ผลการประชุมระหว่างเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านเศรษฐกิจอาเซียน (SEOM) กับประเทศคู่เจรจาต่างๆ (Dialogue Partners) ระหว่างวันที่ 15-17 สิงหาคม 2544 ณ กรุงบันดาร์ เสรี เบกาวัน ประเทศบรูไนฯ
บรูไนฯ เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระหว่างเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านเศรษฐกิจของอาเซียนกับประเทศคู่เจรจาต่างๆ (SEOM-Dialogue Partners) ระหว่างวันที่ 15-17 สิงหาคม 2544 ณ กรุงบันดาร์ เสรี เบกาวัน โดยมีปลัดกระทรวงพาณิชย์ เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยและประธานการประชุมร่วมกับเจ้าหน้าที่อาวุโสของจีน ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี ออสเตรเลียและ นิวซีแลนด์ สหภาพยุโรป และสหรัฐฯ และมีอธิบดีกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ และผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม
ผลการประชุมมีสาระสำคัญ สรุปได้ดังนี้
1. การประชุม SEOM กับจีน ญี่ปุ่นและสาธารณรัฐเกาหลี (SEOM+3)
ที่ประชุมรับทราบความคืบหน้าแผนการดำเนินโครงการที่อนุมัติแล้ว 6 โครงการ และความเห็นเบื้องต้นของประเทศสมาชิกเข้าร่วมโครงการ ซึ่งประเทศผู้เสนอโครงการจะประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแจ้งรายละเอียดเพิ่มเติมภายหลัง ได้แก่
Training Programme on Practical Technology for Environment Protection (จีน) Asian Common Skill Standard Initiative for IT Engineer (ญี่ปุ่น) Conformity Assessment Development Programme in Industrial Standard (สาธารณรัฐเกาหลี) Strengthening the Competitiveness of ASEAN SMEs (มาเลเซียกับพม่า) The Software Development in the Mekong Basin Project (ไทย) ASEAN Satellite Image Archieve and Environmental Study (ไทย) สำหรับโครงการที่เหลืออีก 9 โครงการยังไม่ผ่านการอนุมัติตามหลักเกณฑ์ประเทศอาเซียน และประเทศ+3 อย่างน้อย 2 ประเทศสนับสนุน ที่ประชุมขอให้ประเทศ+3 พิจารณาให้การสนับสนุนโครงการ เพิ่มเติม รวมทั้งโครงการใหม่ๆ ได้แก่ โครงการขอความช่วยเหลือด้านการถ่ายทอดเทคโนโลยี IT (กัมพูชา) และโครงการ e-learning (ญี่ปุ่น)
ที่ประชุมรับทราบผลประชุมคณะทำงาน e-ASEAN+3 ครั้งที่ 1 เมื่อเดือนกรกฎาคม 2544 ได้จัดทำ TOR คณะทำงานฯ และจะหารือแนวทางความร่วมมือด้าน IT ระหว่างอาเซียนกับจีน ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี นอกจากนี้ ญี่ปุ่นจะนำเสนอโครงการให้ความร่วมมือ IT กับอาเซียนต่อที่ประชุม AEM+3 เช่น Asia Public Key Infrastructure (PKI) Forum และ Trade and Electronic Data Interchange (TEDI) เป็นต้น
สาธารณรัฐเกาหลีเสนอจัดตั้งกองทุน "East Asia Special Fund" เพื่อลดช่องว่างด้าน IT ในอาเซียน โดยเสนอให้ประเทศ+3 บริจาคเงินปีละ 1 ล้านเหรียญสหรัฐ เป็นเวลา 5 ปี ประเทศอาเซียนบริจาคตามสมัครใจ
ประเทศไทยได้แจ้งขอให้ประเทศ+3 ให้การสนับสนุนและช่วยเหลือโครงการ ASEAN Trade Fair ซึ่งจีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลีมีท่าทีตอบรับด้วยดียิ่ง โดยเฉพาะจีนยินดีให้การสนับสนุนไทยในการประชาสัมพันธ์งานแสดงสินค้าอาเซียนที่กวางโจว
2. การประชุม SEOM กับเจ้าหน้าที่อาวุโสของกระทรวงเศรษฐกิจ การค้าและอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น (SEOM-METI)
ที่ประชุมเห็นชอบให้จัดตั้งกลุ่มผู้เชี่ยวชาญอาเซียน-ญี่ปุ่น เพื่อศึกษาและเสนอแนวความร่วมมือทางเศรษฐกิจอาเซียน และญี่ปุนอย่างใกล้ชิด โดยกลุ่มผู้เชี่ยวชาญฯ จะเริ่มประชุมในต้นปี 2545 และจะรายงานผลการศึกษา เสนอต่อที่ประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโส รัฐมนตรี และผู้นำอาเซียนกับญี่ปุ่นได้ภายในปี 2545
ที่ประชุมรับทราบผลคืบหน้าการดำเนินงานของคณะกรรมการ AMEICC โดยรายงานสถานะล่าสุดของ คณะทำงานต่างๆ รวม 6 คณะ ได้แก่ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การพัฒนาพื้นที่ตะวันตก-ตะวันออกอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) อุตสาหกรรมรถยนต์ อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ และด้านสถิติ เป็นต้น รวมทั้งรายงานผลการศึกษาความสามารถแข่งขันของประเทศสมาชิกอาเซียน ของ แต่ละภาคอุตสาหกรรมในภาพรวมนส่วนของไทยได้ศึกษาอุตสาหกรรมสำคัญ เช่น อาหาร สิ่งทอ เครื่องไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ และรถยนต์ เป็นต้น
3. การประชุม SEOM กับเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านเศรษฐกิจของออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ (SEOM-CER)
ที่ประชุมให้ความเห็นชอบต่อกรอบการดำเนินงานของ AFTA-CER Closer Economic Partnership Framework (AFTA-CER CEP Framework) สำหรับข้อเสนอโครงการภายใต้ CEP อาเซียนจะ มอบหมายให้ประเทศสมาชิกอาเซียน และคณะกรรมการ/คณะทำงานอาเซียนที่เกี่ยวข้องพิจารณาเสนอโครงการ ในชั้นต้นนี้ อาเซียนเสนอให้มีการจัดทำความตกลงยอมรับร่วมซึ่งกันและกัน (MRAs) ด้านอาหาร และเครื่องใช้ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ เป็นกิจกรรมเริ่มแรกภายใต้ CEP และให้ คณะกรรมการ ACCSQ เจรจากับ CER ต่อไป
นอกจากนี้ ไทยได้แจ้งขอให้ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ให้การสนับสนุนโครงการ ASEAN Trade Fair ซึ่งออสเตรเลียและนิวซีแลนด์มีท่าทีตอบรับด้วยดี
4. การประชุม SEOM กับสหภาพยุโรป (SEOM-EU)
ทั้งสองฝ่ายได้แลกเปลี่ยนความเห็นเกี่ยวกับความคืบหน้าความร่วมมือด้านเศรษฐกิจของอาเซียน และของ สหภาพยุโรป
ที่ประชุมรับทราบสหภาพยุโรปแจ้งสถานะล่าสุดการดำเนินมาตรการทางการค้าต่างๆ ของสหภาพยุโรป และไทยกล่าวในนามอาเซียนแจ้งข้อกังวลต่อมาตรการ และกฎระเบียบใหม่ๆ ของสหภาพยุโรปที่จะมีผลกระทบต่ออาเซียน ดังนี้
1) ร่างกฎหมายว่าด้วยเศษเหลือทิ้งผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (Waste Electrical and Electronic Equipment : WEEE) และสมุดปกขาวว่าด้วยนโยบายความปลอดภัยด้านอาหารของสหภาพยุโรป (White Paper on Food Safety) ได้ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อผู้ผลิตโดยเฉพาะอุตสาหกรรมขนาดกลางและเล็กต้องรับภาระต้นทุนสูงขึ้นมากในการรักษาส่วนแบ่งตลาดส่งออกในสหภาพยุโรปก่อให้เกิดอุปสรรคการค้าเกินความจำเป็น ซึ่งขัดต่อข้อตกลงด้าน TBT นอกจากนี้ การอ้างหลักการ Precautionary Principle ภายใต้ข้อตกลง SPS นั้น ให้ใช้เมื่อเกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน โดยใช้เป็น มาตรการชั่วคราวและต้องมีการวิเคราะห์ Risk Assessment ซึ่งหาก EU จะออกเป็นกฎหมายถาวรย่อมขัดต่อข้อตกลงดังกล่าว
2) สมุดปกเขียวว่าด้วยนโยบายสินค้าครบวงจรของสหภาพยุโรป (The Green Paper on Integrated Product Policy : IPP) โดยกระตุ้นให้ผู้ผลิตสนใจในผลิตภัณฑ์ที่คำนึงต่อสภาพแวดล้อม (Product Life Cycle Approach) ซึ่งอาเซียนยังขาดการพัฒนาทั้งด้านการศึกษา รวมทั้งทำฐานข้อมูลในเรื่อง Life Cycle Product (LCP) อย่างแท้จริง โดยเฉพาะอุตสาหกรรม SMEs ปรับตัวได้ยาก และมีภาระต้นทุนเพิ่มสูงขึ้น ดังนั้น อาเซียนต้องขอเวลาในการปรับตัว และขอให้สหภาพยุโรป ให้ความช่วยเหลือทางด้านเทคนิคแก่อาเซียนด้วย
3) ระเบียบ GSP ใหม่ของสหภาพยุโรป ขอให้สหภาพยุโรปกำหนดระเบียบ GSP ใหม่ โดยให้ สิทธิ GSP แก่ สินค้าที่ใช้วัตถุดิบนำเข้าจาก EU ในสัดส่วนนำเข้าสูงกว่าร้อยละ 50 (ตามกฎ Donor Country Content) เช่นปลาทูนากระป๋อง ให้ได้รับยกเว้นภาษี จะจูงใจให้ผู้ผลิตนำเข้าปลาทูน่าจาก EU แทนการนำเข้าจากแหล่งอื่นๆ เช่น เกาหลี ไต้หวัน และญี่ปุ่น มาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตสินค้าส่งออก ซึ่งจะทำให้ทั้งอาเซียน และ EU ต่างได้รับประโยชน์ตามข้อเสนอดังกล่าว
ทั้งนี้ สหภาพยุโรปรับทราบข้อเสนอต่างๆ ของอาเซียน และจะนำไปพิจารณาแจ้งผลให้ทราบต่อไป
ไทยได้แจ้งขอให้สหภาพยุโรปให้การสนับสนุนและช่วยเหลือโครงการ ASEAN Trade Fair ซึ่ง EU ได้แจ้งยินดีให้การสนับสนุนการจัดงาน
5. การประชุม SEOM กับผู้ช่วยผู้แทนการค้าสหรัฐฯ (SEOM-Assistant USTR)
ที่ประชุมได้ย้ำถึงความสำเร็จของความร่วมมือระหว่างอาเซียน-สหรัฐฯ ในอดีตที่ผ่านมา โดยเน้นความสำคัญของการกระชับความสัมพันธ์ระหว่างกันในอนาคต และได้แลกเปลี่ยนความเห็นเกี่ยวกับความคืบหน้าของความร่วมมือใน อาเซียน และสหรัฐฯ และความคืบหน้าของการเจรจา WTO และ APEC
อาเซียนได้แจ้งแนวทางกระชับความร่วมมือด้านเศรษฐกิจกับสหรัฐฯ ในอนาคต โดยอาเซียนมี คณะทำงาน WGRI เป็นกลไกในการหารือกับประเทศคู่เจรจาต่างๆ เพื่อศึกษา/เสนอแนะการรวมกลุ่มเศรษฐกิจร่วมกัน และได้แจ้งความสนใจร่วมมือกับสหรัฐฯ ในสาขา IT/e-Commerce ซึ่งอาเซียนมี e-ASEAN อุตสาห-กรรมขนาดกลางและเล็ก (SME) และการลดช่องว่างภายในอาเซียน (IAI) เป็นต้น
ไทยได้แจ้งขอให้สหรัฐฯ ให้การสนับสนุน และช่วยเหลือโครงการ ASEAN Trade Fair ซึ่งสหรัฐฯ รับทราบและจะประสานแจ้งผลให้ทราบต่อไป
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--จบ--
-สส-
บรูไนฯ เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระหว่างเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านเศรษฐกิจของอาเซียนกับประเทศคู่เจรจาต่างๆ (SEOM-Dialogue Partners) ระหว่างวันที่ 15-17 สิงหาคม 2544 ณ กรุงบันดาร์ เสรี เบกาวัน โดยมีปลัดกระทรวงพาณิชย์ เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยและประธานการประชุมร่วมกับเจ้าหน้าที่อาวุโสของจีน ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี ออสเตรเลียและ นิวซีแลนด์ สหภาพยุโรป และสหรัฐฯ และมีอธิบดีกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ และผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม
ผลการประชุมมีสาระสำคัญ สรุปได้ดังนี้
1. การประชุม SEOM กับจีน ญี่ปุ่นและสาธารณรัฐเกาหลี (SEOM+3)
ที่ประชุมรับทราบความคืบหน้าแผนการดำเนินโครงการที่อนุมัติแล้ว 6 โครงการ และความเห็นเบื้องต้นของประเทศสมาชิกเข้าร่วมโครงการ ซึ่งประเทศผู้เสนอโครงการจะประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแจ้งรายละเอียดเพิ่มเติมภายหลัง ได้แก่
Training Programme on Practical Technology for Environment Protection (จีน) Asian Common Skill Standard Initiative for IT Engineer (ญี่ปุ่น) Conformity Assessment Development Programme in Industrial Standard (สาธารณรัฐเกาหลี) Strengthening the Competitiveness of ASEAN SMEs (มาเลเซียกับพม่า) The Software Development in the Mekong Basin Project (ไทย) ASEAN Satellite Image Archieve and Environmental Study (ไทย) สำหรับโครงการที่เหลืออีก 9 โครงการยังไม่ผ่านการอนุมัติตามหลักเกณฑ์ประเทศอาเซียน และประเทศ+3 อย่างน้อย 2 ประเทศสนับสนุน ที่ประชุมขอให้ประเทศ+3 พิจารณาให้การสนับสนุนโครงการ เพิ่มเติม รวมทั้งโครงการใหม่ๆ ได้แก่ โครงการขอความช่วยเหลือด้านการถ่ายทอดเทคโนโลยี IT (กัมพูชา) และโครงการ e-learning (ญี่ปุ่น)
ที่ประชุมรับทราบผลประชุมคณะทำงาน e-ASEAN+3 ครั้งที่ 1 เมื่อเดือนกรกฎาคม 2544 ได้จัดทำ TOR คณะทำงานฯ และจะหารือแนวทางความร่วมมือด้าน IT ระหว่างอาเซียนกับจีน ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี นอกจากนี้ ญี่ปุ่นจะนำเสนอโครงการให้ความร่วมมือ IT กับอาเซียนต่อที่ประชุม AEM+3 เช่น Asia Public Key Infrastructure (PKI) Forum และ Trade and Electronic Data Interchange (TEDI) เป็นต้น
สาธารณรัฐเกาหลีเสนอจัดตั้งกองทุน "East Asia Special Fund" เพื่อลดช่องว่างด้าน IT ในอาเซียน โดยเสนอให้ประเทศ+3 บริจาคเงินปีละ 1 ล้านเหรียญสหรัฐ เป็นเวลา 5 ปี ประเทศอาเซียนบริจาคตามสมัครใจ
ประเทศไทยได้แจ้งขอให้ประเทศ+3 ให้การสนับสนุนและช่วยเหลือโครงการ ASEAN Trade Fair ซึ่งจีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลีมีท่าทีตอบรับด้วยดียิ่ง โดยเฉพาะจีนยินดีให้การสนับสนุนไทยในการประชาสัมพันธ์งานแสดงสินค้าอาเซียนที่กวางโจว
2. การประชุม SEOM กับเจ้าหน้าที่อาวุโสของกระทรวงเศรษฐกิจ การค้าและอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น (SEOM-METI)
ที่ประชุมเห็นชอบให้จัดตั้งกลุ่มผู้เชี่ยวชาญอาเซียน-ญี่ปุ่น เพื่อศึกษาและเสนอแนวความร่วมมือทางเศรษฐกิจอาเซียน และญี่ปุนอย่างใกล้ชิด โดยกลุ่มผู้เชี่ยวชาญฯ จะเริ่มประชุมในต้นปี 2545 และจะรายงานผลการศึกษา เสนอต่อที่ประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโส รัฐมนตรี และผู้นำอาเซียนกับญี่ปุ่นได้ภายในปี 2545
ที่ประชุมรับทราบผลคืบหน้าการดำเนินงานของคณะกรรมการ AMEICC โดยรายงานสถานะล่าสุดของ คณะทำงานต่างๆ รวม 6 คณะ ได้แก่ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การพัฒนาพื้นที่ตะวันตก-ตะวันออกอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) อุตสาหกรรมรถยนต์ อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ และด้านสถิติ เป็นต้น รวมทั้งรายงานผลการศึกษาความสามารถแข่งขันของประเทศสมาชิกอาเซียน ของ แต่ละภาคอุตสาหกรรมในภาพรวมนส่วนของไทยได้ศึกษาอุตสาหกรรมสำคัญ เช่น อาหาร สิ่งทอ เครื่องไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ และรถยนต์ เป็นต้น
3. การประชุม SEOM กับเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านเศรษฐกิจของออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ (SEOM-CER)
ที่ประชุมให้ความเห็นชอบต่อกรอบการดำเนินงานของ AFTA-CER Closer Economic Partnership Framework (AFTA-CER CEP Framework) สำหรับข้อเสนอโครงการภายใต้ CEP อาเซียนจะ มอบหมายให้ประเทศสมาชิกอาเซียน และคณะกรรมการ/คณะทำงานอาเซียนที่เกี่ยวข้องพิจารณาเสนอโครงการ ในชั้นต้นนี้ อาเซียนเสนอให้มีการจัดทำความตกลงยอมรับร่วมซึ่งกันและกัน (MRAs) ด้านอาหาร และเครื่องใช้ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ เป็นกิจกรรมเริ่มแรกภายใต้ CEP และให้ คณะกรรมการ ACCSQ เจรจากับ CER ต่อไป
นอกจากนี้ ไทยได้แจ้งขอให้ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ให้การสนับสนุนโครงการ ASEAN Trade Fair ซึ่งออสเตรเลียและนิวซีแลนด์มีท่าทีตอบรับด้วยดี
4. การประชุม SEOM กับสหภาพยุโรป (SEOM-EU)
ทั้งสองฝ่ายได้แลกเปลี่ยนความเห็นเกี่ยวกับความคืบหน้าความร่วมมือด้านเศรษฐกิจของอาเซียน และของ สหภาพยุโรป
ที่ประชุมรับทราบสหภาพยุโรปแจ้งสถานะล่าสุดการดำเนินมาตรการทางการค้าต่างๆ ของสหภาพยุโรป และไทยกล่าวในนามอาเซียนแจ้งข้อกังวลต่อมาตรการ และกฎระเบียบใหม่ๆ ของสหภาพยุโรปที่จะมีผลกระทบต่ออาเซียน ดังนี้
1) ร่างกฎหมายว่าด้วยเศษเหลือทิ้งผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (Waste Electrical and Electronic Equipment : WEEE) และสมุดปกขาวว่าด้วยนโยบายความปลอดภัยด้านอาหารของสหภาพยุโรป (White Paper on Food Safety) ได้ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อผู้ผลิตโดยเฉพาะอุตสาหกรรมขนาดกลางและเล็กต้องรับภาระต้นทุนสูงขึ้นมากในการรักษาส่วนแบ่งตลาดส่งออกในสหภาพยุโรปก่อให้เกิดอุปสรรคการค้าเกินความจำเป็น ซึ่งขัดต่อข้อตกลงด้าน TBT นอกจากนี้ การอ้างหลักการ Precautionary Principle ภายใต้ข้อตกลง SPS นั้น ให้ใช้เมื่อเกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน โดยใช้เป็น มาตรการชั่วคราวและต้องมีการวิเคราะห์ Risk Assessment ซึ่งหาก EU จะออกเป็นกฎหมายถาวรย่อมขัดต่อข้อตกลงดังกล่าว
2) สมุดปกเขียวว่าด้วยนโยบายสินค้าครบวงจรของสหภาพยุโรป (The Green Paper on Integrated Product Policy : IPP) โดยกระตุ้นให้ผู้ผลิตสนใจในผลิตภัณฑ์ที่คำนึงต่อสภาพแวดล้อม (Product Life Cycle Approach) ซึ่งอาเซียนยังขาดการพัฒนาทั้งด้านการศึกษา รวมทั้งทำฐานข้อมูลในเรื่อง Life Cycle Product (LCP) อย่างแท้จริง โดยเฉพาะอุตสาหกรรม SMEs ปรับตัวได้ยาก และมีภาระต้นทุนเพิ่มสูงขึ้น ดังนั้น อาเซียนต้องขอเวลาในการปรับตัว และขอให้สหภาพยุโรป ให้ความช่วยเหลือทางด้านเทคนิคแก่อาเซียนด้วย
3) ระเบียบ GSP ใหม่ของสหภาพยุโรป ขอให้สหภาพยุโรปกำหนดระเบียบ GSP ใหม่ โดยให้ สิทธิ GSP แก่ สินค้าที่ใช้วัตถุดิบนำเข้าจาก EU ในสัดส่วนนำเข้าสูงกว่าร้อยละ 50 (ตามกฎ Donor Country Content) เช่นปลาทูนากระป๋อง ให้ได้รับยกเว้นภาษี จะจูงใจให้ผู้ผลิตนำเข้าปลาทูน่าจาก EU แทนการนำเข้าจากแหล่งอื่นๆ เช่น เกาหลี ไต้หวัน และญี่ปุ่น มาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตสินค้าส่งออก ซึ่งจะทำให้ทั้งอาเซียน และ EU ต่างได้รับประโยชน์ตามข้อเสนอดังกล่าว
ทั้งนี้ สหภาพยุโรปรับทราบข้อเสนอต่างๆ ของอาเซียน และจะนำไปพิจารณาแจ้งผลให้ทราบต่อไป
ไทยได้แจ้งขอให้สหภาพยุโรปให้การสนับสนุนและช่วยเหลือโครงการ ASEAN Trade Fair ซึ่ง EU ได้แจ้งยินดีให้การสนับสนุนการจัดงาน
5. การประชุม SEOM กับผู้ช่วยผู้แทนการค้าสหรัฐฯ (SEOM-Assistant USTR)
ที่ประชุมได้ย้ำถึงความสำเร็จของความร่วมมือระหว่างอาเซียน-สหรัฐฯ ในอดีตที่ผ่านมา โดยเน้นความสำคัญของการกระชับความสัมพันธ์ระหว่างกันในอนาคต และได้แลกเปลี่ยนความเห็นเกี่ยวกับความคืบหน้าของความร่วมมือใน อาเซียน และสหรัฐฯ และความคืบหน้าของการเจรจา WTO และ APEC
อาเซียนได้แจ้งแนวทางกระชับความร่วมมือด้านเศรษฐกิจกับสหรัฐฯ ในอนาคต โดยอาเซียนมี คณะทำงาน WGRI เป็นกลไกในการหารือกับประเทศคู่เจรจาต่างๆ เพื่อศึกษา/เสนอแนะการรวมกลุ่มเศรษฐกิจร่วมกัน และได้แจ้งความสนใจร่วมมือกับสหรัฐฯ ในสาขา IT/e-Commerce ซึ่งอาเซียนมี e-ASEAN อุตสาห-กรรมขนาดกลางและเล็ก (SME) และการลดช่องว่างภายในอาเซียน (IAI) เป็นต้น
ไทยได้แจ้งขอให้สหรัฐฯ ให้การสนับสนุน และช่วยเหลือโครงการ ASEAN Trade Fair ซึ่งสหรัฐฯ รับทราบและจะประสานแจ้งผลให้ทราบต่อไป
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--จบ--
-สส-