ข่าวในประเทศ
1. รมว.คลังกล่าวถึงนโยบายและรูปแบบการทำงานของ ก.คลังภายใต้รัฐบาลใหม่ รมว.คลังกล่าวถึงแนวทางความร่วมมือระหว่าง ก.คลังและรัฐวิสาหกิจในสังกัด รวมถึง ธปท.ว่า จะยังคงยึดมั่นต่อการรักษาวินัยการเงินการคลัง ตลอดจนการใช้จ่ายอย่างมีเป้าหมายและมีความรับผิดชอบ สำหรับการดำเนินนโยบายที่สำคัญประกอบด้วย การจัดการปัญหาในภาคสถาบันการเงิน และการจัดตั้งบริษัทบริหารสินทรัพย์แห่งชาติ(เอเอ็มซีแห่งชาติ) นอกจากนี้ จะมีการพัฒนาระบบการจัดเก็บรายได้ของกรมสรรพากรเพื่อให้รายได้ของรัฐบาลเพิ่มโดยไม่มีการปรับเป้าหมายการจัดเก็บรายได้ใหม่ (ผู้จัดการรายวัน 21)
2. ผู้ว่าการ ธปท.เปิดเผยสัญญาณการชะลอตัวของเศรษฐกิจในช่วง 2 เดือนแรกปี 44 ผู้ว่าการ ธปท.เปิดเผยว่า ภาวะเศรษฐกิจช่วง 2 เดือนแรกของปี 44 มีสัญญาณชะลอตัวลง และมีปัญหากับดักสภาพคล่องอย่างต่อเนื่อง โดยพิจารณาจากสัญญาณอัตราดอกเบี้ยในระบบที่ปรับลดลงทั้ง ธพ.และตลาดซื้อคืน พธบ.(อาร์พี) ตลอดจนอัตราผลตอบแทนของ พธบ.รัฐบาลระยะยาวอายุ 14 ปี ที่ลดลงร้อยละ 1.25 ภายใน 2 สัปดาห์ สะท้อนให้เห็นชัดว่าเศรษฐกิจชะลอลงมาก โดยแนวทางแก้ไขปัญหาที่สำคัญประกอบด้วย การใช้นโยบายการคลัง โดยรัฐบาลต้องเร่งการใช้จ่ายให้เร็วที่สุด และการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ เช่น การจัดตั้งบริษัทบริหารสินทรัพย์แห่งชาติ(ไทยรัฐ, กรุงเทพธุรกิจ 21)
3. ธปท. ปรับปรุงประสิทธิภาพระบบการพัฒนาระบบการชำระเงิน ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยในการสัมมนาเรื่องทิศทางระบบการชำระเงินไทยว่า ธปท. ได้ดำเนินการพัฒนาระบบการชำระเงินอย่างต่อเนื่องรวม 3 ระบบ คือ ระบบ ECS BAHTNET และ Media Clearing โดยได้พัฒนาระบบ BAHTNET 2 เพื่อรองรับธุรกรรมการชำระเงินและตราสารรัฐบาลในเวลาเดียวกัน ส่วนระบบ Media Clearing ได้เพิ่มช่องทางรับข้อมูลคำสั่งโอนเงินโดยใช้ Web Technology File Transfer กับธนาคารสมาชิก นอกจากนี้ ธปท. กำลังอยู่ระหว่างศึกษาความเสี่ยงในการชำระเงินตราต่างประเทศ ซึ่งจะช่วยประมาณการความเสี่ยงของ ธพ. ในไทย(โลกวันนี้ 21)
4. ทีดีอาร์ไอรายงานผลการวิจัยเรื่องการลดภาษีเงินได้บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) รายงานว่า จากการที่สมาคมบริษัทหลักทรัพย์ได้เสนอแนวความคิดในการแก้ไขปัญหาความซบเซาในตลาดหลักทรัพย์ โดยขอลดภาษีเงินได้นิติบุคคลแก่บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ จากร้อยละ 30 เหลือร้อยละ 25 เพื่อสร้างแรงจูงใจให้กับบริษัทที่อยู่นอกตลาดฯ เข้ามาเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดฯ แต่จากการพิจารณาในเรื่องดังกล่าวเห็นว่า การลดภาษีนิติบุคคลมีส่วนช่วยและจูงใจได้ไม่มาก แต่กลับจะทำให้โครงสร้างภาษีมีความไม่เป็นธรรม รวมทั้งไม่ได้ช่วยในการแก้ปัญหาหากเกิดการขาดดุล งปม. ของรัฐ ซึ่งอาจทำให้รัฐต้องขึ้นภาษีอื่น ตลอดจนบริษัทที่ไม่สนใจจะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ส่วนหนึ่งมีแหล่งเงินทุนอื่นอยู่แล้วและไม่ต้องการใช้เงินทุนเพิ่ม การจดทะเบียนในตลาดฯ ทำให้ขาดความคล่องตัวและมีค่าธรรมเนียมสูงกว่าประโยชน์ที่จะได้รับ (โลกวันนี้ 21)
สรุปข่าวต่างประเทศ
1. เดือน ม.ค. 44 ญี่ปุ่นขาดดุลการค้าเป็นครั้งแรกในรอบ 4 ปี รายงานจากโตเกียวเมื่อวันที่ 21 ก.พ. 44 ก.คลังญี่ปุ่น เดือน ม.ค.44 ญี่ปุ่นขาดดุลการค้าที่ยังไม่ปรับตัวเลข เป็นมูลค่า 95.3 พัน ล. เยน นับเป็นการขาดดุลฯ ครั้งแรกในรอบ 4 ปี ตั้งแต่เดือน ม.ค. 44 เนื่องจากเศรษฐกิจที่ขยายตัวชะลอลงใน สรอ. และ เอเชีย ส่งผลกระทบการส่งออกสินค้าของญี่ปุ่น โดยการส่งออกในเดือนดังกล่าว เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 3.1 เมื่อเทียบปีต่อปี อยู่ที่มูลค่า 3.62 ล้านล้านเยน ขณะที่การนำเข้า เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 24.3 อยู่ที่มูลค่า 3.72 ล้านล้านเยน ทั้งนี้ ในเดือน ม.ค. 44 ญี่ปุ่นเกินดุลการค้ากับ สรอ. ซึ่งเป็นประเทศคู่ค้ารายใหญ่ที่สุด ลดลงร้อยละ 3.9 จากเดือน ม.ค. 43 อยู่ที่มูลค่า 457.4 พัน ล. เยน และเกินดุลการค้ากับสหภาพยุโรป ลดลงร้อยละ 35.6 อยู่ที่มูลค่า 140.4พัน ล. เยน ขณะเดียวกัน ญี่ปุ่นขาดดุลการค้ากับเอเชีย เป็นมูลค่า184.8 พัน ล. เยน (รอยเตอร์ 21)
2. ดัชนีอุตสาหกรรมโดยรวมของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 ในเดือน ธ.ค.44 รายงานจากโตเกียวเมื่อวันที่ 21 ก.พ.44 ก. เศรษฐกิจ การค้าและอุตสาหกรรม (METI) เปิดเผยว่า ดัชนีอุตสาหกรรมโดยรวมของญี่ปุ่นหลังปรับฤดูกาลในเดือน ธ.ค.43 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 เมื่อเทียบปีต่อปี โดยดัชนีภาคอุตสาหกรรมการก่อสร้าง เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 ดัชนี Teritiay sector เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 เทียบกับเดือน พ.ย.43 ที่ดัชนีฯ ดังกล่าวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3, 0.2, -0.8, และ 0.4 ตามลำดับ สำหรับดัชนีอุตสาหกรรมโดยรวมในไตรมาสที่ 4 (ต.ค.-ธ.ค.43) นั้น ไม่เปลี่ยนแปลงจากไตรมาสที่ 3 ปี 43.(รอยเตอร์ 21)
3. การใช้จ่ายของครัวเรือนคนโสดในญี่ปุ่นลดลงในปี 43 รายงานจากโตเกียวเมื่อวันที่ 20 ก.พ.44 Ministry of Public Management เปิดเผยว่า การใช้จ่ายของครัวเรือนคนโสดในญี่ปุ่น ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 15 ของการบริโภคส่วนบุคคลโดยรวม ในปี 43 ลดลงร้อยละ 2.7 ตามราคาที่แท้จริง หรือลดลงเฉลี่ยอยู่ที่จำนวน 182,310 เยน/เดือน หลังจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.0 ในปี 42 ซึ่งการอ่อนตัวของการบริโภคดังกล่าว กำลังเป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่น สำหรับช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 43 ( ต.ค.-ธ.ค.43 )การใช้จ่ายส่วนบุคคล ก็ลดลงร้อยละ 0 .3 จากไตรมาสที่ 3 ปี 43 ทั้งนี้ นักเศรษฐศาสตร์จาก JP Morgan กล่าวว่า ตัวเลขดังกล่าวสอดคล้องกับการคาดการณ์ที่ว่า การบริโภคฯ จะเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.2 ของจีดีพี ในไตรมาสที่ 4 ของปี 43 สำหรับตลอดทั้งปี 43 การใช้จ่ายส่วนบุคคล เพิ่มขึ้นร้อยละ 0..9 จากปี 42.(รอยเตอร์ 20)
4. คาดว่า ปี 44 เศรษฐกิจของเยอรมนีจะเติบโตร้อยละ 2.75 รายงานจากเบอร์ลินเมื่อวันที่ 20 ก.พ.44 ก.คลังเยอรมนี คาดว่า ปี 44 เศรษฐกิจเยอรมนีจะขยายตัวร้อยละ 2.75 ลดลงเล็กน้อยจากร้อยละ 3.1 ในปี 43ขณะเดียวกัน อัตราการว่างงานในปี 44 จะลดลงประมาณ 3 แสนคน.(รอยเตอร์ 20)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์ สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 20 ก.พ. 44 42.720 (42.596)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 20 ก.พ. 44ซื้อ 42.5156 (42.3819) ขาย 42.8287 (42.6919)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,200 (5,200) ขาย 5,300 (5,300)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 23.73 (24.80)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 16.29 (16.29) ดีเซลหมุนเร็ว 13.14 (13.14)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. รมว.คลังกล่าวถึงนโยบายและรูปแบบการทำงานของ ก.คลังภายใต้รัฐบาลใหม่ รมว.คลังกล่าวถึงแนวทางความร่วมมือระหว่าง ก.คลังและรัฐวิสาหกิจในสังกัด รวมถึง ธปท.ว่า จะยังคงยึดมั่นต่อการรักษาวินัยการเงินการคลัง ตลอดจนการใช้จ่ายอย่างมีเป้าหมายและมีความรับผิดชอบ สำหรับการดำเนินนโยบายที่สำคัญประกอบด้วย การจัดการปัญหาในภาคสถาบันการเงิน และการจัดตั้งบริษัทบริหารสินทรัพย์แห่งชาติ(เอเอ็มซีแห่งชาติ) นอกจากนี้ จะมีการพัฒนาระบบการจัดเก็บรายได้ของกรมสรรพากรเพื่อให้รายได้ของรัฐบาลเพิ่มโดยไม่มีการปรับเป้าหมายการจัดเก็บรายได้ใหม่ (ผู้จัดการรายวัน 21)
2. ผู้ว่าการ ธปท.เปิดเผยสัญญาณการชะลอตัวของเศรษฐกิจในช่วง 2 เดือนแรกปี 44 ผู้ว่าการ ธปท.เปิดเผยว่า ภาวะเศรษฐกิจช่วง 2 เดือนแรกของปี 44 มีสัญญาณชะลอตัวลง และมีปัญหากับดักสภาพคล่องอย่างต่อเนื่อง โดยพิจารณาจากสัญญาณอัตราดอกเบี้ยในระบบที่ปรับลดลงทั้ง ธพ.และตลาดซื้อคืน พธบ.(อาร์พี) ตลอดจนอัตราผลตอบแทนของ พธบ.รัฐบาลระยะยาวอายุ 14 ปี ที่ลดลงร้อยละ 1.25 ภายใน 2 สัปดาห์ สะท้อนให้เห็นชัดว่าเศรษฐกิจชะลอลงมาก โดยแนวทางแก้ไขปัญหาที่สำคัญประกอบด้วย การใช้นโยบายการคลัง โดยรัฐบาลต้องเร่งการใช้จ่ายให้เร็วที่สุด และการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ เช่น การจัดตั้งบริษัทบริหารสินทรัพย์แห่งชาติ(ไทยรัฐ, กรุงเทพธุรกิจ 21)
3. ธปท. ปรับปรุงประสิทธิภาพระบบการพัฒนาระบบการชำระเงิน ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยในการสัมมนาเรื่องทิศทางระบบการชำระเงินไทยว่า ธปท. ได้ดำเนินการพัฒนาระบบการชำระเงินอย่างต่อเนื่องรวม 3 ระบบ คือ ระบบ ECS BAHTNET และ Media Clearing โดยได้พัฒนาระบบ BAHTNET 2 เพื่อรองรับธุรกรรมการชำระเงินและตราสารรัฐบาลในเวลาเดียวกัน ส่วนระบบ Media Clearing ได้เพิ่มช่องทางรับข้อมูลคำสั่งโอนเงินโดยใช้ Web Technology File Transfer กับธนาคารสมาชิก นอกจากนี้ ธปท. กำลังอยู่ระหว่างศึกษาความเสี่ยงในการชำระเงินตราต่างประเทศ ซึ่งจะช่วยประมาณการความเสี่ยงของ ธพ. ในไทย(โลกวันนี้ 21)
4. ทีดีอาร์ไอรายงานผลการวิจัยเรื่องการลดภาษีเงินได้บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) รายงานว่า จากการที่สมาคมบริษัทหลักทรัพย์ได้เสนอแนวความคิดในการแก้ไขปัญหาความซบเซาในตลาดหลักทรัพย์ โดยขอลดภาษีเงินได้นิติบุคคลแก่บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ จากร้อยละ 30 เหลือร้อยละ 25 เพื่อสร้างแรงจูงใจให้กับบริษัทที่อยู่นอกตลาดฯ เข้ามาเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดฯ แต่จากการพิจารณาในเรื่องดังกล่าวเห็นว่า การลดภาษีนิติบุคคลมีส่วนช่วยและจูงใจได้ไม่มาก แต่กลับจะทำให้โครงสร้างภาษีมีความไม่เป็นธรรม รวมทั้งไม่ได้ช่วยในการแก้ปัญหาหากเกิดการขาดดุล งปม. ของรัฐ ซึ่งอาจทำให้รัฐต้องขึ้นภาษีอื่น ตลอดจนบริษัทที่ไม่สนใจจะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ส่วนหนึ่งมีแหล่งเงินทุนอื่นอยู่แล้วและไม่ต้องการใช้เงินทุนเพิ่ม การจดทะเบียนในตลาดฯ ทำให้ขาดความคล่องตัวและมีค่าธรรมเนียมสูงกว่าประโยชน์ที่จะได้รับ (โลกวันนี้ 21)
สรุปข่าวต่างประเทศ
1. เดือน ม.ค. 44 ญี่ปุ่นขาดดุลการค้าเป็นครั้งแรกในรอบ 4 ปี รายงานจากโตเกียวเมื่อวันที่ 21 ก.พ. 44 ก.คลังญี่ปุ่น เดือน ม.ค.44 ญี่ปุ่นขาดดุลการค้าที่ยังไม่ปรับตัวเลข เป็นมูลค่า 95.3 พัน ล. เยน นับเป็นการขาดดุลฯ ครั้งแรกในรอบ 4 ปี ตั้งแต่เดือน ม.ค. 44 เนื่องจากเศรษฐกิจที่ขยายตัวชะลอลงใน สรอ. และ เอเชีย ส่งผลกระทบการส่งออกสินค้าของญี่ปุ่น โดยการส่งออกในเดือนดังกล่าว เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 3.1 เมื่อเทียบปีต่อปี อยู่ที่มูลค่า 3.62 ล้านล้านเยน ขณะที่การนำเข้า เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 24.3 อยู่ที่มูลค่า 3.72 ล้านล้านเยน ทั้งนี้ ในเดือน ม.ค. 44 ญี่ปุ่นเกินดุลการค้ากับ สรอ. ซึ่งเป็นประเทศคู่ค้ารายใหญ่ที่สุด ลดลงร้อยละ 3.9 จากเดือน ม.ค. 43 อยู่ที่มูลค่า 457.4 พัน ล. เยน และเกินดุลการค้ากับสหภาพยุโรป ลดลงร้อยละ 35.6 อยู่ที่มูลค่า 140.4พัน ล. เยน ขณะเดียวกัน ญี่ปุ่นขาดดุลการค้ากับเอเชีย เป็นมูลค่า184.8 พัน ล. เยน (รอยเตอร์ 21)
2. ดัชนีอุตสาหกรรมโดยรวมของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 ในเดือน ธ.ค.44 รายงานจากโตเกียวเมื่อวันที่ 21 ก.พ.44 ก. เศรษฐกิจ การค้าและอุตสาหกรรม (METI) เปิดเผยว่า ดัชนีอุตสาหกรรมโดยรวมของญี่ปุ่นหลังปรับฤดูกาลในเดือน ธ.ค.43 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 เมื่อเทียบปีต่อปี โดยดัชนีภาคอุตสาหกรรมการก่อสร้าง เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 ดัชนี Teritiay sector เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 เทียบกับเดือน พ.ย.43 ที่ดัชนีฯ ดังกล่าวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3, 0.2, -0.8, และ 0.4 ตามลำดับ สำหรับดัชนีอุตสาหกรรมโดยรวมในไตรมาสที่ 4 (ต.ค.-ธ.ค.43) นั้น ไม่เปลี่ยนแปลงจากไตรมาสที่ 3 ปี 43.(รอยเตอร์ 21)
3. การใช้จ่ายของครัวเรือนคนโสดในญี่ปุ่นลดลงในปี 43 รายงานจากโตเกียวเมื่อวันที่ 20 ก.พ.44 Ministry of Public Management เปิดเผยว่า การใช้จ่ายของครัวเรือนคนโสดในญี่ปุ่น ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 15 ของการบริโภคส่วนบุคคลโดยรวม ในปี 43 ลดลงร้อยละ 2.7 ตามราคาที่แท้จริง หรือลดลงเฉลี่ยอยู่ที่จำนวน 182,310 เยน/เดือน หลังจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.0 ในปี 42 ซึ่งการอ่อนตัวของการบริโภคดังกล่าว กำลังเป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่น สำหรับช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 43 ( ต.ค.-ธ.ค.43 )การใช้จ่ายส่วนบุคคล ก็ลดลงร้อยละ 0 .3 จากไตรมาสที่ 3 ปี 43 ทั้งนี้ นักเศรษฐศาสตร์จาก JP Morgan กล่าวว่า ตัวเลขดังกล่าวสอดคล้องกับการคาดการณ์ที่ว่า การบริโภคฯ จะเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.2 ของจีดีพี ในไตรมาสที่ 4 ของปี 43 สำหรับตลอดทั้งปี 43 การใช้จ่ายส่วนบุคคล เพิ่มขึ้นร้อยละ 0..9 จากปี 42.(รอยเตอร์ 20)
4. คาดว่า ปี 44 เศรษฐกิจของเยอรมนีจะเติบโตร้อยละ 2.75 รายงานจากเบอร์ลินเมื่อวันที่ 20 ก.พ.44 ก.คลังเยอรมนี คาดว่า ปี 44 เศรษฐกิจเยอรมนีจะขยายตัวร้อยละ 2.75 ลดลงเล็กน้อยจากร้อยละ 3.1 ในปี 43ขณะเดียวกัน อัตราการว่างงานในปี 44 จะลดลงประมาณ 3 แสนคน.(รอยเตอร์ 20)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์ สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 20 ก.พ. 44 42.720 (42.596)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 20 ก.พ. 44ซื้อ 42.5156 (42.3819) ขาย 42.8287 (42.6919)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,200 (5,200) ขาย 5,300 (5,300)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 23.73 (24.80)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 16.29 (16.29) ดีเซลหมุนเร็ว 13.14 (13.14)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-