1. สถานการณ์สินค้า
1. สินค้าที่มีปัญหา
สัปดาห์นี้ไม่มีสินค้าที่มีปัญหา
1.2 สินค้าที่ต้องคอยเฝ้าระวัง
สับปะรดโรงงาน : ราคาตกต่ำ
ศูนย์สารสนเทศการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดคะเนผลผลิตสับปะรดปี 2543 จะมีประมาณ 2.28 ล้านตัน ลดลงจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 3 แม้ว่าผลผลิตจะลดลง แต่ในช่วงเดือนตุลาคม-ธันวาคม ซึ่งเป็นช่วงที่ผลผลิตจะเริ่มออกสู่ตลาดมาก โดยมีผลผลิตออกสู่ตลาดประมาณร้อยละ 22 ของผลผลิตทั้งหมด ทำให้ราคาสับปะรดที่เกษตรกรได้รับลดต่ำลง ประกอบกับผลผลิตส่วนใหญ่มีขนาดเล็กและคุณภาพไม่ได้มาตรฐานตามที่โรงงานกำหนด รวมทั้งปัญหาการถูกเรียกเก็บอากรตอบโต้การทุ่มตลาดสับปะรดกระป๋องจากสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นผู้นำเข้ารายใหญ่ยังไม่สิ้นสุดและขณะนี้อยู่ระหว่างการทบทวนการเรียกเก็บภาษีตอบโต้รอบใหม่ ซึ่งคาดว่าจะประกาศอย่างเป็นทางการในเดือนกรกฎาคม 2544 ทำให้โรงงานอุตสาหกรรมสับปะรดชะลอการรับซื้อสับปะรดสด ส่งผลให้ราคาสับปะรดโรงงานที่เกษตรกรได้รับตกต่ำลงอย่างต่อเนื่อง จาก 2.65 บาท/กก. ในสัปดาห์แรกของเดือนพฤศจิกายน เหลือเพียง 1.94 บาทในสัปดาห์ที่ 2 และ 1.73 บาท ในสัปดาห์นี้
อย่างไรก็ตาม การลดลงของราคา คาดว่าจะยังคงต่อเนื่องและทวีความรุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน 2544 ซึ่งเป็นช่วงที่ผลผลิตออกมาก ถึงร้อยละ 34 ของผลผลิตทั้งหมด ดังนั้น กรมการค้าภายในควรมีการเตรียมมาตรการแทรกแซงตลาด โดยขออนุมัติใช้เงินจากกองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรมาดำเนินการ เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรให้ทันต่อสถานการณ์
ปาล์มน้ำมัน : ประกาศเขตเกษตรเศรษฐกิจสำหรับการปลูกปาล์มน้ำมันปี พ.ศ. 2543
ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ทบทวนเขตเกษตรเศรษฐกิจปาล์ม-น้ำมันใหม่เพื่อให้มีการเพาะปลูกปาล์มน้ำมันเฉพาะในพื้นที่ที่มีศักยภาพในการผลิตเท่านั้น ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ออกประกาศเรื่อง กำหนดเขตเกษตรเศรษฐกิจสำหรับการปลูกปาล์มน้ำมัน พ.ศ. 2543 เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2543 โดยเขตเกษตรเศรษฐกิจปาล์มน้ำมันใหม่นี้จะใช้เป็นกรอบพื้นที่ดำเนินตามแผนพัฒนาปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์ม ปี 2543-2549 ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติ เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2543
เขตเกษตรเศรษฐกิจสำหรับการปลูกปาล์มน้ำมัน พ.ศ. 2543 ประกอบด้วย 12 จังหวัด 64 อำเภอ ดังนี้ จังหวัด อำเภอ 1. ประจวบคีรีขันธ์ บางสะพาน บางสะพานน้อย 2. ชุมพร ประทิว หลังสวน เมือง ทุ่งตะโก สวี ละแม ท่าแซะ 3. ระนอง เมือง สระบุรี กะเปอร์ 4. สุราษฎร์ธานี กาญจนดิษฐ์ คีรีรัฐนิคม เคียนซา ชัยบุรี ท่าฉาง บ้านนาสาร พระแสง พุนพิน เมือง ไชยา ดอกสัก ท่าชนะ บ้านตามุน พนม เวียงสระ บ้านนาเดิม กิ่งอำเภอวิภาวดี 5. พังงา เมือง ทับปุด กะปง ตะกั่วทุ่ง 6. ภูเก็ต ถลาง 7. กระบี่ เมือง คลองท่อม เหนือคลอง เงาพนม อ่าวลึก ปลายพระยา ลำทับ 8. ตรัง สิเกา เมือง ย่านตาขาว วังวิเศษ ห้วยยอด ปะเหลียน กิ่งอำเภอหาดสำราญ 9. นครศรีธรรมราช ทุ่งใหญ่ สิชล นานวน 10. พัทลุง เมือง กงหรา ตะโหมด ป่าบอน เขาชัยสน กิ่งอำเภอ- ศรีนครินทร์ 11. สงขลา สะเดา หาดใหญ่ คลองหอยโข่ง 12. สตูล ควนกาหลง ควนโคน เมือง กิ่งอำเภอมะนัง
สำหรับรายละเอียดเกี่ยวกับเขตเกษตรเศรษฐกิจสำหรับการปลูกปาล์มน้ำมัน ระดับตำบล นั้น สามารถตรวจสอบได้จากระบบสารสนเทศของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร http :// www.oae.go.th
อนึ่ง เพื่อควบคุมและกำกับให้มีการปลูกปาล์มน้ำมันเฉพาะในเขตเกษตรเศรษฐกิจใหม่ แผนแบบพัฒนาการผลิตปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์ม ปี 2543-2549 ได้กำหนดเงื่อนไขของการให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนเกษตรกรผู้ปลูกปาล์ม ดังนี้
1. การปลูกปาล์มพันธุ์ดีทดแทนสวนปาล์มแก่ และสวนปาล์มพันธุ์ไม่ถูกต้อง 600,000 ไร่ รัฐจะให้ความช่วยเหลือในอัตราไร่ละ 4,100 บาท เพื่อเป็นค่าพันธุ์ปลูกและปุ๋ยเคมี กับเกษตรกรที่อยู่ในเขตเกษตรเศรษฐกิจปาล์มน้ำมัน และขึ้นทะเบียนผู้ปลูกปาล์มกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เท่านั้น โดยจะให้ความช่วยเหลือเกษตรกรรายย่อย (พื้นที่ปลูกไม่เกิน 50 ไร่ ) ครัวเรือนละ 25 ไร่ และเป็นสมาชิกสถาบันเกษตรกร
2. ให้ความช่วยเหลือเกษตรกรรายย่อย ( พื้นที่ปลูกไม่เกิน 50 ไร่ ) ครัวเรือนละ 25 ไร่ ในอัตราไร่ละ 2,000 บาท เพื่อไปปลูกพืชอื่น กรณีที่ปลูกปาล์มนอกเขตเกษตรเศรษฐกิจ สำหรับการปลูกปาล์มน้ำมัน
3. รัฐบาลให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนด้านวิชาการ การผลิต การตลาด เฉพาะเกษตรกรที่ปลูกในเขตเกษตรเศรษฐกิจ สำหรับปลูกปาล์มน้ำมันเท่านั้น
โครงการ : จัดทำทะเบียนและบัตรประจำตัวเกษตรกร
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรได้รายงานถึงความคืบหน้าเรื่องของการทำบัตรประจำตัวเกษตรกรว่า เนื่องจากการแก้ไขปัญหาสินค้าเกษตร มักประสบปัญหาเกี่ยวกับข้อมูลของเกษตรกร เนื่องจากไม่รู้ข้อมูลที่แท้จริงทำให้ไม่สามารถแก้ไขได้อย่างทันทีและตรงจุด คณะกรรมการที่กำกับดูแลสินค้าเกษตรหลายคณะได้มอบหมายให้ กระทรวง-เกษตรและสหกรณ์พิจารณาการจัดทำทะเบียนเกษตรกรเพื่อบันทึกข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับตัวเกษตรกรผู้ถือบัตรเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนทั้งด้านการตลาดและการผลิตสินค้าเกษตรต่าง ๆ
ในการนี้ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรได้จัดทำโครงการจัดทำทะเบียนและบัตรประจำตัวเกษตรกร โดยจะมีการประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรทราบถึงวัตถุประสงค์และประโยชน์ รวมทั้งจัดเจ้าหน้าที่ไปทำการจดทะเบียนเกษตรกร ตามจุดบริการท้องถิ่น เช่น ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีประจำตำบล สหกรณ์การเกษตรหรือองค์การบริหารส่วนตำบล จากนั้นจะออกบัตรประจำตัวเกษตรกรในลักษณะเป็นบัตรแถบแม่เหล็ก (Magnetic) ที่มีรหัสประจำตัว พร้อมข้อมูลเกี่ยวกับการทำการเกษตร และอื่น ๆ ให้แก่เกษตรกรหัวหน้าครอบครัว โดยเมื่อมีการจดทะเบียนและออกบัตรแล้ว การช่วยเหลือเกษตรกรในระยะต่อไป อาจจะให้เฉพาะเกษตรกรผู้มีบัตรเท่านั้น ซึ่งการดำเนินการโครงการดังกล่าว คณะอนุกรรมการพิจารณาช่วยเหลือด้านปัจจัยการผลิตทางการเกษตร ได้เห็นชอบแล้วในหลักการ โครงการฯ โดยใช้เงินจำนวน 330 ล้านบาท จากกองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร เพื่อเป็นค่าดำเนินการจัดทำทะเบียนและการออกบัตรประจำตัวเกษตรกรทั่วประเทศ
ทั้งนี้ ก่อนนำเสนอคณะกรรมการ คชก. อนุมัติเงินต่อไปนั้น ที่ประชุมได้มอบหมายให้สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรไปพิจารณาปรับปรุงโครงการในรายละเอียดของการดำเนินงาน เกษตรกรเป้าหมาย รวมทั้งความเชื่อมโยงกับทะเบียนหรือบัตรที่เกษตรกรมีอยู่เดิม
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 46 ประจำวันที่ 20-26 พ.ย. 2543--
-สส-
1. สินค้าที่มีปัญหา
สัปดาห์นี้ไม่มีสินค้าที่มีปัญหา
1.2 สินค้าที่ต้องคอยเฝ้าระวัง
สับปะรดโรงงาน : ราคาตกต่ำ
ศูนย์สารสนเทศการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดคะเนผลผลิตสับปะรดปี 2543 จะมีประมาณ 2.28 ล้านตัน ลดลงจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 3 แม้ว่าผลผลิตจะลดลง แต่ในช่วงเดือนตุลาคม-ธันวาคม ซึ่งเป็นช่วงที่ผลผลิตจะเริ่มออกสู่ตลาดมาก โดยมีผลผลิตออกสู่ตลาดประมาณร้อยละ 22 ของผลผลิตทั้งหมด ทำให้ราคาสับปะรดที่เกษตรกรได้รับลดต่ำลง ประกอบกับผลผลิตส่วนใหญ่มีขนาดเล็กและคุณภาพไม่ได้มาตรฐานตามที่โรงงานกำหนด รวมทั้งปัญหาการถูกเรียกเก็บอากรตอบโต้การทุ่มตลาดสับปะรดกระป๋องจากสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นผู้นำเข้ารายใหญ่ยังไม่สิ้นสุดและขณะนี้อยู่ระหว่างการทบทวนการเรียกเก็บภาษีตอบโต้รอบใหม่ ซึ่งคาดว่าจะประกาศอย่างเป็นทางการในเดือนกรกฎาคม 2544 ทำให้โรงงานอุตสาหกรรมสับปะรดชะลอการรับซื้อสับปะรดสด ส่งผลให้ราคาสับปะรดโรงงานที่เกษตรกรได้รับตกต่ำลงอย่างต่อเนื่อง จาก 2.65 บาท/กก. ในสัปดาห์แรกของเดือนพฤศจิกายน เหลือเพียง 1.94 บาทในสัปดาห์ที่ 2 และ 1.73 บาท ในสัปดาห์นี้
อย่างไรก็ตาม การลดลงของราคา คาดว่าจะยังคงต่อเนื่องและทวีความรุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน 2544 ซึ่งเป็นช่วงที่ผลผลิตออกมาก ถึงร้อยละ 34 ของผลผลิตทั้งหมด ดังนั้น กรมการค้าภายในควรมีการเตรียมมาตรการแทรกแซงตลาด โดยขออนุมัติใช้เงินจากกองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรมาดำเนินการ เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรให้ทันต่อสถานการณ์
ปาล์มน้ำมัน : ประกาศเขตเกษตรเศรษฐกิจสำหรับการปลูกปาล์มน้ำมันปี พ.ศ. 2543
ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ทบทวนเขตเกษตรเศรษฐกิจปาล์ม-น้ำมันใหม่เพื่อให้มีการเพาะปลูกปาล์มน้ำมันเฉพาะในพื้นที่ที่มีศักยภาพในการผลิตเท่านั้น ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ออกประกาศเรื่อง กำหนดเขตเกษตรเศรษฐกิจสำหรับการปลูกปาล์มน้ำมัน พ.ศ. 2543 เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2543 โดยเขตเกษตรเศรษฐกิจปาล์มน้ำมันใหม่นี้จะใช้เป็นกรอบพื้นที่ดำเนินตามแผนพัฒนาปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์ม ปี 2543-2549 ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติ เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2543
เขตเกษตรเศรษฐกิจสำหรับการปลูกปาล์มน้ำมัน พ.ศ. 2543 ประกอบด้วย 12 จังหวัด 64 อำเภอ ดังนี้ จังหวัด อำเภอ 1. ประจวบคีรีขันธ์ บางสะพาน บางสะพานน้อย 2. ชุมพร ประทิว หลังสวน เมือง ทุ่งตะโก สวี ละแม ท่าแซะ 3. ระนอง เมือง สระบุรี กะเปอร์ 4. สุราษฎร์ธานี กาญจนดิษฐ์ คีรีรัฐนิคม เคียนซา ชัยบุรี ท่าฉาง บ้านนาสาร พระแสง พุนพิน เมือง ไชยา ดอกสัก ท่าชนะ บ้านตามุน พนม เวียงสระ บ้านนาเดิม กิ่งอำเภอวิภาวดี 5. พังงา เมือง ทับปุด กะปง ตะกั่วทุ่ง 6. ภูเก็ต ถลาง 7. กระบี่ เมือง คลองท่อม เหนือคลอง เงาพนม อ่าวลึก ปลายพระยา ลำทับ 8. ตรัง สิเกา เมือง ย่านตาขาว วังวิเศษ ห้วยยอด ปะเหลียน กิ่งอำเภอหาดสำราญ 9. นครศรีธรรมราช ทุ่งใหญ่ สิชล นานวน 10. พัทลุง เมือง กงหรา ตะโหมด ป่าบอน เขาชัยสน กิ่งอำเภอ- ศรีนครินทร์ 11. สงขลา สะเดา หาดใหญ่ คลองหอยโข่ง 12. สตูล ควนกาหลง ควนโคน เมือง กิ่งอำเภอมะนัง
สำหรับรายละเอียดเกี่ยวกับเขตเกษตรเศรษฐกิจสำหรับการปลูกปาล์มน้ำมัน ระดับตำบล นั้น สามารถตรวจสอบได้จากระบบสารสนเทศของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร http :// www.oae.go.th
อนึ่ง เพื่อควบคุมและกำกับให้มีการปลูกปาล์มน้ำมันเฉพาะในเขตเกษตรเศรษฐกิจใหม่ แผนแบบพัฒนาการผลิตปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์ม ปี 2543-2549 ได้กำหนดเงื่อนไขของการให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนเกษตรกรผู้ปลูกปาล์ม ดังนี้
1. การปลูกปาล์มพันธุ์ดีทดแทนสวนปาล์มแก่ และสวนปาล์มพันธุ์ไม่ถูกต้อง 600,000 ไร่ รัฐจะให้ความช่วยเหลือในอัตราไร่ละ 4,100 บาท เพื่อเป็นค่าพันธุ์ปลูกและปุ๋ยเคมี กับเกษตรกรที่อยู่ในเขตเกษตรเศรษฐกิจปาล์มน้ำมัน และขึ้นทะเบียนผู้ปลูกปาล์มกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เท่านั้น โดยจะให้ความช่วยเหลือเกษตรกรรายย่อย (พื้นที่ปลูกไม่เกิน 50 ไร่ ) ครัวเรือนละ 25 ไร่ และเป็นสมาชิกสถาบันเกษตรกร
2. ให้ความช่วยเหลือเกษตรกรรายย่อย ( พื้นที่ปลูกไม่เกิน 50 ไร่ ) ครัวเรือนละ 25 ไร่ ในอัตราไร่ละ 2,000 บาท เพื่อไปปลูกพืชอื่น กรณีที่ปลูกปาล์มนอกเขตเกษตรเศรษฐกิจ สำหรับการปลูกปาล์มน้ำมัน
3. รัฐบาลให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนด้านวิชาการ การผลิต การตลาด เฉพาะเกษตรกรที่ปลูกในเขตเกษตรเศรษฐกิจ สำหรับปลูกปาล์มน้ำมันเท่านั้น
โครงการ : จัดทำทะเบียนและบัตรประจำตัวเกษตรกร
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรได้รายงานถึงความคืบหน้าเรื่องของการทำบัตรประจำตัวเกษตรกรว่า เนื่องจากการแก้ไขปัญหาสินค้าเกษตร มักประสบปัญหาเกี่ยวกับข้อมูลของเกษตรกร เนื่องจากไม่รู้ข้อมูลที่แท้จริงทำให้ไม่สามารถแก้ไขได้อย่างทันทีและตรงจุด คณะกรรมการที่กำกับดูแลสินค้าเกษตรหลายคณะได้มอบหมายให้ กระทรวง-เกษตรและสหกรณ์พิจารณาการจัดทำทะเบียนเกษตรกรเพื่อบันทึกข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับตัวเกษตรกรผู้ถือบัตรเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนทั้งด้านการตลาดและการผลิตสินค้าเกษตรต่าง ๆ
ในการนี้ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรได้จัดทำโครงการจัดทำทะเบียนและบัตรประจำตัวเกษตรกร โดยจะมีการประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรทราบถึงวัตถุประสงค์และประโยชน์ รวมทั้งจัดเจ้าหน้าที่ไปทำการจดทะเบียนเกษตรกร ตามจุดบริการท้องถิ่น เช่น ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีประจำตำบล สหกรณ์การเกษตรหรือองค์การบริหารส่วนตำบล จากนั้นจะออกบัตรประจำตัวเกษตรกรในลักษณะเป็นบัตรแถบแม่เหล็ก (Magnetic) ที่มีรหัสประจำตัว พร้อมข้อมูลเกี่ยวกับการทำการเกษตร และอื่น ๆ ให้แก่เกษตรกรหัวหน้าครอบครัว โดยเมื่อมีการจดทะเบียนและออกบัตรแล้ว การช่วยเหลือเกษตรกรในระยะต่อไป อาจจะให้เฉพาะเกษตรกรผู้มีบัตรเท่านั้น ซึ่งการดำเนินการโครงการดังกล่าว คณะอนุกรรมการพิจารณาช่วยเหลือด้านปัจจัยการผลิตทางการเกษตร ได้เห็นชอบแล้วในหลักการ โครงการฯ โดยใช้เงินจำนวน 330 ล้านบาท จากกองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร เพื่อเป็นค่าดำเนินการจัดทำทะเบียนและการออกบัตรประจำตัวเกษตรกรทั่วประเทศ
ทั้งนี้ ก่อนนำเสนอคณะกรรมการ คชก. อนุมัติเงินต่อไปนั้น ที่ประชุมได้มอบหมายให้สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรไปพิจารณาปรับปรุงโครงการในรายละเอียดของการดำเนินงาน เกษตรกรเป้าหมาย รวมทั้งความเชื่อมโยงกับทะเบียนหรือบัตรที่เกษตรกรมีอยู่เดิม
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 46 ประจำวันที่ 20-26 พ.ย. 2543--
-สส-