สหรัฐอเมริกา
เศรษฐกิจสหรัฐฯ โดยรวมยังคงขยายตัว ในอัตราสูง ทางการได้ปรับอัตราการขยายตัวของ GDP ไตรมาสที่ 2 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 5.3 จากเดิม 5.2 อย่างไรก็ตาม ดัชนีการสั่งซื้อสินค้าเพื่อการผลิต (Factory Order) ในเดือนกรกฎาคม ปรับลดลงร้อยละ 7.5 เทียบกับเดือนมิถุนายนที่ขยายตัวร้อยละ 5.2 นอกจากนี้ ดัชนีสำรวจความมั่นใจของผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (NAPM) เดือนสิงหาคมได้อ่อนลงอยู่ที่ 49.5 เทียบกับเดือนกรกฎาคมที่ 51.8 นับว่าเป็นระดับต่ำสุดตั้งแต่ต้นปี 2542 โดยมีสาเหตุหลักจากการลดลงของยอดสั่งซื้อใหม่ และ ผลผลิตที่ลดลง
แรงกดดันอัตราเงินเฟ้อยังทรงตัวอยู่ระดับ ใกล้เคียงกับเดือนก่อนหน้า ดัชนีราคา PPI เดือนสิงหาคมปรับตัวลงร้อยละ 0.2 (mom) หรือขยายตัวร้อยละ 3.3 (yoy) (หากไม่รวมหมวดอาหารและพลังงาน PPI ขยายตัว ร้อยละ 0.1 (mom) หรือร้อยละ 1.8 (yoy)) CPI เดือนสิงหาคมลดลงร้อยละ 0.1 (mom) หรือขยายตัวร้อยละ 3.4 (yoy) (หากไม่รวมหมวดอาหารและพลังงาน CPI ขยายตัวร้อยละ 0.2 (mom) หรือร้อยละ 2.5 (yoy)) ส่วนการจ้างงานที่ตึงตัวนั้นได้ผ่อนคลายลงเล็กน้อย การจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนสิงหาคมปรับลดลง 105,000 คนจากเดือนกรกฎาคมซึ่งลดลง 51,000 คนเทียบกับเดือนก่อนหน้า และอัตราการว่างงานเดือนสิงหาคมสูงขึ้นเป็นร้อยละ 4.1 จาก 4.0 เดือนกรกฎาคม
จากการที่ดัชนีเศรษฐกิจสำคัญหลายตัวได้ส่งสัญญาณให้เห็นถึงการชะลอตัวทางเศรษฐกิจลงบ้าง และแรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่อยู่ระดับไม่น่าวิตก ทำให้นัก ลงทุนและนักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่คาดว่า Fed จะไม่ปรับอัตราดอกเบี้ยอีกในปีนี้ โดย Fed Fund Futures ประจำเดือนธันวาคมอยู่ที่ร้อยละ 6.505 ณ วันที่ 15 กันยายน ใกล้เคียงกับอัตราดอกเบี้ย Fed Fund ที่ร้อยละ 6.50 อย่างไรก็ตาม คาดว่า Fed จะจับตาดูแรงกดดันอัตราเงินเฟ้อจากสภาพการจ้างงานที่ยังตึงตัว และ
การเติบโตของเศรษฐกิจที่ยังอยู่ในระดับสูงอย่างใกล้ชิดและคงดำเนินนโยบายการเงินเข้มงวดต่อไป
ยุโรป
เศรษฐกิจยุโรปยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยขยายตัวร้อยละ 3.8 ไตรมาส 2 เทียบกับร้อยละ 3.4 ไตรมาสที่ 1 โดยการส่งออกและการใช้จ่ายในประเทศอยู่ในระดับสูง อย่างไรก็ตาม คาดว่าไตรมาสที่ 3 จะมี การชะลอตัวลงจากการที่อัตราดอกเบี้ยได้ปรับขึ้นไปแล้วถึงร้อยละ 2 จากปลายปีที่แล้ว ตลอดจนผลของการชะลอตัวทางเศรษฐกิจในต่างประเทศ สำหรับภาวะเงินเฟ้อยังอยู่ในระดับสูงกว่าเป้าหมายที่ ECB ได้กำหนดไว้ที่ร้อยละ 2 คืออัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ร้อยละ 2.4 ในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา เป็นผลจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องและค่าเงินยูโรที่อ่อนตัวลงช่วงที่ผ่านมา
ECB คงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ร้อยละ 4.50 ใน การประชุมเมื่อวันที่ 14 กันยายน หลังจากที่ได้ปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นร้อยละ 0.25 ในการประชุมเมื่อวันที่ 31 สิงหาคมที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามคาดว่า ECB อาจขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งเดือนตุลาคม
เอเชียตะวันออก
การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นเดือนสิงหาคม ยังคงเป็นไปอย่างช้าๆ ขณะที่ GDP ไตรมาสที่ 2 ขยายตัวสูงกว่าที่ตลาดคาดไว้ โดย Real GDP ขยายตัวร้อยละ 1 (qoq) โดยการขยายตัวนี้ส่วนใหญ่เป็นผลจากการลงทุนของภาครัฐที่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 1 ร้อยละ 13.6 เป็นผลจากการใช้จ่ายตามแผนกระตุ้นเศรษฐกิจเสริมที่ได้รับ การอนุมัติจากรัฐบาลเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2542 การลงทุนภาคเอกชนที่ปรับลดลงจากไตรมาสที่ 1 ร้อยละ 3.3 นั้น คาดว่าเป็นเพียงการปรับตัวภายหลังจากการปรับสูงขึ้นติดต่อกันสองไตรมาส และไม่ใช่สัญญาณของการชะลอตัวลง เนื่องจากยอดการสั่งซื้อเครื่องจักรเป็นดัชนี ชี้นำของการลงทุนสินค้าทุนในระยะ 3-6 เดือนข้างหน้า แสดงว่าการลงทุนมีแนวโน้มที่จะขยายตัวต่อไป\
ขณะเดียวกันการใช้จ่ายของผู้บริโภค (Private Consumption) เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 1 ร้อยละ 1.1 ซึ่งสูงกว่าที่ตลาดคาดไว้ ส่งผลให้มีการคาดการณ์ว่า การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจเริ่มเป็นไปอย่างยั่งยืน เนื่องจากการใช้จ่ายของผู้บริโภคเป็นองค์ประกอบประมาณร้อยละ 60 ของ GDP
ขณะเดียวกัน วันที่ 8 กันยายน Moody ’s ประกาศลดอันดับความน่าเชื่อถือของพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่นในสกุลเงินเยนลง 1 ขั้น จาก Aa1 เป็น Aa2 และคง Negative Outlook โดยได้ให้เหตุผลว่ามาจากการดำเนินนโยบาย ที่บกพร่องและปัญหาทางโครงสร้าง ส่งผลให้ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีหนี้สาธารณะต่อ GDP สูงสุดในบรรดาประเทศอุตสาหกรรม นอกจากนี้ Moody ’s ยังได้กล่าวว่าปัญหาหนี้สาธารณะนั้นยังได้รับแรงกดดันจากระบบบำนาญและการประกันสุขภาพ อย่างไรก็ตาม Moody ’s ได้ตระหนักถึงความแข็งแกร่งของเงินสำรองระหว่างประเทศและอัตราการออมที่อยู่ในระดับสูง ดังนั้นจึงยังคงอันดับ Aa1 เป็นเพดานสำหรับเงินฝากสกุลต่างประเทศ และสำหรับพันธบัตรที่รัฐบาลค้ำประกันที่ออกเป็นสกุลต่างประเทศ นอกจากนี้ยังคงอันดับความน่าเชื่อถือด้าน short-term foreign currency ไว้ที่ระดับ Prime-1
ธนาคารกลางจีนประกาศจะปล่อยเสรีอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เงินตราต่างประเทศและเงินฝากเงินตรา ต่างประเทศที่มีจำนวนตั้งแต่ 3 ล้านดอลลาร์ สรอ.ขึ้นไป โดยจะเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 21 กันยายน 2543 ซึ่งจะทำให้ธนาคารพาณิชย์จีนสามารถกำหนดอัตรา ดอกเบี้ยดังกล่าวใกล้เคียงกับธนาคารต่างชาติในประเทศ จากปัจจุบันจำกัดให้ธนาคารพาณิชย์จีนคิดดอกเบี้ยเงินกู้อัตราที่สูงหรือต่ำกว่าไม่เกินร้อยละ 10 จากอัตราที่ทางการกำหนดเท่านั้น สำหรับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่มีจำนวนน้อยกว่า 3 ล้านดอลลาร์ สรอ. จะให้สมาคมธนาคารจีนเป็นผู้กำหนดโดยต้องได้รับการอนุมัติจากธนาคารกลางก่อน? Moody ’s ปรับเพิ่มอันดับความน่า เชื่อถือ การฝากเงินตราต่างประเทศในธนาคารพาณิชย์ (foreign currency bank deposit ceiling) ของจีน ทั้งระยะสั้นและระยะยาวจาก Prime 3 และ Baa 2
เป็น Prime 2และ Baa1 ตามลำดับ โดยให้เหตุผลว่าจีนมีทุนสำรองเงินตราต่างประเทศจำนวนมากพอกับปริมาณเงินฝากธนาคาร ซึ่งเพียงพอที่จะรองรับกับผลกระทบจากการเกิด shock นอกประเทศได้ ทั้งนี้ จีนมีทุนสำรอง เงินตราต่างประเทศ ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2543 เท่ากับ 158.6 พันล้านดอลลาร์ สรอ. และ Moody's ได้จัดอันดับ ความน่าเชื่อถือของประเทศจีนในการชำระหนี้ต่างประเทศ ล่าสุดอยู่ที่ A3
GDP ของไต้หวันไตรมาสสองปีนี้ขยายตัว ร้อยละ 5.43 (yoy) ต่ำกว่าที่ทางการคาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 5.51 และชะลอตัวลงจากไตรมาสแรกที่ขยายตัวร้อยละ 7.93 โดยมีสาเหตุสำคัญมาจากการใช้จ่ายบริโภคที่ลดลงในไตรมาสสองเมื่อเทียบกับไตรมาสแรกที่มีการใช้จ่ายมากช่วงการเลือกตั้งประธานาธิบดีคนใหม่วันที่ 18 มีนาคม 2543 นอกจากนี้ ทางการไต้หวันได้ปรับตัวเลขคาดการณ์ทางเศรษฐกิจที่สำคัญ ดังนี้
(1) คาดว่า GDP จะขยายตัวร้อยละ 6.67 (yoy) และ 6.32 (yoy) ไตรมาสที่ 3 และ 4 ปีนี้ ตามลำดับ แต่สำหรับทั้งปีจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.57 จากเดิมที่คาดไว้ที่ ร้อยละ 6.73 และจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.5 ปีหน้า(2) คาดว่า CPI ปีนี้จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.55 (yoy) ลดลงจากเดิมที่คาดไว้ร้อยละ 1.77 และจะเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 1.8 ปีหน้า
GDP ของฮ่องกงขยายตัวร้อยละ 10.8 (yoy) ชะลอลงจากไตรมาสแรกที่ขยายตัวร้อยละ 14.3 เนื่องจากการขยายตัวการบริโภคและการส่งออกที่ชะลอลง (แต่ยังนับเป็นประเทศที่มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่สูงที่สุด ในเอเชียต่อเนื่องจากไตรมาสแรก) โดยการบริโภคขยายตัวร้อยละ 5.2 (yoy) เทียบกับ ร้อยละ 8.8 ในไตรมาสแรกเนื่องจากอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงและอัตราการว่างงาน ที่ยังอยู่ในระดับสูง ส่วนการลงทุนรวมขยายตัวร้อยละ 5.1 (yoy) แต่ลดลงร้อยละ 1.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า ตามภาวะตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่ซบเซารวมทั้ง ความกังวลเรื่องการขึ้นดอกเบี้ย สำหรับภาคการส่งออกชะลอลงโดยขยายตัวร้อยละ 17.7 (yoy) เทียบกับร้อยละ
20.7 ไตรมาสแรก อนึ่ง ทางการได้ปรับเพิ่มการคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจปีนี้จากร้อยละ 6.0 เป็นร้อยละ 8.5 และกล่าวว่าการขยายตัวไตรมาสต่อไป จะชะลอลงเนื่องจากฐานการคำนวณที่สูงขึ้น และคาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะติดลบสูงขึ้นจากร้อยละ 2.5 เป็น 3.5 เนื่องจากผู้ค้าปลีกยังคงแข่งขันลดราคาสินค้าเพื่อจูงใจ ผู้ซื้ออยู่
เศรษฐกิจเกาหลีใต้ไตรมาส 2 ปีนี้ ขยายตัวร้อยละ 9.6 (yoy) ชะลอลงจากระยะเดียวกันปีก่อน ที่ขยายตัวร้อยละ 10.8 และจากไตรมาสก่อนที่ขยายตัวถึงร้อยละ 12.8 สำหรับปัจจัยที่กระตุ้นเศรษฐกิจไตรมาส 2 ปีนี้ ยังคงมาจากการขยายตัวของการลงทุนสินค้าทุน การบริโภคเอกชนในสินค้าประเภทโทรศัพท์เคลื่อนที่ รถยนต์และคอมพิวเตอร์รวมทั้งการส่งออกโดยเฉพาะ สินค้าประเภทคอมพิวเตอร์ เซมิคอนดักเตอร์ และอุปกรณ์โทรคมนาคม ขณะเดียวกันการบริโภคภาครัฐ ยังคงชะลอลงและการลงทุนการก่อสร้างซบเซา สำหรับเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีแรกของปีนี้ขยายตัวร้อยละ 11.1 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับที่ขยายตัวร้อยละ 8.2 ระยะเดียวกัน ปีก่อน
อาเซียน
มาเลเซียจะเปิดตลาด Labuan International Financial Exchange Inc. (LFX) เดือนตุลาคมปีนี้บนเกาะลาบวน โดย KLSE จะเป็นผู้ถือหุ้น 100% ในตลาดดังกล่าวและการซื้อขายสามารถกระทำผ่านระบบ การสื่อสารระหว่างประเทศ LFX จะเป็นตลาดที่เน้น การจดทะเบียนและซื้อขาย เครื่องมือทางการเงินต่างๆ ซึ่งจะไม่ถูกจำกัดด้วยมาตรการควบคุมเงินทุนที่มาเลเซียประกาศใช้เมื่อเดือนกันยายน 2541 เนื่องจากธุรกรรมต่างๆจะกระทำเป็นดอลลาร์สรอ. อีกทั้งคาดว่าผู้ออก ตราสารที่จะมาจดทะเบียนใน LFX อาจเป็นชาวต่างชาติจากหลายๆ ประเทศ
GDP ของมาเลเซียไตรมาสที่ 2 ปีนี้ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.8 (yoy) และร้อยละ 4.7 (qoq) โดย ทางการได้ปรับเพิ่มอัตราการขยายตัวของ GDP
ไตรมาสเเรกจากร้อยละ 11.7 เป็น 11.9 และปรับเพิ่มอัตราการขยายตัวของ GDP ของทั้งปี 2542 จากร้อยละ 5.6 เป็น 5.8 สำหรับทั้งปี 2543 ธนาคารกลางคาดว่าอัตราการขยายตัวของ GDP จะสูงกว่าร้อยละ 5.8 ที่ คาดไว้เดิมมาก และอัตราเงินเฟ้อน่าจะต่ำกว่าที่คาดไว้ที่ร้อยละ 3.2 ทั้งนี้ ธนาคารกลางจะยังคงใช้นโยบาย การเงินสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจต่อไป และจะยังไม่เปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ย intervention rate ระยะ 3 เดือนที่อยู่ระดับร้อยละ 5.5 ส่วนค่าเงินริงกิตที่ 3.80 ริงกิตต่อดอลลาร์ สรอ.นั้น ธนาคารกลางเห็นว่า undervalue อยู่ประมาณร้อยละ 3-4 และมาเลเซีย ยังสามารถใช้นโยบายตรึงค่าเงินริงกิตต่อไปได้
เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2543 มาเลเซียได้ออก global bonds ในตลาดพันธบัตรต่างประเทศอีก 500 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มเติมจากพันธบัตรรุ่นแรกที่ออกไป 1 พันล้านดอลลาร์ สรอ.เมื่อพฤษภาคมปีที่แล้ว รวมเป็น 1.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ. และจะครบกำหนดในปี 2552 โดยมีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 8.75 มี spread เท่ากับ 215 basis points เหนือ US Treasuries อายุ 10 ปี และมี Chase Manhattan เป็น lead manager มาเลเซียจะใช้เงินที่ได้จากการออกพันธบัตรใหม่ไป refinance หนี้ ส่วนหนึ่งที่มีอยู่ในปัจจุบันรวม 850 ล้านดอลลาร์ สรอ. ได้แก่ (1) Yankee bonds มูลค่า 200 ล้านดอลลาร์ สรอ. ที่จะครบกำหนดไถ่ถอนวันที่ 27 กันยายนที่จะถึงนี้ (2) Floating-Rate Note (FRN) อายุ 20 ปี มูลค่า 650 ล้านดอลลาร์ สรอ. ออกเมื่อเดือนตุลาคม 2528 ซึ่งมีเงื่อนไขให้สามารถไถ่ถอนได้ก่อนกำหนดวันที่ 16 ตุลาคม 2543
เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2543 ทางการ อินโดนีเซียได้ลงนามในหนังสือแสดงเจตจำนง (Letter of Intent :LoI) ที่ปรับจากฉบับที่เพิ่งลงนามไปเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2543 เพื่อขอเบิกเงินกู้จำนวน 400 ล้านดอลลาร์ สรอ. ในสัปดาห์ที่ 3 ของเดือนนี้ โดยนาย Rizal Ramli รัฐมนตรีคลังของอินโดนีเซีย กล่าวว่าจะมี การจัดทำ LoI ทุก 6 เดือน แทนที่จะเป็น 4 เดือน และ มีการทบทวนทุกๆ 3 เดือน แทน 2 เดือนเช่นแต่ก่อน เนื่องจากทางการอินโดนีเซียและ IMF เห็นว่าการปรับ
LoI ในช่วงสั้นแทนที่จะเป็นผลดี กลับเป็นผลเสียกับ การเร่งให้เศรษฐกิจฟื้นตัวและ การสร้างเสถียรภาพ การคลัง
เศรษฐกิจฟิลิปปินส์ไตรมาสที่ 2 ขยายตัว ร้อยละ 4.5 (yoy) ซึ่งสูงกว่าที่ตลาดคาดไว้ที่ประมาณร้อยละ 3.5 และสูงกว่าอัตราการขยายตัวไตรมาสเเรกที่ร้อยละ 3.2 ส่งผลให้อัตราการขยายตัวของ GDP ในครึ่งแรกของปีเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.9 (yoy) ทั้งนี้ การขยายตัวในอัตราที่สูงเกินคาดเป็นผลมาจากการขยายตัวภาคเกษตรและบริการเป็นหลัก
ภายหลังจากการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินในวันที่ 8 กันยายน 2543 ที่ผ่านมา ธนาคารกลางฟิลิปปินส์ได้ประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย key overnight rate อีกร้อยละ 1 เพื่อเป็นการพยุงค่าเงิน เปโซให้มีเสถียรภาพมากขึ้น หลังจากที่สัปดาห์ก่อนหน้าเงินเปโซได้อ่อนค่าไปแตะระดับ 45.84 เปโซต่อดอลลาร์ สรอ. ซึ่งนับว่าอ่อนค่ามากที่สุดในรอบ 2 ปีครึ่ง ส่งผลให้ overnight lending rate เพิ่มจากร้อยละ 12.25 เป็น 13.25 และ overnight borrowing rate เพิ่มจากร้อยละ 10.0 เป็น 11.0 และให้คงระบบ three-tiered scheme สำหรับ overnight borrowing facility เช่นเดิม กล่าวคือ ธนาคารกลางจะจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ให้แก่ธนาคารพาณิชย์อัตราร้อยละ 11.0 สำหรับวงเงิน 5 พันล้านเปโซแรก ร้อยละ 9.5 สำหรับ 5 พันล้านเปโซถัดไป และร้อยละ 8.0
สำหรับวงเงินที่เกินกว่า 10 พันล้านเปโซ โดยให้เริ่มมี ผลบังคับใช้วันที่ 11 กันยายน 2543 นอกจากนี้ คณะกรรมการฯ ยังพิจารณาให้คง statutory reserve requirement สำหรับธนาคารพาณิชย์ไว้ที่ร้อยละ 9 และ liquidity reserve requirement ที่ร้อยละ 3 เช่นในปัจจุบัน อนึ่ง นักวิเคราะห์คาดว่าการปรับขึ้นอัตรา ดอกเบี้ยดังกล่าวอาจส่งผลให้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของฟิลิปปินส์ช่วงครึ่งปีหลังชะลอลง หลังจากขยายตัวร้อยละ 3.9 (yoy) ในครึ่งปีแรก
ฟิลิปปินส์ขาดดุลงบประมาณช่วง 8 เดือนแรกปีนี้สูงถึง 69.78 พันล้านเปโซ (1.53 พันล้านดอลลาร์ สรอ.) ซึ่งสูงกว่าเป้าขาดดุลงบประมาณปีนี้ ซึ่งตั้งไว้ที่ 62.5 พันล้านเปโซ ทั้งนี้ เป็นผลจากการจัดเก็บรายได้ ภาครัฐที่ต่ำกว่าเป้า การดำเนินการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ที่มีความล่าช้ากว่ากำหนดและค่าใช้จ่ายภาครัฐซึ่งสูงกว่า ตัวเลขประมาณการเบื้องต้น อย่างไรก็ตาม รัฐบาล คาดว่ามาตรการกระตุ้นรายได้ภาครัฐ อาทิ การปรับปรุงระบบการจัดเก็บภาษีอากรแสตมป์ และภาษีสรรพสามิต รวมทั้งรายได้จากการแปรรูปรัฐวิสาหกิจจะส่งผลให้ฐานะการขาดดุลงบประมาณปรับตัวดีขึ้นช่วงสิ้นปี พร้อมกันนี้ คาดว่า รัฐบาลฟิลิปปินส์จะทำการหารือร่วมกับกองทุน การเงินระหว่างประเทศ (IMF) เพื่อขยายเป้าขาดดุล งบประมาณสำหรับปี 2543 เป็น 90 พันล้านเปโซ (1.97 พันล้านดอลลาร์ สรอ.) อีกด้วย
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
เศรษฐกิจสหรัฐฯ โดยรวมยังคงขยายตัว ในอัตราสูง ทางการได้ปรับอัตราการขยายตัวของ GDP ไตรมาสที่ 2 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 5.3 จากเดิม 5.2 อย่างไรก็ตาม ดัชนีการสั่งซื้อสินค้าเพื่อการผลิต (Factory Order) ในเดือนกรกฎาคม ปรับลดลงร้อยละ 7.5 เทียบกับเดือนมิถุนายนที่ขยายตัวร้อยละ 5.2 นอกจากนี้ ดัชนีสำรวจความมั่นใจของผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (NAPM) เดือนสิงหาคมได้อ่อนลงอยู่ที่ 49.5 เทียบกับเดือนกรกฎาคมที่ 51.8 นับว่าเป็นระดับต่ำสุดตั้งแต่ต้นปี 2542 โดยมีสาเหตุหลักจากการลดลงของยอดสั่งซื้อใหม่ และ ผลผลิตที่ลดลง
แรงกดดันอัตราเงินเฟ้อยังทรงตัวอยู่ระดับ ใกล้เคียงกับเดือนก่อนหน้า ดัชนีราคา PPI เดือนสิงหาคมปรับตัวลงร้อยละ 0.2 (mom) หรือขยายตัวร้อยละ 3.3 (yoy) (หากไม่รวมหมวดอาหารและพลังงาน PPI ขยายตัว ร้อยละ 0.1 (mom) หรือร้อยละ 1.8 (yoy)) CPI เดือนสิงหาคมลดลงร้อยละ 0.1 (mom) หรือขยายตัวร้อยละ 3.4 (yoy) (หากไม่รวมหมวดอาหารและพลังงาน CPI ขยายตัวร้อยละ 0.2 (mom) หรือร้อยละ 2.5 (yoy)) ส่วนการจ้างงานที่ตึงตัวนั้นได้ผ่อนคลายลงเล็กน้อย การจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือนสิงหาคมปรับลดลง 105,000 คนจากเดือนกรกฎาคมซึ่งลดลง 51,000 คนเทียบกับเดือนก่อนหน้า และอัตราการว่างงานเดือนสิงหาคมสูงขึ้นเป็นร้อยละ 4.1 จาก 4.0 เดือนกรกฎาคม
จากการที่ดัชนีเศรษฐกิจสำคัญหลายตัวได้ส่งสัญญาณให้เห็นถึงการชะลอตัวทางเศรษฐกิจลงบ้าง และแรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่อยู่ระดับไม่น่าวิตก ทำให้นัก ลงทุนและนักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่คาดว่า Fed จะไม่ปรับอัตราดอกเบี้ยอีกในปีนี้ โดย Fed Fund Futures ประจำเดือนธันวาคมอยู่ที่ร้อยละ 6.505 ณ วันที่ 15 กันยายน ใกล้เคียงกับอัตราดอกเบี้ย Fed Fund ที่ร้อยละ 6.50 อย่างไรก็ตาม คาดว่า Fed จะจับตาดูแรงกดดันอัตราเงินเฟ้อจากสภาพการจ้างงานที่ยังตึงตัว และ
การเติบโตของเศรษฐกิจที่ยังอยู่ในระดับสูงอย่างใกล้ชิดและคงดำเนินนโยบายการเงินเข้มงวดต่อไป
ยุโรป
เศรษฐกิจยุโรปยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยขยายตัวร้อยละ 3.8 ไตรมาส 2 เทียบกับร้อยละ 3.4 ไตรมาสที่ 1 โดยการส่งออกและการใช้จ่ายในประเทศอยู่ในระดับสูง อย่างไรก็ตาม คาดว่าไตรมาสที่ 3 จะมี การชะลอตัวลงจากการที่อัตราดอกเบี้ยได้ปรับขึ้นไปแล้วถึงร้อยละ 2 จากปลายปีที่แล้ว ตลอดจนผลของการชะลอตัวทางเศรษฐกิจในต่างประเทศ สำหรับภาวะเงินเฟ้อยังอยู่ในระดับสูงกว่าเป้าหมายที่ ECB ได้กำหนดไว้ที่ร้อยละ 2 คืออัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ร้อยละ 2.4 ในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา เป็นผลจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องและค่าเงินยูโรที่อ่อนตัวลงช่วงที่ผ่านมา
ECB คงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ร้อยละ 4.50 ใน การประชุมเมื่อวันที่ 14 กันยายน หลังจากที่ได้ปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นร้อยละ 0.25 ในการประชุมเมื่อวันที่ 31 สิงหาคมที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามคาดว่า ECB อาจขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งเดือนตุลาคม
เอเชียตะวันออก
การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นเดือนสิงหาคม ยังคงเป็นไปอย่างช้าๆ ขณะที่ GDP ไตรมาสที่ 2 ขยายตัวสูงกว่าที่ตลาดคาดไว้ โดย Real GDP ขยายตัวร้อยละ 1 (qoq) โดยการขยายตัวนี้ส่วนใหญ่เป็นผลจากการลงทุนของภาครัฐที่เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 1 ร้อยละ 13.6 เป็นผลจากการใช้จ่ายตามแผนกระตุ้นเศรษฐกิจเสริมที่ได้รับ การอนุมัติจากรัฐบาลเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2542 การลงทุนภาคเอกชนที่ปรับลดลงจากไตรมาสที่ 1 ร้อยละ 3.3 นั้น คาดว่าเป็นเพียงการปรับตัวภายหลังจากการปรับสูงขึ้นติดต่อกันสองไตรมาส และไม่ใช่สัญญาณของการชะลอตัวลง เนื่องจากยอดการสั่งซื้อเครื่องจักรเป็นดัชนี ชี้นำของการลงทุนสินค้าทุนในระยะ 3-6 เดือนข้างหน้า แสดงว่าการลงทุนมีแนวโน้มที่จะขยายตัวต่อไป\
ขณะเดียวกันการใช้จ่ายของผู้บริโภค (Private Consumption) เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ 1 ร้อยละ 1.1 ซึ่งสูงกว่าที่ตลาดคาดไว้ ส่งผลให้มีการคาดการณ์ว่า การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจเริ่มเป็นไปอย่างยั่งยืน เนื่องจากการใช้จ่ายของผู้บริโภคเป็นองค์ประกอบประมาณร้อยละ 60 ของ GDP
ขณะเดียวกัน วันที่ 8 กันยายน Moody ’s ประกาศลดอันดับความน่าเชื่อถือของพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่นในสกุลเงินเยนลง 1 ขั้น จาก Aa1 เป็น Aa2 และคง Negative Outlook โดยได้ให้เหตุผลว่ามาจากการดำเนินนโยบาย ที่บกพร่องและปัญหาทางโครงสร้าง ส่งผลให้ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีหนี้สาธารณะต่อ GDP สูงสุดในบรรดาประเทศอุตสาหกรรม นอกจากนี้ Moody ’s ยังได้กล่าวว่าปัญหาหนี้สาธารณะนั้นยังได้รับแรงกดดันจากระบบบำนาญและการประกันสุขภาพ อย่างไรก็ตาม Moody ’s ได้ตระหนักถึงความแข็งแกร่งของเงินสำรองระหว่างประเทศและอัตราการออมที่อยู่ในระดับสูง ดังนั้นจึงยังคงอันดับ Aa1 เป็นเพดานสำหรับเงินฝากสกุลต่างประเทศ และสำหรับพันธบัตรที่รัฐบาลค้ำประกันที่ออกเป็นสกุลต่างประเทศ นอกจากนี้ยังคงอันดับความน่าเชื่อถือด้าน short-term foreign currency ไว้ที่ระดับ Prime-1
ธนาคารกลางจีนประกาศจะปล่อยเสรีอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เงินตราต่างประเทศและเงินฝากเงินตรา ต่างประเทศที่มีจำนวนตั้งแต่ 3 ล้านดอลลาร์ สรอ.ขึ้นไป โดยจะเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 21 กันยายน 2543 ซึ่งจะทำให้ธนาคารพาณิชย์จีนสามารถกำหนดอัตรา ดอกเบี้ยดังกล่าวใกล้เคียงกับธนาคารต่างชาติในประเทศ จากปัจจุบันจำกัดให้ธนาคารพาณิชย์จีนคิดดอกเบี้ยเงินกู้อัตราที่สูงหรือต่ำกว่าไม่เกินร้อยละ 10 จากอัตราที่ทางการกำหนดเท่านั้น สำหรับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่มีจำนวนน้อยกว่า 3 ล้านดอลลาร์ สรอ. จะให้สมาคมธนาคารจีนเป็นผู้กำหนดโดยต้องได้รับการอนุมัติจากธนาคารกลางก่อน? Moody ’s ปรับเพิ่มอันดับความน่า เชื่อถือ การฝากเงินตราต่างประเทศในธนาคารพาณิชย์ (foreign currency bank deposit ceiling) ของจีน ทั้งระยะสั้นและระยะยาวจาก Prime 3 และ Baa 2
เป็น Prime 2และ Baa1 ตามลำดับ โดยให้เหตุผลว่าจีนมีทุนสำรองเงินตราต่างประเทศจำนวนมากพอกับปริมาณเงินฝากธนาคาร ซึ่งเพียงพอที่จะรองรับกับผลกระทบจากการเกิด shock นอกประเทศได้ ทั้งนี้ จีนมีทุนสำรอง เงินตราต่างประเทศ ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2543 เท่ากับ 158.6 พันล้านดอลลาร์ สรอ. และ Moody's ได้จัดอันดับ ความน่าเชื่อถือของประเทศจีนในการชำระหนี้ต่างประเทศ ล่าสุดอยู่ที่ A3
GDP ของไต้หวันไตรมาสสองปีนี้ขยายตัว ร้อยละ 5.43 (yoy) ต่ำกว่าที่ทางการคาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 5.51 และชะลอตัวลงจากไตรมาสแรกที่ขยายตัวร้อยละ 7.93 โดยมีสาเหตุสำคัญมาจากการใช้จ่ายบริโภคที่ลดลงในไตรมาสสองเมื่อเทียบกับไตรมาสแรกที่มีการใช้จ่ายมากช่วงการเลือกตั้งประธานาธิบดีคนใหม่วันที่ 18 มีนาคม 2543 นอกจากนี้ ทางการไต้หวันได้ปรับตัวเลขคาดการณ์ทางเศรษฐกิจที่สำคัญ ดังนี้
(1) คาดว่า GDP จะขยายตัวร้อยละ 6.67 (yoy) และ 6.32 (yoy) ไตรมาสที่ 3 และ 4 ปีนี้ ตามลำดับ แต่สำหรับทั้งปีจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.57 จากเดิมที่คาดไว้ที่ ร้อยละ 6.73 และจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.5 ปีหน้า(2) คาดว่า CPI ปีนี้จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.55 (yoy) ลดลงจากเดิมที่คาดไว้ร้อยละ 1.77 และจะเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 1.8 ปีหน้า
GDP ของฮ่องกงขยายตัวร้อยละ 10.8 (yoy) ชะลอลงจากไตรมาสแรกที่ขยายตัวร้อยละ 14.3 เนื่องจากการขยายตัวการบริโภคและการส่งออกที่ชะลอลง (แต่ยังนับเป็นประเทศที่มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่สูงที่สุด ในเอเชียต่อเนื่องจากไตรมาสแรก) โดยการบริโภคขยายตัวร้อยละ 5.2 (yoy) เทียบกับ ร้อยละ 8.8 ในไตรมาสแรกเนื่องจากอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงและอัตราการว่างงาน ที่ยังอยู่ในระดับสูง ส่วนการลงทุนรวมขยายตัวร้อยละ 5.1 (yoy) แต่ลดลงร้อยละ 1.5 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า ตามภาวะตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่ซบเซารวมทั้ง ความกังวลเรื่องการขึ้นดอกเบี้ย สำหรับภาคการส่งออกชะลอลงโดยขยายตัวร้อยละ 17.7 (yoy) เทียบกับร้อยละ
20.7 ไตรมาสแรก อนึ่ง ทางการได้ปรับเพิ่มการคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจปีนี้จากร้อยละ 6.0 เป็นร้อยละ 8.5 และกล่าวว่าการขยายตัวไตรมาสต่อไป จะชะลอลงเนื่องจากฐานการคำนวณที่สูงขึ้น และคาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะติดลบสูงขึ้นจากร้อยละ 2.5 เป็น 3.5 เนื่องจากผู้ค้าปลีกยังคงแข่งขันลดราคาสินค้าเพื่อจูงใจ ผู้ซื้ออยู่
เศรษฐกิจเกาหลีใต้ไตรมาส 2 ปีนี้ ขยายตัวร้อยละ 9.6 (yoy) ชะลอลงจากระยะเดียวกันปีก่อน ที่ขยายตัวร้อยละ 10.8 และจากไตรมาสก่อนที่ขยายตัวถึงร้อยละ 12.8 สำหรับปัจจัยที่กระตุ้นเศรษฐกิจไตรมาส 2 ปีนี้ ยังคงมาจากการขยายตัวของการลงทุนสินค้าทุน การบริโภคเอกชนในสินค้าประเภทโทรศัพท์เคลื่อนที่ รถยนต์และคอมพิวเตอร์รวมทั้งการส่งออกโดยเฉพาะ สินค้าประเภทคอมพิวเตอร์ เซมิคอนดักเตอร์ และอุปกรณ์โทรคมนาคม ขณะเดียวกันการบริโภคภาครัฐ ยังคงชะลอลงและการลงทุนการก่อสร้างซบเซา สำหรับเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีแรกของปีนี้ขยายตัวร้อยละ 11.1 เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับที่ขยายตัวร้อยละ 8.2 ระยะเดียวกัน ปีก่อน
อาเซียน
มาเลเซียจะเปิดตลาด Labuan International Financial Exchange Inc. (LFX) เดือนตุลาคมปีนี้บนเกาะลาบวน โดย KLSE จะเป็นผู้ถือหุ้น 100% ในตลาดดังกล่าวและการซื้อขายสามารถกระทำผ่านระบบ การสื่อสารระหว่างประเทศ LFX จะเป็นตลาดที่เน้น การจดทะเบียนและซื้อขาย เครื่องมือทางการเงินต่างๆ ซึ่งจะไม่ถูกจำกัดด้วยมาตรการควบคุมเงินทุนที่มาเลเซียประกาศใช้เมื่อเดือนกันยายน 2541 เนื่องจากธุรกรรมต่างๆจะกระทำเป็นดอลลาร์สรอ. อีกทั้งคาดว่าผู้ออก ตราสารที่จะมาจดทะเบียนใน LFX อาจเป็นชาวต่างชาติจากหลายๆ ประเทศ
GDP ของมาเลเซียไตรมาสที่ 2 ปีนี้ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.8 (yoy) และร้อยละ 4.7 (qoq) โดย ทางการได้ปรับเพิ่มอัตราการขยายตัวของ GDP
ไตรมาสเเรกจากร้อยละ 11.7 เป็น 11.9 และปรับเพิ่มอัตราการขยายตัวของ GDP ของทั้งปี 2542 จากร้อยละ 5.6 เป็น 5.8 สำหรับทั้งปี 2543 ธนาคารกลางคาดว่าอัตราการขยายตัวของ GDP จะสูงกว่าร้อยละ 5.8 ที่ คาดไว้เดิมมาก และอัตราเงินเฟ้อน่าจะต่ำกว่าที่คาดไว้ที่ร้อยละ 3.2 ทั้งนี้ ธนาคารกลางจะยังคงใช้นโยบาย การเงินสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจต่อไป และจะยังไม่เปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ย intervention rate ระยะ 3 เดือนที่อยู่ระดับร้อยละ 5.5 ส่วนค่าเงินริงกิตที่ 3.80 ริงกิตต่อดอลลาร์ สรอ.นั้น ธนาคารกลางเห็นว่า undervalue อยู่ประมาณร้อยละ 3-4 และมาเลเซีย ยังสามารถใช้นโยบายตรึงค่าเงินริงกิตต่อไปได้
เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2543 มาเลเซียได้ออก global bonds ในตลาดพันธบัตรต่างประเทศอีก 500 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มเติมจากพันธบัตรรุ่นแรกที่ออกไป 1 พันล้านดอลลาร์ สรอ.เมื่อพฤษภาคมปีที่แล้ว รวมเป็น 1.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ. และจะครบกำหนดในปี 2552 โดยมีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 8.75 มี spread เท่ากับ 215 basis points เหนือ US Treasuries อายุ 10 ปี และมี Chase Manhattan เป็น lead manager มาเลเซียจะใช้เงินที่ได้จากการออกพันธบัตรใหม่ไป refinance หนี้ ส่วนหนึ่งที่มีอยู่ในปัจจุบันรวม 850 ล้านดอลลาร์ สรอ. ได้แก่ (1) Yankee bonds มูลค่า 200 ล้านดอลลาร์ สรอ. ที่จะครบกำหนดไถ่ถอนวันที่ 27 กันยายนที่จะถึงนี้ (2) Floating-Rate Note (FRN) อายุ 20 ปี มูลค่า 650 ล้านดอลลาร์ สรอ. ออกเมื่อเดือนตุลาคม 2528 ซึ่งมีเงื่อนไขให้สามารถไถ่ถอนได้ก่อนกำหนดวันที่ 16 ตุลาคม 2543
เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2543 ทางการ อินโดนีเซียได้ลงนามในหนังสือแสดงเจตจำนง (Letter of Intent :LoI) ที่ปรับจากฉบับที่เพิ่งลงนามไปเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2543 เพื่อขอเบิกเงินกู้จำนวน 400 ล้านดอลลาร์ สรอ. ในสัปดาห์ที่ 3 ของเดือนนี้ โดยนาย Rizal Ramli รัฐมนตรีคลังของอินโดนีเซีย กล่าวว่าจะมี การจัดทำ LoI ทุก 6 เดือน แทนที่จะเป็น 4 เดือน และ มีการทบทวนทุกๆ 3 เดือน แทน 2 เดือนเช่นแต่ก่อน เนื่องจากทางการอินโดนีเซียและ IMF เห็นว่าการปรับ
LoI ในช่วงสั้นแทนที่จะเป็นผลดี กลับเป็นผลเสียกับ การเร่งให้เศรษฐกิจฟื้นตัวและ การสร้างเสถียรภาพ การคลัง
เศรษฐกิจฟิลิปปินส์ไตรมาสที่ 2 ขยายตัว ร้อยละ 4.5 (yoy) ซึ่งสูงกว่าที่ตลาดคาดไว้ที่ประมาณร้อยละ 3.5 และสูงกว่าอัตราการขยายตัวไตรมาสเเรกที่ร้อยละ 3.2 ส่งผลให้อัตราการขยายตัวของ GDP ในครึ่งแรกของปีเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.9 (yoy) ทั้งนี้ การขยายตัวในอัตราที่สูงเกินคาดเป็นผลมาจากการขยายตัวภาคเกษตรและบริการเป็นหลัก
ภายหลังจากการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินในวันที่ 8 กันยายน 2543 ที่ผ่านมา ธนาคารกลางฟิลิปปินส์ได้ประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย key overnight rate อีกร้อยละ 1 เพื่อเป็นการพยุงค่าเงิน เปโซให้มีเสถียรภาพมากขึ้น หลังจากที่สัปดาห์ก่อนหน้าเงินเปโซได้อ่อนค่าไปแตะระดับ 45.84 เปโซต่อดอลลาร์ สรอ. ซึ่งนับว่าอ่อนค่ามากที่สุดในรอบ 2 ปีครึ่ง ส่งผลให้ overnight lending rate เพิ่มจากร้อยละ 12.25 เป็น 13.25 และ overnight borrowing rate เพิ่มจากร้อยละ 10.0 เป็น 11.0 และให้คงระบบ three-tiered scheme สำหรับ overnight borrowing facility เช่นเดิม กล่าวคือ ธนาคารกลางจะจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ให้แก่ธนาคารพาณิชย์อัตราร้อยละ 11.0 สำหรับวงเงิน 5 พันล้านเปโซแรก ร้อยละ 9.5 สำหรับ 5 พันล้านเปโซถัดไป และร้อยละ 8.0
สำหรับวงเงินที่เกินกว่า 10 พันล้านเปโซ โดยให้เริ่มมี ผลบังคับใช้วันที่ 11 กันยายน 2543 นอกจากนี้ คณะกรรมการฯ ยังพิจารณาให้คง statutory reserve requirement สำหรับธนาคารพาณิชย์ไว้ที่ร้อยละ 9 และ liquidity reserve requirement ที่ร้อยละ 3 เช่นในปัจจุบัน อนึ่ง นักวิเคราะห์คาดว่าการปรับขึ้นอัตรา ดอกเบี้ยดังกล่าวอาจส่งผลให้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของฟิลิปปินส์ช่วงครึ่งปีหลังชะลอลง หลังจากขยายตัวร้อยละ 3.9 (yoy) ในครึ่งปีแรก
ฟิลิปปินส์ขาดดุลงบประมาณช่วง 8 เดือนแรกปีนี้สูงถึง 69.78 พันล้านเปโซ (1.53 พันล้านดอลลาร์ สรอ.) ซึ่งสูงกว่าเป้าขาดดุลงบประมาณปีนี้ ซึ่งตั้งไว้ที่ 62.5 พันล้านเปโซ ทั้งนี้ เป็นผลจากการจัดเก็บรายได้ ภาครัฐที่ต่ำกว่าเป้า การดำเนินการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ที่มีความล่าช้ากว่ากำหนดและค่าใช้จ่ายภาครัฐซึ่งสูงกว่า ตัวเลขประมาณการเบื้องต้น อย่างไรก็ตาม รัฐบาล คาดว่ามาตรการกระตุ้นรายได้ภาครัฐ อาทิ การปรับปรุงระบบการจัดเก็บภาษีอากรแสตมป์ และภาษีสรรพสามิต รวมทั้งรายได้จากการแปรรูปรัฐวิสาหกิจจะส่งผลให้ฐานะการขาดดุลงบประมาณปรับตัวดีขึ้นช่วงสิ้นปี พร้อมกันนี้ คาดว่า รัฐบาลฟิลิปปินส์จะทำการหารือร่วมกับกองทุน การเงินระหว่างประเทศ (IMF) เพื่อขยายเป้าขาดดุล งบประมาณสำหรับปี 2543 เป็น 90 พันล้านเปโซ (1.97 พันล้านดอลลาร์ สรอ.) อีกด้วย
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-