นายเกริกไกร จีระแพทย์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยถึงความสำเร็จของการร่วมดำเนินการระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนเพื่อคัดค้านการผ่านร่างกฎหมายว่าด้วยการแสดงถิ่นกำเนิดของสินค้าเครื่องเพชรพลอยและรูปพรรณ มาตรา 720 ของ Africa-CBI Trade Bill ซึ่งหากร่างกฎหมายนี้ผ่านออกมาเป็นกฎหมายแล้วจะทำให้สินค้าเครื่องเพชรพลอยและรูปพรรณที่เป็นของเทียมที่นำเข้าสหรัฐฯ ทุกรายการต้องมีการแสดงถิ่นกำเนิดอย่างถาวรซึ่งจะก่อให้เกิดต้นทุนการผลิตสูงขึ้นจนอาจไม่สามารถแข่งขันในตลาดสหรัฐฯ ได้อีกต่อไป
นายเกริกไกร จีระแพทย์ กล่าวถึงการดำเนินการในเรื่องนี้ว่า นับแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2543 เป็นต้นมา กรมการค้าต่างประเทศร่วมประชุมหารือกับภาคเอกชนไทยที่เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดท่าทีในการคัดค้านร่างกฎหมายดังกล่าวของสหรัฐฯ และร่วมกับสำนักงานพาณิชย์ในต่างประเทศ ณ กรุงวอชิงตัน รวมทั้งภาคราชการอื่นและเอกชนที่เกี่ยวข้องดำเนินการคัดค้านการผ่านร่างกฎหมายว่าด้วยการแสดงถิ่นกำเนิดของสินค้าเครื่องเพชรพลอยและรูปพรรณอย่างจริงจังและต่อเนื่อง โดยดำเนินการขอเสียงสนับสนุนการคัดค้านในทุกเวที ทั้งทางตรงและทางอ้อม ได้แก่ ในเวที WTO คณะผู้แทนถาวรไทยประจำองค์การการค้าโลกได้ยื่นคำคัดค้านต่อผู้แทนสหรัฐฯ ในการประชุมคณะกรรมการความตกลงว่าด้วยอุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า การขอเสียงสนับสนุนการคัดค้านจากประเทศผู้ส่งออกรายใหญ่ไปสหรัฐฯ ได้แก่ จีน เกาหลีใต้ และไต้หวัน การขอเสียงสนับสนุนการคัดค้านจากประเทศสมาชิกอาเซียนซึ่งทุกประเทศให้การสนับสนุนไทยในการดำเนินการคัดค้าน
อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กล่าวในที่สุดว่า การขอเสียงสนับสนุนการคัดค้านรวมทั้งการขอความร่วมมือภาคเอกชนไทยประสานกับภาคเอกชนสหรัฐฯ เพื่อร่วมกันคัดค้านการผ่านร่างกฎหมายนี้ นับได้ว่าเป็นการดำเนินการคัดค้านที่มีการร่วมมือร่วมใจจากทุกฝ่ายอย่างจริงจัง และมีผลให้ได้รับการสนับสนุนจาก Congressmen ของสหรัฐฯ ได้แก่ นาย Bill Archur ประธาน House Ways and Means Committee นาย Philip Crane, Subcommittee on Trade, House Ways and Means Committee และนาย Charles Ranger, Ranking Minority Member, House Ways and Means Committee โดยยกเรื่องนี้ขึ้นหารือกับ Senator Reed ผู้เสนอร่างกฎหมายนี้ในการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคมที่ผ่านมา ซึ่งที่ประชุมมีมติให้ถอนร่างกฎหมายมาตรา 720 นี้ออกจากร่างกฎหมาย Africa-CBI Trade Bill ตามข้อคัดค้านของรัฐบาลไทยและประเทศผู้ยื่นข้อคัดค้านอื่นๆ
--กรมการค้าต่างประเทศ พฤษภาคม 2543--
-อน-
นายเกริกไกร จีระแพทย์ กล่าวถึงการดำเนินการในเรื่องนี้ว่า นับแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2543 เป็นต้นมา กรมการค้าต่างประเทศร่วมประชุมหารือกับภาคเอกชนไทยที่เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดท่าทีในการคัดค้านร่างกฎหมายดังกล่าวของสหรัฐฯ และร่วมกับสำนักงานพาณิชย์ในต่างประเทศ ณ กรุงวอชิงตัน รวมทั้งภาคราชการอื่นและเอกชนที่เกี่ยวข้องดำเนินการคัดค้านการผ่านร่างกฎหมายว่าด้วยการแสดงถิ่นกำเนิดของสินค้าเครื่องเพชรพลอยและรูปพรรณอย่างจริงจังและต่อเนื่อง โดยดำเนินการขอเสียงสนับสนุนการคัดค้านในทุกเวที ทั้งทางตรงและทางอ้อม ได้แก่ ในเวที WTO คณะผู้แทนถาวรไทยประจำองค์การการค้าโลกได้ยื่นคำคัดค้านต่อผู้แทนสหรัฐฯ ในการประชุมคณะกรรมการความตกลงว่าด้วยอุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า การขอเสียงสนับสนุนการคัดค้านจากประเทศผู้ส่งออกรายใหญ่ไปสหรัฐฯ ได้แก่ จีน เกาหลีใต้ และไต้หวัน การขอเสียงสนับสนุนการคัดค้านจากประเทศสมาชิกอาเซียนซึ่งทุกประเทศให้การสนับสนุนไทยในการดำเนินการคัดค้าน
อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กล่าวในที่สุดว่า การขอเสียงสนับสนุนการคัดค้านรวมทั้งการขอความร่วมมือภาคเอกชนไทยประสานกับภาคเอกชนสหรัฐฯ เพื่อร่วมกันคัดค้านการผ่านร่างกฎหมายนี้ นับได้ว่าเป็นการดำเนินการคัดค้านที่มีการร่วมมือร่วมใจจากทุกฝ่ายอย่างจริงจัง และมีผลให้ได้รับการสนับสนุนจาก Congressmen ของสหรัฐฯ ได้แก่ นาย Bill Archur ประธาน House Ways and Means Committee นาย Philip Crane, Subcommittee on Trade, House Ways and Means Committee และนาย Charles Ranger, Ranking Minority Member, House Ways and Means Committee โดยยกเรื่องนี้ขึ้นหารือกับ Senator Reed ผู้เสนอร่างกฎหมายนี้ในการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคมที่ผ่านมา ซึ่งที่ประชุมมีมติให้ถอนร่างกฎหมายมาตรา 720 นี้ออกจากร่างกฎหมาย Africa-CBI Trade Bill ตามข้อคัดค้านของรัฐบาลไทยและประเทศผู้ยื่นข้อคัดค้านอื่นๆ
--กรมการค้าต่างประเทศ พฤษภาคม 2543--
-อน-