่จะเป็นโลกที่มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นสำคัญและเป็นการค้าเสรีที่แท้จริง ปราศจากข้อกีดกันใดๆ ทั้งด้านภาษีและมิใช่ภาษี สินค้าสามารถเคลื่อนย้ายไปทั่วโลกได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถเลือกสินค้าที่มีคุณภาพดีที่สุดและมีราคาที่เป็นธรรม
2) ระบบการค้าโลกจะมีความเป็นธรรมและโปร่งใส ประเทศที่พัฒนาแล้วจะไม่สามารถใช้อำนาจหรือความเป็นใหญ่ในองค์กรระหว่างประเทศ ในการออกกฎข้อบังคับทางการค้าที่เป็นการเอาเปรียบหรือบีบบังคับประเทศเล็กๆ ให้ปฏิบัติตาม โดยการอ้างในเรื่องความปลอดภัยของมนุษย์และสัตว์ รวมทั้งสิ่งแวดล้อมโลก กฎระเบียบต่างๆมีแนวโน้มที่จะเป็นกติกาสากลมากขึ้น
3) ประเทศไทยมีความพร้อมที่จะก้าวเข้าสู่ระบบการค้ามิติใหม่ได้โดยเร็ว เพื่อนำมาซึ่งความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและการค้าของประเทศ
กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--
-สส-