บทสรุปนักลงทุน
ยาจากสมุนไพร (ยาแผนโบราณ) เป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน ส่งผลให้ธุรกิจ
ยาจากสมุนไพรขยายตัวอย่างรวดเร็ว พิจารณาจากมูลค่าการผลิตและการนำเข้ายาแผนโบราณ จาก
การรวบรวมของกองควบคุมยา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา พบว่าในช่วงแผนพัฒนา
เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 6 (พ.ศ.2530-2534) มีการขยายตัวร้อยละ 5 ต่อปี และเพิ่มขึ้นเป็น
ร้อยละ 7 ต่อปี ในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 7 (พ.ศ.2535-2539) อย่างไรก็ตาม ภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ
ไทยในช่วงปี 2540-2541 ทำให้การผลิตและการนำเข้ายาแผนโบราณได้รับผลกระทบเช่นเดียวกับ
ยาแผนปัจจุบันแต่รุนแรงน้อยกว่า จากการที่ผู้บริโภคบางส่วนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจากการบริโภค
ยาแผนปัจจุบันซึ่งมีราคาจำหน่ายค่อนข้างสูงและผู้บริโภคเชื่อว่าน่าจะมีผลข้างเคียงจากพิษของสาร
เคมีจากการใช้ยาแผนปัจจุบันค่อนข้างสูง จึงหันมาบริโภคยาแผนโบราณที่มีราคาจำหน่ายต่ำกว่า
และเชื่อว่ามีอันตรายจากการบริโภคน้อยกว่าเมื่อเปรียบเทียบกัน ดังนั้นมูลค่าการผลิตและการนำเข้า
ยาแผนโบราณในปี 2540 จึงขยายตัวเพียงร้อยละ 1 อยู่ที่ 466 ล้านบาท และปรับลดลงอีกร้อยละ 0.5
อยู่ที่ 465 ล้านบาทในปี 2541 สำหรับปี 2542 จากการสำรวจพบว่าการรณรงค์ให้ใช้ยาจาก
สมุนไพรทดแทนยาแผนปัจจุบันของภาครัฐ กอปรกับยาจากสมุนไพรมีราคาจำหน่ายต่ำกว่าและให้
โทษต่อร่างกายน้อยกว่า ทำให้ยาจากสมุนไพรเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคเพิ่มขึ้น โดยปริมาณ
จำหน่ายในช่วงครึ่งแรกปี 2542 ขยายตัวจากช่วงเดียวกับปีก่อนถึงกว่าร้อยละ 20 ส่วนแนวโน้ม
ตลาดยาสมุนไพรในปี 2543 คาดว่าจะขยายตัวต่อเนื่องจากปีก่อน ทั้งจากความพยายามคิดค้นผลิต
ภัณฑ์ยาจากสมุนไพรของผู้ประกอบการให้มีความหลากหลาย และการที่ผู้บริโภคหันมายอมรับการ
ใช้ยาจากสมุนไพรรักษาโรคกันมากขึ้น
การผลิตยาจากสมุนไพรส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือนที่มีปริมาณการผลิตไม่
มากนัก มีแหล่งที่ตั้งกระจายอยู่ทั้งในเขตกรุงเทพฯ และภูมิภาค กรรมวิธีผลิตส่วนใหญ่เป็นการผลิต
ตำรับยาแบบง่าย โดยผู้ผลิตยาจากสมุนไพรส่วนใหญ่จะจำหน่ายเอง กรณีที่มีร้านขายยาแผนโบราณ
ของตนเอง และ/หรือจำหน่ายให้กับร้านขายยาแผนโบราณที่สั่งซื้อโดยตรง
การลงทุนตั้งโรงงานผลิตยาจากสมุนไพร ขนาดกำลังการผลิต 3,000 กิโลกรัมต่อปี ใช้เงินลง
ทุนเริ่มต้นประมาณ 4 ล้านบาท ในจำนวนนี้เป็นเงินลงทุนด้านเครื่องจักรประมาณ 1 ล้านบาท และเนื่อง
จากการวางขายยาจากสมุนไพรในแต่ละครั้งต้องให้เครดิตกับทางร้านขายยาไม่ต่ำกว่า 6 เดือน ทำให้ผู้
ผลิตยาจากสมุนไพรจำเป็นต้องมีเงินทุนหมุนเวียนค่อนข้างสูงถึง 3 ล้านบาท/ปี สำหรับโครงสร้าง
ต้นทุนการผลิตยาจากสมุนไพรราวร้อยละ 80 เป็นค่าวัตถุดิบพืชสมุนไพร รองลงมาได้แก่ ค่า
โสหุ้ยในการผลิตและค่าเสื่อมราคาเครื่องจักรร้อยละ 15 และค่าแรงงานร้อยละ 5 ในการทำธุรกิจ
นี้จะได้กำไรเฉลี่ยราวร้อยละ 25 ของยอดขาย
การตลาด
ความต้องการในปัจจุบันและอนาคต
ตามพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 "ยาสมุนไพร" หมายถึง "ยาที่ได้จากพฤกษชาติ สัตว์
หรือแร่ ซึ่งมิได้ผสม ปรุง หรือ แปรสภาพ" โดยส่วนใหญ่การผลิตยาสมุนไพรจะกระทำกันในครัว
เรือน ตัวอย่างเช่น การเก็บรากโสม นำไปตากแห้งไว้ต้มรับประทาน เรียกรากโสม เป็นยาสมุนไพร แต่
ถ้าหากนำรากโสมดังกล่าว มาผ่านกรรมวิธีการตากแห้ง และบดเป็นผง จะไม่ถูกเรียกว่ายาสมุนไพร
อีกต่อไป ดังนั้น ยาสมุนไพรตามพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 จึงมีความหมายค่อนข้างจำกัด
ในปัจจุบัน การผลิตยาที่มีการใช้พืชสมุนไพรเป็นส่วนผสม นิยมเรียก "ยาจากสมุนไพร" ซึ่ง
หมายถึง ยาที่ผลิตจากพืชสมุนไพรตามกระบวนการผลิตยาแผนโบราณ หรือตามกระบวนการผลิต
ยาแผนปัจจุบัน หรือมีการประยุกต์กระบวนการผลิตยาแผนปัจจุบัน มาใช้ประกอบในการผลิตด้วย
อย่างไรก็ตาม การผลิตยาจากสมุนไพรส่วนใหญ่ในประเทศไทยเป็นการผลิตยาแผนโบราณกรรมวิธี
ผลิตทำตามวิธีการที่สืบทอดกันมา ยาจากสมุนไพรที่มีจำหน่ายแพร่หลายจะอยู่ในรูปยาเม็ด ยาเม็ด
เคลือบ ยาแคปซูล และยาผง ได้แก่ ยาแก้ไอมะแว้ง ขมิ้นชันแคปซูล ฟ้าทะลายโจรแคปซูล ยา
ระบายมะขามแขก ยาลม และยาหอม เป็นต้น
!ทางการได้มีนโยบายสนับสนุนให้มีการใช้สมุนไพรในงานสาธารณสุขมูลฐานเป็นครั้งแรก
ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 4 (พ.ศ.2520-2524) นับตั้งแต่นั้นยาจาก
สมุนไพรได้เริ่มเข้ามามีบทบาทในการใช้เป็นยารักษาโรคแทนยาแผนปัจจุบันมากขึ้นในหน่วยงาน
ของภาครัฐ โดยเฉพาะโรงพยาบาลชุมชน พิจารณาจากข้อมูลมูลค่าการผลิตและการนำเข้ายาแผน
โบราณ จากการรวบรวมของกองควบคุมยา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา พบว่าในช่วง
แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 6 (พ.ศ.2530-2534) มีการขยายตัวร้อยละ 5 ต่อปี และเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 7 ต่อปี
ในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 7 (พ.ศ.2535-2539) โดยมูลค่าการผลิตและการนำเข้าในปี 2539 อยู่ที่ 459.4
ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 4 อย่างไรก็ดี วิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นกับไทยในช่วงปี 2540-2541 ส่งผล
กระทบต่อการผลิตและการนำเข้ายาจากสมุนไพรค่อนข้างมาก เนื่องจากผู้ประกอบการประสบปัญหา
ขาดสภาพคล่องทางการเงินและความต้องการของตลาดชะลอตัว โดยมูลค่าการผลิตและการนำ
เข้ายาแผนโบราณในปี 2540 อยู่ที่ 466.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 1 และลดลงร้อยละ 0.5 อยู่ที่ 465
ล้านบาท ในปี 2541
!สำหรับปี 2542 จากการสำรวจพบว่า จากการที่ผู้บริโภคตระหนักถึงคุณสมบัติของยาจาก
สมุนไพรว่าบริโภคแล้วจะเป็นอันตรายต่อร่างกายน้อยกว่าอันตรายจากพิษของสารเคมีจากการ
บริโภคยาแผนปัจจุบัน กอปรกับยาจากสมุนไพรมีราคาจำหน่ายต่ำกว่า ทำให้ปริมาณจำหน่ายยาจาก
สมุนไพรในช่วงครึ่งแรกปี 2542 เพิ่มขึ้นจากปีก่อนกว่าร้อยละ 20 ส่วนแนวโน้มความต้องการยาจาก
สมุนไพรในปี 2543 คาดว่าจะยังคงขยายตัวต่อเนื่อง ทั้งจากความพยายามคิดค้นผลิตภัณฑ์ยาจาก
สมุนไพรให้มีความหลากหลายเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของตลาด และการบริโภคทดแทนยา
แผนปัจจุบันของผู้บริโภคบางกลุ่มทั้งที่มีรายได้น้อยและที่ตระหนักถึงอันตรายจากพิษของสารเคมีจาก
การใช้ยาแผนปัจจุบัน
ผู้ผลิตในปัจจุบัน (คู่แข่ง)
จากข้อมูลของกองควบคุมยา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ณ 31 ธันวาคม 2541
มีผู้ได้รับอนุญาตผลิตยาแผนโบราณทั่วประเทศ จำนวน 626 ราย แบ่งเป็นผู้รับอนุญาตในเขตภูมิ
ภาค 390 ราย และในเขตกรุงเทพฯ 236 ราย สำหรับผู้ได้รับอนุญาตให้นำเข้ายาแผนโบราณรวมทั้งสิ้น
132 ราย อยู่ในภูมิภาค 10 ราย กรุงเทพฯ 122 ราย
รายชื่อผู้ประกอบการสำคัญ
รายชื่อ เงินลงทุน (บาท)
ห้างหุ้นส่วนจำกัด ยาตราใบโพธิ์ 22,000,000
บริษัท คั้นกี่น้ำเต้าทอง จำกัด 21,000,000
บริษัท แจ๊กเจียอุตสาหกรรม (ไทย) จำกัด 18,200,000
ห้างขายยาตราเสือดาว 12,000,000
บริษัท ห้าตะขาบ (ซิมเทียนฮ้อ) จำกัด 10,500,000
บริษัท อร่ามเวชเภสัช จำกัด 5,600,000
ห้างขายยาตราเสือมังกร 3,700,000
บริษัท อ้วยอันโอสถ จำกัด 3,040,000
เจ้ากรมเป๋อ 2,870,000
บริษัท หมอมี จำกัด 2,700,000
โรงงานผลิตยา ซุ่นเซ่งเฮง 2,500,000
บริษัท ปราสาททองโอสถ จำกัด 1,000,000
บริษัท แสงสว่างตราค้างคาว จำกัด 1,000,000
บริษัท โค้วเจียบฮวด ตราฤาษีทรงม้า จำกัด 800,000
ห้างหุ้นส่วนสามัญ สุจินต์เภสัช (เสือ 11 ตัว) 438,000
ที่มา: กรมโรงงานอุตสาหกรรม
ช่องทางการจำหน่าย
ช่องทางการจำหน่ายยาจากสมุนไพรจากผู้ผลิตไปสู่ผู้บริโภคส่วนใหญ่จะผ่านทางร้านขายยา
แผนโบราณ โดยมีร้านขายยาแผนโบราณของตนเอง และ/หรือจำหน่ายให้กับร้านขายยาแผน
โบราณที่สั่งซื้อโดยตรง ยาจากสมุนไพรที่ผลิตในเขตภูมิภาค จะมีตลาดจำหน่ายยาภายในจังหวัดที่
ผลิตและจังหวัดใกล้เคียง จากข้อมูลของกองควบคุมยา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ณ 31
ธันวาคม 2541 มีร้านยาแผนโบราณทั้งสิ้น 2,190 ราย กระจายอยู่ในภูมิภาค 1,792 ราย และอยู่ใน
กรุงเทพฯ 398 ราย
การผลิต
การผลิตยาจากสมุนไพรในปัจจุบันส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปยาเม็ด ยาเม็ดเคลือบ ยาแคปซูล
และยาผง ผลิตภัณฑ์ยาเหล่านี้อาจเตรียมได้จากสมุนไพรโดยตรง หรือเตรียมจากสารสกัดของ
สมุนไพร อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการผลิตยาสมุนไพรในรูปยาเม็ดได้รับความนิยมทั่วไปในท้อง
ตลาด ในที่นี้จึงขอกล่าวเฉพาะกรรมวิธีการผลิตยาเม็ด/ยาเม็ดเคลือบ
วัตถุดิบที่ใช้และแหล่งวัตถุดิบ
วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตยาจากสมุนไพร ได้แก่สมุนไพร (Medicinal Plant หรือ Herb) ซึ่ง
เป็นพืชหรือต้นไม้ที่มีองค์ประกอบสำคัญ 5 ส่วน คือ ราก ลำต้น ใบ ดอก และผล โดยส่วน
ประกอบของพืชสมุนไพรนั้น สามารถนำมาใช้ได้ทุกส่วน อย่างไรก็ตาม การนำสมุนไพรมาใช้เป็น
ยาต้องคำนึงถึงธรรมชาติของสมุนไพรแต่ละชนิด พันธุ์สมุนไพร สภาวะแวดล้อมในการปลูก ฤดู
กาล และช่วงเวลาที่เก็บสมุนไพร ตัวอย่างสมุนไพรส่วนที่ใช้รากเป็นยา อาทิ กระชาย แก้อาการ
ท้องอืดท้องเฟ้อ ใช้ลำต้นเป็นยา อาทิ อ้อยแดง แก้อาการขัดเบา ใช้ใบเป็นยา อาทิ กระเพรา ใช้ได้
ทั้งใบสดและใบแห้งแก้ปวดท้อง ท้องขึ้นจุกเสียด ใช้ดอกเป็นยา อาทิ กานพลู น้ำมันหอมระเหยใน
ดอกกานพลูมีฤทธิ์ขับลมฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ขับพยาธิ และสมุนไพรที่ใช้ผลเป็นยา เช่น มะเกลือ
ดีปลี มะแว้งต้น กระวาน เป็นต้น
พืชสมุนไพรที่ใช้ทำยา ราวร้อยละ 60-70 จัดหาซื้อได้ภายในประเทศ โดยการเก็บจากป่า
ธรรมชาติและการปลูกในเชิงการค้า ส่วนที่เหลือต้องนำเข้าจากต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม การที่
ประเทศไทยขาดการกำหนดมาตรฐานคุณภาพสมุนไพร จึงทำให้คุณภาพของสมุนไพรในท้อง
ตลาดมีความแตกต่างกันมาก มีปัญหาการปนเปื้อนสูง นอกจากนี้ ป่าธรรมชาติซึ่งเป็นแหล่ง
สำคัญของสมุนไพรถูกทำลายอย่างรวดเร็ว ทำให้พืชสมุนไพร ซึ่งเป็นวัตถุดิบในการผลิตยาแผน
โบราณมีแนวโน้มที่จะหายากและราคาแพงขึ้น
โครงสร้างต้นทุนการผลิต
ประเภท สัดส่วน (%)
1. วัตถุดิบ 80
- พืชสมุนไพร 100
2. ค่าแรงงาน 5
3. ค่าเสื่อมราคา และอื่น ๆ 15
รวม 100
ที่มา: สอบถามประกอบการ
กรรมวิธีการผลิต
การผลิตยาเม็ดจากสมุนไพร มีขั้นตอนการผลิต ดังนี้
1. การเตรียมผงยา ผงยาในตำรับประกอบด้วยผงสมุนไพรและผงของสารปรุงแต่งอื่น ๆ
ผงยาอาจได้จากการบดสมุนไพรแห้ง หรือได้จากการสกัดสมุนไพรด้วยน้ำสกัดยา ขนาดของผงยา
จะต้องละเอียดมาก เพื่อให้ยาสามารถออกฤทธิ์ได้ดี และเตรียมเป็นเม็ดยาตามที่ต้องการได้ง่าย
2. การผสมยา เป็นขั้นตอนที่ผสมผงยา น้ำยา และสารปรุงแต่งต่าง ๆให้เข้าเป็นเนื้อเดียวกัน
เนื่องจากไม่อาจนำผงยาสมุนไพรส่วนใหญ่ไปตอกอัดเม็ดได้โดยตรง เพราะมีคุณสมบัติชื้นง่าย ฟู
เบา หรือไม่มีแรงยึดเกาะกันต้องผสมสารยึดเกาะที่เตรียมเป็นสารละลายในขั้นตอนการผสมยาด้วย
ทำให้ได้เนื้อยารวมที่ค่อนข้างเปียก
3. การทำแกรนูลเปียก โดยให้ยาที่ผสมเปียกแล้วผ่านเครื่องแร่งแกรนูล (Oscillating
Granulator) ซึ่งทำงานโดยการย่อยยาผ่านตระแกรงที่มีขนาดที่ต้องการออกมาเป็นเส้นเล็ก ๆขนาด
ตามรูตะแกรง
4 . การอบแกรนูล
5. การทำแกรนูลแห้ง หลังจากอบแกรนูลจนแห้งดีแล้ว ต้องลดขนาดแกรนูลด้วยเครื่อง
แร่งแกรนูล ขนาดของแกรนูลแห้งหรือขนาดของตะแกรงที่ใช้ขึ้นกับขนาดของเม็ดยา ตัวอย่างเช่น เม็ด
ที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 3/16 นิ้ว ใช้ตะแกรงเบอร์ 20 เป็นต้น
6. การผสมสารช่วยลื่น ก่อนผสมสารช่วยลื่นจะต้องร่อนสารช่วยลื่นผ่านตะแกรงละเอียด
เบอร์ 100 เสียก่อน เพื่อไม่ให้สารช่วยลื่นจับกันเป็นก้อน และช่วยเพิ่มพื้นผิวในการเคลือบแกรนูล
ควรผสมสารช่วยลื่นกับแกรนูลเบา ๆเพื่อไม่ให้แกรนูลแตกเป็นผงละเอียดมากเกินไป เพราะจะมีผล
กระทบต่อน้ำหนัก และความแข็งของเม็ดยา และทำให้ยากร่อนได้ง่าย
7. การตอกอัดเม็ด นำผงยาที่ได้เข้าเครื่องตอกอัดเม็ดซึ่งประกอบด้วยแบบพิมพ์เม็ด ซึ่งมี
หัวตอก (Punch) ตัวบนและล่าง และเบ้า (Die)
8. การเคลือบยา มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยกลบรสหรือกลิ่นที่ไม่น่ารับประทานของยา ป้อง
กันสารสำคัญหรือสารออกฤทธิ์ไม่ให้เสื่อมสลายเร็ว ทำให้เม็ดสวยงามน่าใช้ หรือกลมมนสะดวกใน
การกลืน เป็นต้น ส่วนกรรมวิธีในการเคลือบมีสองวิธี คือ การเคลือบยาด้วยน้ำตาล และการเคลือบ
ด้วยฟิล์ม
สำหรับปัญหาในการผลิตยาเม็ดนั้น จะพบในขั้นตอนการทำแกรนูลและขั้นตอนการตอก
อัดเม็ด คือ ขั้นตอนการทำแกรนูล สมุนไพรหลายชนิดเมื่อเตรียมเป็นผงจะมีคุณสมบัติฟูเบา ไม่มี
แรงยึดเกาะกัน ทำให้ต้องใช้สารยึดเกาะจำนวนมาก หรือใช้สารเจือจางช่วยให้ผงยามีคุณสมบัติยึดเกาะ
กันได้ดีขึ้น ส่วนในขั้นตอนการตอกเม็ด จะพบปัญหาความแข็งของเม็ดยาไม่สม่ำเสมอ ขอบของเม็ด
บิ่น เม็ดยามีรอยแตกที่ส่วนบนของผิวหน้า เป็นต้น ทำให้ได้เม็ดยาที่มีตำหนิไม่น่าใช้ ไม่คงรูป ซึ่งมี
ผลกระทบต่อประสิทธิภาพของยา
เครื่องจักรที่ใช้ในกระบวนการผลิต
จากการสอบถามผู้ประกอบการผลิตยาจากสมุนไพรในรูปของยาเม็ด/ยาเม็ดเคลือบ พบว่า
เครื่องจักรที่มีความสำคัญในกระบวนการผลิตยาสมุนไพร มีอยู่ 6 ประเภท ดังนี้
1. เครื่องบด การเลือกเครื่องบดสำหรับบดสมุนไพร ขึ้นอยู่กับส่วนประกอบของพืช
สมุนไพรที่จะใช้บดเพื่อเป็นส่วนผสมของแต่ละตำรับยาแผนโบราณ ตัวอย่างเช่น ถ้าเป็นการบดใบ
ของพืชสมุนไพร สามารถหาซื้อ/สั่งทำได้ในประเทศ ราคาต่อเครื่องอยู่ในช่วง 2-5 หมื่นบาท แต่ถ้า
เป็นการบดรากสมุนไพร ซึ่งต้องใช้เครื่องบดที่มีความสามารถสูง จะต้องนำเข้าจากต่างประเทศ
และ/หรือสั่งซื้อจากตัวแทนจำหน่ายในประเทศ นอกจากนี้ การเลือกซื้อเครื่องบดจากประเทศต่าง
ๆก็มีคุณภาพและประสิทธิภาพในการบดแตกต่างกันอีกด้วย เช่น หากเป็นการนำเข้าจากประเทศที่มี
เทคโนโลยีการผลิตสูง อาทิ เยอรมนี ก็จะมีความสามารถในการบดสูงกว่าเครื่องบดที่นำเข้าจาก
ประเทศจีน แต่ราคาจะสูงมากกว่า 8 เท่าตัว โดยเครื่องบดจากเยอรมนี จะอยู่ราว 4-6 ล้านบาท แต่
ของประเทศจีน จะอยู่ราว 4-5 แสนบาท เป็นต้น
2. เครื่องผสม สามารถจัดหาได้ภายในประเทศ โดยขนาดเล็กสุดสามารถผสมยาได้ 20
กิโลกรัม/ครั้ง ราคาเครื่องละ 2-4 หมื่นบาท เครื่องผสมที่ใช้กันทั่วไปมีหลายแบบขึ้นอยู่กับว่าจะทำ
การผสมแบบเปียกหรือแบบแห้ง
3. เครื่องแร่งแกรนูล
4. เครื่องอบแกรนูล ตู้อบที่นิยมใช้คือ แบบใช้ถาดรองยา (Tray Dryer) ประกอบด้วยถาด
รองรับยาเป็นชั้น ๆ เครื่องจะปล่อยลมร้อนผ่านยาจากสมุนไพรที่ได้จากการผสม ราคาไม่แพงและควบ
คุมเครื่องได้ง่าย
5. เครื่องตอกเม็ด ที่มีจำหน่ายตามท้องตลาดหลายแบบให้เลือก เช่น แบบหัวตอกเดียว (Single -
Punch) เป็นแบบที่มีหัวตอกเดียวหรือสองหัวตอก เป็นแบบพื้นฐาน ตอกได้นาทีละไม่เกิน 100 เม็ด
และแบบหลายหัวตอก (Rotary) มีความสามารถตอกยาได้ทีละหลายเม็ดตามจำนวนหัวตอกที่ตั้งไว้
สามารถปรับน้ำหนักและความแข็งได้โดยไม่ต้องใช้เครื่องมือช่วย สามารถควบคุมน้ำหนักได้
สม่ำเสมอ ตอกได้นาทีละหลายพันเม็ด
6. เครื่องเคลือบยา
การลงทุนและการเงิน
ในการลงทุนอุตสาหกรรมยาจากสมุนไพร ควรตั้งอยู่ในทำเลที่ถูกสุขลักษณะไม่มีอาณาเขต
ติดต่อกับแหล่งสกปรก หรือแหล่งซึ่งสิ่งสกปรกมีโอกาสปนเปื้อนยาที่ผลิตได้ เช่น ควัน เขม่า
เป็นต้น ควรมีบริเวณโดยรอบพอสมควร ตัวอาคารไม่ควรอยู่ติดทางสาธารณะ รอบบริเวณควรมี
การระบายน้ำทิ้งและการกำจัดสิ่งปฎิกูลที่ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม
กรณีการลงทุนอุตสาหกรรมยาจากสมุนไพร ที่ประกอบกิจการขนาดเล็ก กำลังการผลิต
3,000 กิโลกรัมต่อปี โดยใช้ชั่วโมงการทำงาน 8 ชั่วโมงต่อวัน ประกอบด้วยเงินลงทุนและอุปกรณ์
ดังต่อไปนี้
เงินลงทุน
1. เงินทุนจดทะเบียนและเงินทุนเริ่มต้น 3,965,000 บาท
- ค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 2,000,000 บาท
- ค่าเครื่องจักร 965,000 บาท
--เครื่องบด 30,000 บาท
--เครื่องผสม 25,000 บาท
(ขนาด 20 กิโลกรัม)
--เครื่องแร่งแกลนูล 150,000 บาท
--เครื่องอบแกลนูล 150,000 บาท
--เครื่องตอกเม็ด 580,000 บาท
(กำลังการผลิต 4-5 หมื่นเม็ด/ชั่วโมง)
--หม้อเคลือบยา 30,000 บาท
(เคลือบน้ำตาล)
- ค่ายานพาหนะและอื่น ๆ 1,000,000 บาท
2. เงินทุนหมุนเวียน1/ 3,000,000 บาท/ปี
(ยังมีต่อ)
ยาจากสมุนไพร (ยาแผนโบราณ) เป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน ส่งผลให้ธุรกิจ
ยาจากสมุนไพรขยายตัวอย่างรวดเร็ว พิจารณาจากมูลค่าการผลิตและการนำเข้ายาแผนโบราณ จาก
การรวบรวมของกองควบคุมยา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา พบว่าในช่วงแผนพัฒนา
เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 6 (พ.ศ.2530-2534) มีการขยายตัวร้อยละ 5 ต่อปี และเพิ่มขึ้นเป็น
ร้อยละ 7 ต่อปี ในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 7 (พ.ศ.2535-2539) อย่างไรก็ตาม ภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ
ไทยในช่วงปี 2540-2541 ทำให้การผลิตและการนำเข้ายาแผนโบราณได้รับผลกระทบเช่นเดียวกับ
ยาแผนปัจจุบันแต่รุนแรงน้อยกว่า จากการที่ผู้บริโภคบางส่วนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจากการบริโภค
ยาแผนปัจจุบันซึ่งมีราคาจำหน่ายค่อนข้างสูงและผู้บริโภคเชื่อว่าน่าจะมีผลข้างเคียงจากพิษของสาร
เคมีจากการใช้ยาแผนปัจจุบันค่อนข้างสูง จึงหันมาบริโภคยาแผนโบราณที่มีราคาจำหน่ายต่ำกว่า
และเชื่อว่ามีอันตรายจากการบริโภคน้อยกว่าเมื่อเปรียบเทียบกัน ดังนั้นมูลค่าการผลิตและการนำเข้า
ยาแผนโบราณในปี 2540 จึงขยายตัวเพียงร้อยละ 1 อยู่ที่ 466 ล้านบาท และปรับลดลงอีกร้อยละ 0.5
อยู่ที่ 465 ล้านบาทในปี 2541 สำหรับปี 2542 จากการสำรวจพบว่าการรณรงค์ให้ใช้ยาจาก
สมุนไพรทดแทนยาแผนปัจจุบันของภาครัฐ กอปรกับยาจากสมุนไพรมีราคาจำหน่ายต่ำกว่าและให้
โทษต่อร่างกายน้อยกว่า ทำให้ยาจากสมุนไพรเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคเพิ่มขึ้น โดยปริมาณ
จำหน่ายในช่วงครึ่งแรกปี 2542 ขยายตัวจากช่วงเดียวกับปีก่อนถึงกว่าร้อยละ 20 ส่วนแนวโน้ม
ตลาดยาสมุนไพรในปี 2543 คาดว่าจะขยายตัวต่อเนื่องจากปีก่อน ทั้งจากความพยายามคิดค้นผลิต
ภัณฑ์ยาจากสมุนไพรของผู้ประกอบการให้มีความหลากหลาย และการที่ผู้บริโภคหันมายอมรับการ
ใช้ยาจากสมุนไพรรักษาโรคกันมากขึ้น
การผลิตยาจากสมุนไพรส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือนที่มีปริมาณการผลิตไม่
มากนัก มีแหล่งที่ตั้งกระจายอยู่ทั้งในเขตกรุงเทพฯ และภูมิภาค กรรมวิธีผลิตส่วนใหญ่เป็นการผลิต
ตำรับยาแบบง่าย โดยผู้ผลิตยาจากสมุนไพรส่วนใหญ่จะจำหน่ายเอง กรณีที่มีร้านขายยาแผนโบราณ
ของตนเอง และ/หรือจำหน่ายให้กับร้านขายยาแผนโบราณที่สั่งซื้อโดยตรง
การลงทุนตั้งโรงงานผลิตยาจากสมุนไพร ขนาดกำลังการผลิต 3,000 กิโลกรัมต่อปี ใช้เงินลง
ทุนเริ่มต้นประมาณ 4 ล้านบาท ในจำนวนนี้เป็นเงินลงทุนด้านเครื่องจักรประมาณ 1 ล้านบาท และเนื่อง
จากการวางขายยาจากสมุนไพรในแต่ละครั้งต้องให้เครดิตกับทางร้านขายยาไม่ต่ำกว่า 6 เดือน ทำให้ผู้
ผลิตยาจากสมุนไพรจำเป็นต้องมีเงินทุนหมุนเวียนค่อนข้างสูงถึง 3 ล้านบาท/ปี สำหรับโครงสร้าง
ต้นทุนการผลิตยาจากสมุนไพรราวร้อยละ 80 เป็นค่าวัตถุดิบพืชสมุนไพร รองลงมาได้แก่ ค่า
โสหุ้ยในการผลิตและค่าเสื่อมราคาเครื่องจักรร้อยละ 15 และค่าแรงงานร้อยละ 5 ในการทำธุรกิจ
นี้จะได้กำไรเฉลี่ยราวร้อยละ 25 ของยอดขาย
การตลาด
ความต้องการในปัจจุบันและอนาคต
ตามพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 "ยาสมุนไพร" หมายถึง "ยาที่ได้จากพฤกษชาติ สัตว์
หรือแร่ ซึ่งมิได้ผสม ปรุง หรือ แปรสภาพ" โดยส่วนใหญ่การผลิตยาสมุนไพรจะกระทำกันในครัว
เรือน ตัวอย่างเช่น การเก็บรากโสม นำไปตากแห้งไว้ต้มรับประทาน เรียกรากโสม เป็นยาสมุนไพร แต่
ถ้าหากนำรากโสมดังกล่าว มาผ่านกรรมวิธีการตากแห้ง และบดเป็นผง จะไม่ถูกเรียกว่ายาสมุนไพร
อีกต่อไป ดังนั้น ยาสมุนไพรตามพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 จึงมีความหมายค่อนข้างจำกัด
ในปัจจุบัน การผลิตยาที่มีการใช้พืชสมุนไพรเป็นส่วนผสม นิยมเรียก "ยาจากสมุนไพร" ซึ่ง
หมายถึง ยาที่ผลิตจากพืชสมุนไพรตามกระบวนการผลิตยาแผนโบราณ หรือตามกระบวนการผลิต
ยาแผนปัจจุบัน หรือมีการประยุกต์กระบวนการผลิตยาแผนปัจจุบัน มาใช้ประกอบในการผลิตด้วย
อย่างไรก็ตาม การผลิตยาจากสมุนไพรส่วนใหญ่ในประเทศไทยเป็นการผลิตยาแผนโบราณกรรมวิธี
ผลิตทำตามวิธีการที่สืบทอดกันมา ยาจากสมุนไพรที่มีจำหน่ายแพร่หลายจะอยู่ในรูปยาเม็ด ยาเม็ด
เคลือบ ยาแคปซูล และยาผง ได้แก่ ยาแก้ไอมะแว้ง ขมิ้นชันแคปซูล ฟ้าทะลายโจรแคปซูล ยา
ระบายมะขามแขก ยาลม และยาหอม เป็นต้น
!ทางการได้มีนโยบายสนับสนุนให้มีการใช้สมุนไพรในงานสาธารณสุขมูลฐานเป็นครั้งแรก
ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 4 (พ.ศ.2520-2524) นับตั้งแต่นั้นยาจาก
สมุนไพรได้เริ่มเข้ามามีบทบาทในการใช้เป็นยารักษาโรคแทนยาแผนปัจจุบันมากขึ้นในหน่วยงาน
ของภาครัฐ โดยเฉพาะโรงพยาบาลชุมชน พิจารณาจากข้อมูลมูลค่าการผลิตและการนำเข้ายาแผน
โบราณ จากการรวบรวมของกองควบคุมยา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา พบว่าในช่วง
แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 6 (พ.ศ.2530-2534) มีการขยายตัวร้อยละ 5 ต่อปี และเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 7 ต่อปี
ในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 7 (พ.ศ.2535-2539) โดยมูลค่าการผลิตและการนำเข้าในปี 2539 อยู่ที่ 459.4
ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 4 อย่างไรก็ดี วิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นกับไทยในช่วงปี 2540-2541 ส่งผล
กระทบต่อการผลิตและการนำเข้ายาจากสมุนไพรค่อนข้างมาก เนื่องจากผู้ประกอบการประสบปัญหา
ขาดสภาพคล่องทางการเงินและความต้องการของตลาดชะลอตัว โดยมูลค่าการผลิตและการนำ
เข้ายาแผนโบราณในปี 2540 อยู่ที่ 466.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 1 และลดลงร้อยละ 0.5 อยู่ที่ 465
ล้านบาท ในปี 2541
!สำหรับปี 2542 จากการสำรวจพบว่า จากการที่ผู้บริโภคตระหนักถึงคุณสมบัติของยาจาก
สมุนไพรว่าบริโภคแล้วจะเป็นอันตรายต่อร่างกายน้อยกว่าอันตรายจากพิษของสารเคมีจากการ
บริโภคยาแผนปัจจุบัน กอปรกับยาจากสมุนไพรมีราคาจำหน่ายต่ำกว่า ทำให้ปริมาณจำหน่ายยาจาก
สมุนไพรในช่วงครึ่งแรกปี 2542 เพิ่มขึ้นจากปีก่อนกว่าร้อยละ 20 ส่วนแนวโน้มความต้องการยาจาก
สมุนไพรในปี 2543 คาดว่าจะยังคงขยายตัวต่อเนื่อง ทั้งจากความพยายามคิดค้นผลิตภัณฑ์ยาจาก
สมุนไพรให้มีความหลากหลายเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของตลาด และการบริโภคทดแทนยา
แผนปัจจุบันของผู้บริโภคบางกลุ่มทั้งที่มีรายได้น้อยและที่ตระหนักถึงอันตรายจากพิษของสารเคมีจาก
การใช้ยาแผนปัจจุบัน
ผู้ผลิตในปัจจุบัน (คู่แข่ง)
จากข้อมูลของกองควบคุมยา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ณ 31 ธันวาคม 2541
มีผู้ได้รับอนุญาตผลิตยาแผนโบราณทั่วประเทศ จำนวน 626 ราย แบ่งเป็นผู้รับอนุญาตในเขตภูมิ
ภาค 390 ราย และในเขตกรุงเทพฯ 236 ราย สำหรับผู้ได้รับอนุญาตให้นำเข้ายาแผนโบราณรวมทั้งสิ้น
132 ราย อยู่ในภูมิภาค 10 ราย กรุงเทพฯ 122 ราย
รายชื่อผู้ประกอบการสำคัญ
รายชื่อ เงินลงทุน (บาท)
ห้างหุ้นส่วนจำกัด ยาตราใบโพธิ์ 22,000,000
บริษัท คั้นกี่น้ำเต้าทอง จำกัด 21,000,000
บริษัท แจ๊กเจียอุตสาหกรรม (ไทย) จำกัด 18,200,000
ห้างขายยาตราเสือดาว 12,000,000
บริษัท ห้าตะขาบ (ซิมเทียนฮ้อ) จำกัด 10,500,000
บริษัท อร่ามเวชเภสัช จำกัด 5,600,000
ห้างขายยาตราเสือมังกร 3,700,000
บริษัท อ้วยอันโอสถ จำกัด 3,040,000
เจ้ากรมเป๋อ 2,870,000
บริษัท หมอมี จำกัด 2,700,000
โรงงานผลิตยา ซุ่นเซ่งเฮง 2,500,000
บริษัท ปราสาททองโอสถ จำกัด 1,000,000
บริษัท แสงสว่างตราค้างคาว จำกัด 1,000,000
บริษัท โค้วเจียบฮวด ตราฤาษีทรงม้า จำกัด 800,000
ห้างหุ้นส่วนสามัญ สุจินต์เภสัช (เสือ 11 ตัว) 438,000
ที่มา: กรมโรงงานอุตสาหกรรม
ช่องทางการจำหน่าย
ช่องทางการจำหน่ายยาจากสมุนไพรจากผู้ผลิตไปสู่ผู้บริโภคส่วนใหญ่จะผ่านทางร้านขายยา
แผนโบราณ โดยมีร้านขายยาแผนโบราณของตนเอง และ/หรือจำหน่ายให้กับร้านขายยาแผน
โบราณที่สั่งซื้อโดยตรง ยาจากสมุนไพรที่ผลิตในเขตภูมิภาค จะมีตลาดจำหน่ายยาภายในจังหวัดที่
ผลิตและจังหวัดใกล้เคียง จากข้อมูลของกองควบคุมยา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ณ 31
ธันวาคม 2541 มีร้านยาแผนโบราณทั้งสิ้น 2,190 ราย กระจายอยู่ในภูมิภาค 1,792 ราย และอยู่ใน
กรุงเทพฯ 398 ราย
การผลิต
การผลิตยาจากสมุนไพรในปัจจุบันส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปยาเม็ด ยาเม็ดเคลือบ ยาแคปซูล
และยาผง ผลิตภัณฑ์ยาเหล่านี้อาจเตรียมได้จากสมุนไพรโดยตรง หรือเตรียมจากสารสกัดของ
สมุนไพร อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการผลิตยาสมุนไพรในรูปยาเม็ดได้รับความนิยมทั่วไปในท้อง
ตลาด ในที่นี้จึงขอกล่าวเฉพาะกรรมวิธีการผลิตยาเม็ด/ยาเม็ดเคลือบ
วัตถุดิบที่ใช้และแหล่งวัตถุดิบ
วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตยาจากสมุนไพร ได้แก่สมุนไพร (Medicinal Plant หรือ Herb) ซึ่ง
เป็นพืชหรือต้นไม้ที่มีองค์ประกอบสำคัญ 5 ส่วน คือ ราก ลำต้น ใบ ดอก และผล โดยส่วน
ประกอบของพืชสมุนไพรนั้น สามารถนำมาใช้ได้ทุกส่วน อย่างไรก็ตาม การนำสมุนไพรมาใช้เป็น
ยาต้องคำนึงถึงธรรมชาติของสมุนไพรแต่ละชนิด พันธุ์สมุนไพร สภาวะแวดล้อมในการปลูก ฤดู
กาล และช่วงเวลาที่เก็บสมุนไพร ตัวอย่างสมุนไพรส่วนที่ใช้รากเป็นยา อาทิ กระชาย แก้อาการ
ท้องอืดท้องเฟ้อ ใช้ลำต้นเป็นยา อาทิ อ้อยแดง แก้อาการขัดเบา ใช้ใบเป็นยา อาทิ กระเพรา ใช้ได้
ทั้งใบสดและใบแห้งแก้ปวดท้อง ท้องขึ้นจุกเสียด ใช้ดอกเป็นยา อาทิ กานพลู น้ำมันหอมระเหยใน
ดอกกานพลูมีฤทธิ์ขับลมฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ขับพยาธิ และสมุนไพรที่ใช้ผลเป็นยา เช่น มะเกลือ
ดีปลี มะแว้งต้น กระวาน เป็นต้น
พืชสมุนไพรที่ใช้ทำยา ราวร้อยละ 60-70 จัดหาซื้อได้ภายในประเทศ โดยการเก็บจากป่า
ธรรมชาติและการปลูกในเชิงการค้า ส่วนที่เหลือต้องนำเข้าจากต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม การที่
ประเทศไทยขาดการกำหนดมาตรฐานคุณภาพสมุนไพร จึงทำให้คุณภาพของสมุนไพรในท้อง
ตลาดมีความแตกต่างกันมาก มีปัญหาการปนเปื้อนสูง นอกจากนี้ ป่าธรรมชาติซึ่งเป็นแหล่ง
สำคัญของสมุนไพรถูกทำลายอย่างรวดเร็ว ทำให้พืชสมุนไพร ซึ่งเป็นวัตถุดิบในการผลิตยาแผน
โบราณมีแนวโน้มที่จะหายากและราคาแพงขึ้น
โครงสร้างต้นทุนการผลิต
ประเภท สัดส่วน (%)
1. วัตถุดิบ 80
- พืชสมุนไพร 100
2. ค่าแรงงาน 5
3. ค่าเสื่อมราคา และอื่น ๆ 15
รวม 100
ที่มา: สอบถามประกอบการ
กรรมวิธีการผลิต
การผลิตยาเม็ดจากสมุนไพร มีขั้นตอนการผลิต ดังนี้
1. การเตรียมผงยา ผงยาในตำรับประกอบด้วยผงสมุนไพรและผงของสารปรุงแต่งอื่น ๆ
ผงยาอาจได้จากการบดสมุนไพรแห้ง หรือได้จากการสกัดสมุนไพรด้วยน้ำสกัดยา ขนาดของผงยา
จะต้องละเอียดมาก เพื่อให้ยาสามารถออกฤทธิ์ได้ดี และเตรียมเป็นเม็ดยาตามที่ต้องการได้ง่าย
2. การผสมยา เป็นขั้นตอนที่ผสมผงยา น้ำยา และสารปรุงแต่งต่าง ๆให้เข้าเป็นเนื้อเดียวกัน
เนื่องจากไม่อาจนำผงยาสมุนไพรส่วนใหญ่ไปตอกอัดเม็ดได้โดยตรง เพราะมีคุณสมบัติชื้นง่าย ฟู
เบา หรือไม่มีแรงยึดเกาะกันต้องผสมสารยึดเกาะที่เตรียมเป็นสารละลายในขั้นตอนการผสมยาด้วย
ทำให้ได้เนื้อยารวมที่ค่อนข้างเปียก
3. การทำแกรนูลเปียก โดยให้ยาที่ผสมเปียกแล้วผ่านเครื่องแร่งแกรนูล (Oscillating
Granulator) ซึ่งทำงานโดยการย่อยยาผ่านตระแกรงที่มีขนาดที่ต้องการออกมาเป็นเส้นเล็ก ๆขนาด
ตามรูตะแกรง
4 . การอบแกรนูล
5. การทำแกรนูลแห้ง หลังจากอบแกรนูลจนแห้งดีแล้ว ต้องลดขนาดแกรนูลด้วยเครื่อง
แร่งแกรนูล ขนาดของแกรนูลแห้งหรือขนาดของตะแกรงที่ใช้ขึ้นกับขนาดของเม็ดยา ตัวอย่างเช่น เม็ด
ที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 3/16 นิ้ว ใช้ตะแกรงเบอร์ 20 เป็นต้น
6. การผสมสารช่วยลื่น ก่อนผสมสารช่วยลื่นจะต้องร่อนสารช่วยลื่นผ่านตะแกรงละเอียด
เบอร์ 100 เสียก่อน เพื่อไม่ให้สารช่วยลื่นจับกันเป็นก้อน และช่วยเพิ่มพื้นผิวในการเคลือบแกรนูล
ควรผสมสารช่วยลื่นกับแกรนูลเบา ๆเพื่อไม่ให้แกรนูลแตกเป็นผงละเอียดมากเกินไป เพราะจะมีผล
กระทบต่อน้ำหนัก และความแข็งของเม็ดยา และทำให้ยากร่อนได้ง่าย
7. การตอกอัดเม็ด นำผงยาที่ได้เข้าเครื่องตอกอัดเม็ดซึ่งประกอบด้วยแบบพิมพ์เม็ด ซึ่งมี
หัวตอก (Punch) ตัวบนและล่าง และเบ้า (Die)
8. การเคลือบยา มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยกลบรสหรือกลิ่นที่ไม่น่ารับประทานของยา ป้อง
กันสารสำคัญหรือสารออกฤทธิ์ไม่ให้เสื่อมสลายเร็ว ทำให้เม็ดสวยงามน่าใช้ หรือกลมมนสะดวกใน
การกลืน เป็นต้น ส่วนกรรมวิธีในการเคลือบมีสองวิธี คือ การเคลือบยาด้วยน้ำตาล และการเคลือบ
ด้วยฟิล์ม
สำหรับปัญหาในการผลิตยาเม็ดนั้น จะพบในขั้นตอนการทำแกรนูลและขั้นตอนการตอก
อัดเม็ด คือ ขั้นตอนการทำแกรนูล สมุนไพรหลายชนิดเมื่อเตรียมเป็นผงจะมีคุณสมบัติฟูเบา ไม่มี
แรงยึดเกาะกัน ทำให้ต้องใช้สารยึดเกาะจำนวนมาก หรือใช้สารเจือจางช่วยให้ผงยามีคุณสมบัติยึดเกาะ
กันได้ดีขึ้น ส่วนในขั้นตอนการตอกเม็ด จะพบปัญหาความแข็งของเม็ดยาไม่สม่ำเสมอ ขอบของเม็ด
บิ่น เม็ดยามีรอยแตกที่ส่วนบนของผิวหน้า เป็นต้น ทำให้ได้เม็ดยาที่มีตำหนิไม่น่าใช้ ไม่คงรูป ซึ่งมี
ผลกระทบต่อประสิทธิภาพของยา
เครื่องจักรที่ใช้ในกระบวนการผลิต
จากการสอบถามผู้ประกอบการผลิตยาจากสมุนไพรในรูปของยาเม็ด/ยาเม็ดเคลือบ พบว่า
เครื่องจักรที่มีความสำคัญในกระบวนการผลิตยาสมุนไพร มีอยู่ 6 ประเภท ดังนี้
1. เครื่องบด การเลือกเครื่องบดสำหรับบดสมุนไพร ขึ้นอยู่กับส่วนประกอบของพืช
สมุนไพรที่จะใช้บดเพื่อเป็นส่วนผสมของแต่ละตำรับยาแผนโบราณ ตัวอย่างเช่น ถ้าเป็นการบดใบ
ของพืชสมุนไพร สามารถหาซื้อ/สั่งทำได้ในประเทศ ราคาต่อเครื่องอยู่ในช่วง 2-5 หมื่นบาท แต่ถ้า
เป็นการบดรากสมุนไพร ซึ่งต้องใช้เครื่องบดที่มีความสามารถสูง จะต้องนำเข้าจากต่างประเทศ
และ/หรือสั่งซื้อจากตัวแทนจำหน่ายในประเทศ นอกจากนี้ การเลือกซื้อเครื่องบดจากประเทศต่าง
ๆก็มีคุณภาพและประสิทธิภาพในการบดแตกต่างกันอีกด้วย เช่น หากเป็นการนำเข้าจากประเทศที่มี
เทคโนโลยีการผลิตสูง อาทิ เยอรมนี ก็จะมีความสามารถในการบดสูงกว่าเครื่องบดที่นำเข้าจาก
ประเทศจีน แต่ราคาจะสูงมากกว่า 8 เท่าตัว โดยเครื่องบดจากเยอรมนี จะอยู่ราว 4-6 ล้านบาท แต่
ของประเทศจีน จะอยู่ราว 4-5 แสนบาท เป็นต้น
2. เครื่องผสม สามารถจัดหาได้ภายในประเทศ โดยขนาดเล็กสุดสามารถผสมยาได้ 20
กิโลกรัม/ครั้ง ราคาเครื่องละ 2-4 หมื่นบาท เครื่องผสมที่ใช้กันทั่วไปมีหลายแบบขึ้นอยู่กับว่าจะทำ
การผสมแบบเปียกหรือแบบแห้ง
3. เครื่องแร่งแกรนูล
4. เครื่องอบแกรนูล ตู้อบที่นิยมใช้คือ แบบใช้ถาดรองยา (Tray Dryer) ประกอบด้วยถาด
รองรับยาเป็นชั้น ๆ เครื่องจะปล่อยลมร้อนผ่านยาจากสมุนไพรที่ได้จากการผสม ราคาไม่แพงและควบ
คุมเครื่องได้ง่าย
5. เครื่องตอกเม็ด ที่มีจำหน่ายตามท้องตลาดหลายแบบให้เลือก เช่น แบบหัวตอกเดียว (Single -
Punch) เป็นแบบที่มีหัวตอกเดียวหรือสองหัวตอก เป็นแบบพื้นฐาน ตอกได้นาทีละไม่เกิน 100 เม็ด
และแบบหลายหัวตอก (Rotary) มีความสามารถตอกยาได้ทีละหลายเม็ดตามจำนวนหัวตอกที่ตั้งไว้
สามารถปรับน้ำหนักและความแข็งได้โดยไม่ต้องใช้เครื่องมือช่วย สามารถควบคุมน้ำหนักได้
สม่ำเสมอ ตอกได้นาทีละหลายพันเม็ด
6. เครื่องเคลือบยา
การลงทุนและการเงิน
ในการลงทุนอุตสาหกรรมยาจากสมุนไพร ควรตั้งอยู่ในทำเลที่ถูกสุขลักษณะไม่มีอาณาเขต
ติดต่อกับแหล่งสกปรก หรือแหล่งซึ่งสิ่งสกปรกมีโอกาสปนเปื้อนยาที่ผลิตได้ เช่น ควัน เขม่า
เป็นต้น ควรมีบริเวณโดยรอบพอสมควร ตัวอาคารไม่ควรอยู่ติดทางสาธารณะ รอบบริเวณควรมี
การระบายน้ำทิ้งและการกำจัดสิ่งปฎิกูลที่ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม
กรณีการลงทุนอุตสาหกรรมยาจากสมุนไพร ที่ประกอบกิจการขนาดเล็ก กำลังการผลิต
3,000 กิโลกรัมต่อปี โดยใช้ชั่วโมงการทำงาน 8 ชั่วโมงต่อวัน ประกอบด้วยเงินลงทุนและอุปกรณ์
ดังต่อไปนี้
เงินลงทุน
1. เงินทุนจดทะเบียนและเงินทุนเริ่มต้น 3,965,000 บาท
- ค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง 2,000,000 บาท
- ค่าเครื่องจักร 965,000 บาท
--เครื่องบด 30,000 บาท
--เครื่องผสม 25,000 บาท
(ขนาด 20 กิโลกรัม)
--เครื่องแร่งแกลนูล 150,000 บาท
--เครื่องอบแกลนูล 150,000 บาท
--เครื่องตอกเม็ด 580,000 บาท
(กำลังการผลิต 4-5 หมื่นเม็ด/ชั่วโมง)
--หม้อเคลือบยา 30,000 บาท
(เคลือบน้ำตาล)
- ค่ายานพาหนะและอื่น ๆ 1,000,000 บาท
2. เงินทุนหมุนเวียน1/ 3,000,000 บาท/ปี
(ยังมีต่อ)