อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์เป็นอุตสาหกรรมพื้นฐานสำคัญในการการพัฒนาอุตสาหกรรมภาคการผลิตของประเทศ ซึ่งมีผลิตภัณฑืที่หลากหลายและ
มีลักษณะที่แตกต่างกัน นอกจากนี้ยังมีโรงงานเป็นจำนวนมากทำให้การจัดเก็บตัวเลขปริมาณผลิตและการจำหน่ายเป็นไปได้ยาก
อุตสาหกรรมยาและเภสัชภัณฑ์
อุตสาหกรรมการผลิตยาสำเร็จรูปส่วนใหญ่ของประเทศไทย มีลักษณะของการเป็นอุตสาหกรรมการผลิตตัวยาสำเร็จรูป โดยใช้สารวัตถุดิบ
ตัวยามาเป็นองค์ประกอบร้อยละ 95 เป็นวัตถุดิบที่นำเข้าจากต่างประเทศ เนื่องจากการผลิตสารวัตถุดิบตัวยาเป็นอุตสาหกรรมที่ต้องใช้เงินลงทุน
และเทคโนโลยีสูง การผลิตยาสำเร็จรูปภายในประเทศ สามารถรองรับความต้องการของประชาชนได้เพียงร้อยละ 67 ส่วนที่เหลืออีกประมาณ
ร้อยละ 33 เป็นส่วนที่จำเป็นต้องนำเข้ายาสำเร็จรูปจากต่างประเทศ
ในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมาการส่งออกผลิตภัณฑ์ยาและเภสัชภัณฑ์ของไทยมีมูลค่าทั้งสิ้น 74 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยส่งออกไปยังประเทศ
เพื่อนบ้านที่อยู่ใกล้เคียงเช่น พม่า ลาว และเวียดนาม ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันในปีที่แล้วพบว่ามีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.71
อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์ยาและเภสัชภัณฑ์ในช่วงไตรมาสที่สามของปี 2544 พบว่ามีมูลค่า 27.6 ล้านเหรียญ
ดอลลาร์สหรัฐเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่สองร้อยละ 20.0
สำหรับการนำเข้าผลิตภัณฑ์ยาและเภสัชภัณฑ์ของไทยในช่วง 9 เดือนแรกมีมูลค่าทั้งสิ้น 395.4 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจาก
ช่วงเดียวกันในปีที่แล้วร้อยละ 5.5 และในไตรมาสที่สามของปี 2544 นี้มีไทยมีมูลค่าการนำเข้าผลิตภัณฑ์ยาและเภสัชภัณฑ์เพิ่มขึ้นจากไตรมาส
แรกร้อยละ 2.71 คิดเป็นมูลค่า 136.5 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ โดยส่วนใหญ่ไทยนำเข้ามาจากประเทศสหรัฐอเมริกา เยอรมัน และ
ฝรั่งเศส
สำหรับไตรมาสที่ 4 ของปี 2544 นี้ปริมาณการผลิต การจำหน่ายและการส่งออกของอุตสาหกรรมยาและเภสัชภัณฑ์น่าจะมีแนวโน้มที่ดี
ขี้นเนื่องจากเป็นช่วงฤดูหนาวมีการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศอย่างมาก ซึ่งน่าจะทำให้ปริมาณความต้องการผลิตภัณฑ์ยาและเภสัชภัณฑ์ภายใน
ประเทศเพิ่มขี้น
อุตสาหกรรมปุ๋ย
ประเทศไทยนั้นเป็นประเทศเกษตรกรรมการใช้ปุ๋ยก็เป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญในการเกษตรสมัยใหม่แต่อย่างไรก็ตาม ปุ๋ยเคมีส่วนใหญ่ไม่มี
การผลิตในประเทศ ผู้ผลิตปุ๋ยเคมีในประเทศส่วนใหญ่จะเป็นผู้นำเข้าหัวเชื้อปุ๋ยเพื่อนำมาผสมกับส่วนประกอบอื่นๆและบรรจุในบรรจุภัณฑ์เพื่อขาย
ภายในประเทศ ดังนั้นปริมาณการผลิตและความต้องการใช้ปุ๋ยภายในประเทศจึงสามารถดูได้จากปริมาณการนำเข้าปุ๋ยจากต่างประเทศ
ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2544 ประเทศมีการส่งออกปุ๋ยเคมีทั้งสิ้น 13.4 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของ
ปีที่แล้วร้อยละ 0.75 และในไตรมาสที่สองของปี 2544 ไทยมีมูลค่าการส่งออกปุ๋ยเคมี 5.7 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่สอง
ของปี 2544 ร้อยละ 23.91
ในขณะเดียวกันในช่วง 9 เดือนปีแรกของปี 2544 ประเทศไทยมีการนำเข้าปุ๋ยเคมีจากต่างประเทศ 408.1 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ
ลดลงขึ้นจากช่วงเดียวกันในปีที่แล้วร้อยละ 0.9 และในไตรมาสที่สามของปี 2544 มีการนำเข้าปุ๋ยเคมี 41.3 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐลดลงจาก
ไตรมาสที่สองร้อยละ 79.35
การนำเข้าที่ลดลงจากปีที่แล้วอาจสะท้อนให้เห็นถึงภาวะเศรษฐกิจที่ดีขึ้นของประเทศไทย หรืออาจจะเกิดจากราคาผลิตผลทางการ
เกษตรที่ดีขึ้นในตลาดโลก ส่วนการลดลงของการนำเข้าในไตรมาสที่สามอาจเกิดจากการใช้ปุ๋ยที่ลดลงขึ้นของเกษตรกรในช่วงฤดูฝน สำหรับ
แนวโน้มในไตรมาสที่สี่ปริมาณการใช้ปุ๋ยน่าจะเพิ่มขึ้นในช่วงฤดูหนาวก่อนการเก็บเกี่ยวในฤดูร้อนซึ่งน่าจะทำให้การนำเข้าเพิ่มขึ้น
อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์
อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ของไทยนั้นเป็นอุตสาหกรรมพื้นฐานของหลายๆอุตสาหกรรมที่อยู่ในประเทศดังนั้นปริมาณความต้องการสารเคมีจึงขึ้น
อยู่กับสภาพตลาดของอุตสาหกรรมอื่นๆ ประเทศไทยนำเข้าสารเคมีจากต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่ แต่ก็มีผลิตภัณฑ์เคมีบางอย่างที่เราส่งออกเช่น
สารเคมีที่เราสามารถหาวัตถุดิบได้ในประเทศ เช่น โซดาไฟและคลอรีน หรือเป็นอุตสาหกรรมเคมีพื้นฐานที่ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐบาล
ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2544 ประเทศไทยมีการส่งออกผลิตภัณฑ์เคมีทั้งสิ้น 709.7 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับ
ช่วงเดียวกันในปีที่แล้วร้อยละ 20.8 และเมื่อพิจารณายอดการส่งออกในไตรมาสที่ 3 ของปี 2544 พบว่ามีมูลค่าการส่งออก 211.2 ล้านเหรียญ
ดอลลาร์สหรัฐ ลดลงจากไตรมาสแรกร้อยละ 12.26 โดยผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการส่งออกลดลงเมื่อเทียบกับช่วงครึ่งปีแรกของปีที่แล้ว ได้แก่ ผลิตภัณฑ์
สีทาและวานิชลดลงร้อยละ 20.9 สารเคมีอินทรีย์ลดลงร้อยละ 28.8 ในขณะที่สารเคมีอนินทรีย์เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.86
แต่เมื่อพิจารณาถึงการเปลี่ยนแปลงของการส่งออกในไตรมาสที่ 3 พบว่า ผลิตภัณฑ์สีทาและวานิช และผลิตภัณฑ์สารเคมีอื่นๆมีแนวโน้มที่ดีขึ้น
จะมีเพียงแต่สารเคมีอินทรีย์เท่านั้นที่มีแนวโน้มแย่ลง ซึ่งทำให้พอคาดการณ์ได้ว่าในไตรมาสที่ 4 การส่งออกผลิตภัณฑ์เคมีของไทยอาจจะลดลงอัน
เป็นผลเนื่องมาจากการลดลงอย่างต่อเนื่องของการส่งออกสารเคมีอินทรีย์ที่มีมูลค่าการส่งออกสูงที่สุด
ส่วนด้านการนำเข้านั้นในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2544 ประเทศไทยมีการนำเข้าผลิตภัณฑ์เคมีทั้งสิ้น 3708.9 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ
ซึ่งเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันในปีที่แล้วร้อยละ 0.85 และเมื่อพิจารณายอดการนำเข้าในไตรมาสที่ 3 ของปี 2544 พบว่ามีมูลค่า
การนำเข้า 1210.3 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ ลดลงจากไตรมาสที่สองร้อยละ 1.75 โดยสารเคมีที่มีการนำเข้าเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับ
ช่วง 9 เดือนแรกของปีที่แล้วที่สำคัญ ได้แก่ การนำเข้าสารเคมีอนินทรีย์ที่มีการเพี่มขึ้นร้อยละ 20.16 และผลิตภัณฑ์เคมีภัณฑ์อื่นๆเพิ่มขึ้นร้อยละ
3.64 และทั้งงสองตัวนี้ก็มีแนวโน้มการนำเข้าที่เพิ่มขึ้นในช่วงไตรมาสที่สอง ดังนั้นหากพิจารณาจากแนวโน้มการนำเข้าในช่วงไตรมาสที่ 3 จึง
เป็นไปได้ที่ในช่วงไตรมาสที่ 4 มูลค่าการนำเข้าจะเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามเนื่องจากปริมาณความต้องการผลิตภัณฑ์เคมีขึ้นอยู่กับภาวะของ
อุตสาหกรรมอื่นๆ จึงต้องพิจารณาภาวะอุตสาหกรรมการผลิตภาพรวมไว้ด้วย
อุตสาหกรรมเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด
อุตสาหกรรมเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดของไทยนั้น นอกจากจำเป็นต้องอาศัยวัตถุดิบและสารเคมีตั้งต้นบางประเภทจาก
ต่างประเทศยังขึ้นอยู่กับความเชื่อมั่น ค่านิยมและ รสนิยมของผู้บริโภค จึงทำให้อุตสาหกรรมนี้มีทั้งการนำเข้าและส่งออก โดยประเทศไทย
มีการส่งออกเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์สารทำความสะอาด เช่น สบู่ แชมพู ผงซักฟอก ไปยังประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียง เช่น ลาว
เขมร เวียดนาม พม่า ในขณะที่ประเทศไทยนำเข้าเครื่องสำอางและสารทำความสะอาดที่มียี่ห้อจากต่างประเทศ
ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2544 ประเทศไทยมีการส่งออกผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์สารทำความสะอาดไปยังประเทศ
เพื่อนบ้าน 307.5 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันในปีที่แล้วร้อยละ 24.65 โดยในไตรมาสที่ 3 ของปี 2544 มีมูลค่า
ส่งออก 120.4 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่สองร้อยละ 24
ขณะเดียวกันการนำเข้าผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์สารทำความสะอาดในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2544 มีมูลค่าทั้งสิ้น 297.5
ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 14.86 โดยในไตรมาสที่ 3 ของปี 2544 มีมูลค่าการนำเข้า 98.2
ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ ลดลงจากไตรมาสแรกร้อยละ 1.8
สำหรับในช่วงไตรมาสที่ 4 นี้ภาวะการผลิตและการจำหน่ายผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดน่าจะมีทิศทางที่ดีขึ้น
ในช่วงฤดูหนาวและช่วงปีใหม่นี้
ตารางที่ 1. การส่งออกผลิตภัณฑ์เคมีและเภสัชภัณฑ์
หน่วย: ล้านเหรียญสหรัฐฯ
รายการ 2543 2544 เปลี่ยนแปลง 2544 2544 เปลี่ยนแปลง 2543
(ม.ค.-ก.ย.) (ม.ค.-ก.ย.) % (เม.ย.-มิ.ย.) (ก.ค.-ก.ย.) % (ก.ค.-ก.ย.)
ผลิตภัณฑ์เคภัณฑ์ 896.1 709.7 -20.80 240.7 211.2 -12.26 306
สารเคมีอนินทรีย์ 70 72.7 3.86 2.5 26.9 976.00 22.8
สารเคมีอินทรีย์ 665.4 473.2 -28.88 163.9 122.4 -25.32 226.4
ปุ๋ย 13.3 13.4 0.75 4.6 5.7 23.91 6.2
สีทาและวานิช 37.8 29.9 -20.90 9.9 10.9 10.10 10.2
สารแอลบลูมินอยด์ 19.5 19.6 0.51 6.1 6.9 13.11 7
ผลิตภัณฑ์เคมีอื่นๆ 90.1 101 12.10 32.8 38.4 17.07 33.4
เครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด 246.7 307.5 24.65 97.1 120.4 24.00 90.6
ยาและเภสัชภัณฑ์ 68.7 74 7.71 23 27.6 20.00 23.7
ที่มา: กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์
ตารางที่ 2. การนำเข้าผลิตภัณฑ์เคมีและเภสัชภัณฑ์
หน่วย: ล้านเหรียญสหรัฐฯ
รายการ 2543 2544 เปลี่ยนแปลง 2544 2544 เปลี่ยนแปลง 2543
(ม.ค.-ก.ย.) (ม.ค.-ก.ย.) % (เม.ย.-มิ.ย.) (ก.ค.-ก.ย.) % (ก.ค.-ก.ย.)
ผลิตภัณฑ์เคภัณฑ์ 3677.5 3708.9 0.85 1231.8 1210.3 -1.75 1265.2
สารเคมีอนินทรีย์ 312.5 375.5 20.16 117 118.2 1.03 123.3
สารเคมีอินทรีย์ 1330.2 1228.9 -7.62 430.7 396.5 -7.94 450.2
ผลิตภัณฑ์เคมีอื่นๆ 2034.8 2104.5 3.43 684.1 695.6 1.68 691.7
ปุ๋ย 1948.6 2019.6 3.64 606.8 761.3 25.46 1583.9
เครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด 259 297.5 14.86 100 98.2 -1.80 93.7
ยาและเภสัชภัณฑ์ 374.8 395.4 5.50 132.9 136.5 2.71 139
ที่มา: กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
มีลักษณะที่แตกต่างกัน นอกจากนี้ยังมีโรงงานเป็นจำนวนมากทำให้การจัดเก็บตัวเลขปริมาณผลิตและการจำหน่ายเป็นไปได้ยาก
อุตสาหกรรมยาและเภสัชภัณฑ์
อุตสาหกรรมการผลิตยาสำเร็จรูปส่วนใหญ่ของประเทศไทย มีลักษณะของการเป็นอุตสาหกรรมการผลิตตัวยาสำเร็จรูป โดยใช้สารวัตถุดิบ
ตัวยามาเป็นองค์ประกอบร้อยละ 95 เป็นวัตถุดิบที่นำเข้าจากต่างประเทศ เนื่องจากการผลิตสารวัตถุดิบตัวยาเป็นอุตสาหกรรมที่ต้องใช้เงินลงทุน
และเทคโนโลยีสูง การผลิตยาสำเร็จรูปภายในประเทศ สามารถรองรับความต้องการของประชาชนได้เพียงร้อยละ 67 ส่วนที่เหลืออีกประมาณ
ร้อยละ 33 เป็นส่วนที่จำเป็นต้องนำเข้ายาสำเร็จรูปจากต่างประเทศ
ในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมาการส่งออกผลิตภัณฑ์ยาและเภสัชภัณฑ์ของไทยมีมูลค่าทั้งสิ้น 74 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยส่งออกไปยังประเทศ
เพื่อนบ้านที่อยู่ใกล้เคียงเช่น พม่า ลาว และเวียดนาม ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันในปีที่แล้วพบว่ามีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.71
อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์ยาและเภสัชภัณฑ์ในช่วงไตรมาสที่สามของปี 2544 พบว่ามีมูลค่า 27.6 ล้านเหรียญ
ดอลลาร์สหรัฐเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่สองร้อยละ 20.0
สำหรับการนำเข้าผลิตภัณฑ์ยาและเภสัชภัณฑ์ของไทยในช่วง 9 เดือนแรกมีมูลค่าทั้งสิ้น 395.4 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจาก
ช่วงเดียวกันในปีที่แล้วร้อยละ 5.5 และในไตรมาสที่สามของปี 2544 นี้มีไทยมีมูลค่าการนำเข้าผลิตภัณฑ์ยาและเภสัชภัณฑ์เพิ่มขึ้นจากไตรมาส
แรกร้อยละ 2.71 คิดเป็นมูลค่า 136.5 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ โดยส่วนใหญ่ไทยนำเข้ามาจากประเทศสหรัฐอเมริกา เยอรมัน และ
ฝรั่งเศส
สำหรับไตรมาสที่ 4 ของปี 2544 นี้ปริมาณการผลิต การจำหน่ายและการส่งออกของอุตสาหกรรมยาและเภสัชภัณฑ์น่าจะมีแนวโน้มที่ดี
ขี้นเนื่องจากเป็นช่วงฤดูหนาวมีการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศอย่างมาก ซึ่งน่าจะทำให้ปริมาณความต้องการผลิตภัณฑ์ยาและเภสัชภัณฑ์ภายใน
ประเทศเพิ่มขี้น
อุตสาหกรรมปุ๋ย
ประเทศไทยนั้นเป็นประเทศเกษตรกรรมการใช้ปุ๋ยก็เป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญในการเกษตรสมัยใหม่แต่อย่างไรก็ตาม ปุ๋ยเคมีส่วนใหญ่ไม่มี
การผลิตในประเทศ ผู้ผลิตปุ๋ยเคมีในประเทศส่วนใหญ่จะเป็นผู้นำเข้าหัวเชื้อปุ๋ยเพื่อนำมาผสมกับส่วนประกอบอื่นๆและบรรจุในบรรจุภัณฑ์เพื่อขาย
ภายในประเทศ ดังนั้นปริมาณการผลิตและความต้องการใช้ปุ๋ยภายในประเทศจึงสามารถดูได้จากปริมาณการนำเข้าปุ๋ยจากต่างประเทศ
ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2544 ประเทศมีการส่งออกปุ๋ยเคมีทั้งสิ้น 13.4 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของ
ปีที่แล้วร้อยละ 0.75 และในไตรมาสที่สองของปี 2544 ไทยมีมูลค่าการส่งออกปุ๋ยเคมี 5.7 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่สอง
ของปี 2544 ร้อยละ 23.91
ในขณะเดียวกันในช่วง 9 เดือนปีแรกของปี 2544 ประเทศไทยมีการนำเข้าปุ๋ยเคมีจากต่างประเทศ 408.1 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ
ลดลงขึ้นจากช่วงเดียวกันในปีที่แล้วร้อยละ 0.9 และในไตรมาสที่สามของปี 2544 มีการนำเข้าปุ๋ยเคมี 41.3 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐลดลงจาก
ไตรมาสที่สองร้อยละ 79.35
การนำเข้าที่ลดลงจากปีที่แล้วอาจสะท้อนให้เห็นถึงภาวะเศรษฐกิจที่ดีขึ้นของประเทศไทย หรืออาจจะเกิดจากราคาผลิตผลทางการ
เกษตรที่ดีขึ้นในตลาดโลก ส่วนการลดลงของการนำเข้าในไตรมาสที่สามอาจเกิดจากการใช้ปุ๋ยที่ลดลงขึ้นของเกษตรกรในช่วงฤดูฝน สำหรับ
แนวโน้มในไตรมาสที่สี่ปริมาณการใช้ปุ๋ยน่าจะเพิ่มขึ้นในช่วงฤดูหนาวก่อนการเก็บเกี่ยวในฤดูร้อนซึ่งน่าจะทำให้การนำเข้าเพิ่มขึ้น
อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์
อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ของไทยนั้นเป็นอุตสาหกรรมพื้นฐานของหลายๆอุตสาหกรรมที่อยู่ในประเทศดังนั้นปริมาณความต้องการสารเคมีจึงขึ้น
อยู่กับสภาพตลาดของอุตสาหกรรมอื่นๆ ประเทศไทยนำเข้าสารเคมีจากต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่ แต่ก็มีผลิตภัณฑ์เคมีบางอย่างที่เราส่งออกเช่น
สารเคมีที่เราสามารถหาวัตถุดิบได้ในประเทศ เช่น โซดาไฟและคลอรีน หรือเป็นอุตสาหกรรมเคมีพื้นฐานที่ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐบาล
ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2544 ประเทศไทยมีการส่งออกผลิตภัณฑ์เคมีทั้งสิ้น 709.7 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับ
ช่วงเดียวกันในปีที่แล้วร้อยละ 20.8 และเมื่อพิจารณายอดการส่งออกในไตรมาสที่ 3 ของปี 2544 พบว่ามีมูลค่าการส่งออก 211.2 ล้านเหรียญ
ดอลลาร์สหรัฐ ลดลงจากไตรมาสแรกร้อยละ 12.26 โดยผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าการส่งออกลดลงเมื่อเทียบกับช่วงครึ่งปีแรกของปีที่แล้ว ได้แก่ ผลิตภัณฑ์
สีทาและวานิชลดลงร้อยละ 20.9 สารเคมีอินทรีย์ลดลงร้อยละ 28.8 ในขณะที่สารเคมีอนินทรีย์เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.86
แต่เมื่อพิจารณาถึงการเปลี่ยนแปลงของการส่งออกในไตรมาสที่ 3 พบว่า ผลิตภัณฑ์สีทาและวานิช และผลิตภัณฑ์สารเคมีอื่นๆมีแนวโน้มที่ดีขึ้น
จะมีเพียงแต่สารเคมีอินทรีย์เท่านั้นที่มีแนวโน้มแย่ลง ซึ่งทำให้พอคาดการณ์ได้ว่าในไตรมาสที่ 4 การส่งออกผลิตภัณฑ์เคมีของไทยอาจจะลดลงอัน
เป็นผลเนื่องมาจากการลดลงอย่างต่อเนื่องของการส่งออกสารเคมีอินทรีย์ที่มีมูลค่าการส่งออกสูงที่สุด
ส่วนด้านการนำเข้านั้นในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2544 ประเทศไทยมีการนำเข้าผลิตภัณฑ์เคมีทั้งสิ้น 3708.9 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ
ซึ่งเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันในปีที่แล้วร้อยละ 0.85 และเมื่อพิจารณายอดการนำเข้าในไตรมาสที่ 3 ของปี 2544 พบว่ามีมูลค่า
การนำเข้า 1210.3 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ ลดลงจากไตรมาสที่สองร้อยละ 1.75 โดยสารเคมีที่มีการนำเข้าเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับ
ช่วง 9 เดือนแรกของปีที่แล้วที่สำคัญ ได้แก่ การนำเข้าสารเคมีอนินทรีย์ที่มีการเพี่มขึ้นร้อยละ 20.16 และผลิตภัณฑ์เคมีภัณฑ์อื่นๆเพิ่มขึ้นร้อยละ
3.64 และทั้งงสองตัวนี้ก็มีแนวโน้มการนำเข้าที่เพิ่มขึ้นในช่วงไตรมาสที่สอง ดังนั้นหากพิจารณาจากแนวโน้มการนำเข้าในช่วงไตรมาสที่ 3 จึง
เป็นไปได้ที่ในช่วงไตรมาสที่ 4 มูลค่าการนำเข้าจะเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามเนื่องจากปริมาณความต้องการผลิตภัณฑ์เคมีขึ้นอยู่กับภาวะของ
อุตสาหกรรมอื่นๆ จึงต้องพิจารณาภาวะอุตสาหกรรมการผลิตภาพรวมไว้ด้วย
อุตสาหกรรมเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด
อุตสาหกรรมเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดของไทยนั้น นอกจากจำเป็นต้องอาศัยวัตถุดิบและสารเคมีตั้งต้นบางประเภทจาก
ต่างประเทศยังขึ้นอยู่กับความเชื่อมั่น ค่านิยมและ รสนิยมของผู้บริโภค จึงทำให้อุตสาหกรรมนี้มีทั้งการนำเข้าและส่งออก โดยประเทศไทย
มีการส่งออกเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์สารทำความสะอาด เช่น สบู่ แชมพู ผงซักฟอก ไปยังประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียง เช่น ลาว
เขมร เวียดนาม พม่า ในขณะที่ประเทศไทยนำเข้าเครื่องสำอางและสารทำความสะอาดที่มียี่ห้อจากต่างประเทศ
ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2544 ประเทศไทยมีการส่งออกผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์สารทำความสะอาดไปยังประเทศ
เพื่อนบ้าน 307.5 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันในปีที่แล้วร้อยละ 24.65 โดยในไตรมาสที่ 3 ของปี 2544 มีมูลค่า
ส่งออก 120.4 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่สองร้อยละ 24
ขณะเดียวกันการนำเข้าผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์สารทำความสะอาดในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2544 มีมูลค่าทั้งสิ้น 297.5
ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 14.86 โดยในไตรมาสที่ 3 ของปี 2544 มีมูลค่าการนำเข้า 98.2
ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ ลดลงจากไตรมาสแรกร้อยละ 1.8
สำหรับในช่วงไตรมาสที่ 4 นี้ภาวะการผลิตและการจำหน่ายผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดน่าจะมีทิศทางที่ดีขึ้น
ในช่วงฤดูหนาวและช่วงปีใหม่นี้
ตารางที่ 1. การส่งออกผลิตภัณฑ์เคมีและเภสัชภัณฑ์
หน่วย: ล้านเหรียญสหรัฐฯ
รายการ 2543 2544 เปลี่ยนแปลง 2544 2544 เปลี่ยนแปลง 2543
(ม.ค.-ก.ย.) (ม.ค.-ก.ย.) % (เม.ย.-มิ.ย.) (ก.ค.-ก.ย.) % (ก.ค.-ก.ย.)
ผลิตภัณฑ์เคภัณฑ์ 896.1 709.7 -20.80 240.7 211.2 -12.26 306
สารเคมีอนินทรีย์ 70 72.7 3.86 2.5 26.9 976.00 22.8
สารเคมีอินทรีย์ 665.4 473.2 -28.88 163.9 122.4 -25.32 226.4
ปุ๋ย 13.3 13.4 0.75 4.6 5.7 23.91 6.2
สีทาและวานิช 37.8 29.9 -20.90 9.9 10.9 10.10 10.2
สารแอลบลูมินอยด์ 19.5 19.6 0.51 6.1 6.9 13.11 7
ผลิตภัณฑ์เคมีอื่นๆ 90.1 101 12.10 32.8 38.4 17.07 33.4
เครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด 246.7 307.5 24.65 97.1 120.4 24.00 90.6
ยาและเภสัชภัณฑ์ 68.7 74 7.71 23 27.6 20.00 23.7
ที่มา: กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์
ตารางที่ 2. การนำเข้าผลิตภัณฑ์เคมีและเภสัชภัณฑ์
หน่วย: ล้านเหรียญสหรัฐฯ
รายการ 2543 2544 เปลี่ยนแปลง 2544 2544 เปลี่ยนแปลง 2543
(ม.ค.-ก.ย.) (ม.ค.-ก.ย.) % (เม.ย.-มิ.ย.) (ก.ค.-ก.ย.) % (ก.ค.-ก.ย.)
ผลิตภัณฑ์เคภัณฑ์ 3677.5 3708.9 0.85 1231.8 1210.3 -1.75 1265.2
สารเคมีอนินทรีย์ 312.5 375.5 20.16 117 118.2 1.03 123.3
สารเคมีอินทรีย์ 1330.2 1228.9 -7.62 430.7 396.5 -7.94 450.2
ผลิตภัณฑ์เคมีอื่นๆ 2034.8 2104.5 3.43 684.1 695.6 1.68 691.7
ปุ๋ย 1948.6 2019.6 3.64 606.8 761.3 25.46 1583.9
เครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด 259 297.5 14.86 100 98.2 -1.80 93.7
ยาและเภสัชภัณฑ์ 374.8 395.4 5.50 132.9 136.5 2.71 139
ที่มา: กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--