1. สถานการณ์สินค้า
1.1 สินค้าที่มีปัญหา
สัปดาห์นี้ไม่มีสินค้าที่มีปัญหา
1.2 สินค้าที่ต้องคอยเฝ้าระวัง
เนื้อโค : การเกิดโรคระบาดปากและเท้าเปื่อยในโคในประเทศผู้ส่งออกเนื้อโค
เมื่อเร็ว ๆ นี้มีการระบาดของโรคปากและเท้าเปื่อยในโคในประเทศเกาหลีใต้ ทำให้เกาหลีใต้ต้องทำลายโคทิ้งจำนวน 105 ตัว และประเทศผู้นำเข้า เช่น ญี่ปุ่น สิงคโปร์ และไต้หวันได้ประกาศงดนำเข้าเนื้อโคจากเกาหลีใต้ และต่อมาได้มีการระบาดของโรคนี้ในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งคาดว่าสาเหตุมาจากฟางแห้งที่ญี่ปุ่นนำเข้ามาเป็นอาหารสัตว์ และญี่ปุ่นได้งดการนำเข้าฟางจากทั้งจีนและเกาหลีใต้แล้ว อย่างไรก็ตามเนื้อโค-กระบือที่ไทยนำเข้าส่วนใหญ่มาจากประเทศออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อเมริกา และจำนวนเล็กน้อยจากญี่ปุ่น แต่ไม่มีการนำเข้าจากประเทศเกาหลีใต้
โรคปากและเท้าเปื่อยเป็นโรคที่ติดต่อสำคัญในสัตว์กีบ ลักษณะโรคที่สำคัญคือมีแผลบริเวณปากและถ้ามีอาการมาก เชื้อโรคจะลงไปที่กีบซึ่งทำให้สัตว์กินอาหารและเคลื่อนไหวลำบาก ถ้าอาการรุนแรงจะกินอาหารไม่ได้และเดินไม่ได้เพราะกีบหลุด สัตว์จะตาย แต่ถ้าไม่ตายจะสูญเสียทางเศรษฐกิจเพราะต้องใช้เวลาฟื้นตัวนาน เจ้าของมักทำลายทิ้งเพื่อป้องกันการระบาดด้วย ในประเทศไทยมีโรคนี้ระบาดเล็กน้อยเป็นครั้งคราวทั้งในโคและสุกร แต่สามารถปราบโรคได้ก่อนที่จะระบาดไปแหล่งอื่น
ข้อคิดเห็น
สัตว์ที่เป็นโรคปากและเท้าเปื่อยถึงแม้ว่าไม่ทำให้สัตว์ตายทันที แต่ทำให้เสียเศรษฐกิจ เพราะเมื่อมีข่าวว่ามีการระบาดของโรคนี้ ฟาร์มที่อยู่ใกล้เคียงหรือฟาร์มที่ไม่ได้ทำการฉีดวัคซีนป้องกันตามระยะ ๆ ที่ควรต้องทำ เกรงว่าฟาร์มของตนเองจะติดโรค จะจำหน่ายสัตว์ออกก่อนเวลาที่ควร ทำให้มีจำนวนสัตว์เกินความต้องการของตลาด ราคาที่ขายได้จะต่ำผู้เลี้ยงจะขาดทุน
สำหรับประเทศไทยนอกจากมีการลักลอบนำเข้าโค-กระบือมีชีวิตตามชายแดนจากประเทศเพื่อนบ้าน เช่น เมียนมาร์ กัมพูชา และลาวแล้ว ยังพบการลักลอบนำเข้าเนื้อโค-กระบือตามชายแดนทั้งทางภาคเหนือและภาคใต้อีกครั้งละจำนวนมาก ๆ เมื่อตรวจจับผู้ที่เกี่ยวข้องได้ควรมีการลงโทษขั้นสูงสุดของตัวบทกฎหมายที่กำหนดไว้ และในกรณีที่มีการนำเข้าโค-กระบือมีชีวิตอย่างถูกต้อง ซึ่งในปี 2542 มีการนำเข้าโค-กระบือจำนวนมากกว่า 130,000 ตัว จากประเทศเพื่อนบ้าน จะต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์อย่างเข้มงวด เช่นมีใบรับรองสุขภาพสัตว์จากประเทศผู้ส่งออก และผ่านการฉีดวัคซีนและต้องนำสัตว์เหล่านั้นไปไว้ที่พักสัตว์เพื่อสัตวแพทย์ได้ตรวจสอบ เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อป้องกันการนำโรคมาระบาดในประเทศ
2. สถานการณ์สินค้าเกษตรที่สำคัญ
น้ำนมดิบ : สถานการณ์น้ำนมดิบ
ขณะนี้ได้เกิดภาวะเสมือนน้ำนมดิบที่ผลิตได้ในประเทศล้นตลาด แต่ในความเป็นจริงน้ำนมที่ผลิตได้ในปัจจุบันยังไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ในการผลิตนมพร้อมดื่ม แต่ที่มีนมเหลือจนบริษัทต่าง ๆ ที่ผลิตนมพร้อมดื่มไม่สามารถจะรับได้นั้น มีสาเหตุมาจาก
1. ตั้งแต่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจประชาชนลดการบริโภคนมลง ทำให้ยอดขายของบริษัทต่าง ๆ ลดลง ทำให้ผลผลิตค้างสต็อกมากขึ้น
2.ในช่วงโรงเรียนปิดเทอมบริษัทต่าง ๆ ที่ผลิตนมส่งให้แก่โรงเรียนในโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียนหยุดการผลิตจึงไม่ได้รับซื้อน้ำนมดิบ ทำให้น้ำนมดิบเหลือมาก จนกระทั่งศูนย์รวมนมหลายแหล่งไม่สามารถรับน้ำนมได้ทั้งหมด
3. มีผู้ประกอบการที่ผลิตนมพร้อมดื่มบางรายนำนมผง และบางรายนำ Whole milk powder มาละลายน้ำทำเป็นนมพร้อมดื่ม แทนที่จะใช้น้ำนมดิบที่ผลิตได้ภายในประเทศเป็นวัตถุดิบในการผลิต
จากสาเหตุดังกล่าวทำให้เกิดภาวะที่เสมือนน้ำนมดิบเกินความต้องการ โดยเฉพาะสาเหตุในข้อ 3 ส่งผลกระทบต่อธุรกิจการเลี้ยงโคนมและธุรกิจแปรรูปนมจนทำให้เกิดปัญหาดังเช่นที่เป็นอยู่ในขณะนี้ เพราะนอกจากจะทำให้เกษตรกรขายน้ำนมดิบไม่ได้แล้วยังเป็นการเอาเปรียบผู้ประกอบการนมพร้อมดื่มที่ใช้น้ำนมดิบเป็นวัตถุดิบ รวมทั้งเอาเปรียบผู้บริโภคด้วย กล่าวคือ
1. ในส่วนของผู้ผลิตที่ใช้น้ำนมดิบจะเสียเปรียบผู้ที่นำนมผงมาละลายน้ำ เพราะจะต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงกว่า เนื่องจากราคาน้ำนมดิบที่โรงงานต่าง ๆ รับซื้อจะต้องซื้อในราคากิโลกรัมละ 12.50 บาท ขณะที่ถ้าใช้หางนมผงมาละลายน้ำจะเสียค่าใช้จ่ายในการผลิตนมพร้อมดื่มเพียงประมาณกิโลกรัมละ 9 บาท (ราคานำเข้านมผงเฉลี่ย ปี 2542 กิโลกรัมละ 59.14 บาท ราคามันเนยกิโลกรัมละ 75.19 บาท) และถ้าใช้ Whole milk powder มาละลายน้ำจะเสียค่าใช้จ่ายประมาณกิโลกรัมละ 13.00-13.50 บาท (ราคานำเข้า Whole milk powder เฉลี่ยปี 2542 กิโลกรัมละ 92.34 บาท) ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับการใช้น้ำนมดิบแล้ว ต้นทุนก็ยังต่ำกว่า
2. ในส่วนของผู้บริโภค จะถูกเอารัดเอาเปรียบโดยได้บริโภคสินค้าที่มีคุณค่าทางโภชนาการด้อยลง แต่ต้องซื้อสินค้าในราคาเท่ากับนมพร้อมดื่มที่ได้จากน้ำนมดิบที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงกว่า
ดังนั้น รัฐบาลจึงได้พยายามผลักดันให้หน่วยงานราชการที่ได้รับงบประมาณโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน ซื้อนมพร้อมดื่มที่ผลิตจากน้ำนมดิบจากเกษตรกรในประเทศเท่านั้น โดยให้คณะกรรมการนโยบายและพัฒนาการปศุสัตว์แห่งชาติ เป็นผู้ตรวจสอบและออกใบรับรองให้ผู้ประกอบการเพื่อใช้แสดงต่อโรงเรียนในการจำหน่ายนมพร้อมดื่มให้กับโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน และให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ประสานงานกับกระทรวงพาณิชย์ เพื่อหาแนวทางดำเนินการกำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติมสำหรับผู้นำเข้านมผงธรรมดาที่มีไขมันเกิน 1.5% (Whole milk powder) เพื่อไม่ให้กระทบต่อระเบียบปฏิบัติของ WTO-- จบ--
-อน-
1.1 สินค้าที่มีปัญหา
สัปดาห์นี้ไม่มีสินค้าที่มีปัญหา
1.2 สินค้าที่ต้องคอยเฝ้าระวัง
เนื้อโค : การเกิดโรคระบาดปากและเท้าเปื่อยในโคในประเทศผู้ส่งออกเนื้อโค
เมื่อเร็ว ๆ นี้มีการระบาดของโรคปากและเท้าเปื่อยในโคในประเทศเกาหลีใต้ ทำให้เกาหลีใต้ต้องทำลายโคทิ้งจำนวน 105 ตัว และประเทศผู้นำเข้า เช่น ญี่ปุ่น สิงคโปร์ และไต้หวันได้ประกาศงดนำเข้าเนื้อโคจากเกาหลีใต้ และต่อมาได้มีการระบาดของโรคนี้ในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งคาดว่าสาเหตุมาจากฟางแห้งที่ญี่ปุ่นนำเข้ามาเป็นอาหารสัตว์ และญี่ปุ่นได้งดการนำเข้าฟางจากทั้งจีนและเกาหลีใต้แล้ว อย่างไรก็ตามเนื้อโค-กระบือที่ไทยนำเข้าส่วนใหญ่มาจากประเทศออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อเมริกา และจำนวนเล็กน้อยจากญี่ปุ่น แต่ไม่มีการนำเข้าจากประเทศเกาหลีใต้
โรคปากและเท้าเปื่อยเป็นโรคที่ติดต่อสำคัญในสัตว์กีบ ลักษณะโรคที่สำคัญคือมีแผลบริเวณปากและถ้ามีอาการมาก เชื้อโรคจะลงไปที่กีบซึ่งทำให้สัตว์กินอาหารและเคลื่อนไหวลำบาก ถ้าอาการรุนแรงจะกินอาหารไม่ได้และเดินไม่ได้เพราะกีบหลุด สัตว์จะตาย แต่ถ้าไม่ตายจะสูญเสียทางเศรษฐกิจเพราะต้องใช้เวลาฟื้นตัวนาน เจ้าของมักทำลายทิ้งเพื่อป้องกันการระบาดด้วย ในประเทศไทยมีโรคนี้ระบาดเล็กน้อยเป็นครั้งคราวทั้งในโคและสุกร แต่สามารถปราบโรคได้ก่อนที่จะระบาดไปแหล่งอื่น
ข้อคิดเห็น
สัตว์ที่เป็นโรคปากและเท้าเปื่อยถึงแม้ว่าไม่ทำให้สัตว์ตายทันที แต่ทำให้เสียเศรษฐกิจ เพราะเมื่อมีข่าวว่ามีการระบาดของโรคนี้ ฟาร์มที่อยู่ใกล้เคียงหรือฟาร์มที่ไม่ได้ทำการฉีดวัคซีนป้องกันตามระยะ ๆ ที่ควรต้องทำ เกรงว่าฟาร์มของตนเองจะติดโรค จะจำหน่ายสัตว์ออกก่อนเวลาที่ควร ทำให้มีจำนวนสัตว์เกินความต้องการของตลาด ราคาที่ขายได้จะต่ำผู้เลี้ยงจะขาดทุน
สำหรับประเทศไทยนอกจากมีการลักลอบนำเข้าโค-กระบือมีชีวิตตามชายแดนจากประเทศเพื่อนบ้าน เช่น เมียนมาร์ กัมพูชา และลาวแล้ว ยังพบการลักลอบนำเข้าเนื้อโค-กระบือตามชายแดนทั้งทางภาคเหนือและภาคใต้อีกครั้งละจำนวนมาก ๆ เมื่อตรวจจับผู้ที่เกี่ยวข้องได้ควรมีการลงโทษขั้นสูงสุดของตัวบทกฎหมายที่กำหนดไว้ และในกรณีที่มีการนำเข้าโค-กระบือมีชีวิตอย่างถูกต้อง ซึ่งในปี 2542 มีการนำเข้าโค-กระบือจำนวนมากกว่า 130,000 ตัว จากประเทศเพื่อนบ้าน จะต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์อย่างเข้มงวด เช่นมีใบรับรองสุขภาพสัตว์จากประเทศผู้ส่งออก และผ่านการฉีดวัคซีนและต้องนำสัตว์เหล่านั้นไปไว้ที่พักสัตว์เพื่อสัตวแพทย์ได้ตรวจสอบ เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อป้องกันการนำโรคมาระบาดในประเทศ
2. สถานการณ์สินค้าเกษตรที่สำคัญ
น้ำนมดิบ : สถานการณ์น้ำนมดิบ
ขณะนี้ได้เกิดภาวะเสมือนน้ำนมดิบที่ผลิตได้ในประเทศล้นตลาด แต่ในความเป็นจริงน้ำนมที่ผลิตได้ในปัจจุบันยังไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ในการผลิตนมพร้อมดื่ม แต่ที่มีนมเหลือจนบริษัทต่าง ๆ ที่ผลิตนมพร้อมดื่มไม่สามารถจะรับได้นั้น มีสาเหตุมาจาก
1. ตั้งแต่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจประชาชนลดการบริโภคนมลง ทำให้ยอดขายของบริษัทต่าง ๆ ลดลง ทำให้ผลผลิตค้างสต็อกมากขึ้น
2.ในช่วงโรงเรียนปิดเทอมบริษัทต่าง ๆ ที่ผลิตนมส่งให้แก่โรงเรียนในโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียนหยุดการผลิตจึงไม่ได้รับซื้อน้ำนมดิบ ทำให้น้ำนมดิบเหลือมาก จนกระทั่งศูนย์รวมนมหลายแหล่งไม่สามารถรับน้ำนมได้ทั้งหมด
3. มีผู้ประกอบการที่ผลิตนมพร้อมดื่มบางรายนำนมผง และบางรายนำ Whole milk powder มาละลายน้ำทำเป็นนมพร้อมดื่ม แทนที่จะใช้น้ำนมดิบที่ผลิตได้ภายในประเทศเป็นวัตถุดิบในการผลิต
จากสาเหตุดังกล่าวทำให้เกิดภาวะที่เสมือนน้ำนมดิบเกินความต้องการ โดยเฉพาะสาเหตุในข้อ 3 ส่งผลกระทบต่อธุรกิจการเลี้ยงโคนมและธุรกิจแปรรูปนมจนทำให้เกิดปัญหาดังเช่นที่เป็นอยู่ในขณะนี้ เพราะนอกจากจะทำให้เกษตรกรขายน้ำนมดิบไม่ได้แล้วยังเป็นการเอาเปรียบผู้ประกอบการนมพร้อมดื่มที่ใช้น้ำนมดิบเป็นวัตถุดิบ รวมทั้งเอาเปรียบผู้บริโภคด้วย กล่าวคือ
1. ในส่วนของผู้ผลิตที่ใช้น้ำนมดิบจะเสียเปรียบผู้ที่นำนมผงมาละลายน้ำ เพราะจะต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงกว่า เนื่องจากราคาน้ำนมดิบที่โรงงานต่าง ๆ รับซื้อจะต้องซื้อในราคากิโลกรัมละ 12.50 บาท ขณะที่ถ้าใช้หางนมผงมาละลายน้ำจะเสียค่าใช้จ่ายในการผลิตนมพร้อมดื่มเพียงประมาณกิโลกรัมละ 9 บาท (ราคานำเข้านมผงเฉลี่ย ปี 2542 กิโลกรัมละ 59.14 บาท ราคามันเนยกิโลกรัมละ 75.19 บาท) และถ้าใช้ Whole milk powder มาละลายน้ำจะเสียค่าใช้จ่ายประมาณกิโลกรัมละ 13.00-13.50 บาท (ราคานำเข้า Whole milk powder เฉลี่ยปี 2542 กิโลกรัมละ 92.34 บาท) ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับการใช้น้ำนมดิบแล้ว ต้นทุนก็ยังต่ำกว่า
2. ในส่วนของผู้บริโภค จะถูกเอารัดเอาเปรียบโดยได้บริโภคสินค้าที่มีคุณค่าทางโภชนาการด้อยลง แต่ต้องซื้อสินค้าในราคาเท่ากับนมพร้อมดื่มที่ได้จากน้ำนมดิบที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงกว่า
ดังนั้น รัฐบาลจึงได้พยายามผลักดันให้หน่วยงานราชการที่ได้รับงบประมาณโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน ซื้อนมพร้อมดื่มที่ผลิตจากน้ำนมดิบจากเกษตรกรในประเทศเท่านั้น โดยให้คณะกรรมการนโยบายและพัฒนาการปศุสัตว์แห่งชาติ เป็นผู้ตรวจสอบและออกใบรับรองให้ผู้ประกอบการเพื่อใช้แสดงต่อโรงเรียนในการจำหน่ายนมพร้อมดื่มให้กับโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน และให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ประสานงานกับกระทรวงพาณิชย์ เพื่อหาแนวทางดำเนินการกำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติมสำหรับผู้นำเข้านมผงธรรมดาที่มีไขมันเกิน 1.5% (Whole milk powder) เพื่อไม่ให้กระทบต่อระเบียบปฏิบัติของ WTO-- จบ--
-อน-