ข้อมูลประกอบการสนทนาในรายการ "ชั่วโมงนี้เพื่อคนไทย" เรื่อง นโยบายการเปิดเสรีทางการค้าสำหรับ อธิบดีกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์นางบุญทิพา สิมะสกุล วันจันทร์ที่ 15 มกราคม 2544 เวลา 17.15 น. ประเด็นคำถาม ความจำเป็นของการเปิดเสรีทางการค้า
แนวคำตอบ
- ประเทศไทยยึดมั่นในนโยบายการค้าเสรี ประกอบกับกระแสเศรษฐกิจการค้าโลกเข้าสู่ระบบการค้าเสรีมากขึ้น ทำให้ประเทศไทยซึ่งมีระบบเศรษฐกิจเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจการค้าโลกในระดับสูง โดยมูลค่าการค้าระหว่างประเทศมีสัดส่วนสูงกว่าร้อยละ 85 ของ GDP จึงจำเป็นต้องเข้าไปมีส่วนรวมในเวทีการค้าโลกโดยเป็นสมาชิกองค์การ กลุ่มเศรษฐกิจ และความร่วมมือทั้งในภูมิภาค อนุภูมิภาค และอนุทวีปต่าง ๆ เช่น องค์การการค้าโลก (WTO) อาเซียน และเอเปค เป็นต้น และมีการรวมกลุ่มและเปิดเสรีภายในกลุ่มมากขึ้น เช่น ในกลุ่มอาเซียนก็มีเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) BIMST-EC เป็นต้น รวมทั้งจะมีการจัดทำความตกลงการค้าเสรีระหว่างประเทศและในภูมิภาค (FTA/RTA) มากขึ้น ซึ่งจะเปิดเสรีเร็วกว่าใน WTO
- ประเทศไทยเป็นประเทศเล็กและระบบเศรษฐกิจต้องพึ่งพาการค้าต่างประเทศมาก หากระบบการค้าในโลกไม่มีระเบียบกฎเกณฑ์ที่เข้มแข็ง และปล่อยให้ประเทศที่มีพลังเศรษฐกิจมหาศาล ดำเนินมาตรการที่บิดเบือนการค้าไม่เป็นธรรม ก็จะทำให้ไทยมีความเสียเปรียบทางการค้า
- การค้าเสรีเป็นเรื่องของการเปิดโอกาส คือ สร้างโอกาสให้เข้าไปทำการค้าและมีช่องทางทำมาหากินได้กว้างขวางมากขึ้น นอกจากนี้ การค้าเสรีจะเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจและการค้าโลก ทำให้มีการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ มีการผลิตตามความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบ (Comparative Advantage) มีการแข่งขัน และผู้บริโภคมีทางเลือกในการซื้อสินค้าและบริการหลากหลายและในราคาที่ถูกลง แต่การค้าเสรีก็ย่อมจะมีผลกระทบในทางลบ ถ้าไม่มีการกำกับกติกาการค้าเสรี หลักการค้าเสรีที่ยึดถืออยู่ในระบบการค้าของโลก มี 3 หลักที่สำคัญ คือ
1) Rule based system คือ การค้าที่มีระบบ เสรีและเป็นธรรม เป็นกฎระเบียบที่ชัดเจนขององค์การการค้าโลก
2) การค้าต้องไม่เลือกปฏิบัติ (Non-discrimination หรือ MFN) ซึ่งให้ประโยชน์กับทุกคนเท่าเทียมกัน แต่บางประเทศไม่ได้ประโยชน์ เช่น ลาว เพราะอยู่นอก WTO แต่จะไปลดสิทธิของผู้อื่นไม่ได้
3) หากอนุญาตให้ใครเข้ามาทำอะไรในประเทศเราแล้วต้องปฏิบัติแก่เขาเยี่ยงคนในชาติ (Notional treatment)
ประเด็นคำถาม กระแสตอบรับต่อเรื่องดังกล่าวขณะนี้เป็นอย่างไรบ้าง
แนวคำตอบ
- ปัจจุบันการค้าเสรีเป็นกระบวนการโลกาภิวัตน์ ที่แพร่หลายไปทั่วโลกกระแสตอบรับนั้นมีทั้งเข้าใจไม่เข้าใจ และต่อต้าน
- กระแสตอบรับที่เห็นว่าการค้าเสรีเป็นสิ่งที่ดี เนื่องจากเป็นการสร้างโอกาสให้เข้าไปทำการค้าได้กว้างขวาง เพราะ
- การค้าเสรีมีระบบ ระเบียบและกติกาที่ชัดเจน
- ประเทศเล็ก-ใหญ่มีสิทธิเท่าเทียมกันในการปฏิบัติเป็นระบบฉันทามติ
- มีกระบวนการยุติข้อพิพาท เมื่อเกิดปัญหาขึ้นทุกประเทศมีสิทธิฟ้องร้อง
- ให้โอกาสของความแตกต่างและเป็นพิเศษ (S&D) ในฐานะที่ไทยเป็น
ประเทศกำลังพัฒนาจึงได้ประโยชน์ในเรื่องของการลดภาษีในอัตราที่น้อยกว่าและใช้เวลายาวนานกว่าประเทศพัฒนาแล้ว เช่น สินค้าเกษตร ไทยลดภาษีลงร้อยละ 24 ภายใน 10 ปี ขณะที่ประเทศพัฒนาแล้ว ลดภาษีลงร้อยละ 36 ภายใน 6 ปี
- มีคณะกรรมการพิจารณานโยบายการค้าของทุกประเทศสมาชิกเพื่อดูแลเรื่องการค้ามิให้มีการใช้มาตรการที่เป็นอุปสรรคต่อการค้ามากขึ้นและก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมขึ้น
- ส่วนกระแสต่อต้าน หรือไม่เห็นด้วยต่อการค้าเสรี เนื่องจาก
- ต้องเปิดตลาดภายในประเทศมากขึ้น ทำให้สาขาการผลิตที่ไม่มีศักยภาพด้านการแข่งขันต้องยกเลิกไป ส่งผลกระทบต่อคนงานที่มีปัญหาการว่างงาน
ในทางปฏิบัติแล้วมีผลกระทบไม่มากนัก เนื่องจากภาระภาษีที่ผูกพันไว้นั้นสูงกว่าที่เป็นจริง สินค้าอุตสาหกรรมก็มีเวลาปรับตัว สินค้าเกษตรที่ต้องเปิดตลาด 23 รายการ มีผลกระทบน้อยมาก โดยเฉพาะนมผง ที่มีปัญหา เพราะต้องปกป้องเกษตรกรภายใน ก็ได้ขอผ่อนผันจาก WTO เพื่อยืดเวลาการยกเลิกการใช้ Local content ออกไปอีก 2 ปี
สำหรับการบริการที่ไทยตกลงเปิดเสรีไว้แล้ว 10 สาขา ก็เปิดเท่าที่กฎหมายเปิดให้อยู่แล้ว ไม่ได้มีการเปิดเพิ่มแต่อย่างใด
การใช้มาตรการกีดกันทางการค้าในรูปแบบที่มิใช่ภาษีมาเป็นข้ออ้างในทางการค้าเพิ่มขึ้น
- การแข่งขันทางการค้าจะรุนแรงมากขึ้น ซึ่งจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น เพราะผู้ประกอบการในประเทศจำเป็นต้องปรับตัวเพื่อความอยู่รอดด้วยการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ทั้งด้านคุณภาพ ลดต้นทุนการผลิต และคิดค้นผลิตภัณฑ์ที่ใหม่ ๆ และส่งผลดีต่อผู้บริโภคในประเทศ
ประเด็นคำถาม กระทรวงพาณิชย์เตรียมการอะไรถึงไหน กระบวนการ ฯลฯ
แนวคำตอบ
- เพื่อเป็นการลดกระแสการต่อต้านความไม่เข้าใจต่าง ๆ และเป็นการเสริมสร้างความเข้าใจในเรื่องการค้าเสรี
- คณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ (กนศ.) ซึ่งมี ฯพณฯ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายศุภชัย พานิชภักดิ์) เป็นประธานได้จัดตั้งคณะอนุกรรมการเสริมสร้างความเข้าใจในเรื่องการเปิดเสรี เพื่อทำหน้าที่ชี้แจงให้ประชาชนทราบถึงความเป็นมา ประโยชน์ที่ประเทศได้รับและการเตรียมพร้อมเพื่อปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์การค้าโลก
- กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ ในฐานะเลขานุการคณะอนุกรรมการเสริมสร้างความเข้าใจในเรื่องการเปิดเสรี และเป็นหน่วยงานประสาน และดำเนินการในการจัดสัมมนาเผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจในเรื่องการเปิดเสรีในเวทีการค้าต่าง ๆ โดยมีแผนงานเผยแพร่ความรู้ในต่างจังหวัด (แผนปี 2544 จำนวน 30 จังหวัด) และกรุงเทพฯ แก่ภาครัฐ และเอกชนที่เกี่ยวข้อง
- สำหรับการเตรียมการประชุมรัฐมนตรีองค์การค้าโลกครั้งที่ 3 ในช่วงปลายปี 2542 ที่ผ่านมา กรมฯ ได้เป็นหน่วยงานประสานหารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อร่วมกันกำหนดท่าทีทั้งเรื่องการเปิดเสรีสินค้าเกษตร การค้าบริการ และเรื่องใหม่ ๆ ที่มีผู้เสนอให้นำมาเจรจารอบใหม่ในกรอบ WTO แต่การเจรจาไม่สามารถมีข้อยุติได้จึงประสบความล้มเหลว
- สถานะล่าสุดในการประชุมรัฐมนตรีเอเปค ครั้งที่ 12 ซึ่งจัดขึ้นในเดือนพฤศจิกายน 2543 ได้เห็นชอบที่จะให้มีการเปิดการเจรจาพหุภาคีรอบใหม่โดยเร็ว
ประเด็นคำถาม เครื่องมือที่ต้องกำกับดูแลเรื่องนี้ มีอะไรเกี่ยวข้องบ้าง
แนวคำตอบ
- ได้มีการแก้ไขระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกับแนวทางปฏิบัติของสากล ได้แก่ กฎหมายที่สร้างความเป็นธรรมทางการค้าและป้องกันการเอาเปรียบจากต่างประเทศ เช่น
- พ.ร.บ. ตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุน ซึ่งสินค้าจากต่างประเทศ พ.ศ. 2542
- พ.ร.บ. การแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2542 และกำลังดำเนินยกร่างกฎหมาย เพื่อให้มีกฎหมายเฉพาะดูแลธุรกิจค้าปลีกขนาดใหญ่ทุกประเภท
- สำหรับการเตรียมการเจรจาการค้าในกรอบขององค์การการค้าโลก (WTO) นั้นกนศ. ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการว่าด้วยการเจรจาการค้าภายใต้ WTO โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เป็นประธาน และกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์เป็นฝ่ายเลขานุการ ประกอบด้วยผู้แทนจากหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ทำหน้าที่ในการเสนอแนะนโยบายและท่าทีของไทยในการเจรจา ให้ความรู้ความเข้าใจแก่หน่วยงานราชการและเอกชนเกี่ยวกับการเจรจาภายใต้ WTO รวมทั้งการเป็นศูนย์กลางประสานงาน เพื่อให้การเจรจาของไทยเกี่ยวกับเรื่องที่อยู่ในกรอบงานของ WTO มีเอกภาพในทุกเวทีการเจรจาทั้งใน APEC และ ASEM นอกจากนี้ ยังมีคณะกรรมการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในกรอบงานของ WTO ภายใต้ กนศ. อาทิเช่น คณะอนุกรรมการการค้าและสิ่งแวดล้อม คณะอนุกรรมการนโยบายการแข่งขันทางการค้า คณะอนุกรรมการติดตามผลกระทบจากการปฏิบัติตามข้อผูกพันในการเจรจาเศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศ คณะกรรมการประสานงานด้านการค้าบริการ คณะอนุกรรมการนโยบายสินค้าเทคโนโลยีชีวภาพ คณะทำงานด้านการค้าและการลงทุน เป็นต้น
- กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ ได้จัดทำแผนการจัดบรรยาย/สัมมนาทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค เพื่อให้ภาครัฐและภาคเอกชนทั่วไปได้ทราบถึงความเป็นมาและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากเวทีการค้าระหว่างประเทศต่างๆ ได้แก่ WTO ASEAN APEC และ ASEM รวมถึงการเตรียมความพร้อมเพื่อปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์การค้าโลกที่เปลี่ยนแปลงไป และนำเสนอผลการดำเนินงานต่อคณะอนุกรรมการเสริมสร้างความเข้าใจเรื่องการเปิดเสรี ภายใต้คณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ( กนศ.) โดยมีแผนการดำเนินงาน ดังนี้
- การสัมมนาในกรุงเทพฯ โดยเชิญปลัดกระทรวงเศรษฐกิจ 4 กระทรวงอภิปราย เรื่อง”การเปิดเสรี : ระเบิดเวลาหรือนาฬิกาปลุก” ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2544
- การจัดสัมมนาร่วมกับสำนักงานพาณิชย์จังหวัด/การประชุม กรอ. ของจังหวัด 30 จังหวัด
- การสัมมนาในเรื่องสินค้าเกษตรและสินค้าอุตสาหกรรมกับสมาคมต่างๆ ของภาคเอกชนในกรุงเทพฯ
ประเด็นคำถาม กฎหมายที่เกี่ยวข้องเป็นอย่างไร
แนวคำตอบ
กฎหมายที่เกี่ยวข้องที่สำคัญ มีดังนี้
- พ.ร.บ. การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2543
- อนุญาตให้คนต่างด้าวซึ่งมีหุ้นอันเป็นทุนหรือลงทุนตั้งแต่กึ่งหนึ่ง สามารถประกอบธุรกิจการค้าปลีกค้าส่งตามบัญชีสาม (14) และ (15) ของบัญชีท้ายพระราชบัญญัติ
- บัญชีสาม ธุรกิจที่คนไทยยังไม่พร้อมที่จะแข่งขันในการประกอบกิจการกับคนต่างด้าว (14) การค้าปลีกสินค้าทุกประเภทที่มีทุนขั้นต่ำ รวมทั้งสิ้นน้อยกว่าหนึ่งร้อยล้านบาท หรือมีทุนขั้นต่ำของแต่ละร้านน้อยกว่า สิบล้านบาท (15) การค้าส่งสินค้าทุกประเภทที่มีทุนขั้นต่ำของแต่ละร้านค้าน้อยกว่าหนึ่งร้อยล้านบาท
- ทุนขั้นต่ำจะกำหนดในกฎกระทรวงสำหรับแต่ละธุรกิจ ต้องไม่น้อยกว่าสามล้านบาท (กรมทะเบียนการค้าอยู่ระหว่างพิจารณากำหนดทุนขั้นต่ำที่เหมาะสมโดยต้องไม่น้อยกว่าสามล้านบาท)
ที่ผ่านมา รัฐบาลก็ได้เสนอผูกพันเปิดเสรีให้แก่ประเทศต่าง ๆ ที่เป็นสมาชิก WTO ไม่มากไปกว่าที่กฎหมายได้ให้อำนาจไว้ เช่น เปิดเสรีให้คนชาติของประเทศสมาชิก WTO เข้ามาประกอบธุรกิจต่าง ๆ ในประเทศไทยได้ แต่ต้องร่วมทุนกับคนไทยถือหุ้นไม่เกินร้อยละ 49 ซึ่งภายใต้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง รัฐบาลอาจเปิดเสรีให้คนต่างชาติถือหุ้นได้มากกว่าร้อยละ 49 แต่รัฐบาลก็ได้ผูกพันว่าจะให้ต่างชาติถือหุ้นได้ไม่เกินกว่าร้อยละ 49 ตรงกันข้ามประเทศที่พัฒนาแล้วส่วนใหญ่รวมทั้งประเทศอาเซียนบางประเทศได้ผูกพันเปิดเสรีให้คนชาติของประเทศสมาชิก WTO เข้าไปประกอบธุรกิจหลายอย่างในประเทศของตนเอง โดยลงทุนประกอบธุรกิจเป็นเจ้าของเองได้ 100% โดยไม่มีข้อจำกัดด้านนี้ อย่างไรก็ตาม กฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่ได้มีการตกลงกันไว้ในความตกลง จึงยังไม่อาจกล่าวได้ว่าได้สร้างความไม่เป็นธรรมให้แก่นักธุรกิจไทยแต่อย่างไร แต่การเปิดเสรีของไทย แม้ไม่ได้เป็นการเปิดเสรีอย่างเต็มที่ ก็อาจส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบธุรกิจของไทย เพราะจะต้องแข่งขันกับผู้ประกอบการของต่างชาติมากขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องที่รัฐบาลจะต้องร่วมมือกับเอกชนในการหาทางพัฒนาและส่งเสริมให้ผู้ประกอบธุรกิจของไทยมีความสามารถในการแข่งขัน เพื่ออยู่รอดและเพื่อประโยชน์โดยรวมของระบบเศรษฐกิจไทยต่อไป
- พ.ร.บ. ตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุน ซึ่งสินค้าจากต่างประเทศ พ.ศ. 2542 มีวัตถุประสงค์เพื่อรักษาผลประโยชน์ทางการค้าและป้องกันการเอารัดเอาเปรียบจากประเทศคู่ค้า เป็นสำคัญ
ประเด็นคำถาม ประโยชน์ที่ไทยจะได้รับ โฉมหน้าไทยหลังเปิดเสรีจะเป็นอย่างไร
แนวคำตอบ
- ประโยชน์ที่ไทยได้รับ
- ตลาดส่งออกขยายตัว ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมามีการเปิดตลาดเพิ่มขึ้น ส่งผลให้การส่งออกขยายตัวมีมูลค่าสูงถึง 3 ล้านบาท เกินครึ่งของ GDP เป็นสิ่งที่ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจให้ฟื้นตัวจากภาวะวิกฤต เกิดการจ้างงานและรายได้ ในท้ายที่สุดประชาชนก็จะมีการกินดีอยู่ดีและมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
- ไทยสามารถขยายตลาดสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมได้กว้างมากขึ้น ที่เห็นได้ชัด คือ สินค้าเกษตรมีโอกาสขยายการส่งออกได้กว้างขึ้น เช่น ส่งข้าวไปขายตลาดญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ ส่งน้ำตาลไปสหภาพยุโรป จากที่ไม่เคยส่งมาก่อนหรือส่งไปได้น้อยมากเนื่องจากบางปีผลผลิตภายในประเทศเหล่านั้นไม่เพียงพอ
ไทยได้ประโยชน์จากการลดภาษีน้อยกว่าและใช้เวลานานกว่าประเทศที่พัฒนาแล้ว
- สามารถนำข้อพิพาทไปฟ้องร้องได้ตามกระบวนการยุติข้อพิพาท
- ผู้ผลิตและผู้ส่งออกสามารถคาดการณ์และวางแผนการค้าล่วงหน้าได้ เนื่องจากมีความโปร่งใสและกำหนดเวลาที่ชัดเจน โดยเฉพาะเรื่องภาษีมีแผนการลดอัตราภาษีที่แน่นอน
- ประชาชนมีโอกาสและมีทางเลือกในการบริโภคเพิ่มขึ้น สามารถซื้อสินค้าได้หลากหลายและมีราคาถูก
- การเปลี่ยนแปลงของไทยหลังการเปิดเสรี
- จะมีการปฏิรูปเศรษฐกิจภายในประเทศ เช่น
- ปรับโครงสร้างการผลิตและการตลาด โดยการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้
- แก้ไขระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกับแนวทางปฏิบัติให้เป็นสากลมากขึ้น
- ปรับปรุงประสิทธิภาพขององค์กรของรัฐและเอกชน
- นำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในการดำเนินธุรกิจเพื่อให้ทันกับสังคมเศรษฐกิจใหม่ (New Economy)
- ให้ความสำคัญต่อความร่วมมือทั้งในระดับโลก ภูมิภาคและทวิภาคี
สำนักนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ มกราคม 2544
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623
--จบ--
แนวคำตอบ
- ประเทศไทยยึดมั่นในนโยบายการค้าเสรี ประกอบกับกระแสเศรษฐกิจการค้าโลกเข้าสู่ระบบการค้าเสรีมากขึ้น ทำให้ประเทศไทยซึ่งมีระบบเศรษฐกิจเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจการค้าโลกในระดับสูง โดยมูลค่าการค้าระหว่างประเทศมีสัดส่วนสูงกว่าร้อยละ 85 ของ GDP จึงจำเป็นต้องเข้าไปมีส่วนรวมในเวทีการค้าโลกโดยเป็นสมาชิกองค์การ กลุ่มเศรษฐกิจ และความร่วมมือทั้งในภูมิภาค อนุภูมิภาค และอนุทวีปต่าง ๆ เช่น องค์การการค้าโลก (WTO) อาเซียน และเอเปค เป็นต้น และมีการรวมกลุ่มและเปิดเสรีภายในกลุ่มมากขึ้น เช่น ในกลุ่มอาเซียนก็มีเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) BIMST-EC เป็นต้น รวมทั้งจะมีการจัดทำความตกลงการค้าเสรีระหว่างประเทศและในภูมิภาค (FTA/RTA) มากขึ้น ซึ่งจะเปิดเสรีเร็วกว่าใน WTO
- ประเทศไทยเป็นประเทศเล็กและระบบเศรษฐกิจต้องพึ่งพาการค้าต่างประเทศมาก หากระบบการค้าในโลกไม่มีระเบียบกฎเกณฑ์ที่เข้มแข็ง และปล่อยให้ประเทศที่มีพลังเศรษฐกิจมหาศาล ดำเนินมาตรการที่บิดเบือนการค้าไม่เป็นธรรม ก็จะทำให้ไทยมีความเสียเปรียบทางการค้า
- การค้าเสรีเป็นเรื่องของการเปิดโอกาส คือ สร้างโอกาสให้เข้าไปทำการค้าและมีช่องทางทำมาหากินได้กว้างขวางมากขึ้น นอกจากนี้ การค้าเสรีจะเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจและการค้าโลก ทำให้มีการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ มีการผลิตตามความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบ (Comparative Advantage) มีการแข่งขัน และผู้บริโภคมีทางเลือกในการซื้อสินค้าและบริการหลากหลายและในราคาที่ถูกลง แต่การค้าเสรีก็ย่อมจะมีผลกระทบในทางลบ ถ้าไม่มีการกำกับกติกาการค้าเสรี หลักการค้าเสรีที่ยึดถืออยู่ในระบบการค้าของโลก มี 3 หลักที่สำคัญ คือ
1) Rule based system คือ การค้าที่มีระบบ เสรีและเป็นธรรม เป็นกฎระเบียบที่ชัดเจนขององค์การการค้าโลก
2) การค้าต้องไม่เลือกปฏิบัติ (Non-discrimination หรือ MFN) ซึ่งให้ประโยชน์กับทุกคนเท่าเทียมกัน แต่บางประเทศไม่ได้ประโยชน์ เช่น ลาว เพราะอยู่นอก WTO แต่จะไปลดสิทธิของผู้อื่นไม่ได้
3) หากอนุญาตให้ใครเข้ามาทำอะไรในประเทศเราแล้วต้องปฏิบัติแก่เขาเยี่ยงคนในชาติ (Notional treatment)
ประเด็นคำถาม กระแสตอบรับต่อเรื่องดังกล่าวขณะนี้เป็นอย่างไรบ้าง
แนวคำตอบ
- ปัจจุบันการค้าเสรีเป็นกระบวนการโลกาภิวัตน์ ที่แพร่หลายไปทั่วโลกกระแสตอบรับนั้นมีทั้งเข้าใจไม่เข้าใจ และต่อต้าน
- กระแสตอบรับที่เห็นว่าการค้าเสรีเป็นสิ่งที่ดี เนื่องจากเป็นการสร้างโอกาสให้เข้าไปทำการค้าได้กว้างขวาง เพราะ
- การค้าเสรีมีระบบ ระเบียบและกติกาที่ชัดเจน
- ประเทศเล็ก-ใหญ่มีสิทธิเท่าเทียมกันในการปฏิบัติเป็นระบบฉันทามติ
- มีกระบวนการยุติข้อพิพาท เมื่อเกิดปัญหาขึ้นทุกประเทศมีสิทธิฟ้องร้อง
- ให้โอกาสของความแตกต่างและเป็นพิเศษ (S&D) ในฐานะที่ไทยเป็น
ประเทศกำลังพัฒนาจึงได้ประโยชน์ในเรื่องของการลดภาษีในอัตราที่น้อยกว่าและใช้เวลายาวนานกว่าประเทศพัฒนาแล้ว เช่น สินค้าเกษตร ไทยลดภาษีลงร้อยละ 24 ภายใน 10 ปี ขณะที่ประเทศพัฒนาแล้ว ลดภาษีลงร้อยละ 36 ภายใน 6 ปี
- มีคณะกรรมการพิจารณานโยบายการค้าของทุกประเทศสมาชิกเพื่อดูแลเรื่องการค้ามิให้มีการใช้มาตรการที่เป็นอุปสรรคต่อการค้ามากขึ้นและก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมขึ้น
- ส่วนกระแสต่อต้าน หรือไม่เห็นด้วยต่อการค้าเสรี เนื่องจาก
- ต้องเปิดตลาดภายในประเทศมากขึ้น ทำให้สาขาการผลิตที่ไม่มีศักยภาพด้านการแข่งขันต้องยกเลิกไป ส่งผลกระทบต่อคนงานที่มีปัญหาการว่างงาน
ในทางปฏิบัติแล้วมีผลกระทบไม่มากนัก เนื่องจากภาระภาษีที่ผูกพันไว้นั้นสูงกว่าที่เป็นจริง สินค้าอุตสาหกรรมก็มีเวลาปรับตัว สินค้าเกษตรที่ต้องเปิดตลาด 23 รายการ มีผลกระทบน้อยมาก โดยเฉพาะนมผง ที่มีปัญหา เพราะต้องปกป้องเกษตรกรภายใน ก็ได้ขอผ่อนผันจาก WTO เพื่อยืดเวลาการยกเลิกการใช้ Local content ออกไปอีก 2 ปี
สำหรับการบริการที่ไทยตกลงเปิดเสรีไว้แล้ว 10 สาขา ก็เปิดเท่าที่กฎหมายเปิดให้อยู่แล้ว ไม่ได้มีการเปิดเพิ่มแต่อย่างใด
การใช้มาตรการกีดกันทางการค้าในรูปแบบที่มิใช่ภาษีมาเป็นข้ออ้างในทางการค้าเพิ่มขึ้น
- การแข่งขันทางการค้าจะรุนแรงมากขึ้น ซึ่งจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น เพราะผู้ประกอบการในประเทศจำเป็นต้องปรับตัวเพื่อความอยู่รอดด้วยการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ทั้งด้านคุณภาพ ลดต้นทุนการผลิต และคิดค้นผลิตภัณฑ์ที่ใหม่ ๆ และส่งผลดีต่อผู้บริโภคในประเทศ
ประเด็นคำถาม กระทรวงพาณิชย์เตรียมการอะไรถึงไหน กระบวนการ ฯลฯ
แนวคำตอบ
- เพื่อเป็นการลดกระแสการต่อต้านความไม่เข้าใจต่าง ๆ และเป็นการเสริมสร้างความเข้าใจในเรื่องการค้าเสรี
- คณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ (กนศ.) ซึ่งมี ฯพณฯ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายศุภชัย พานิชภักดิ์) เป็นประธานได้จัดตั้งคณะอนุกรรมการเสริมสร้างความเข้าใจในเรื่องการเปิดเสรี เพื่อทำหน้าที่ชี้แจงให้ประชาชนทราบถึงความเป็นมา ประโยชน์ที่ประเทศได้รับและการเตรียมพร้อมเพื่อปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์การค้าโลก
- กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ ในฐานะเลขานุการคณะอนุกรรมการเสริมสร้างความเข้าใจในเรื่องการเปิดเสรี และเป็นหน่วยงานประสาน และดำเนินการในการจัดสัมมนาเผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจในเรื่องการเปิดเสรีในเวทีการค้าต่าง ๆ โดยมีแผนงานเผยแพร่ความรู้ในต่างจังหวัด (แผนปี 2544 จำนวน 30 จังหวัด) และกรุงเทพฯ แก่ภาครัฐ และเอกชนที่เกี่ยวข้อง
- สำหรับการเตรียมการประชุมรัฐมนตรีองค์การค้าโลกครั้งที่ 3 ในช่วงปลายปี 2542 ที่ผ่านมา กรมฯ ได้เป็นหน่วยงานประสานหารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อร่วมกันกำหนดท่าทีทั้งเรื่องการเปิดเสรีสินค้าเกษตร การค้าบริการ และเรื่องใหม่ ๆ ที่มีผู้เสนอให้นำมาเจรจารอบใหม่ในกรอบ WTO แต่การเจรจาไม่สามารถมีข้อยุติได้จึงประสบความล้มเหลว
- สถานะล่าสุดในการประชุมรัฐมนตรีเอเปค ครั้งที่ 12 ซึ่งจัดขึ้นในเดือนพฤศจิกายน 2543 ได้เห็นชอบที่จะให้มีการเปิดการเจรจาพหุภาคีรอบใหม่โดยเร็ว
ประเด็นคำถาม เครื่องมือที่ต้องกำกับดูแลเรื่องนี้ มีอะไรเกี่ยวข้องบ้าง
แนวคำตอบ
- ได้มีการแก้ไขระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกับแนวทางปฏิบัติของสากล ได้แก่ กฎหมายที่สร้างความเป็นธรรมทางการค้าและป้องกันการเอาเปรียบจากต่างประเทศ เช่น
- พ.ร.บ. ตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุน ซึ่งสินค้าจากต่างประเทศ พ.ศ. 2542
- พ.ร.บ. การแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2542 และกำลังดำเนินยกร่างกฎหมาย เพื่อให้มีกฎหมายเฉพาะดูแลธุรกิจค้าปลีกขนาดใหญ่ทุกประเภท
- สำหรับการเตรียมการเจรจาการค้าในกรอบขององค์การการค้าโลก (WTO) นั้นกนศ. ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการว่าด้วยการเจรจาการค้าภายใต้ WTO โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เป็นประธาน และกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์เป็นฝ่ายเลขานุการ ประกอบด้วยผู้แทนจากหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ทำหน้าที่ในการเสนอแนะนโยบายและท่าทีของไทยในการเจรจา ให้ความรู้ความเข้าใจแก่หน่วยงานราชการและเอกชนเกี่ยวกับการเจรจาภายใต้ WTO รวมทั้งการเป็นศูนย์กลางประสานงาน เพื่อให้การเจรจาของไทยเกี่ยวกับเรื่องที่อยู่ในกรอบงานของ WTO มีเอกภาพในทุกเวทีการเจรจาทั้งใน APEC และ ASEM นอกจากนี้ ยังมีคณะกรรมการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในกรอบงานของ WTO ภายใต้ กนศ. อาทิเช่น คณะอนุกรรมการการค้าและสิ่งแวดล้อม คณะอนุกรรมการนโยบายการแข่งขันทางการค้า คณะอนุกรรมการติดตามผลกระทบจากการปฏิบัติตามข้อผูกพันในการเจรจาเศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศ คณะกรรมการประสานงานด้านการค้าบริการ คณะอนุกรรมการนโยบายสินค้าเทคโนโลยีชีวภาพ คณะทำงานด้านการค้าและการลงทุน เป็นต้น
- กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ ได้จัดทำแผนการจัดบรรยาย/สัมมนาทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค เพื่อให้ภาครัฐและภาคเอกชนทั่วไปได้ทราบถึงความเป็นมาและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากเวทีการค้าระหว่างประเทศต่างๆ ได้แก่ WTO ASEAN APEC และ ASEM รวมถึงการเตรียมความพร้อมเพื่อปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์การค้าโลกที่เปลี่ยนแปลงไป และนำเสนอผลการดำเนินงานต่อคณะอนุกรรมการเสริมสร้างความเข้าใจเรื่องการเปิดเสรี ภายใต้คณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ( กนศ.) โดยมีแผนการดำเนินงาน ดังนี้
- การสัมมนาในกรุงเทพฯ โดยเชิญปลัดกระทรวงเศรษฐกิจ 4 กระทรวงอภิปราย เรื่อง”การเปิดเสรี : ระเบิดเวลาหรือนาฬิกาปลุก” ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2544
- การจัดสัมมนาร่วมกับสำนักงานพาณิชย์จังหวัด/การประชุม กรอ. ของจังหวัด 30 จังหวัด
- การสัมมนาในเรื่องสินค้าเกษตรและสินค้าอุตสาหกรรมกับสมาคมต่างๆ ของภาคเอกชนในกรุงเทพฯ
ประเด็นคำถาม กฎหมายที่เกี่ยวข้องเป็นอย่างไร
แนวคำตอบ
กฎหมายที่เกี่ยวข้องที่สำคัญ มีดังนี้
- พ.ร.บ. การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2543
- อนุญาตให้คนต่างด้าวซึ่งมีหุ้นอันเป็นทุนหรือลงทุนตั้งแต่กึ่งหนึ่ง สามารถประกอบธุรกิจการค้าปลีกค้าส่งตามบัญชีสาม (14) และ (15) ของบัญชีท้ายพระราชบัญญัติ
- บัญชีสาม ธุรกิจที่คนไทยยังไม่พร้อมที่จะแข่งขันในการประกอบกิจการกับคนต่างด้าว (14) การค้าปลีกสินค้าทุกประเภทที่มีทุนขั้นต่ำ รวมทั้งสิ้นน้อยกว่าหนึ่งร้อยล้านบาท หรือมีทุนขั้นต่ำของแต่ละร้านน้อยกว่า สิบล้านบาท (15) การค้าส่งสินค้าทุกประเภทที่มีทุนขั้นต่ำของแต่ละร้านค้าน้อยกว่าหนึ่งร้อยล้านบาท
- ทุนขั้นต่ำจะกำหนดในกฎกระทรวงสำหรับแต่ละธุรกิจ ต้องไม่น้อยกว่าสามล้านบาท (กรมทะเบียนการค้าอยู่ระหว่างพิจารณากำหนดทุนขั้นต่ำที่เหมาะสมโดยต้องไม่น้อยกว่าสามล้านบาท)
ที่ผ่านมา รัฐบาลก็ได้เสนอผูกพันเปิดเสรีให้แก่ประเทศต่าง ๆ ที่เป็นสมาชิก WTO ไม่มากไปกว่าที่กฎหมายได้ให้อำนาจไว้ เช่น เปิดเสรีให้คนชาติของประเทศสมาชิก WTO เข้ามาประกอบธุรกิจต่าง ๆ ในประเทศไทยได้ แต่ต้องร่วมทุนกับคนไทยถือหุ้นไม่เกินร้อยละ 49 ซึ่งภายใต้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง รัฐบาลอาจเปิดเสรีให้คนต่างชาติถือหุ้นได้มากกว่าร้อยละ 49 แต่รัฐบาลก็ได้ผูกพันว่าจะให้ต่างชาติถือหุ้นได้ไม่เกินกว่าร้อยละ 49 ตรงกันข้ามประเทศที่พัฒนาแล้วส่วนใหญ่รวมทั้งประเทศอาเซียนบางประเทศได้ผูกพันเปิดเสรีให้คนชาติของประเทศสมาชิก WTO เข้าไปประกอบธุรกิจหลายอย่างในประเทศของตนเอง โดยลงทุนประกอบธุรกิจเป็นเจ้าของเองได้ 100% โดยไม่มีข้อจำกัดด้านนี้ อย่างไรก็ตาม กฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่ได้มีการตกลงกันไว้ในความตกลง จึงยังไม่อาจกล่าวได้ว่าได้สร้างความไม่เป็นธรรมให้แก่นักธุรกิจไทยแต่อย่างไร แต่การเปิดเสรีของไทย แม้ไม่ได้เป็นการเปิดเสรีอย่างเต็มที่ ก็อาจส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบธุรกิจของไทย เพราะจะต้องแข่งขันกับผู้ประกอบการของต่างชาติมากขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องที่รัฐบาลจะต้องร่วมมือกับเอกชนในการหาทางพัฒนาและส่งเสริมให้ผู้ประกอบธุรกิจของไทยมีความสามารถในการแข่งขัน เพื่ออยู่รอดและเพื่อประโยชน์โดยรวมของระบบเศรษฐกิจไทยต่อไป
- พ.ร.บ. ตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุน ซึ่งสินค้าจากต่างประเทศ พ.ศ. 2542 มีวัตถุประสงค์เพื่อรักษาผลประโยชน์ทางการค้าและป้องกันการเอารัดเอาเปรียบจากประเทศคู่ค้า เป็นสำคัญ
ประเด็นคำถาม ประโยชน์ที่ไทยจะได้รับ โฉมหน้าไทยหลังเปิดเสรีจะเป็นอย่างไร
แนวคำตอบ
- ประโยชน์ที่ไทยได้รับ
- ตลาดส่งออกขยายตัว ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมามีการเปิดตลาดเพิ่มขึ้น ส่งผลให้การส่งออกขยายตัวมีมูลค่าสูงถึง 3 ล้านบาท เกินครึ่งของ GDP เป็นสิ่งที่ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจให้ฟื้นตัวจากภาวะวิกฤต เกิดการจ้างงานและรายได้ ในท้ายที่สุดประชาชนก็จะมีการกินดีอยู่ดีและมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
- ไทยสามารถขยายตลาดสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมได้กว้างมากขึ้น ที่เห็นได้ชัด คือ สินค้าเกษตรมีโอกาสขยายการส่งออกได้กว้างขึ้น เช่น ส่งข้าวไปขายตลาดญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ ส่งน้ำตาลไปสหภาพยุโรป จากที่ไม่เคยส่งมาก่อนหรือส่งไปได้น้อยมากเนื่องจากบางปีผลผลิตภายในประเทศเหล่านั้นไม่เพียงพอ
ไทยได้ประโยชน์จากการลดภาษีน้อยกว่าและใช้เวลานานกว่าประเทศที่พัฒนาแล้ว
- สามารถนำข้อพิพาทไปฟ้องร้องได้ตามกระบวนการยุติข้อพิพาท
- ผู้ผลิตและผู้ส่งออกสามารถคาดการณ์และวางแผนการค้าล่วงหน้าได้ เนื่องจากมีความโปร่งใสและกำหนดเวลาที่ชัดเจน โดยเฉพาะเรื่องภาษีมีแผนการลดอัตราภาษีที่แน่นอน
- ประชาชนมีโอกาสและมีทางเลือกในการบริโภคเพิ่มขึ้น สามารถซื้อสินค้าได้หลากหลายและมีราคาถูก
- การเปลี่ยนแปลงของไทยหลังการเปิดเสรี
- จะมีการปฏิรูปเศรษฐกิจภายในประเทศ เช่น
- ปรับโครงสร้างการผลิตและการตลาด โดยการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้
- แก้ไขระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกับแนวทางปฏิบัติให้เป็นสากลมากขึ้น
- ปรับปรุงประสิทธิภาพขององค์กรของรัฐและเอกชน
- นำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในการดำเนินธุรกิจเพื่อให้ทันกับสังคมเศรษฐกิจใหม่ (New Economy)
- ให้ความสำคัญต่อความร่วมมือทั้งในระดับโลก ภูมิภาคและทวิภาคี
สำนักนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ มกราคม 2544
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623
--จบ--