25 ตุลาคม 2544 / นายอดิศัย โพธารามิก เปิดเผยภายหลังการหารือถึงภาพรวม และแนวทางในการดำเนินการเกี่ยวกับธุรกิจค้าปลีกของกระทรวงพาณิชย์ว่า ได้มีการวางไว้ใน 2 ส่วน ส่วนแรกเป็นเรื่องของร่าง พ.ร.บ.ค้าปลีกค้าส่ง ซึ่งได้มีการปรับปรุงบางส่วนและจะเสนอเข้าที่ประชุม ค.ร.ม. เร็ว ๆ นี้ เพื่อพิจารณาก่อนเข้าสู่ที่ประชุมสภาฯ ให้ทันในสมัยประชุมนี้ โดยในรายละเอียดของร่างพ.ร.บ.จะมีการเข้าไปปรับปรุงธุรกิจค้าปลีกทั้งขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก ให้มีมาตรฐานและเสมอภาค รวมทั้งเอื้อประโยชน์ต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ เมือง และชุมชนเป็นหลัก
นอกจากนั้นจะมีการจัดการเกี่ยวกับเรื่องการเอาเปรียบผู้บริโภค การจัดการเรื่องคุณลักษณะ คุณภาพ และราคาของสินค้า รวมทั้งการจัดการเกี่ยวกับกิจกรรมต่างๆ ที่ก่อให้เกิดการบิดเบือนทางการค้า ซึ่ง พ.ร.บ.นี้จะมุ่งเน้นมาตรการทางด้านกฎหมายมากกว่า ส่วนมาตรการด้านปฏิบัตินั้นทางกระทรวงพาณิชย์จะเข้าไปช่วยผู้ค้าปลีกที่มีทุนน้อย รวมทั้งผู้บริโภคในพื้นที่ห่างไกลตามตำบล หมู่บ้านต่างๆ ให้มีศักยภาพในการบริโภคสินค้าประจำวันในราคาที่ยุติธรรมยิ่งขึ้นกว่าในปัจจุบัน ด้วยการจัดตั้งร้านค้าชุมชน ซึ่งที่ผ่านมากระทรวงได้เคยดำเนินการส่งเสริมในเรื่องของการให้ทุนหมุนเวียนอยู่แล้ว และขั้นต่อไปจะเข้าไปร่วมทุน รวมทั้งจัดรูปแบบการค้าปลีกด้วย
สำหรับการร่วมทุนนั้นจะมีการจัดตั้งบริษัทของกระทรวงพาณิชย์ขึ้นมา ในลักษณะโฮลดิ้ง คอมปานี เพื่อรวบรวมเงินและนำเงินไปลงทุนในร้านค้าปลีกต่างๆ ซึ่งจะได้มีการจัดตั้งโครงการนำร่องใน 4 — 5 จังหวัด และคาดว่าจะเปิดดำเนินการร้านค้าแรกได้ประมาณต้นปี 2545
ร้านค้าชุมชนนี้จะมีชุมชนเป็นเจ้าของ กระทรวงพาณิชย์โดยกรมการค้าภายใน สำนักงานปลัดกระทรวง รวมทั้งบริษัทของกระทรวง จะเข้าไปร่วมดำเนินการในช่วง 1 — 3 ปีแรกเท่านั้น ในเรื่องของการร่วมลงทุน การให้คำแนะนำในการบริหารจัดการเพื่อให้ดำเนินธุรกิจอย่างมีผลกำไร การบริหารสินค้า สต็อกสินค้า การทำบัญชีบริหารเงินสด รวมทั้งการฝึกอบรมพนักงานอย่างเป็นระบบ จากนั้นเมื่อธุรกิจสามารถยืนอยู่ได้ก็จะขายหุ้นคืนในราคาทุน เพื่อให้ชุมชนได้บริหารต่อไป
“ร้านค้าชุมชนนี้จะดำเนินนโยบายไม่แข่งขันกับร้านค้าที่มีอยู่เดิมในชุมชน โดยจะยึดหลักความสมัครใจของชุมชนนั้นว่าต้องการให้กระทรวงพาณิชย์เข้าไปช่วยเหลือหรือไม่ เพื่อไม่ให้รูปแบบการดำเนินธุรกิจในชุมชนผิดรูปแบบไป แต่ต้องการให้เกิดการบริโภคในราคาที่เป็นธรรมภายในชุมชน และกำไรต่างๆ หมุนเวียนอยู่ในชุมชนนั้น รวมทั้งเพื่อช่วยเหลือธุรกิจค้าปลีกในชนบทที่ยังไม่เติบโตให้พัฒนาขึ้นด้วย ซึ่งถ้าหากร้านค้าเดิมในชุมชนต้องการเข้าร่วมโครงการก็สามารถทำได้ ส่วนการลงทุนในร้านใหม่นั้นคาดว่าจะต้องใช้เงินประมาณ 300,000 บาทต่อร้าน โดยกระทรวงพาณิชย์จะเข้าไปร่วมทุนด้วยประมาณ 10 % หรือ 30,000 บาท ส่วนการลงทุนของชุมชนเองนั้น หากมีเงินทุนไม่เพียงพอก็จะมีธนาคารออมสินและกองทุนหมู่บ้านที่เป็นแหล่งเงินทุนอยู่”
โครงการร้านค้าชุมชนของกระทรวงนี้จะใช้งบประมาณ 300 ล้านบาทจากงบกลางกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งขณะนี้ได้มีการสำรวจตลาดเบื้องต้นแล้ว โดยกระทรวงพาณิชย์ได้ขอความร่วมมือจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงมหาดไทย เพื่อร่วมกันหาข้อมูลไปบริหารจัดการตั้งร้านขึ้นมา
สำหรับสินค้าที่จะจำหน่ายนั้นเป็นสินค้าอุปโภคบริโภคที่เน้นราคาถูก โดยกระทรวงพาณิชย์จะเป็นผู้ประสานงานกับบริษัทผู้ผลิตทั้งหลายเพื่อจัดหาสินค้าราคาถูกมาจำหน่าย
“ร้านค้าชุมชนนี้กระทรวงพาณิชย์ตั้งเป้าหมายที่จะดำเนินการทั้งหมด 10,000 ร้านค้า ทั่วประเทศ เพื่อช่วยพัฒนาธุรกิจการค้าปลีกของไทยให้ก้าวหน้า ซึ่งหากร้านค้าชุมชนนี้มีผลกำไรเติบโต 10 -15% ก็ถือว่าประสบความสำเร็จแล้ว”
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ ตุลาคม 2544--
-ปส-
นอกจากนั้นจะมีการจัดการเกี่ยวกับเรื่องการเอาเปรียบผู้บริโภค การจัดการเรื่องคุณลักษณะ คุณภาพ และราคาของสินค้า รวมทั้งการจัดการเกี่ยวกับกิจกรรมต่างๆ ที่ก่อให้เกิดการบิดเบือนทางการค้า ซึ่ง พ.ร.บ.นี้จะมุ่งเน้นมาตรการทางด้านกฎหมายมากกว่า ส่วนมาตรการด้านปฏิบัตินั้นทางกระทรวงพาณิชย์จะเข้าไปช่วยผู้ค้าปลีกที่มีทุนน้อย รวมทั้งผู้บริโภคในพื้นที่ห่างไกลตามตำบล หมู่บ้านต่างๆ ให้มีศักยภาพในการบริโภคสินค้าประจำวันในราคาที่ยุติธรรมยิ่งขึ้นกว่าในปัจจุบัน ด้วยการจัดตั้งร้านค้าชุมชน ซึ่งที่ผ่านมากระทรวงได้เคยดำเนินการส่งเสริมในเรื่องของการให้ทุนหมุนเวียนอยู่แล้ว และขั้นต่อไปจะเข้าไปร่วมทุน รวมทั้งจัดรูปแบบการค้าปลีกด้วย
สำหรับการร่วมทุนนั้นจะมีการจัดตั้งบริษัทของกระทรวงพาณิชย์ขึ้นมา ในลักษณะโฮลดิ้ง คอมปานี เพื่อรวบรวมเงินและนำเงินไปลงทุนในร้านค้าปลีกต่างๆ ซึ่งจะได้มีการจัดตั้งโครงการนำร่องใน 4 — 5 จังหวัด และคาดว่าจะเปิดดำเนินการร้านค้าแรกได้ประมาณต้นปี 2545
ร้านค้าชุมชนนี้จะมีชุมชนเป็นเจ้าของ กระทรวงพาณิชย์โดยกรมการค้าภายใน สำนักงานปลัดกระทรวง รวมทั้งบริษัทของกระทรวง จะเข้าไปร่วมดำเนินการในช่วง 1 — 3 ปีแรกเท่านั้น ในเรื่องของการร่วมลงทุน การให้คำแนะนำในการบริหารจัดการเพื่อให้ดำเนินธุรกิจอย่างมีผลกำไร การบริหารสินค้า สต็อกสินค้า การทำบัญชีบริหารเงินสด รวมทั้งการฝึกอบรมพนักงานอย่างเป็นระบบ จากนั้นเมื่อธุรกิจสามารถยืนอยู่ได้ก็จะขายหุ้นคืนในราคาทุน เพื่อให้ชุมชนได้บริหารต่อไป
“ร้านค้าชุมชนนี้จะดำเนินนโยบายไม่แข่งขันกับร้านค้าที่มีอยู่เดิมในชุมชน โดยจะยึดหลักความสมัครใจของชุมชนนั้นว่าต้องการให้กระทรวงพาณิชย์เข้าไปช่วยเหลือหรือไม่ เพื่อไม่ให้รูปแบบการดำเนินธุรกิจในชุมชนผิดรูปแบบไป แต่ต้องการให้เกิดการบริโภคในราคาที่เป็นธรรมภายในชุมชน และกำไรต่างๆ หมุนเวียนอยู่ในชุมชนนั้น รวมทั้งเพื่อช่วยเหลือธุรกิจค้าปลีกในชนบทที่ยังไม่เติบโตให้พัฒนาขึ้นด้วย ซึ่งถ้าหากร้านค้าเดิมในชุมชนต้องการเข้าร่วมโครงการก็สามารถทำได้ ส่วนการลงทุนในร้านใหม่นั้นคาดว่าจะต้องใช้เงินประมาณ 300,000 บาทต่อร้าน โดยกระทรวงพาณิชย์จะเข้าไปร่วมทุนด้วยประมาณ 10 % หรือ 30,000 บาท ส่วนการลงทุนของชุมชนเองนั้น หากมีเงินทุนไม่เพียงพอก็จะมีธนาคารออมสินและกองทุนหมู่บ้านที่เป็นแหล่งเงินทุนอยู่”
โครงการร้านค้าชุมชนของกระทรวงนี้จะใช้งบประมาณ 300 ล้านบาทจากงบกลางกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งขณะนี้ได้มีการสำรวจตลาดเบื้องต้นแล้ว โดยกระทรวงพาณิชย์ได้ขอความร่วมมือจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงมหาดไทย เพื่อร่วมกันหาข้อมูลไปบริหารจัดการตั้งร้านขึ้นมา
สำหรับสินค้าที่จะจำหน่ายนั้นเป็นสินค้าอุปโภคบริโภคที่เน้นราคาถูก โดยกระทรวงพาณิชย์จะเป็นผู้ประสานงานกับบริษัทผู้ผลิตทั้งหลายเพื่อจัดหาสินค้าราคาถูกมาจำหน่าย
“ร้านค้าชุมชนนี้กระทรวงพาณิชย์ตั้งเป้าหมายที่จะดำเนินการทั้งหมด 10,000 ร้านค้า ทั่วประเทศ เพื่อช่วยพัฒนาธุรกิจการค้าปลีกของไทยให้ก้าวหน้า ซึ่งหากร้านค้าชุมชนนี้มีผลกำไรเติบโต 10 -15% ก็ถือว่าประสบความสำเร็จแล้ว”
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ ตุลาคม 2544--
-ปส-