ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจในเดือนมีนาคมและแนวโน้มระยะสั้นภาคใต้
ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจโดยรวมที่จัดทำจากผลการสำรวจประจำเดือนมีนาคม 2543 โดยส่วนวิชาการ สำนักงานภาคใต้ สรุปผลจากแบบสำรวจของผู้ประกอบการจำนวน 64 ราย หรือร้อยละ 32.0 ของจำนวนแบบสำรวจทั้งสิ้น ได้ข้อสรุปดังนี้
1. ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจเดือนมีนาคม อยู่ในระดับที่ผ่านพ้นเกณฑ์ ตกต่ำแล้วเป็นเดือนที่สอง และมีแนวโน้มทรงตัวในระยะ 4 เดือนข้างหน้า
ภาวะการฟื้นตัวของธุรกิจมีความชัดเจนมากขึ้น โดยดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจในเดือนมีนาคม ทรงตัวอยู่ที่ระดับร้อยละ 50.9 สูงกว่าเกณฑ์เฉลี่ยที่ร้อยละ 50.0 ซึ่งชี้ว่าระดับความเชื่อมั่นทางธุรกิจเริ่มมีเสถียรภาพและได้ผ่านพ้นเกณฑ์ตกต่ำต่อเนื่องเป็นเดือนที่สอง เนื่องจากแนวโน้มการขยายตัวของการส่งออกและการท่องเที่ยว ตลอดจนอำนาจซื้อของประชาชนยังคงอยู่ในระดับที่สูง ทำให้ฐานะการดำเนินงานของผู้ประกอบการสูงขึ้น อย่างไรก็ตามภาวะราคาน้ำมันยังคงเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ โดยราคาน้ำมันที่สูงขึ้น อาจจะส่งผลกระทบในทางลบทั้งต่ออัตราเงินเฟ้อ การใช้จ่ายในการบริโภค และการลงทุนในประเทศ เพราะระดับราคาน้ำมันที่ปรับเพิ่มขึ้นอย่างมากนั้น ทำให้ต้นทุนของผู้ผลิตเพิ่มขึ้น จึงเป็นแรงกดดันต่อการปรับเพิ่มระดับราคา สินค้า ส่งผลให้ภาระของผู้บริโภคในประเทศสูงขึ้น อาจทำให้การใช้จ่ายในรายการที่ไม่ค่อยมีความจำเป็นลดลง ดังนั้น เมื่อผู้บริโภคเริ่มปรับลดการใช้จ่าย แรงจูงใจของผู้ผลิตที่จะทำการลงทุนคง ลดลงตามไปด้วย
2. ตัวแปรอื่น ๆ ที่มีผลต่อการปรับตัวของธุรกิจที่ไม่รวมอยู่ในองค์ประกอบของดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจที่น่าสังเกต ได้แก่
1. ปริมาณสินค้าคงคลัง เพื่อเป็นการลดภาระต้นทุนด้านการจัดเก็บสินค้า ผู้ประกอบการสามารถรักษาปริมาณวัตถุดิบและสินค้าสำเร็จรูปอยู่ในระดับที่เหมาะสม โดยดัชนีปริมาณสินค้าคงคลังมีค่าเท่ากับร้อยละ 52.2
2. การแข่งขันทางธุรกิจ การแข่งขันภายในประเทศสถานการณ์รุนแรงขึ้น เนื่องจากมีการนำสินค้าคงเหลือออกมาจำหน่ายในราคาที่ต่ำลง ขณะที่การแข่งขันระหว่างประเทศสถานการณ์คลี่คลายดีขึ้น แต่ยังคงอยู่ในระดับที่สูง โดยดัชนีอยู่ที่ระดับร้อยละ 37.5 และ 42.0 ตามลำดับ
3. ภาวะการเงินเดือนมีนาคม แนวโน้มการฟื้นตัวของธุรกิจที่มีอย่างเด่นชัดขึ้น เนื่องจากสถาบันการเงินปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงจนอยู่ในระดับที่ต่ำ ทำให้ต้นทุนทางการเงินมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง และความคืบหน้าของการปรับโครงสร้างหนี้ ส่งผลให้ผู้ประกอบการมีความเชื่อมั่นว่าสภาพคล่องในตลาดเงินยังอยู่ในเกณฑ์ที่ดี และยังคงให้เครดิตแก่ลูกค้า
4. แนวโน้มตลาดเงินช่วงเดือนเมษายน - กรกฎาคม มีแนวโน้มที่ดีตามภาวะการฟื้นตัวของธุรกิจ ดัชนีอัตราดอกเบี้ย และสภาพคล่อง อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาในส่วนของสภาพคล่อง พบว่า ผู้ประกอบการส่วนใหญ่เห็นว่าสภาพคล่องในระบบเศรษฐกิจมีแนวโน้ม ลดลง เนื่องจากภาครัฐ สถาบันการเงินและบริษัทรายใหญ่ ๆ ได้ทะยอยออกขายพันธบัตร และ หุ้นกู้ ตลอดจนการเพิ่มทุนของธนาคารพาณิชย์ ส่งผลให้สภาพคล่องถูกดูดซับออกจากระบบเป็นจำนวนมาก ขณะที่ค่าเงินบาทมีแนวโน้มที่แข็งค่าขึ้นอยู่ที่ระดับร้อยละ 46.1 ทั้งนี้ คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อภาวะการแข่งขันในการส่งออก
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-
ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจโดยรวมที่จัดทำจากผลการสำรวจประจำเดือนมีนาคม 2543 โดยส่วนวิชาการ สำนักงานภาคใต้ สรุปผลจากแบบสำรวจของผู้ประกอบการจำนวน 64 ราย หรือร้อยละ 32.0 ของจำนวนแบบสำรวจทั้งสิ้น ได้ข้อสรุปดังนี้
1. ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจเดือนมีนาคม อยู่ในระดับที่ผ่านพ้นเกณฑ์ ตกต่ำแล้วเป็นเดือนที่สอง และมีแนวโน้มทรงตัวในระยะ 4 เดือนข้างหน้า
ภาวะการฟื้นตัวของธุรกิจมีความชัดเจนมากขึ้น โดยดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจในเดือนมีนาคม ทรงตัวอยู่ที่ระดับร้อยละ 50.9 สูงกว่าเกณฑ์เฉลี่ยที่ร้อยละ 50.0 ซึ่งชี้ว่าระดับความเชื่อมั่นทางธุรกิจเริ่มมีเสถียรภาพและได้ผ่านพ้นเกณฑ์ตกต่ำต่อเนื่องเป็นเดือนที่สอง เนื่องจากแนวโน้มการขยายตัวของการส่งออกและการท่องเที่ยว ตลอดจนอำนาจซื้อของประชาชนยังคงอยู่ในระดับที่สูง ทำให้ฐานะการดำเนินงานของผู้ประกอบการสูงขึ้น อย่างไรก็ตามภาวะราคาน้ำมันยังคงเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ โดยราคาน้ำมันที่สูงขึ้น อาจจะส่งผลกระทบในทางลบทั้งต่ออัตราเงินเฟ้อ การใช้จ่ายในการบริโภค และการลงทุนในประเทศ เพราะระดับราคาน้ำมันที่ปรับเพิ่มขึ้นอย่างมากนั้น ทำให้ต้นทุนของผู้ผลิตเพิ่มขึ้น จึงเป็นแรงกดดันต่อการปรับเพิ่มระดับราคา สินค้า ส่งผลให้ภาระของผู้บริโภคในประเทศสูงขึ้น อาจทำให้การใช้จ่ายในรายการที่ไม่ค่อยมีความจำเป็นลดลง ดังนั้น เมื่อผู้บริโภคเริ่มปรับลดการใช้จ่าย แรงจูงใจของผู้ผลิตที่จะทำการลงทุนคง ลดลงตามไปด้วย
2. ตัวแปรอื่น ๆ ที่มีผลต่อการปรับตัวของธุรกิจที่ไม่รวมอยู่ในองค์ประกอบของดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจที่น่าสังเกต ได้แก่
1. ปริมาณสินค้าคงคลัง เพื่อเป็นการลดภาระต้นทุนด้านการจัดเก็บสินค้า ผู้ประกอบการสามารถรักษาปริมาณวัตถุดิบและสินค้าสำเร็จรูปอยู่ในระดับที่เหมาะสม โดยดัชนีปริมาณสินค้าคงคลังมีค่าเท่ากับร้อยละ 52.2
2. การแข่งขันทางธุรกิจ การแข่งขันภายในประเทศสถานการณ์รุนแรงขึ้น เนื่องจากมีการนำสินค้าคงเหลือออกมาจำหน่ายในราคาที่ต่ำลง ขณะที่การแข่งขันระหว่างประเทศสถานการณ์คลี่คลายดีขึ้น แต่ยังคงอยู่ในระดับที่สูง โดยดัชนีอยู่ที่ระดับร้อยละ 37.5 และ 42.0 ตามลำดับ
3. ภาวะการเงินเดือนมีนาคม แนวโน้มการฟื้นตัวของธุรกิจที่มีอย่างเด่นชัดขึ้น เนื่องจากสถาบันการเงินปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงจนอยู่ในระดับที่ต่ำ ทำให้ต้นทุนทางการเงินมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง และความคืบหน้าของการปรับโครงสร้างหนี้ ส่งผลให้ผู้ประกอบการมีความเชื่อมั่นว่าสภาพคล่องในตลาดเงินยังอยู่ในเกณฑ์ที่ดี และยังคงให้เครดิตแก่ลูกค้า
4. แนวโน้มตลาดเงินช่วงเดือนเมษายน - กรกฎาคม มีแนวโน้มที่ดีตามภาวะการฟื้นตัวของธุรกิจ ดัชนีอัตราดอกเบี้ย และสภาพคล่อง อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาในส่วนของสภาพคล่อง พบว่า ผู้ประกอบการส่วนใหญ่เห็นว่าสภาพคล่องในระบบเศรษฐกิจมีแนวโน้ม ลดลง เนื่องจากภาครัฐ สถาบันการเงินและบริษัทรายใหญ่ ๆ ได้ทะยอยออกขายพันธบัตร และ หุ้นกู้ ตลอดจนการเพิ่มทุนของธนาคารพาณิชย์ ส่งผลให้สภาพคล่องถูกดูดซับออกจากระบบเป็นจำนวนมาก ขณะที่ค่าเงินบาทมีแนวโน้มที่แข็งค่าขึ้นอยู่ที่ระดับร้อยละ 46.1 ทั้งนี้ คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อภาวะการแข่งขันในการส่งออก
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-