แท็ก
สุกร
สุกร
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ราคาสุกรทรงตัว เนื่องจากการซื้อขายยังไม่เปลี่ยนแปลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยผลผลิตยังมีปริมาณมากขณะที่ความต้องการบริโภคเป็นไปตามปกติ ทำให้มีแนวโน้มว่าราคาสุกรจะอ่อนตัวลง นายสัตวแพทย์บุญเพ็ง สันติวัฒนธรรม นายกสมาคมผู้ผลิตและแปรรูปสุกรเพื่อการ ส่งออก เปิดเผยว่า ทางสมาคมฯ ได้ร่วมกับสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติและชุมนุมสหกรณ์การปศุสัตว์ภาคตะวันออก จำกัด ทำหนังสือถึงอธิบดีกรมปศุสัตว์ เพื่อขอให้ช่วยคงอัตราภาษี นำเข้าไม่ให้ต่ำกว่าที่ผูกพันไว้กับองค์การการค้าโลก (WTO) และไม่ควรลดค่าธรรมเนียม นำเข้าตามที่สหรัฐฯได้พยายามผลักดันขอให้ไทยลดภาษีและค่าธรรมเนียมนำเข้าสินค้าปศุสัตว์และผลิตภัณฑ์ ประกอบด้วยเนื้อสุกร เนื้อวัว ไก่งวงและเครื่องใน ที่ไทยจัดเก็บภาษีในอัตรา ร้อยละ 42-54 โดยมุ่งหวังจะเข้ามาทุ่มตลาดสินค้าปศุสัตว์ไทยด้วยผลผลิตเนื้อสัตว์ส่วนเกินในสหรัฐฯเอง ซึ่งรัฐบาลจะต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ มิฉะนั้นจะส่งผลกระทบต่อเกษตรกรในภาคปศุสัตว์ได้รับความเสียหายทั้งระบบ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก100กิโลกรัมขึ้นไปราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 34.22 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อนโดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ คือ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 34.92 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 32.39 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 33.53 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 38.05 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้มีราคาอยู่ที่ตัวละ 650 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน ส่วนราคาขายส่งสุกรชำแหละ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 44.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ไก่เนื้อ
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ไก่เนื้อปรับราคาลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมาตามความต้องการปริโภคที่อ่อนตัวลง แต่ก็ยังเป็นราคาค่อนข้างสูงเพราะผลผลิตมีปริมาณไม่มาก ในขณะที่ตลาดต่างประเทศเริ่มปรับตัวดีขึ้นเพราะผลจากการอ่อนตัวลงของค่าเงินบาททำให้ส่งออกได้มากขึ้น คาดว่าการซื้อขายจะยังคงคล่องตัวและราคามีโอกาสปรับเพิ่มขึ้น
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 27.06 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 27.29 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.84 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้คือ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 28.66 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 27.34 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 24.96 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 28.35 บาท ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี มีราคาอยู่ที่ตัวละ 8.50 บาทราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 28.50 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.75 ส่วนราคาขายส่งไก่สด เฉลี่ยกิโลกรัมละ 37 บาทลดลงจากกิโลกรัมละ 39 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.13
ไข่ไก่
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
สถานการณ์โดยรวมของตลาดไข่ไก่ยังทรงตัวอยู่ แต่ก็มีแนวโน้มที่จะปรับตัวดีขึ้น สาเหตุเพราะผลไม้ในตลาดเริ่มลดปริมาณลงเพราะหมดฤดูกาล ในขณะที่ไข่เป็ดซึ่งเป็นคู่แข่งสำคัญก็ลดปริมาณลงเช่นกัน เพราะมีการนำไปทำไข่เค็มเพื่อใช้ในเทศกาลสารทจีนในช่วงกลางเดือนสิงหาคม ทำให้มีแนวโน้มว่าราคาจะปรับสูงขึ้น
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 145 บาท เพิ่มขึ้นจากร้อยฟองละ 143 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.40 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ คือ ภาคเหนือร้อยฟองละ 139 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 153 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 142 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 149 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. อยู่ที่ตัวละ 9 บาทราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 154 บาทเพิ่มขึ้นจากร้อยฟองละ 150 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.67
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 170 บาท เพิ่มขึ้นจากร้อยฟองละ 167 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.80 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ คือภาคเหนือร้อยฟองละ 160 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 168 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 171 บาทและภาคใต้ร้อยฟองละ 179 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 218 บาทเพิ่มขึ้นจากร้อยฟองละ 213 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.35
โค
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโค (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 38.06 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 36.81 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.40
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 25.56 บาทเพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 25.27 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.15
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 30 ประจำวันที่ 31 ก.ค. - 6 ส.ค. 2543--
-สส-
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ราคาสุกรทรงตัว เนื่องจากการซื้อขายยังไม่เปลี่ยนแปลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยผลผลิตยังมีปริมาณมากขณะที่ความต้องการบริโภคเป็นไปตามปกติ ทำให้มีแนวโน้มว่าราคาสุกรจะอ่อนตัวลง นายสัตวแพทย์บุญเพ็ง สันติวัฒนธรรม นายกสมาคมผู้ผลิตและแปรรูปสุกรเพื่อการ ส่งออก เปิดเผยว่า ทางสมาคมฯ ได้ร่วมกับสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติและชุมนุมสหกรณ์การปศุสัตว์ภาคตะวันออก จำกัด ทำหนังสือถึงอธิบดีกรมปศุสัตว์ เพื่อขอให้ช่วยคงอัตราภาษี นำเข้าไม่ให้ต่ำกว่าที่ผูกพันไว้กับองค์การการค้าโลก (WTO) และไม่ควรลดค่าธรรมเนียม นำเข้าตามที่สหรัฐฯได้พยายามผลักดันขอให้ไทยลดภาษีและค่าธรรมเนียมนำเข้าสินค้าปศุสัตว์และผลิตภัณฑ์ ประกอบด้วยเนื้อสุกร เนื้อวัว ไก่งวงและเครื่องใน ที่ไทยจัดเก็บภาษีในอัตรา ร้อยละ 42-54 โดยมุ่งหวังจะเข้ามาทุ่มตลาดสินค้าปศุสัตว์ไทยด้วยผลผลิตเนื้อสัตว์ส่วนเกินในสหรัฐฯเอง ซึ่งรัฐบาลจะต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ มิฉะนั้นจะส่งผลกระทบต่อเกษตรกรในภาคปศุสัตว์ได้รับความเสียหายทั้งระบบ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก100กิโลกรัมขึ้นไปราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 34.22 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อนโดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ คือ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 34.92 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 32.39 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 33.53 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 38.05 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้มีราคาอยู่ที่ตัวละ 650 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน ส่วนราคาขายส่งสุกรชำแหละ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 44.50 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ไก่เนื้อ
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ไก่เนื้อปรับราคาลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมาตามความต้องการปริโภคที่อ่อนตัวลง แต่ก็ยังเป็นราคาค่อนข้างสูงเพราะผลผลิตมีปริมาณไม่มาก ในขณะที่ตลาดต่างประเทศเริ่มปรับตัวดีขึ้นเพราะผลจากการอ่อนตัวลงของค่าเงินบาททำให้ส่งออกได้มากขึ้น คาดว่าการซื้อขายจะยังคงคล่องตัวและราคามีโอกาสปรับเพิ่มขึ้น
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 27.06 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 27.29 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.84 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้คือ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 28.66 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 27.34 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 24.96 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 28.35 บาท ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี มีราคาอยู่ที่ตัวละ 8.50 บาทราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 28.50 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.75 ส่วนราคาขายส่งไก่สด เฉลี่ยกิโลกรัมละ 37 บาทลดลงจากกิโลกรัมละ 39 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.13
ไข่ไก่
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
สถานการณ์โดยรวมของตลาดไข่ไก่ยังทรงตัวอยู่ แต่ก็มีแนวโน้มที่จะปรับตัวดีขึ้น สาเหตุเพราะผลไม้ในตลาดเริ่มลดปริมาณลงเพราะหมดฤดูกาล ในขณะที่ไข่เป็ดซึ่งเป็นคู่แข่งสำคัญก็ลดปริมาณลงเช่นกัน เพราะมีการนำไปทำไข่เค็มเพื่อใช้ในเทศกาลสารทจีนในช่วงกลางเดือนสิงหาคม ทำให้มีแนวโน้มว่าราคาจะปรับสูงขึ้น
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 145 บาท เพิ่มขึ้นจากร้อยฟองละ 143 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.40 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ คือ ภาคเหนือร้อยฟองละ 139 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 153 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 142 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 149 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. อยู่ที่ตัวละ 9 บาทราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 154 บาทเพิ่มขึ้นจากร้อยฟองละ 150 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.67
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 170 บาท เพิ่มขึ้นจากร้อยฟองละ 167 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.80 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ คือภาคเหนือร้อยฟองละ 160 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 168 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 171 บาทและภาคใต้ร้อยฟองละ 179 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 218 บาทเพิ่มขึ้นจากร้อยฟองละ 213 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.35
โค
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโค (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 38.06 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 36.81 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.40
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 25.56 บาทเพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 25.27 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.15
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 30 ประจำวันที่ 31 ก.ค. - 6 ส.ค. 2543--
-สส-