กรุงเทพฯ--24 พ.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
ตามที่เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2543 เวลาประมาณ 10.00 น. นักโทษสัญชาติพม่า ซึ่งถูกควบคุมตัวอยู่ที่เรือนจำสมุทรสาคร ในข้อหาฆ่าคนตายและคดียาเสพติด ได้ใช้อาวุธปืนและระเบิด บังคับจับตัวเจ้าหน้าที่เรือนจำ รวมทั้งผู้บัญชาการเรือนจำไว้เป็นตัวประกันเพื่อต่อรองให้ปล่อยพวกตนกลับพม่า นั้น
กระทรวงการต่างประเทศขอเรียนเกี่ยวกับเหตุการณ์ดังกล่าว ซึ่งในที่สุดเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2543 ได้รับการแก้ไขให้คลี่คลายและยุติลงอย่างดีที่สุดและโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะสามารถกระทำได้ ดังนี้
1. กระทรวงการต่างประเทศรู้สึกสลดใจที่ได้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้น จนนำไปสู่การสูญเสียชีวิตและบาดเจ็บของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องของไทย
2. เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในครั้งนี้เป็นตัวอย่างล่าสุดของปัญหาอันสืบเนื่องจากผู้หลบหนีเข้าเมืองจากพม่า ที่มีอยู่ในไทยกว่า 1 ล้านคน ซึ่งที่ผ่านมาก่อภาระปัญหาให้กับไทย ทั้งทางด้านความมั่นคง เศรษฐกิจ สังคม สาธารณสุข ความสงบสุข ตลอดจนชีวิตและทรัพย์สินของไทย ดังเช่นเหตุการณ์ยึด สถานเอกอัครราชทูตพม่าประจำประเทศไทย (ตุลาคม 2542) เหตุการณ์ยึดศูนย์โรงพยาบาลจังหวัดราชบุรี (มกราคม 2543)
3. ในโอกาสที่ ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศหารือ ข้อราชการกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศพม่า ในขณะที่ไปร่วมการประชุมสุดยอดอย่างไม่ เป็นทางการของอาเซียนที่สิงคโปร์ เมื่อ 22 พฤศจิกายน 2543 ทั้งสองฝ่ายได้หารือกันถึงเหตุการณ์ดังกล่าว โดยฝ่ายไทยได้ย้ำกับฝ่ายพม่าอีกครั้งว่า ประสงค์ที่จะเห็นความร่วมมือระหว่างไทยกับพม่าในการหารืออย่างจริงจัง เพื่อแก้ไขปัญหาผู้หลบหนีเข้าเมืองจากพม่า โดยใช้กรอบของคณะอนุกรรมการภายใต้ คณะกรรมาธิการร่วมระหว่างไทยกับพม่า ซึ่งฝ่ายไทยได้เคยเสนอไว้ในการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมระหว่างไทยกับพม่า ครั้งที่ 4 เมื่อปี 2540 และทั้งสองฝ่ายได้เคยตกลงกันไว้แล้วในหลักการ
4. กระทรวงการต่างประเทศได้พยายามดำเนินการมาตลอดเพื่อหาทางแก้ไขปัญหา ผู้หลบหนีเข้าเมืองจากพม่า อย่างไรก็ดี ความคืบหน้าใด ๆ ในเรื่องนี้จะเกิดขึ้นได้จะต้องอาศัยการตอบสนองและความร่วมมือที่จริงจังและเป็นรูปธรรมจากฝ่ายที่เกี่ยวข้อง มิฉะนั้น ปัญหาผู้หลบหนีเข้าเมืองจากพม่านอกจากจะยังคงเป็นภาระปัญหาให้กับประเทศไทยต่อไปแล้ว ก็อาจจะทวีปัญหายิ่งขึ้นได้ ด้วยเหตุนี้ ไทยจึงหวังว่า ทั้งสองฝ่ายจะสามารถร่วมมือกันเพื่อแก้ไขปัญหานี้ได้อย่างจริงจังและต่อเนื่องเพื่อประโยชน์ของประชาชนทั้งสองประเทศเยี่ยงเพื่อนบ้านที่ดีและสมาชิกอาเซียนด้วยกัน
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-
ตามที่เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2543 เวลาประมาณ 10.00 น. นักโทษสัญชาติพม่า ซึ่งถูกควบคุมตัวอยู่ที่เรือนจำสมุทรสาคร ในข้อหาฆ่าคนตายและคดียาเสพติด ได้ใช้อาวุธปืนและระเบิด บังคับจับตัวเจ้าหน้าที่เรือนจำ รวมทั้งผู้บัญชาการเรือนจำไว้เป็นตัวประกันเพื่อต่อรองให้ปล่อยพวกตนกลับพม่า นั้น
กระทรวงการต่างประเทศขอเรียนเกี่ยวกับเหตุการณ์ดังกล่าว ซึ่งในที่สุดเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2543 ได้รับการแก้ไขให้คลี่คลายและยุติลงอย่างดีที่สุดและโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะสามารถกระทำได้ ดังนี้
1. กระทรวงการต่างประเทศรู้สึกสลดใจที่ได้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้น จนนำไปสู่การสูญเสียชีวิตและบาดเจ็บของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องของไทย
2. เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในครั้งนี้เป็นตัวอย่างล่าสุดของปัญหาอันสืบเนื่องจากผู้หลบหนีเข้าเมืองจากพม่า ที่มีอยู่ในไทยกว่า 1 ล้านคน ซึ่งที่ผ่านมาก่อภาระปัญหาให้กับไทย ทั้งทางด้านความมั่นคง เศรษฐกิจ สังคม สาธารณสุข ความสงบสุข ตลอดจนชีวิตและทรัพย์สินของไทย ดังเช่นเหตุการณ์ยึด สถานเอกอัครราชทูตพม่าประจำประเทศไทย (ตุลาคม 2542) เหตุการณ์ยึดศูนย์โรงพยาบาลจังหวัดราชบุรี (มกราคม 2543)
3. ในโอกาสที่ ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศหารือ ข้อราชการกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศพม่า ในขณะที่ไปร่วมการประชุมสุดยอดอย่างไม่ เป็นทางการของอาเซียนที่สิงคโปร์ เมื่อ 22 พฤศจิกายน 2543 ทั้งสองฝ่ายได้หารือกันถึงเหตุการณ์ดังกล่าว โดยฝ่ายไทยได้ย้ำกับฝ่ายพม่าอีกครั้งว่า ประสงค์ที่จะเห็นความร่วมมือระหว่างไทยกับพม่าในการหารืออย่างจริงจัง เพื่อแก้ไขปัญหาผู้หลบหนีเข้าเมืองจากพม่า โดยใช้กรอบของคณะอนุกรรมการภายใต้ คณะกรรมาธิการร่วมระหว่างไทยกับพม่า ซึ่งฝ่ายไทยได้เคยเสนอไว้ในการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมระหว่างไทยกับพม่า ครั้งที่ 4 เมื่อปี 2540 และทั้งสองฝ่ายได้เคยตกลงกันไว้แล้วในหลักการ
4. กระทรวงการต่างประเทศได้พยายามดำเนินการมาตลอดเพื่อหาทางแก้ไขปัญหา ผู้หลบหนีเข้าเมืองจากพม่า อย่างไรก็ดี ความคืบหน้าใด ๆ ในเรื่องนี้จะเกิดขึ้นได้จะต้องอาศัยการตอบสนองและความร่วมมือที่จริงจังและเป็นรูปธรรมจากฝ่ายที่เกี่ยวข้อง มิฉะนั้น ปัญหาผู้หลบหนีเข้าเมืองจากพม่านอกจากจะยังคงเป็นภาระปัญหาให้กับประเทศไทยต่อไปแล้ว ก็อาจจะทวีปัญหายิ่งขึ้นได้ ด้วยเหตุนี้ ไทยจึงหวังว่า ทั้งสองฝ่ายจะสามารถร่วมมือกันเพื่อแก้ไขปัญหานี้ได้อย่างจริงจังและต่อเนื่องเพื่อประโยชน์ของประชาชนทั้งสองประเทศเยี่ยงเพื่อนบ้านที่ดีและสมาชิกอาเซียนด้วยกัน
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-