ข้อมูลพื้นฐาน
จังหวัดชุมพรประกอบด้วย 8 อำเภอได้แก่ อำเภอเมืองชุมพร ปะทิว ท่าแซะ ละแม หลังสวน ทุ่งตะโก พะโต๊ะ และสวี
พื้นที่รวม6,009 ตารางกิโลเมตร หรือ 3,755,630 ไร่มีฝั่งทะเลยาวประมาณ 222 กิโลเมตร มีเกาะประมาณ 50 เกาะ
ณ 31 ธันวาคม 2542 มีประชากร458,297 คน หรือร้อยละ 5.6 ของประชากรทั้งภาค
ปี 2539 ผลิตภัณฑ์จังหวัดตามราคาคงที่ (Gross Provincial Product at constant price) มีจำนวน 13,345.6 ล้านบาทโดยมีภาคเกษตรกรรมเป็นสาขาเศรษฐกิจหลัก คือมีสัดส่วนร้อยละ 40.6 ของผลิตภัณฑ์จังหวัดทั้งหมด รองลงมาได้แก่ สาขาการค้าปลีกและค้าส่งร้อยละ 15.1และสาขาบริการร้อยละ 8.6 ตามลำดับ
รายได้เฉลี่ยของประชากรเท่ากับ48,444 บาทต่อคนต่อปีสูงเป็นอันดับที่ 8 ของภาค
ศักยภาพและโอกาสในการลงทุน
จังหวัดชุมพรเป็นจังหวัดที่อยู่กึ่งกลางระหว่างภาคกลางและภาคใต้ เปรียบเสมือนประตูของ 14 จังหวัดในภาคใต้ จึงนับว่าเป็นจังหวัดที่มีทำเลเหมาะสมต่อการพัฒนาเป็นจังหวัดหลักแห่งหนึ่งในภาคใต้
จังหวัดชุมพรมีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ ทั้งทางทะเลซึ่งเป็นแหล่งอาศัยขยายพันธุ์ขนาดใหญ่ของปลาเศรษฐกิจต่าง ๆ เช่นปลาทู ปลาลัง และปลาหลังเขียว และความอุดมสมบูรณ์ของสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการลงทุนในทุก ๆ ด้าน ได้แก่
1. ด้านการคมนาคม ขนส่ง จังหวัดชุมพรมีโครงข่ายที่ติดต่อกับจังหวัดต่าง ๆ ได้สะดวก ทั้งทางรถไฟ ทางเรือและทางอากาศ ซึ่งสนามบินของจังหวัดจะแล้วเสร็จในปี 2540 นี้
จังหวัดชุมพร เป็นจังหวัดที่กำลังพัฒนาให้เป็นประตูการค้าไปสู่กลุ่มประเทศเอเชียใต้โดยการก่อสร้างขยายถนนคู่ขนานจากสี่แยกปฐมพร-ระนองเป็นสี่ช่องการจราจร เพื่อคามสะดวกในการคมนาคมขนส่ง จากฝั่งทะเลอ่าวไทยไปฝั่งทะเลอันดามัน ไปสู่การค้ากับประเทศต่าง ๆ ของเอเชียใต้ เช่น พม่า อินเดีย
2.ด้านการสาธารณูปโภค จังหวัดชุมพรมีความพร้อมทางด้านการสาธารณูปโภคต่าง ๆ ทั้งไฟฟ้า ประปา และการติดต่อสื่อสาร ซึ่งมีแผนจะขยายหมายเลขโทรศัพท์เพิ่มเติมอีก 12160 หมายเลขในปี 2538
3.การขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ดี จังหวัดชุมพรมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่รวดเร็วโดยเฉพาะในช่วง 10 ปี ที่ผ่านมามีการขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจถึง 3เท่าตัว มีรายได้ต่อหัวเพิ่มจาก 11740 บาทในปี 2524 เป็น 39506 บาทในปี 2534 และถึงแม้ว่าชุมพรจะเคยได้รับฝลกระทบอย่างหนักจากพายุเกย์ก็สามารถฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว แสดงให้เห็นถึงศักยภาพความพร้อมที่จะขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจของจังหวัดได้เป็นอย่างดี
4.โครงการลงทุน จังหวัดชุมพรเป็นจังหวัดที่กำลังพัฒนาสู่การเติบโตอย่างเป็นระบบซึ่งนอกจากปัจจัยต่าง ๆ ที่เอื้อต่อการลงทุนแล้วทางรัฐบาลมีโครงการอีกหลายโครงการที่จะรองรับการขยายตัวของธุรกิจ เช่น
-โครงการพัฒนาการท่องเที่ยว
-โครงการพัฒนาการศึกษา
-โครงการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรม
-โครงการพัฒนาทางด้านการเกษตรเช่น การจัดตั้งตลาดสินค้าเกษตร และการจัดศูนย์วิจัยพืชและผลไม้ เป็นต้น
ข้อเสนอการลงทุน
โครงการที่เสนอให้มีการลงทุนได้แก่
การทำสวนผลไม้และไม้ยืนต้น เพราะศักยภาพด้านภูมิอากาศอำนวย อุตสาหกรรมผลไม้แช่แข็ง เพราะมีแหล่งวัตถุดิบที่สมบูรณ์เพียบพร้อม อุตสาหกรรมผลิตกุ้งและสัตว์น้ำแช่แข็ง เนื่องจากเป็นแหล่งประมงที่สำคัญของอ่าวไทย ธุรกิจที่พักริมทาง เนื่องจากเป็นทางผ่านและจุดแวะที่ดี ธุรกิจการท่องเที่ยวต่าง ๆ เพราะเป็นธุรกิจที่กำลังขยายตัวอย่างรวดเร็วและจังหวัดชุมพรก็มีศักยภาพทางด้านนี้อย่างสมบูรณ์
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-
จังหวัดชุมพรประกอบด้วย 8 อำเภอได้แก่ อำเภอเมืองชุมพร ปะทิว ท่าแซะ ละแม หลังสวน ทุ่งตะโก พะโต๊ะ และสวี
พื้นที่รวม6,009 ตารางกิโลเมตร หรือ 3,755,630 ไร่มีฝั่งทะเลยาวประมาณ 222 กิโลเมตร มีเกาะประมาณ 50 เกาะ
ณ 31 ธันวาคม 2542 มีประชากร458,297 คน หรือร้อยละ 5.6 ของประชากรทั้งภาค
ปี 2539 ผลิตภัณฑ์จังหวัดตามราคาคงที่ (Gross Provincial Product at constant price) มีจำนวน 13,345.6 ล้านบาทโดยมีภาคเกษตรกรรมเป็นสาขาเศรษฐกิจหลัก คือมีสัดส่วนร้อยละ 40.6 ของผลิตภัณฑ์จังหวัดทั้งหมด รองลงมาได้แก่ สาขาการค้าปลีกและค้าส่งร้อยละ 15.1และสาขาบริการร้อยละ 8.6 ตามลำดับ
รายได้เฉลี่ยของประชากรเท่ากับ48,444 บาทต่อคนต่อปีสูงเป็นอันดับที่ 8 ของภาค
ศักยภาพและโอกาสในการลงทุน
จังหวัดชุมพรเป็นจังหวัดที่อยู่กึ่งกลางระหว่างภาคกลางและภาคใต้ เปรียบเสมือนประตูของ 14 จังหวัดในภาคใต้ จึงนับว่าเป็นจังหวัดที่มีทำเลเหมาะสมต่อการพัฒนาเป็นจังหวัดหลักแห่งหนึ่งในภาคใต้
จังหวัดชุมพรมีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ ทั้งทางทะเลซึ่งเป็นแหล่งอาศัยขยายพันธุ์ขนาดใหญ่ของปลาเศรษฐกิจต่าง ๆ เช่นปลาทู ปลาลัง และปลาหลังเขียว และความอุดมสมบูรณ์ของสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการลงทุนในทุก ๆ ด้าน ได้แก่
1. ด้านการคมนาคม ขนส่ง จังหวัดชุมพรมีโครงข่ายที่ติดต่อกับจังหวัดต่าง ๆ ได้สะดวก ทั้งทางรถไฟ ทางเรือและทางอากาศ ซึ่งสนามบินของจังหวัดจะแล้วเสร็จในปี 2540 นี้
จังหวัดชุมพร เป็นจังหวัดที่กำลังพัฒนาให้เป็นประตูการค้าไปสู่กลุ่มประเทศเอเชียใต้โดยการก่อสร้างขยายถนนคู่ขนานจากสี่แยกปฐมพร-ระนองเป็นสี่ช่องการจราจร เพื่อคามสะดวกในการคมนาคมขนส่ง จากฝั่งทะเลอ่าวไทยไปฝั่งทะเลอันดามัน ไปสู่การค้ากับประเทศต่าง ๆ ของเอเชียใต้ เช่น พม่า อินเดีย
2.ด้านการสาธารณูปโภค จังหวัดชุมพรมีความพร้อมทางด้านการสาธารณูปโภคต่าง ๆ ทั้งไฟฟ้า ประปา และการติดต่อสื่อสาร ซึ่งมีแผนจะขยายหมายเลขโทรศัพท์เพิ่มเติมอีก 12160 หมายเลขในปี 2538
3.การขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ดี จังหวัดชุมพรมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่รวดเร็วโดยเฉพาะในช่วง 10 ปี ที่ผ่านมามีการขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจถึง 3เท่าตัว มีรายได้ต่อหัวเพิ่มจาก 11740 บาทในปี 2524 เป็น 39506 บาทในปี 2534 และถึงแม้ว่าชุมพรจะเคยได้รับฝลกระทบอย่างหนักจากพายุเกย์ก็สามารถฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว แสดงให้เห็นถึงศักยภาพความพร้อมที่จะขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจของจังหวัดได้เป็นอย่างดี
4.โครงการลงทุน จังหวัดชุมพรเป็นจังหวัดที่กำลังพัฒนาสู่การเติบโตอย่างเป็นระบบซึ่งนอกจากปัจจัยต่าง ๆ ที่เอื้อต่อการลงทุนแล้วทางรัฐบาลมีโครงการอีกหลายโครงการที่จะรองรับการขยายตัวของธุรกิจ เช่น
-โครงการพัฒนาการท่องเที่ยว
-โครงการพัฒนาการศึกษา
-โครงการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรม
-โครงการพัฒนาทางด้านการเกษตรเช่น การจัดตั้งตลาดสินค้าเกษตร และการจัดศูนย์วิจัยพืชและผลไม้ เป็นต้น
ข้อเสนอการลงทุน
โครงการที่เสนอให้มีการลงทุนได้แก่
การทำสวนผลไม้และไม้ยืนต้น เพราะศักยภาพด้านภูมิอากาศอำนวย อุตสาหกรรมผลไม้แช่แข็ง เพราะมีแหล่งวัตถุดิบที่สมบูรณ์เพียบพร้อม อุตสาหกรรมผลิตกุ้งและสัตว์น้ำแช่แข็ง เนื่องจากเป็นแหล่งประมงที่สำคัญของอ่าวไทย ธุรกิจที่พักริมทาง เนื่องจากเป็นทางผ่านและจุดแวะที่ดี ธุรกิจการท่องเที่ยวต่าง ๆ เพราะเป็นธุรกิจที่กำลังขยายตัวอย่างรวดเร็วและจังหวัดชุมพรก็มีศักยภาพทางด้านนี้อย่างสมบูรณ์
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-