สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ “เขตเกษตรเศรษฐกิจรายพื้นที่ ยุคการบริหารแบบบูรณาการ : CEO ในวันพฤหัสบดีที่ 19 พฤษภาคม 2548 ณ โรงแรมไดมอนด์พลาซ่า จ.สุราษฎร์ธานี เพื่อชี้แจงแนวทางการกำหนด เขตเกษตรเศรษฐกิจรายพื้นที่ และรับฟังข้อเสนอแนะในการจัดทำเขตจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ยอมรับการดำเนินงานและนโยบายการเกษตรที่มีเอกภาพ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร จะจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “เขตเกษตรเศรษฐกิจรายพื้นที่ ยุคการบริหารแบบบูรณาการ : CEO” ในวันพฤหัสบดีที่ 19 พฤษภาคม 2548 ณ โรงแรมไดมอนด์พลาซ่า จ.สุราษฎร์ธานี โดยนางอัญชลี อุไรกุล เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เป็นประธานการสัมมนา และ ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี ให้การต้อนรับ การสัมมนาครั้งนี้จัดขึ้น เพื่อชี้แจงแนวทางการกำหนด และจัดทำเขตเกษตรเศรษฐกิจแนวใหม่และสามารถนำผลลัพธ์ที่ได้ไปใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเพื่อนำเสนอวิธีการการกำหนดเขตเกษตรเศรษฐกิจเป็นรายพื้นที่ ซึ่งเกษตรกรสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในลักษณะของข้อมูลสารสนเทศทางด้านทรัพยากรทางการเกษตร เพื่อประกอบการตัดสินใจเลือกชนิดการเพาะปลูกให้สอดคล้องกับสภาวะแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกรในภาคใต้ และเพื่อระดมความคิดเห็นจากเกษตรกร ส่วนราชการ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้ร่วมกันพิจารณา และระดมความเห็น และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับ การกำหนดเขตเกษตรเศรษฐกิจแนวใหม่ที่นำเสนอโดยมีผู้เข้าร่วมสัมมนากว่า 400 คน
การจัดการสัมมนาแบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือในช่วงเช้าเป็นการบรรยายพิเศษ เรื่อง แนวทางการกำหนดเขตเกษตรเศรษฐกิจรายพื้นที่ โดยนายพิบูลย์ เจียมอนุกูลกิจ ผู้อำนวยการส่วนแผนพัฒนาการเกษตรพื้นที่เศรษฐกิจเฉพาะ สำนักนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร และการบรรยายพิเศษ เรื่อง ระบบข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) ทางการเกษตร โดย นายชาญชัย โตวิวัฒน์ ผู้อำนวยการส่วนระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ศูนย์สารสนเทศการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร และการอภิปรายกลุ่ม เรื่อง เขตเกษตรเศรษฐกิจรายพื้นที่แบบบูรณาการ ภาคใต้ โดยผู้แทนจากกรมพัฒนาที่ดิน นายกสมาคมสหพันธ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย นายกสมาคมการประมงแห่งประเทศไทย นายกสมาคมปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มประเทศไทย และประธานกลุ่มเกษตรกรภาคใต้ และในช่วงบ่ายเป็นการระดมความคิดเห็นในการจัดทำเขตเกษตรเศรษฐกิจรายพื้นที่แบบบูรณาการ ผู้ร่วมอภิปรายประกอบด้วย นายอนันต์ ดาโลดม สมาชิกวุฒิสภาจังหวัดสุราษฎร์ธานี นายสันติ บางอ้อ รองเลขาธิการสำนักงาน คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวง อุตสาหกรรมและ ประธานหอการค้าจังหวัดสุราษฎร์ธานี
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ได้ดำเนินการประกาศเขตเกษตรเศรษฐกิจ และขึ้นทะเบียนเกษตรกรตั้งแต่ปี 2522 เป็นต้นมาถึงปัจจุบัน รวมสินค้าเกษตรทั้งสิ้น 18 รายการ ครอบคลุมสินค้าเกษตรทั้งพืชและ ปศุสัตว์ โดยดำเนินการในลักษณะเป็นรายสินค้า มีการประกาศเขต 13 สินค้าคือ อ้อยโรงงาน สับปะรด ฝ้าย กาแฟ ปอ มันสำปะหลัง กระเทียม หอมแดง หอมหัวใหญ่ ไก่เนื้อ หน่อไม้ฝรั่ง พริกไทย ปาล์มน้ำมัน และมีการขึ้นทะเบียนเกษตรกรโดยไม่มีการประกาศเขต 5 สินค้าคือ โคนม หม่อน-ไหม ข้าวนาปรัง ทุเรียน โกโก้
อย่างไรก็ตาม การประกาศเขตเกษตรเศรษฐกิจที่ผ่านมา ยังไม่บรรลุผลและแก้ไขปัญหาของเกษตรกรได้เท่าที่ควร และในปัจจุบันสถานการณ์การผลิตการตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศรวมทั้งสภาพแวดล้อมของสังคมการเกษตรได้เปลี่ยนแปลงไป จึงได้มีแนวคิดในการดำเนินการจัดทำเขตเกษตรเศรษฐกิจแนวใหม่ โดยการกำหนดเขตเกษตรเศรษฐกิจเป็นรายพื้นที่ เพื่อใช้เป็นกลไกในการขับเคลื่อนนโยบายของภาครัฐไปสู่ประชาชนในลักษณะบูรณาการ และเป็นการประสานระหว่าง ยุทธศาสตร์จังหวัด ด้านการเกษตรและยุทธศาสตร์กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยจะทำการศึกษาแต่ละพื้นที่ว่ามีศักยภาพเหมาะสมในการผลิตสินค้าเกษตรชนิดใดบ้าง และจะแนะนำให้เกษตรกรเลือกผลิตสินค้าให้ตรงตามศักยภาพของพื้นที่ เพื่อให้มีการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประโยชน์สูงสุดแก่เกษตรกรในแต่ละพื้นที่
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร จะจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “เขตเกษตรเศรษฐกิจรายพื้นที่ ยุคการบริหารแบบบูรณาการ : CEO” ในวันพฤหัสบดีที่ 19 พฤษภาคม 2548 ณ โรงแรมไดมอนด์พลาซ่า จ.สุราษฎร์ธานี โดยนางอัญชลี อุไรกุล เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เป็นประธานการสัมมนา และ ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี ให้การต้อนรับ การสัมมนาครั้งนี้จัดขึ้น เพื่อชี้แจงแนวทางการกำหนด และจัดทำเขตเกษตรเศรษฐกิจแนวใหม่และสามารถนำผลลัพธ์ที่ได้ไปใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเพื่อนำเสนอวิธีการการกำหนดเขตเกษตรเศรษฐกิจเป็นรายพื้นที่ ซึ่งเกษตรกรสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในลักษณะของข้อมูลสารสนเทศทางด้านทรัพยากรทางการเกษตร เพื่อประกอบการตัดสินใจเลือกชนิดการเพาะปลูกให้สอดคล้องกับสภาวะแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกรในภาคใต้ และเพื่อระดมความคิดเห็นจากเกษตรกร ส่วนราชการ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้ร่วมกันพิจารณา และระดมความเห็น และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับ การกำหนดเขตเกษตรเศรษฐกิจแนวใหม่ที่นำเสนอโดยมีผู้เข้าร่วมสัมมนากว่า 400 คน
การจัดการสัมมนาแบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือในช่วงเช้าเป็นการบรรยายพิเศษ เรื่อง แนวทางการกำหนดเขตเกษตรเศรษฐกิจรายพื้นที่ โดยนายพิบูลย์ เจียมอนุกูลกิจ ผู้อำนวยการส่วนแผนพัฒนาการเกษตรพื้นที่เศรษฐกิจเฉพาะ สำนักนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร และการบรรยายพิเศษ เรื่อง ระบบข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) ทางการเกษตร โดย นายชาญชัย โตวิวัฒน์ ผู้อำนวยการส่วนระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ศูนย์สารสนเทศการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร และการอภิปรายกลุ่ม เรื่อง เขตเกษตรเศรษฐกิจรายพื้นที่แบบบูรณาการ ภาคใต้ โดยผู้แทนจากกรมพัฒนาที่ดิน นายกสมาคมสหพันธ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย นายกสมาคมการประมงแห่งประเทศไทย นายกสมาคมปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มประเทศไทย และประธานกลุ่มเกษตรกรภาคใต้ และในช่วงบ่ายเป็นการระดมความคิดเห็นในการจัดทำเขตเกษตรเศรษฐกิจรายพื้นที่แบบบูรณาการ ผู้ร่วมอภิปรายประกอบด้วย นายอนันต์ ดาโลดม สมาชิกวุฒิสภาจังหวัดสุราษฎร์ธานี นายสันติ บางอ้อ รองเลขาธิการสำนักงาน คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวง อุตสาหกรรมและ ประธานหอการค้าจังหวัดสุราษฎร์ธานี
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ได้ดำเนินการประกาศเขตเกษตรเศรษฐกิจ และขึ้นทะเบียนเกษตรกรตั้งแต่ปี 2522 เป็นต้นมาถึงปัจจุบัน รวมสินค้าเกษตรทั้งสิ้น 18 รายการ ครอบคลุมสินค้าเกษตรทั้งพืชและ ปศุสัตว์ โดยดำเนินการในลักษณะเป็นรายสินค้า มีการประกาศเขต 13 สินค้าคือ อ้อยโรงงาน สับปะรด ฝ้าย กาแฟ ปอ มันสำปะหลัง กระเทียม หอมแดง หอมหัวใหญ่ ไก่เนื้อ หน่อไม้ฝรั่ง พริกไทย ปาล์มน้ำมัน และมีการขึ้นทะเบียนเกษตรกรโดยไม่มีการประกาศเขต 5 สินค้าคือ โคนม หม่อน-ไหม ข้าวนาปรัง ทุเรียน โกโก้
อย่างไรก็ตาม การประกาศเขตเกษตรเศรษฐกิจที่ผ่านมา ยังไม่บรรลุผลและแก้ไขปัญหาของเกษตรกรได้เท่าที่ควร และในปัจจุบันสถานการณ์การผลิตการตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศรวมทั้งสภาพแวดล้อมของสังคมการเกษตรได้เปลี่ยนแปลงไป จึงได้มีแนวคิดในการดำเนินการจัดทำเขตเกษตรเศรษฐกิจแนวใหม่ โดยการกำหนดเขตเกษตรเศรษฐกิจเป็นรายพื้นที่ เพื่อใช้เป็นกลไกในการขับเคลื่อนนโยบายของภาครัฐไปสู่ประชาชนในลักษณะบูรณาการ และเป็นการประสานระหว่าง ยุทธศาสตร์จังหวัด ด้านการเกษตรและยุทธศาสตร์กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยจะทำการศึกษาแต่ละพื้นที่ว่ามีศักยภาพเหมาะสมในการผลิตสินค้าเกษตรชนิดใดบ้าง และจะแนะนำให้เกษตรกรเลือกผลิตสินค้าให้ตรงตามศักยภาพของพื้นที่ เพื่อให้มีการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประโยชน์สูงสุดแก่เกษตรกรในแต่ละพื้นที่
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-