มาตรการด้านการเกษตร
ร่างพระราชบัญญัติสภาเกษตรกรแห่งชาติ พ.ศ……..
เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2543 คณะรัฐมนตรี อนุมัติหลักการพระราชบัญญัติฯ ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ ร่างพระราชบัญญัติฯ เป็นการส่งเสริมให้เกิดการ รวมกลุ่มของเกษตรกร เพื่อวางแผนพัฒนาการเกษตรและเสริมสร้างความเข้มแข็งและศักยภาพให้แก่เกษตรกร โดยมีสาระสำคัญดังนี้
1. กำหนดให้มีสภาเกษตรกรแห่งชาติ ประกอบด้วยสมาชิกซึ่งเป็นผู้แทนจาก สภาเกษตรกรจังหวัด ๆ ละ 3 คน ทำหน้าที่กำหนดนโยบายเพื่อพัฒนาความเข้มแข็งแก่ องค์กรเกษตรกร จัดทำและเสนอแผนแม่บทและนโยบายการเกษตร ประสานการดำเนินการระหว่างองค์กรเกษตรกับรัฐ เสนอข้อแนะนำการแก้ไขปัญหาการเกษตรแก่รัฐ
2. กำหนดให้มีคณะกรรมการบริหารสภาฯ ประกอบด้วยประธานคนหนึ่งและกรรมการไม่เกิน 20 คน โดยมีเลขาธิการเป็นกรรมการและเลขานุการ ทำหน้าที่กำกับและ ตรวจสอบการดำเนินงานของเลขาธิการ
3. กำหนดให้จัดตั้งสำนักงานเลขาธิการสภาฯ โดยมีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบงาน ด้านธุรการของสภาฯ โดยมีเลขาธิการเป็นหัวหน้าสำนักงาน
4. กำหนดให้สำนักงานฯ มีรายได้จากค่าธรรมเนียมและค่าบำรุงจากสมาชิก งบประมาณแผ่นดินและเงินช่วยเหลือจากหน่วยงานของรัฐ
5. กำหนดให้แผนแม่บทเพื่อพัฒนาการเกษตรที่สภาฯ จัดทำขึ้นและ คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแล้ว ให้รายงานต่อรัฐสภา เพื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษา และมีผลผูกพันหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องต้องดำเนินการตามแผนแม่บทนั้น
6. กำหนดให้มีสภาเกษตรกรจังหวัด ประกอบด้วยสมาชิกซึ่งเป็นผู้แทนจาก องค์กรเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนไว้ต่อสภาเกษตรกรจังหวัด องค์กรละ 1 คน ทำหน้าที่พัฒนาและส่งเสริมความเข้มแข็งแก่องค์กรเกษตรกรในระดับจังหวัด ประสานนโยบายและการดำเนินงานระหว่างองค์กรเกษตรกรกับรัฐในระดับจังหวัด
7. กำหนดให้จัดตั้งสำนักงานเลขาธิการสภาเกษตรกรจังหวัดโดยมีอำนาจหน้าที่ รับผิดชอบงานด้านธุรการของสภาเกษตรกรจังหวัด
มาตรการด้านอุตสาหกรรม
การปรับลดอัตราอากรขาเข้าที่เกี่ยวข้องกับภาคอุตสาหกรรม
วันที่ 4 กรกฎาคม 2543 คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้ปรับลดอัตราอากรขาเข้า สำหรับวัตถุดิบขั้นปฐม ปัจจัยการผลิตขั้นกลาง สินค้าทุนและสินค้าอื่น ๆ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ เพื่อลดต้นทุนการผลิตในภาคอุตสาหกรรม รวมทั้งช่วยให้ภาคการผลิตในประเทศสามารถ แข่งขันในระดับโลกได้ ดังนี้
1. ลดอัตราอากรขาเข้ากระดาษ อลูมิเนียมฟอล์ย โพลีเอทิลีน แผ่นอลูมิเนียม และเหล็กแผ่นรีดร้อนเฉพาะที่นำมาใช้เพื่อผลิตเหล็กแผ่นเคลือบ (Tin Mill Black Plate : TMBP) ซึ่งเป็นปัจจัยในการผลิตบรรจุภัณฑ์ในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม จากร้อยละ 10 20 และ 30 เหลือร้อยละ 1 ยกเว้นกล่องกระดาษสำหรับบรรจุอาหาร และกระดาษเคลือบที่นำเข้ามาพิมพ์ให้ลดเหลือร้อยละ 5 และถุงพลาสติกเคลือบอลูมิเนียมเหลือร้อยละ 15
2. ลดอัตราอากรเยื่อใยยาว ซึ่งเป็นวัตถุดิบและปัจจัยการผลิตในอุตสาหกรรมกระดาษและเยื่อกระดาษ และผ้าสำหรับใช้กับเครื่องจักร (felt) จากร้อยละ 5 และ 10 เหลือร้อยละ 1
3. ลดอัตราอากรเคมีภัณฑ์ที่ใช้ในอุตสาหกรรมยางจากร้อยละ 5 เหลือร้อยละ 1 และยางสังเคราะห์ที่ใช้ผสมกับยางธรรมชาติจากร้อยละ 20 เหลือร้อยละ 10
4. ลดอัตราอากรสารปรุงแต่งสี และเคลือบเงาที่ใช้ในอุตสาหกรรมเซรามิกส์เหลือร้อยละ1 และ 5 ตามลำดับ
5. ลดอัตราอากรปัจจัยการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ปัจจัยการผลิตเข็มขัดนิรภัยและ ถุงลมนิรภัยเหลือร้อยละ 5 และเข็มขัดนิรภัยและถุงลมนิรภัยเหลือร้อยละ 10
6. ลดอัตราอากรลวดเหล็กสแตนเลส และเหล็กกล้ารอบสูงใช้ทำใบมีดใบเลื่อยจาก ร้อยละ 10 และ 12 เหลือร้อยละ 1
7. ลดอัตราอากรเครื่องจักร และอุปกรณ์ เช่น เครื่องอัดลม วาล์วนิรภัย มอเตอร์ และเครื่องจักรอื่น ๆ ที่ใช้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เหลือร้อยละ 3
8. ลดอัตราอากรเคมีภัณฑ์ ที่เป็นวัตถุดิบและปัจจัยการผลิตในอุตสาหกรรมที่สำคัญต่างๆ เช่น อุตสาหกรรมสิ่งทอ พลาสติก ยาง กระดาษ เภสัชกรรม และการแพทย์ เป็นต้น เหลือร้อยละ 1 (ยกเว้นบางรายการลดเหลือร้อยละ 5 และ 10)
9. สินค้าอื่น ๆ เช่น ไม้เท้าสำหรับคนพิการลดเหลือร้อยละ 0 เศษเนื้อสำหรับ เป็นอาหารสัตว์ ไม้สนที่ขัดเข้าลิ้น เยื่อไม้เคมีชนิดละลายน้ำได้ ลดเหลือร้อยละ 5 ชอคโกเล็ตและอาหารปรุงแต่งอื่น ๆ ที่มีโกโก้ ลดลงเหลือร้อยละ 10
อนึ่ง การปรับลดอากรขาเข้าครั้งนี้ มีจำนวนทั้งหมด 542 รายการ แม้จะทำให้รัฐ สูญเสียรายได้ปีละประมาณ 3,300 ล้านบาท แต่จะสามารถชดเชยได้จากการเก็บภาษีเงินได้และ ภาษีมูลค่าเพิ่มได้เพิ่มขึ้น รวมทั้งผู้บริโภคในประเทศจะสามารถซื้อสินค้าได้ในราคาที่ต่ำลง
มาตรการด้านอสังหาริมทรัพย์
ขยายระยะเวลาการถือครองอสังหาริมทรัพย์ของสถาบันการเงิน
ธนาคารแห่งประเทศไทยออกหนังสือเวียนลงวันที่ 28 กรกฎาคม 2543 อนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ (ไม่รวมกิจการวิเทศธนกิจ) บริษัทเงินทุน บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ขยายระยะเวลาการถือครองอสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับโอนมาก่อนวันที่ 1 มกราคม 2540 ออกไปอีก 5 ปี นับจากวันที่ครบกำหนดต้องจำหน่าย หรือวันที่ครบกำหนดผ่อนผัน โดย สถาบันการเงิน จะต้องเสนอรายละเอียดของอสังหาริมทรัพย์ และแผนการปรับลดยอดอสังหาริมทรัพย์ที่รอการขายดังกล่าวให้ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณา ยกเว้นอสังหาริมทรัพย์ที่สถาบันการเงินได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายกับผู้ซื้อแล้ว โดยระยะเวลาของสัญญาดังกล่าวต้องไม่เกิน 5 ปี และได้รับการชำระเงินแล้วไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ให้ถือว่าได้รับการผ่อนผันขยายระยะเวลาการถือครองไปถึงสิ้นสุดระยะเวลาแห่งสัญญานั้น
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-
ร่างพระราชบัญญัติสภาเกษตรกรแห่งชาติ พ.ศ……..
เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2543 คณะรัฐมนตรี อนุมัติหลักการพระราชบัญญัติฯ ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ ร่างพระราชบัญญัติฯ เป็นการส่งเสริมให้เกิดการ รวมกลุ่มของเกษตรกร เพื่อวางแผนพัฒนาการเกษตรและเสริมสร้างความเข้มแข็งและศักยภาพให้แก่เกษตรกร โดยมีสาระสำคัญดังนี้
1. กำหนดให้มีสภาเกษตรกรแห่งชาติ ประกอบด้วยสมาชิกซึ่งเป็นผู้แทนจาก สภาเกษตรกรจังหวัด ๆ ละ 3 คน ทำหน้าที่กำหนดนโยบายเพื่อพัฒนาความเข้มแข็งแก่ องค์กรเกษตรกร จัดทำและเสนอแผนแม่บทและนโยบายการเกษตร ประสานการดำเนินการระหว่างองค์กรเกษตรกับรัฐ เสนอข้อแนะนำการแก้ไขปัญหาการเกษตรแก่รัฐ
2. กำหนดให้มีคณะกรรมการบริหารสภาฯ ประกอบด้วยประธานคนหนึ่งและกรรมการไม่เกิน 20 คน โดยมีเลขาธิการเป็นกรรมการและเลขานุการ ทำหน้าที่กำกับและ ตรวจสอบการดำเนินงานของเลขาธิการ
3. กำหนดให้จัดตั้งสำนักงานเลขาธิการสภาฯ โดยมีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบงาน ด้านธุรการของสภาฯ โดยมีเลขาธิการเป็นหัวหน้าสำนักงาน
4. กำหนดให้สำนักงานฯ มีรายได้จากค่าธรรมเนียมและค่าบำรุงจากสมาชิก งบประมาณแผ่นดินและเงินช่วยเหลือจากหน่วยงานของรัฐ
5. กำหนดให้แผนแม่บทเพื่อพัฒนาการเกษตรที่สภาฯ จัดทำขึ้นและ คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแล้ว ให้รายงานต่อรัฐสภา เพื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษา และมีผลผูกพันหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องต้องดำเนินการตามแผนแม่บทนั้น
6. กำหนดให้มีสภาเกษตรกรจังหวัด ประกอบด้วยสมาชิกซึ่งเป็นผู้แทนจาก องค์กรเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนไว้ต่อสภาเกษตรกรจังหวัด องค์กรละ 1 คน ทำหน้าที่พัฒนาและส่งเสริมความเข้มแข็งแก่องค์กรเกษตรกรในระดับจังหวัด ประสานนโยบายและการดำเนินงานระหว่างองค์กรเกษตรกรกับรัฐในระดับจังหวัด
7. กำหนดให้จัดตั้งสำนักงานเลขาธิการสภาเกษตรกรจังหวัดโดยมีอำนาจหน้าที่ รับผิดชอบงานด้านธุรการของสภาเกษตรกรจังหวัด
มาตรการด้านอุตสาหกรรม
การปรับลดอัตราอากรขาเข้าที่เกี่ยวข้องกับภาคอุตสาหกรรม
วันที่ 4 กรกฎาคม 2543 คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้ปรับลดอัตราอากรขาเข้า สำหรับวัตถุดิบขั้นปฐม ปัจจัยการผลิตขั้นกลาง สินค้าทุนและสินค้าอื่น ๆ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ เพื่อลดต้นทุนการผลิตในภาคอุตสาหกรรม รวมทั้งช่วยให้ภาคการผลิตในประเทศสามารถ แข่งขันในระดับโลกได้ ดังนี้
1. ลดอัตราอากรขาเข้ากระดาษ อลูมิเนียมฟอล์ย โพลีเอทิลีน แผ่นอลูมิเนียม และเหล็กแผ่นรีดร้อนเฉพาะที่นำมาใช้เพื่อผลิตเหล็กแผ่นเคลือบ (Tin Mill Black Plate : TMBP) ซึ่งเป็นปัจจัยในการผลิตบรรจุภัณฑ์ในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม จากร้อยละ 10 20 และ 30 เหลือร้อยละ 1 ยกเว้นกล่องกระดาษสำหรับบรรจุอาหาร และกระดาษเคลือบที่นำเข้ามาพิมพ์ให้ลดเหลือร้อยละ 5 และถุงพลาสติกเคลือบอลูมิเนียมเหลือร้อยละ 15
2. ลดอัตราอากรเยื่อใยยาว ซึ่งเป็นวัตถุดิบและปัจจัยการผลิตในอุตสาหกรรมกระดาษและเยื่อกระดาษ และผ้าสำหรับใช้กับเครื่องจักร (felt) จากร้อยละ 5 และ 10 เหลือร้อยละ 1
3. ลดอัตราอากรเคมีภัณฑ์ที่ใช้ในอุตสาหกรรมยางจากร้อยละ 5 เหลือร้อยละ 1 และยางสังเคราะห์ที่ใช้ผสมกับยางธรรมชาติจากร้อยละ 20 เหลือร้อยละ 10
4. ลดอัตราอากรสารปรุงแต่งสี และเคลือบเงาที่ใช้ในอุตสาหกรรมเซรามิกส์เหลือร้อยละ1 และ 5 ตามลำดับ
5. ลดอัตราอากรปัจจัยการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ปัจจัยการผลิตเข็มขัดนิรภัยและ ถุงลมนิรภัยเหลือร้อยละ 5 และเข็มขัดนิรภัยและถุงลมนิรภัยเหลือร้อยละ 10
6. ลดอัตราอากรลวดเหล็กสแตนเลส และเหล็กกล้ารอบสูงใช้ทำใบมีดใบเลื่อยจาก ร้อยละ 10 และ 12 เหลือร้อยละ 1
7. ลดอัตราอากรเครื่องจักร และอุปกรณ์ เช่น เครื่องอัดลม วาล์วนิรภัย มอเตอร์ และเครื่องจักรอื่น ๆ ที่ใช้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เหลือร้อยละ 3
8. ลดอัตราอากรเคมีภัณฑ์ ที่เป็นวัตถุดิบและปัจจัยการผลิตในอุตสาหกรรมที่สำคัญต่างๆ เช่น อุตสาหกรรมสิ่งทอ พลาสติก ยาง กระดาษ เภสัชกรรม และการแพทย์ เป็นต้น เหลือร้อยละ 1 (ยกเว้นบางรายการลดเหลือร้อยละ 5 และ 10)
9. สินค้าอื่น ๆ เช่น ไม้เท้าสำหรับคนพิการลดเหลือร้อยละ 0 เศษเนื้อสำหรับ เป็นอาหารสัตว์ ไม้สนที่ขัดเข้าลิ้น เยื่อไม้เคมีชนิดละลายน้ำได้ ลดเหลือร้อยละ 5 ชอคโกเล็ตและอาหารปรุงแต่งอื่น ๆ ที่มีโกโก้ ลดลงเหลือร้อยละ 10
อนึ่ง การปรับลดอากรขาเข้าครั้งนี้ มีจำนวนทั้งหมด 542 รายการ แม้จะทำให้รัฐ สูญเสียรายได้ปีละประมาณ 3,300 ล้านบาท แต่จะสามารถชดเชยได้จากการเก็บภาษีเงินได้และ ภาษีมูลค่าเพิ่มได้เพิ่มขึ้น รวมทั้งผู้บริโภคในประเทศจะสามารถซื้อสินค้าได้ในราคาที่ต่ำลง
มาตรการด้านอสังหาริมทรัพย์
ขยายระยะเวลาการถือครองอสังหาริมทรัพย์ของสถาบันการเงิน
ธนาคารแห่งประเทศไทยออกหนังสือเวียนลงวันที่ 28 กรกฎาคม 2543 อนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ (ไม่รวมกิจการวิเทศธนกิจ) บริษัทเงินทุน บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ขยายระยะเวลาการถือครองอสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับโอนมาก่อนวันที่ 1 มกราคม 2540 ออกไปอีก 5 ปี นับจากวันที่ครบกำหนดต้องจำหน่าย หรือวันที่ครบกำหนดผ่อนผัน โดย สถาบันการเงิน จะต้องเสนอรายละเอียดของอสังหาริมทรัพย์ และแผนการปรับลดยอดอสังหาริมทรัพย์ที่รอการขายดังกล่าวให้ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณา ยกเว้นอสังหาริมทรัพย์ที่สถาบันการเงินได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายกับผู้ซื้อแล้ว โดยระยะเวลาของสัญญาดังกล่าวต้องไม่เกิน 5 ปี และได้รับการชำระเงินแล้วไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ให้ถือว่าได้รับการผ่อนผันขยายระยะเวลาการถือครองไปถึงสิ้นสุดระยะเวลาแห่งสัญญานั้น
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-