นายการุณ กิตติสถาพร อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ได้แจ้งข้อมูลการผลิตและจำหน่ายเครื่องสำอางในตลาดมาเลเซียว่า กระทรวง สาธารณสุขมาเลเซียได้ประกาศให้สินค้าเครื่องสำอางที่จำหน่ายในตลาดมาเลเซียต้องขึ้นทะเบียนสินค้าเครื่องสำอางกับสำนักงานควบคุมเภสัชภัณฑ์แห่งชาติ (National Pharmaceutical Control Bureau) ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2545 โดยผู้ผลิตและผู้นำเข้าสามารถขึ้นทะเบียนผ่าน Website ของสำนักงานควบคุมเภสัชภัณฑ์แห่งชาติได้ที่ http://www.bpfk.gov.my และไม่จำเป็นต้องส่งตัวอย่างสินค้าไปให้หน่วยงานดังกล่าวตรวจสอบ เนื่องจากกระทรวงสาธารณสุขมาเลเซีย จะทำการสุ่มตรวจจากห้างและร้านค้าปลีกทั่วไปเป็นระยะๆ ผู้ค้ารายใดจำหน่ายสินค้าเครื่องสำอางที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนกับสำนักงานควบคุมเภสัชภัณฑ์แห่งชาติ จะต้องได้รับโทษตามพระราชบัญญัติการค้าวัตถุมีพิษ พ.ศ. 2495 (Sales of Poisons Act 1952) และนับตั้งแต่ปี 2547 เป็นต้นไป ผู้ผลิตและผู้นำเข้าสินค้าเครื่องสำอางจะต้องได้รับอนุญาต (Licensed) จากสำนักงานฯดังกล่าวด้วยจึงจะสามารถดำเนินธุรกิจได้
ปัจจุบันมาเลเซียมีสินค้าเครื่องสำอางวางจำหน่ายในตลาดประมาณ 60,000 ชนิด ในปี พ.ศ. 2543 มีการนำเข้าสินค้าประเภทเครื่องสำอาง มูลค่า 986 ล้านริงกิต หรือประมาณ 11,832 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าเครื่องสำอางประเภทเสริมความงามชนิดที่ใช้แต่งหน้าและครีมบำรุงผิว คิดเป็นมูลค่าประมาณ 847.83 ล้านริงกิต หรือประมาณ 4,173.96 ล้านบาท รองลงมา ได้แก่ สารผสมที่ให้กลิ่นหอม มูลค่า 226.48 ล้านริงกิต หรือประมาณ 2,717.76 ล้านบาท และเครื่องสำอางที่ใช้เพื่ออนามัยในช่องปากและฟัน มูลค่า 113.88 ล้านริงกิต หรือประมาณ 1,366.56 ล้านบาท สำหรับการนำเข้าจากไทยในปี พ.ศ. 2543 มีมูลค่ารวม 85.16 ล้านริงกิต หรือประมาณ 1,021.92 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าเครื่องสำอางประเภทเสริมความงามที่ใช้แต่งหน้าและครีมบำรุงผิว มูลค่า 41.22 ล้านริงกิต หรือประมาณ 494.64 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 48.40 รองลงมา ได้แก่ ยาสระผมและ ครีมนวดผม มูลค่า 19.41 ล้านริงกิต หรือประมาณ 232.92 ล้านบาท สบู่ มูลค่า 9.51 ล้านริงกิต หรือประมาณ 114.12 ล้านบาท ซึ่งสินค้ายาสระผม ครีมนวดผม และสบู่ มาเลเซียนำเข้าจากไทยมากเป็นอันดับหนึ่ง
นายการุณฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า สาเหตุสำคัญที่มาเลเซียนำเข้าจากไทยสูง ส่วนหนึ่งมาจากบริษัทข้ามชาติ เช่น บริษัท ยูนิลีเวอร์ จำกัด มีโรงงานผลิตในประเทศไทยและส่งไปจำหน่ายในตลาดประเทศเพื่อนบ้านรวมทั้งมาเลเซียด้วย ระยะหลังนี้มาเลเซียได้นำประเด็นการคุ้มครองผู้บริโภคมาใช้ในการตรวจสอบการนำเข้าและจำหน่ายสินค้าอยู่ประจำ ซึ่งจะเป็นอุปสรรคต่อการส่งออกสินค้าไทยไปตลาดนี้ และขณะนี้รัฐบาลมาเลเซีย โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้าระหว่างประเทศและอุตสาหกรรมของมาเลเซีย ได้ออกมารณรงค์ให้ผู้บริโภคมาเลเซียหันมาซื้อสินค้าที่ผลิตในประเทศมากขึ้น หากมาตรการดังกล่าวได้ผล ก็จะส่งผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าไทยไปตลาดนี้ด้วยเช่นกัน ดังนั้น ผู้ผลิตและผู้ส่งออกไทยจึงควรเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับมาตรการใหม่ของกระทรวงสาธารณสุขมาเลเซีย และการติดต่อกับผู้นำเข้ามาเลเซียตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 เป็นต้นไปจะต้องพิจารณาด้วยว่าผู้นำเข้ามาเลเซียได้รับใบอนุญาตจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของมาเลเซียหรือไม่ ทั้งนี้ผู้ประกอบการและผู้สนใจทั่วไปสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ประสานการแก้ไขปัญหาการส่งออก-นำเข้าสินค้า กองการค้าสินค้าทั่วไป กรมการค้าต่างประเทศ ชั้น 10 สนามบินน้ำ นนทบุรี โทร. 0-2547-5121 — 3 โทรสาร 0-2547-5123 e-mail : dv2_info@mocnet.go.th-- จบ--
--กรมการค้าต่างประเทศ สิงหาคม 2544--
-อน-
ปัจจุบันมาเลเซียมีสินค้าเครื่องสำอางวางจำหน่ายในตลาดประมาณ 60,000 ชนิด ในปี พ.ศ. 2543 มีการนำเข้าสินค้าประเภทเครื่องสำอาง มูลค่า 986 ล้านริงกิต หรือประมาณ 11,832 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าเครื่องสำอางประเภทเสริมความงามชนิดที่ใช้แต่งหน้าและครีมบำรุงผิว คิดเป็นมูลค่าประมาณ 847.83 ล้านริงกิต หรือประมาณ 4,173.96 ล้านบาท รองลงมา ได้แก่ สารผสมที่ให้กลิ่นหอม มูลค่า 226.48 ล้านริงกิต หรือประมาณ 2,717.76 ล้านบาท และเครื่องสำอางที่ใช้เพื่ออนามัยในช่องปากและฟัน มูลค่า 113.88 ล้านริงกิต หรือประมาณ 1,366.56 ล้านบาท สำหรับการนำเข้าจากไทยในปี พ.ศ. 2543 มีมูลค่ารวม 85.16 ล้านริงกิต หรือประมาณ 1,021.92 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าเครื่องสำอางประเภทเสริมความงามที่ใช้แต่งหน้าและครีมบำรุงผิว มูลค่า 41.22 ล้านริงกิต หรือประมาณ 494.64 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 48.40 รองลงมา ได้แก่ ยาสระผมและ ครีมนวดผม มูลค่า 19.41 ล้านริงกิต หรือประมาณ 232.92 ล้านบาท สบู่ มูลค่า 9.51 ล้านริงกิต หรือประมาณ 114.12 ล้านบาท ซึ่งสินค้ายาสระผม ครีมนวดผม และสบู่ มาเลเซียนำเข้าจากไทยมากเป็นอันดับหนึ่ง
นายการุณฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า สาเหตุสำคัญที่มาเลเซียนำเข้าจากไทยสูง ส่วนหนึ่งมาจากบริษัทข้ามชาติ เช่น บริษัท ยูนิลีเวอร์ จำกัด มีโรงงานผลิตในประเทศไทยและส่งไปจำหน่ายในตลาดประเทศเพื่อนบ้านรวมทั้งมาเลเซียด้วย ระยะหลังนี้มาเลเซียได้นำประเด็นการคุ้มครองผู้บริโภคมาใช้ในการตรวจสอบการนำเข้าและจำหน่ายสินค้าอยู่ประจำ ซึ่งจะเป็นอุปสรรคต่อการส่งออกสินค้าไทยไปตลาดนี้ และขณะนี้รัฐบาลมาเลเซีย โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้าระหว่างประเทศและอุตสาหกรรมของมาเลเซีย ได้ออกมารณรงค์ให้ผู้บริโภคมาเลเซียหันมาซื้อสินค้าที่ผลิตในประเทศมากขึ้น หากมาตรการดังกล่าวได้ผล ก็จะส่งผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าไทยไปตลาดนี้ด้วยเช่นกัน ดังนั้น ผู้ผลิตและผู้ส่งออกไทยจึงควรเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับมาตรการใหม่ของกระทรวงสาธารณสุขมาเลเซีย และการติดต่อกับผู้นำเข้ามาเลเซียตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 เป็นต้นไปจะต้องพิจารณาด้วยว่าผู้นำเข้ามาเลเซียได้รับใบอนุญาตจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของมาเลเซียหรือไม่ ทั้งนี้ผู้ประกอบการและผู้สนใจทั่วไปสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ประสานการแก้ไขปัญหาการส่งออก-นำเข้าสินค้า กองการค้าสินค้าทั่วไป กรมการค้าต่างประเทศ ชั้น 10 สนามบินน้ำ นนทบุรี โทร. 0-2547-5121 — 3 โทรสาร 0-2547-5123 e-mail : dv2_info@mocnet.go.th-- จบ--
--กรมการค้าต่างประเทศ สิงหาคม 2544--
-อน-