เมื่อวันที่ 9-10 กุมภาพันธ์ 2544 เอเปคได้จัดการประชุมระดับสูงว่าด้วยพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์และการค้าไร้กระดาษ (APEC High-Level Symposium on E-Commerce and Paperless Trading) ขึ้น ณ กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมจากภาครัฐและภาคเอกชนจากสมาชิกเอเปคทั้ง 21 ประเทศ
วัตถุประสงค์ของการประชุม เพื่อให้แต่ละประเทศมีความตื่นตัวมากขึ้นในเรื่องการค้า ไร้กระดาษ เปิดโอกาสให้มีการหารือระหว่างกันมากขึ้น และชี้แนะแนวทางเพื่อให้แต่ละประเทศบรรลุเป้าหมายการค้าไร้กระดาษ ภายในปี 2548 (ค.ศ. 2005) สำหรับประเทศพัฒนาแล้ว และภายในปี 2553 (ค.ศ. 2010) สำหรับประเทศกำลังพัฒนา
สมาชิกเอเปคให้ความสำคัญกับประเด็นด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เป็นอย่างมาก โดยเริ่มตั้งแต่การประชุมผู้นำเอเปค ครั้งที่ 5 เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2540 ณ เมืองแวนคูเวอร์ แคนาดา โดยผู้นำเอเปคเห็นว่า พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เป็นเรื่องที่มีความสำคัญ และมอบหมายให้รัฐมนตรีเอเปคจัดทำแผนการดำเนินงานเรื่องพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับเอเปค จึงได้จัดตั้งกลุ่มเฉพาะกิจด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (APEC Electronic Commerce Task Force) ขึ้น เพื่อจัดทำ APEC Blueprint for Action on Electronic Commerce ขึ้น ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมรัฐมนตรีเอเปค ครั้งที่ 10 เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2541 ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ มาเลเซีย
หลังจากที่กลุ่มเฉพาะกิจฯ ได้หมดวาระลงได้มีการจัดตั้งคณะทำงานด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce Steering Group: ECSG) โดยมีสหรัฐฯ และไทยเป็นประธานคณะทำงานร่วม เพื่อดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ตาม Blueprint และประสานงานระหว่างคณะทำงานกลุ่มต่าง ๆ ของเอเปคที่มีกิจกรรมตรงกับกิจกรรมใน Blueprint
การดำเนินงานด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ภายใต้ความรวมมือเอเปกที่สำคัญ ได้แก่
กฎระเบียบสำหรับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ประเทศสมาชิกเอเปค เห็นว่า ทุกประเทศควรยึด UNCITRAL Model Law เป็นหลักในการออกกฎระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกรรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งรัฐมนตรีเอเปคได้ให้ความเห็นชอบกับหลังการดังกล่าว นอกจากนี้ ประเทศสมาชิกได้กรอกข้อมูลลงในแบบสอบถาม เพื่อสำรวจสถานะของประเทศสมาชิกเกี่ยวกับกฎหมายด้านธุรกรรมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
การคุ้มครองผู้บริโภค
ประเด็นด้านการคุ้มครองผู้บริโภคเป็นที่สนใจของประเทศสมาชิกเอปคหลายประเทศ ได้มีการจัดทำแผนงาน และแบบสอบถามเพื่อสำรวจสถานะด้านการคุ้มครองผู้บริโภคในเอเปค
วิสาหกิจขนาดกลางและย่อม (SMEs) กับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
สมาชิกเอเปคได้ผลักดันและสนับสนุนให้วิสาหกิจขนาดกลางและย่อม (SMEs) ใช้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ให้เป็นประโยชน์ให้มากที่สุด โดยดำเนินงานร่วมกับกลุ่มโทรคมนาคม และเสนอให้มีเวทีสำหรับการหารือในประเด็นและกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง เพื่อขยาย การใช้ประโยชน์จากพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในกลุ่มวิสาหกิจขนาดกลางและย่อม
การค้าไร้กระดาษ (Paperless Trading)
เป้าหมายการค้าไร้กระดาษภายในปี 2548 (ค.ศ. 2005) สำหรับประเทศพัฒนาแล้ว และภายในปี 2553 (ค.ศ. 2010) สำหรับประเทศกำลังพัฒนา โดยเรื่องดังกล่าวอยู่ในความรับผิดชอบของกลุ่มพิธีการศุลกากร และกลุ่มขนส่ง ซึ่งประเทศสมาชิกกำลังดำเนินการจัดตอบแบบสอบถามอยู่ นอกจากนี้ ได้มีการเสนอให้แต่ละประเทศจัดทำแผนปฏิบัติการ เพื่อบรรลุเป้าหมายการค้าไร้กระดาษ โดยให้แล้วเสร็จภายใน 2 เดือน แล้วเสนอให้ที่ประชุมรัฐมนตรีการค้า เอเปค ในเดือนมิถุนายน 2544 นี้ พิจารณา
การเตรียมความพร้อมของไทยด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
NECTEC ร่วมกับกระทรวงยุติธรรม ได้ดำเนินการยกร่างกฎหมายเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ และเสนอให้สภาผู้แทนพิจาณาแล้ว ขณะนี้ อยู่ระหว่างการพิจาณาของวุฒิสภาคาดว่า แล้วเสร็จประมาณกลางปี 2544 นอกจากนี้ ยังร่างกฎหมายอีกหลายฉบับที่เกี่ยวข้องการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์อยู่ในระหว่างการพิจารณาของผู้ที่เกี่ยวข้อง
สำหรับเรื่องการค้าไร้กระดาษที่ไทยจะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในปี 2553 (ค.ศ. 2010) ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับรัฐบาล กรมศุลกากรได้ดำเนินการในเรื่อง EDI (Electronic Data Interchange) ซึ่งเป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับด่านศุลกากรหลักทั่วประเทศเสร็จเรียบร้อยแล้ว และในระยะต่อไปก็จะขยายไปยังด่านศุลกากรทั่วประเทศ
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กุมภาพันธ์ 2544--
-ปส-
วัตถุประสงค์ของการประชุม เพื่อให้แต่ละประเทศมีความตื่นตัวมากขึ้นในเรื่องการค้า ไร้กระดาษ เปิดโอกาสให้มีการหารือระหว่างกันมากขึ้น และชี้แนะแนวทางเพื่อให้แต่ละประเทศบรรลุเป้าหมายการค้าไร้กระดาษ ภายในปี 2548 (ค.ศ. 2005) สำหรับประเทศพัฒนาแล้ว และภายในปี 2553 (ค.ศ. 2010) สำหรับประเทศกำลังพัฒนา
สมาชิกเอเปคให้ความสำคัญกับประเด็นด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เป็นอย่างมาก โดยเริ่มตั้งแต่การประชุมผู้นำเอเปค ครั้งที่ 5 เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2540 ณ เมืองแวนคูเวอร์ แคนาดา โดยผู้นำเอเปคเห็นว่า พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เป็นเรื่องที่มีความสำคัญ และมอบหมายให้รัฐมนตรีเอเปคจัดทำแผนการดำเนินงานเรื่องพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับเอเปค จึงได้จัดตั้งกลุ่มเฉพาะกิจด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (APEC Electronic Commerce Task Force) ขึ้น เพื่อจัดทำ APEC Blueprint for Action on Electronic Commerce ขึ้น ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมรัฐมนตรีเอเปค ครั้งที่ 10 เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2541 ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ มาเลเซีย
หลังจากที่กลุ่มเฉพาะกิจฯ ได้หมดวาระลงได้มีการจัดตั้งคณะทำงานด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce Steering Group: ECSG) โดยมีสหรัฐฯ และไทยเป็นประธานคณะทำงานร่วม เพื่อดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ตาม Blueprint และประสานงานระหว่างคณะทำงานกลุ่มต่าง ๆ ของเอเปคที่มีกิจกรรมตรงกับกิจกรรมใน Blueprint
การดำเนินงานด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ภายใต้ความรวมมือเอเปกที่สำคัญ ได้แก่
กฎระเบียบสำหรับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ประเทศสมาชิกเอเปค เห็นว่า ทุกประเทศควรยึด UNCITRAL Model Law เป็นหลักในการออกกฎระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกรรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งรัฐมนตรีเอเปคได้ให้ความเห็นชอบกับหลังการดังกล่าว นอกจากนี้ ประเทศสมาชิกได้กรอกข้อมูลลงในแบบสอบถาม เพื่อสำรวจสถานะของประเทศสมาชิกเกี่ยวกับกฎหมายด้านธุรกรรมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
การคุ้มครองผู้บริโภค
ประเด็นด้านการคุ้มครองผู้บริโภคเป็นที่สนใจของประเทศสมาชิกเอปคหลายประเทศ ได้มีการจัดทำแผนงาน และแบบสอบถามเพื่อสำรวจสถานะด้านการคุ้มครองผู้บริโภคในเอเปค
วิสาหกิจขนาดกลางและย่อม (SMEs) กับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
สมาชิกเอเปคได้ผลักดันและสนับสนุนให้วิสาหกิจขนาดกลางและย่อม (SMEs) ใช้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ให้เป็นประโยชน์ให้มากที่สุด โดยดำเนินงานร่วมกับกลุ่มโทรคมนาคม และเสนอให้มีเวทีสำหรับการหารือในประเด็นและกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง เพื่อขยาย การใช้ประโยชน์จากพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในกลุ่มวิสาหกิจขนาดกลางและย่อม
การค้าไร้กระดาษ (Paperless Trading)
เป้าหมายการค้าไร้กระดาษภายในปี 2548 (ค.ศ. 2005) สำหรับประเทศพัฒนาแล้ว และภายในปี 2553 (ค.ศ. 2010) สำหรับประเทศกำลังพัฒนา โดยเรื่องดังกล่าวอยู่ในความรับผิดชอบของกลุ่มพิธีการศุลกากร และกลุ่มขนส่ง ซึ่งประเทศสมาชิกกำลังดำเนินการจัดตอบแบบสอบถามอยู่ นอกจากนี้ ได้มีการเสนอให้แต่ละประเทศจัดทำแผนปฏิบัติการ เพื่อบรรลุเป้าหมายการค้าไร้กระดาษ โดยให้แล้วเสร็จภายใน 2 เดือน แล้วเสนอให้ที่ประชุมรัฐมนตรีการค้า เอเปค ในเดือนมิถุนายน 2544 นี้ พิจารณา
การเตรียมความพร้อมของไทยด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
NECTEC ร่วมกับกระทรวงยุติธรรม ได้ดำเนินการยกร่างกฎหมายเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ และเสนอให้สภาผู้แทนพิจาณาแล้ว ขณะนี้ อยู่ระหว่างการพิจาณาของวุฒิสภาคาดว่า แล้วเสร็จประมาณกลางปี 2544 นอกจากนี้ ยังร่างกฎหมายอีกหลายฉบับที่เกี่ยวข้องการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์อยู่ในระหว่างการพิจารณาของผู้ที่เกี่ยวข้อง
สำหรับเรื่องการค้าไร้กระดาษที่ไทยจะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในปี 2553 (ค.ศ. 2010) ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับรัฐบาล กรมศุลกากรได้ดำเนินการในเรื่อง EDI (Electronic Data Interchange) ซึ่งเป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับด่านศุลกากรหลักทั่วประเทศเสร็จเรียบร้อยแล้ว และในระยะต่อไปก็จะขยายไปยังด่านศุลกากรทั่วประเทศ
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กุมภาพันธ์ 2544--
-ปส-