ข่าวในประเทศ
1. ผู้ว่าการ ธปท.กล่าวถึงปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ปัจจัยที่ ธปท.จะต้องติดตามอย่างใกล้ชิดในขณะนี้คือ สถานการณ์ทางการเมือง ตลาดหุ้น และราคา น้ำมันทั่วโลก เนื่องจากเป็นสถานการณ์ที่คาดว่าจะส่งผลกระทบอย่างมากต่อภาวะเศรษฐกิจและการเมืองของไทยในช่วงที่เศรษฐกิจและการเงินของโลกยังมีความผันผวน ในส่วนของการประมาณการตัวเลขเศรษฐกิจนั้น ธปท. จะยังไม่มีการประมาณการใหม่ในขณะนี้ โดยต้องรอดูปัจจัยรอบด้านที่คาดว่าจะเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วให้ชัดเจนก่อน แต่ในที่สุดคงต้องมีการปรับประมาณการใหม่อีกครั้ง และคาดว่าอาจจะต้องต่ำกว่าประมาณการเดิม สำหรับสถานการณ์ตลาดเงินและอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทของไทย ยังอยู่ในสถานะที่มีเสถียรภาพตลอดทั้งสัปดาห์ที่ผ่านมา (ข่าวสด 18)
2. สศช. ปรับลดประมาณการการขยายตัวทางเศรษฐกิจเหลือร้อยละ 1.5 เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยว่า สศช. ได้ปรับลดประมาณการอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจปี 44 เหลือร้อยละ 1.5-2 ของผลิตภัณฑ์ภายในประเทศ (จีดีพี) จากเดิมที่ระดับร้อยละ 2-3 การลงทุนรวมขยายตัวลดลงเหลือร้อยละ 3 โดยการลงทุนของภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 5 ส่วนภาครัฐไม่ขยายตัว การบริโภครวมขยายตัวร้อยละ 3 เป็นการขยายตัวของภาคเอกชนร้อยละ 2.9 และภาครัฐร้อยละ 3.5 การส่งออกมีมูลค่า 63.4-63.8 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. หรือขยายตัวติดลบร้อยละ 6.1-6.7 การนำเข้ามีมูลค่า 62.5 พัน ล.ดอลลาร์ หรือขยายตัวร้อยละ 0.1 ดุลการค้าอยู่ที่ระดับ 0.9-1.3 พัน ล.ดอลลาร์ ดุลบัญชีเดินสะพัดอยู่ที่ระดับ 4.6-4.7 พัน ล.ดอลลาร์ หรือคิดเป็นร้อยละ 4.1 ของจีดีพี และอัตราเงินเฟ้อ (CPI) อยู่ที่ระดับร้อยละ 2 โดยปัจจัยสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจขยายตัวต่ำลงเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ถดถอย การส่งออกที่ชะลอตัวลง และการท่องเที่ยวซึ่งได้รับผลกระทบจากการก่อวินาศกรรมใน สรอ. นอกจากนี้ สศช. ยังประเมินว่าปัจจัยที่จะสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจในครึ่งปีหลัง ได้แก่ การใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการใช้ งปม. สำรอง 5.8 หมื่น ล.บาท (ผู้จัดการ, ข่าวสด, กรุงเทพธุรกิจ 18)
3. ผู้ว่าการ ธปท.กล่าวว่าระบบธรรมาภิบาลมีความจำเป็นในการสร้างความสามารถในการแข่งขันของเอสเอ็มอี ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวถึงการสร้างระบบธรรมาภิบาลในส่วนของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ว่าผู้ประกอบการเอสเอ็มอีจะต้องมีสำนึกเพื่อการบริหารงานที่เน้นดุลยภาพและ ประสิทธิภาพควบคู่กัน เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืน ขณะที่กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธ.กรุงเทพ กล่าวว่า ธ.กรุงเทพเห็นความสำคัญของเอสเอ็มอีว่าเป็นพื้นฐานสำคัญของเศรษฐกิจ และได้มีการขยายสินเชื่อให้เอสเอ็มอีมากขึ้นในช่วงที่ผ่านมา แต่การปล่อยสินเชื่อเอสเอ็มอีปี 44 คงไม่เป็นไปตามเป้าหมาย เนื่องจากลูกค้าชะลอการลงทุน และธนาคารต้องระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น จากผลกระทบของภาวะเศรษฐกิจโลก (ไทยรัฐ 18)
ข่าวต่างประเทศ
1. ธ. กลาง สรอ. ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่สำคัญลงร้อยละ 0.5 รายงานจากวอชิงตันเมื่อ 17 ก.ย. 44 ธ. กลาง สรอ. ประกาศลด Federal funds rate จากร้อยละ 3.5 เหลือร้อยละ 3 เป็นการลดลงเป็นครั้งที่ 8ในรอบปี44 และลด Discount rate จากร้อยละ 3 เหลือร้อยละ 2.5 นับเป็นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่อยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 7 ปีครึ่ง การลดอัตราดอกเบี้ยครั้งนี้ ประกาศก่อนเปิดตลาดการซื้อขายหุ้น 1 ชั่วโมง เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุนและลดแรงกดดันการเทขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์วอลล์สตรีท หลังจากที่หยุดทำการซื้อขายเนื่องจากเกิดก่อวินาศกรรมในนิวยอร์กและวอชิงตันในช่วงปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา (รอยเตอร์17)
2. ธ.กลางยุโรปปรับลดอัตราดอกเบี้ยสำคัญลงร้อยละ 0.50 รายงานจากแฟรงก์เฟิร์ตเมื่อ 17 ก.ย.44 ธ.กลางยุโรป (ECB) ได้ประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยสำคัญ (key interest rates) ลงร้อยละ 0.50 จากร้อยละ 4.25 เหลือร้อยละ 3.75 เพื่อเพิ่มความเชื่อมั่นและสนับสนุนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ รวมทั้งลดความเสี่ยงจากภาวะเงินเฟ้อในเขตยูโร ทั้งนี้ ECB ลดอัตราดอกเบี้ยลงหลังจากที่ ธ.กลาง สรอ. (Fed) ประกาศลดอัตราดอกเบี้ย และภายหลังที่ ECB ปรับลดอัตราดอกเบี้ยดังกล่าว Swiss National Bank และ Swedish central bank, Riksbank ก็ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยสำคัญลงร้อยละ 0.50 เช่นเดียวกับ ECB (รอยเตอร์ 17)
3. นักเศรษฐศาสตร์ สรอ.ปรับลดประมาณการจีดีพีไตรมาส 3/2544 เนื่องจากเหตุการณ์ก่อวินาศกรรมใน สรอ. รายงานจากนิวยอร์ก เมื่อ 17 ก.ย.44 นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ของ สรอ.ได้ปรับลดตัวเลขประมาณการผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) ไตรมาส 3/44 เนื่องจากเหตุการณ์ก่อวินาศกรรมใน สรอ.ซึ่งคาดว่าจะมีผลให้เศรษฐกิจของ สรอ.ชะลอตัวต่อไปจนถึงต้นปี 45 โดยนักเศรษฐศาสตร์ของ Deutsche Banc ได้ปรับลดตัวเลขประมาณการจีดีพีไตรมาส 3/44 จากร้อยละ -0.5 เป็นร้อยละ -1.0 นักเศรษฐศาสตร์จาก UBS Warburg ได้ปรับลดตัวเลขฯ จากร้อยละ 0.5 เป็นร้อยละ -.05 และนักเศรษฐศาสตร์จาก J.P.Morgan ได้ปรับลดตัวเลขฯ จากร้อยละ1.0 เป็นร้อยละ -1.0 ทั้งนี้ ธนาคารกลาง สรอ. (เฟด) ได้ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยลงร้อยละ 0.5 เมื่อวันที่ 17 ก.ย.44 ซึ่งนับเป็นความพยายามในการสร้างความเชื่อมั่นให้แก่เศรษฐกิจของ สรอ. และคาดว่าจะมีการลดอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งในการประชุมวันที่ 2 ต.ค.44 (รอยเตอร์ 17)
4. สินค้าคงคลังของ สรอ. ลดลงขณะที่ยอดขายเพิ่มขึ้นสูงสุดในเดือน ก.ค. 44 รายงานจากวอชิงตันเมื่อ 17 ก.ย. 44 ก. พาณิชย์ สรอ. เปิดเผยว่า สินค้าคงคลังของธุรกิจ หลังปรับตัวเลขตามฤดูกาล มีจำนวน 1,182.9 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ. ลดลงร้อยละ 0.4 หลังจากที่ลดลงร้อยละ 0.6 ในเดือน มิ.ย. 44 นับเป็นการลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 6 ขณะที่ยอดขายสินค้าคงคลัง มีจำนวน 831.9 พัน ล. ดอลลาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 หลังจากที่ลดลงร้อยละ 1.5 ในเดือน มิ.ย. 44 นับเป็นยอดขายฯที่เพิ่มขึ้นสูงสุดนับแต่เดือน พ.ค.44 ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 ทั้งนี้ ยอดขายฯ ที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากยอดขายของผู้ประกอบการอุตสาหกรรม ผู้ค้าปลีกและค้าส่งล้วนมียอดขายเพิ่มขึ้น(รอยเตอร์17)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์ สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 17ก.ย. 44 44.029 (44.243)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 17 ก.ย. 44ซื้อ 43.8121 (44.0424) ขาย 44.1223 (44.3640)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,950 (6,000) ขาย 6,050 (6,100)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 25.52 (27.33)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 16.59 (16.59) ดีเซลหมุนเร็ว 14.24 (14.24)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. ผู้ว่าการ ธปท.กล่าวถึงปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ปัจจัยที่ ธปท.จะต้องติดตามอย่างใกล้ชิดในขณะนี้คือ สถานการณ์ทางการเมือง ตลาดหุ้น และราคา น้ำมันทั่วโลก เนื่องจากเป็นสถานการณ์ที่คาดว่าจะส่งผลกระทบอย่างมากต่อภาวะเศรษฐกิจและการเมืองของไทยในช่วงที่เศรษฐกิจและการเงินของโลกยังมีความผันผวน ในส่วนของการประมาณการตัวเลขเศรษฐกิจนั้น ธปท. จะยังไม่มีการประมาณการใหม่ในขณะนี้ โดยต้องรอดูปัจจัยรอบด้านที่คาดว่าจะเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วให้ชัดเจนก่อน แต่ในที่สุดคงต้องมีการปรับประมาณการใหม่อีกครั้ง และคาดว่าอาจจะต้องต่ำกว่าประมาณการเดิม สำหรับสถานการณ์ตลาดเงินและอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทของไทย ยังอยู่ในสถานะที่มีเสถียรภาพตลอดทั้งสัปดาห์ที่ผ่านมา (ข่าวสด 18)
2. สศช. ปรับลดประมาณการการขยายตัวทางเศรษฐกิจเหลือร้อยละ 1.5 เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยว่า สศช. ได้ปรับลดประมาณการอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจปี 44 เหลือร้อยละ 1.5-2 ของผลิตภัณฑ์ภายในประเทศ (จีดีพี) จากเดิมที่ระดับร้อยละ 2-3 การลงทุนรวมขยายตัวลดลงเหลือร้อยละ 3 โดยการลงทุนของภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 5 ส่วนภาครัฐไม่ขยายตัว การบริโภครวมขยายตัวร้อยละ 3 เป็นการขยายตัวของภาคเอกชนร้อยละ 2.9 และภาครัฐร้อยละ 3.5 การส่งออกมีมูลค่า 63.4-63.8 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. หรือขยายตัวติดลบร้อยละ 6.1-6.7 การนำเข้ามีมูลค่า 62.5 พัน ล.ดอลลาร์ หรือขยายตัวร้อยละ 0.1 ดุลการค้าอยู่ที่ระดับ 0.9-1.3 พัน ล.ดอลลาร์ ดุลบัญชีเดินสะพัดอยู่ที่ระดับ 4.6-4.7 พัน ล.ดอลลาร์ หรือคิดเป็นร้อยละ 4.1 ของจีดีพี และอัตราเงินเฟ้อ (CPI) อยู่ที่ระดับร้อยละ 2 โดยปัจจัยสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจขยายตัวต่ำลงเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ถดถอย การส่งออกที่ชะลอตัวลง และการท่องเที่ยวซึ่งได้รับผลกระทบจากการก่อวินาศกรรมใน สรอ. นอกจากนี้ สศช. ยังประเมินว่าปัจจัยที่จะสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจในครึ่งปีหลัง ได้แก่ การใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการใช้ งปม. สำรอง 5.8 หมื่น ล.บาท (ผู้จัดการ, ข่าวสด, กรุงเทพธุรกิจ 18)
3. ผู้ว่าการ ธปท.กล่าวว่าระบบธรรมาภิบาลมีความจำเป็นในการสร้างความสามารถในการแข่งขันของเอสเอ็มอี ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวถึงการสร้างระบบธรรมาภิบาลในส่วนของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ว่าผู้ประกอบการเอสเอ็มอีจะต้องมีสำนึกเพื่อการบริหารงานที่เน้นดุลยภาพและ ประสิทธิภาพควบคู่กัน เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืน ขณะที่กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธ.กรุงเทพ กล่าวว่า ธ.กรุงเทพเห็นความสำคัญของเอสเอ็มอีว่าเป็นพื้นฐานสำคัญของเศรษฐกิจ และได้มีการขยายสินเชื่อให้เอสเอ็มอีมากขึ้นในช่วงที่ผ่านมา แต่การปล่อยสินเชื่อเอสเอ็มอีปี 44 คงไม่เป็นไปตามเป้าหมาย เนื่องจากลูกค้าชะลอการลงทุน และธนาคารต้องระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น จากผลกระทบของภาวะเศรษฐกิจโลก (ไทยรัฐ 18)
ข่าวต่างประเทศ
1. ธ. กลาง สรอ. ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่สำคัญลงร้อยละ 0.5 รายงานจากวอชิงตันเมื่อ 17 ก.ย. 44 ธ. กลาง สรอ. ประกาศลด Federal funds rate จากร้อยละ 3.5 เหลือร้อยละ 3 เป็นการลดลงเป็นครั้งที่ 8ในรอบปี44 และลด Discount rate จากร้อยละ 3 เหลือร้อยละ 2.5 นับเป็นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่อยู่ในระดับต่ำสุดในรอบ 7 ปีครึ่ง การลดอัตราดอกเบี้ยครั้งนี้ ประกาศก่อนเปิดตลาดการซื้อขายหุ้น 1 ชั่วโมง เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุนและลดแรงกดดันการเทขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์วอลล์สตรีท หลังจากที่หยุดทำการซื้อขายเนื่องจากเกิดก่อวินาศกรรมในนิวยอร์กและวอชิงตันในช่วงปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา (รอยเตอร์17)
2. ธ.กลางยุโรปปรับลดอัตราดอกเบี้ยสำคัญลงร้อยละ 0.50 รายงานจากแฟรงก์เฟิร์ตเมื่อ 17 ก.ย.44 ธ.กลางยุโรป (ECB) ได้ประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยสำคัญ (key interest rates) ลงร้อยละ 0.50 จากร้อยละ 4.25 เหลือร้อยละ 3.75 เพื่อเพิ่มความเชื่อมั่นและสนับสนุนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ รวมทั้งลดความเสี่ยงจากภาวะเงินเฟ้อในเขตยูโร ทั้งนี้ ECB ลดอัตราดอกเบี้ยลงหลังจากที่ ธ.กลาง สรอ. (Fed) ประกาศลดอัตราดอกเบี้ย และภายหลังที่ ECB ปรับลดอัตราดอกเบี้ยดังกล่าว Swiss National Bank และ Swedish central bank, Riksbank ก็ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยสำคัญลงร้อยละ 0.50 เช่นเดียวกับ ECB (รอยเตอร์ 17)
3. นักเศรษฐศาสตร์ สรอ.ปรับลดประมาณการจีดีพีไตรมาส 3/2544 เนื่องจากเหตุการณ์ก่อวินาศกรรมใน สรอ. รายงานจากนิวยอร์ก เมื่อ 17 ก.ย.44 นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ของ สรอ.ได้ปรับลดตัวเลขประมาณการผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) ไตรมาส 3/44 เนื่องจากเหตุการณ์ก่อวินาศกรรมใน สรอ.ซึ่งคาดว่าจะมีผลให้เศรษฐกิจของ สรอ.ชะลอตัวต่อไปจนถึงต้นปี 45 โดยนักเศรษฐศาสตร์ของ Deutsche Banc ได้ปรับลดตัวเลขประมาณการจีดีพีไตรมาส 3/44 จากร้อยละ -0.5 เป็นร้อยละ -1.0 นักเศรษฐศาสตร์จาก UBS Warburg ได้ปรับลดตัวเลขฯ จากร้อยละ 0.5 เป็นร้อยละ -.05 และนักเศรษฐศาสตร์จาก J.P.Morgan ได้ปรับลดตัวเลขฯ จากร้อยละ1.0 เป็นร้อยละ -1.0 ทั้งนี้ ธนาคารกลาง สรอ. (เฟด) ได้ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยลงร้อยละ 0.5 เมื่อวันที่ 17 ก.ย.44 ซึ่งนับเป็นความพยายามในการสร้างความเชื่อมั่นให้แก่เศรษฐกิจของ สรอ. และคาดว่าจะมีการลดอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งในการประชุมวันที่ 2 ต.ค.44 (รอยเตอร์ 17)
4. สินค้าคงคลังของ สรอ. ลดลงขณะที่ยอดขายเพิ่มขึ้นสูงสุดในเดือน ก.ค. 44 รายงานจากวอชิงตันเมื่อ 17 ก.ย. 44 ก. พาณิชย์ สรอ. เปิดเผยว่า สินค้าคงคลังของธุรกิจ หลังปรับตัวเลขตามฤดูกาล มีจำนวน 1,182.9 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ. ลดลงร้อยละ 0.4 หลังจากที่ลดลงร้อยละ 0.6 ในเดือน มิ.ย. 44 นับเป็นการลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 6 ขณะที่ยอดขายสินค้าคงคลัง มีจำนวน 831.9 พัน ล. ดอลลาร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 หลังจากที่ลดลงร้อยละ 1.5 ในเดือน มิ.ย. 44 นับเป็นยอดขายฯที่เพิ่มขึ้นสูงสุดนับแต่เดือน พ.ค.44 ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 ทั้งนี้ ยอดขายฯ ที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากยอดขายของผู้ประกอบการอุตสาหกรรม ผู้ค้าปลีกและค้าส่งล้วนมียอดขายเพิ่มขึ้น(รอยเตอร์17)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์ สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 17ก.ย. 44 44.029 (44.243)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 17 ก.ย. 44ซื้อ 43.8121 (44.0424) ขาย 44.1223 (44.3640)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,950 (6,000) ขาย 6,050 (6,100)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 25.52 (27.33)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 16.59 (16.59) ดีเซลหมุนเร็ว 14.24 (14.24)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-