สหรัฐอเมริกาเป็นตลาดส่งออกสำคัญที่สุดของไทย ในปี 2543 ไทยส่งออกไปสหรัฐฯ เป็นมูลค่ากว่า 15,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ คิดเป็นสัดส่วนสูงถึงประมาณร้อยละ 20 ของมูลค่าส่งออกทั้งหมดของไทย
แม้การส่งออกของไทยไปสหรัฐฯ ในช่วงที่ผ่านมาขยายตัวดีอย่างต่อเนื่อง แต่การที่ตลาดสหรัฐฯ เป็นตลาดใหญ่ ซึ่งนานาประเทศต่างมุ่งหวังเข้าไปครองส่วนแบ่งตลาด ทำให้การแข่งขันในตลาดนี้ค่อนข้างสูง ประกอบกับสหรัฐฯ เองก็มีมาตรการทางการค้าหลายประการทั้งเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคและผู้ผลิตภายในประเทศ จึงมีการนำมาตรการกีดกันการค้าหลากหลายรูปแบบมาใช้ ดังนั้น ผู้ส่งออกที่ต้องการส่วนแบ่งตลาดในสหรัฐฯ ต้องสามารถปรับตัวให้เข้ากับภาวะแวดล้อมทางการค้าในตลาดนี้ได้
ปัจจัยสำคัญที่มีผลกระทบต่อการส่งออกของไทยในตลาดสหรัฐฯ ได้แก่
- ความได้เปรียบของประเทศคู่แข่งที่เป็นสมาชิกเขตการค้าเสรีอเมริกาเหนือ (NAFTA) และประเทศในแถบอเมริกากลางและแคริบเบียน ประเทศเหล่านี้มีความได้เปรียบโดยธรรมชาติอยู่แล้วในด้านทำเลที่ตั้งที่อยู่ใกล้สหรัฐฯ ทำให้ประหยัดต้นทุนและระยะเวลาในการขนส่งสินค้าไปสหรัฐฯ นอกจากนี้ เมื่อมีข้อตกลง NAFTA เกิดขึ้นเมื่อปี 2535 สิทธิพิเศษทางด้านภาษีที่ให้แก่กันภายในกลุ่มความร่วมมือ ยิ่งทำให้ประเทศสมาชิก NAFTA มีความได้เปรียบมากขึ้นในการส่งออกไปตลาดสหรัฐฯ ส่วนประเทศในกลุ่มแคริบเบียนก็เป็นฐานการผลิตที่สามารถดึงดูดการลงทุนจากสหรัฐฯ ได้มากกว่าเอเชีย และมีแนวโน้มที่สหรัฐฯ จะขยายความร่วมมือทางการค้า การลงทุนกับกลุ่มประเทศแคริบเบียนมากขึ้นอีกในอนาคต ดังนั้น ประเทศเหล่านี้จึงสามารถครองส่วนแบ่งตลาดส่งออกในสหรัฐฯได้มาก โดยอาศัยความได้เปรียบดังกล่าวนี้
- การแข่งขันจากจีนและเวียดนามมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ทั้งจีนและเวียดนามเป็นคู่แข่งทางการค้าที่สำคัญ
เนื่องจากมีต้นทุนการผลิตต่ำกว่าไทยและส่งออกสินค้าหลายรายการคล้ายคลึงกับของไทย การแข่งขันจากจีนและเวียดนามในตลาดสหรัฐฯ จะเพิ่มมากขึ้นในอนาคตเนื่องจาก
- การบรรลุข้อตกลงสองฝ่ายระหว่างสหรัฐฯกับจีน เพื่อเปิดเสรีทางการค้าและบริการโดยลดอัตราภาษีศุลกากรระหว่างกันจะส่งผลให้จีนมีความได้เปรียบมากขึ้นในตลาดสหรัฐฯ นอกจากนี้ รัฐบาลสหรัฐฯ ยังให้ความสำคัญมากขึ้นกับการลงทุนของสหรัฐฯ ในจีน ดังนั้น สหรัฐฯ จึงมีแนวโน้มว่าจะนำเข้าจากจีนเพิ่มขึ้นในอนาคต ปัจจุบันจีนเป็นแหล่งนำเข้าสำคัญอันดับ 4 ของสหรัฐฯ สินค้าที่จีนมีส่วนแบ่งตลาดในสหรัฐฯสูงกว่าไทย ได้แก่ รองเท้าและชิ้นส่วนของเล่น เครื่องใช้สำหรับเดินทาง หนังและผลิตภัณฑ์ เครื่องเล่นเกมส์ เป็นต้น
- การบรรลุข้อตกลงทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับเวียดนามส่งผลให้สหรัฐฯ นำ NTR (Normal Trade Relation) ซึ่งเป็นข้อตกลงฟื้นฟูสัมพันธภาพด้านเศรษฐกิจและการค้าในภาวะปกติซึ่งเดิมเรียกว่าการประติบัติเยี่ยงชาติที่ได้รับอนุเคราะห์ยิ่ง (Most-Favoured Nation Treatment: MFN) มาใช้กับเวียดนาม การที่สหรัฐฯ ให้ NTR แก่เวียดนามส่งผลดีต่อสินค้าส่งออกของเวียดนามไปยังสหรัฐฯ เพราะทำให้เสียภาษีนำเข้าลดลง จากเดิมเฉลี่ยร้อยละ 35 เหลือเฉลี่ยเพียงร้อยละ 4.9 ราคาสินค้าเวียดนามที่จำหน่ายในตลาดสหรัฐฯ จึงมีแนวโน้มลดลงและแข่งขันกับสินค้าจากประเทศอื่นๆ ได้ สำหรับสินค้าสำคัญของเวียดนามที่ไทยต้องเผชิญกับการแข่งขันอย่างรุนแรงในตลาดสหรัฐฯ ในปัจจุบัน ได้แก่ เสื้อผ้าสำเร็จรูปและสิ่งทอ รองเท้าและเครื่องหนัง ผลิตภัณฑ์ประมง ข้าว เป็นต้น
- การใช้มาตรการที่ไม่ใช่ภาษีของสหรัฐฯ กับประเทศคู่ค้ามีแนวโน้มรุนแรงขึ้น เช่น
- การกำหนดมาตรฐานคุณภาพสินค้า ตลอดจนความเข้มงวดในการตรวจสอบกระบวนการผลิตตั้งแต่ขั้นตอนวัตถุดิบ อาทิ กำหนดให้สินค้าที่จะส่งเข้าไปจำหน่ายในสหรัฐฯ ต้องผ่านมาตรฐาน ISO หรือ HACCP เป็นต้น
- การนำประเด็นด้านแรงงาน ตลอดจนการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มาเป็นข้อกีดกันการนำเข้าจะทำให้สินค้าไทยประสบปัญหามากขึ้นเป็นลำดับ โดยเฉพาะประเด็นการใช้แรงงานซึ่งปัจจุบัน ผู้ประกอบการบางรายของไทยยังไม่สามารถปฏิบัติตามมาตรฐานที่สหรัฐฯ กำหนดได้ เช่น การใช้แรงงานเด็ก จำนวนชั่วโมงทำงานต่อวัน ค่าตอบแทนนอกเวลา สวัสดิการแรงงาน เป็นต้น สำหรับประเด็นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของไทยเป็นสิ่งที่สหรัฐฯ มักนำมาเชื่อมโยงกับประเด็นทางการค้าและใช้เป็นข้อกีดกันการนำสินค้าไทยเข้าไปจำหน่ายในตลาดสหรัฐฯ อยู่เป็นระยะ
- มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดและต่อต้านการอุดหนุน (AD/CVD) ปัจจุบันสินค้าส่งออกของไทยหลายรายการได้รับผลกระทบจากการเก็บภาษีตอบโต้การทุ่มตลาดและต่อต้านการอุดหนุนของสหรัฐฯ โดยเฉพาะเมื่อสหรัฐฯ มีมาตรการให้นำเงินภาษีที่จัดเก็บจากการตอบโต้การทุ่มตลาดและต่อต้านการอุดหนุนไปจัดตั้งเป็นกองทุนเพื่อสนับสนุนหรือชดเชยให้แก่อุตสาหกรรมภายในที่ได้รับผลกระทบ จึงเป็นการเพิ่มแรงจูงใจให้อุตสาหกรรมภายใน สหรัฐฯ ดำเนินการฟ้องร้องผู้ผลิตในต่างประเทศเพื่อให้รัฐบาลสหรัฐฯเปิดการไต่สวนกรณีทุ่มตลาดและการอุดหนุนมากขึ้นเป็นลำดับ
นอกจากปัจจัยดังกล่าวข้างต้นแล้ว การที่สหรัฐฯ ติดต่อค้าขายกับต่างประเทศผ่านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce) มากขึ้น รวมถึงมีการพัฒนาระบบต่างๆ เพื่อรองรับ E-Commerce มากขึ้น เช่น ระบบการขนส่ง การกระจายสินค้าและการจัดเก็บสินค้า (Logistics) โดยเน้นให้มีการส่งมอบสินค้าให้ได้เร็วที่สุด และการลดปริมาณการสต็อกสินค้าคงคลังลง ทำให้ผู้ส่งออกไทยมีความจำเป็นต้องเร่งพัฒนาตนเองในด้านนี้ให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงในตลาดสหรัฐฯ เพราะปัจจุบันไทยยังมีข้อจำกัดบางประการที่เป็นอุปสรรคต่อการค้าในระบบ E-Commerce
โดยเฉพาะกฎระเบียบหรือข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกรรมด้านนี้ยังพัฒนาไปได้ไม่มากนัก ตลอดจนยังคงมีปัญหาการขาดแคลนบุคลากรที่มีความรู้ความชำนาญด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ หากผู้ประกอบการไทยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทยยังไม่สามารถปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว สินค้าไทยก็อาจต้องสูญเสียส่วนแบ่งในตลาดสหรัฐฯ ให้กับคู่แข่งที่มีความพร้อมกว่าไปอย่างน่าเสียดาย
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย มิถุนายน 2544--
-อน-
แม้การส่งออกของไทยไปสหรัฐฯ ในช่วงที่ผ่านมาขยายตัวดีอย่างต่อเนื่อง แต่การที่ตลาดสหรัฐฯ เป็นตลาดใหญ่ ซึ่งนานาประเทศต่างมุ่งหวังเข้าไปครองส่วนแบ่งตลาด ทำให้การแข่งขันในตลาดนี้ค่อนข้างสูง ประกอบกับสหรัฐฯ เองก็มีมาตรการทางการค้าหลายประการทั้งเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคและผู้ผลิตภายในประเทศ จึงมีการนำมาตรการกีดกันการค้าหลากหลายรูปแบบมาใช้ ดังนั้น ผู้ส่งออกที่ต้องการส่วนแบ่งตลาดในสหรัฐฯ ต้องสามารถปรับตัวให้เข้ากับภาวะแวดล้อมทางการค้าในตลาดนี้ได้
ปัจจัยสำคัญที่มีผลกระทบต่อการส่งออกของไทยในตลาดสหรัฐฯ ได้แก่
- ความได้เปรียบของประเทศคู่แข่งที่เป็นสมาชิกเขตการค้าเสรีอเมริกาเหนือ (NAFTA) และประเทศในแถบอเมริกากลางและแคริบเบียน ประเทศเหล่านี้มีความได้เปรียบโดยธรรมชาติอยู่แล้วในด้านทำเลที่ตั้งที่อยู่ใกล้สหรัฐฯ ทำให้ประหยัดต้นทุนและระยะเวลาในการขนส่งสินค้าไปสหรัฐฯ นอกจากนี้ เมื่อมีข้อตกลง NAFTA เกิดขึ้นเมื่อปี 2535 สิทธิพิเศษทางด้านภาษีที่ให้แก่กันภายในกลุ่มความร่วมมือ ยิ่งทำให้ประเทศสมาชิก NAFTA มีความได้เปรียบมากขึ้นในการส่งออกไปตลาดสหรัฐฯ ส่วนประเทศในกลุ่มแคริบเบียนก็เป็นฐานการผลิตที่สามารถดึงดูดการลงทุนจากสหรัฐฯ ได้มากกว่าเอเชีย และมีแนวโน้มที่สหรัฐฯ จะขยายความร่วมมือทางการค้า การลงทุนกับกลุ่มประเทศแคริบเบียนมากขึ้นอีกในอนาคต ดังนั้น ประเทศเหล่านี้จึงสามารถครองส่วนแบ่งตลาดส่งออกในสหรัฐฯได้มาก โดยอาศัยความได้เปรียบดังกล่าวนี้
- การแข่งขันจากจีนและเวียดนามมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ทั้งจีนและเวียดนามเป็นคู่แข่งทางการค้าที่สำคัญ
เนื่องจากมีต้นทุนการผลิตต่ำกว่าไทยและส่งออกสินค้าหลายรายการคล้ายคลึงกับของไทย การแข่งขันจากจีนและเวียดนามในตลาดสหรัฐฯ จะเพิ่มมากขึ้นในอนาคตเนื่องจาก
- การบรรลุข้อตกลงสองฝ่ายระหว่างสหรัฐฯกับจีน เพื่อเปิดเสรีทางการค้าและบริการโดยลดอัตราภาษีศุลกากรระหว่างกันจะส่งผลให้จีนมีความได้เปรียบมากขึ้นในตลาดสหรัฐฯ นอกจากนี้ รัฐบาลสหรัฐฯ ยังให้ความสำคัญมากขึ้นกับการลงทุนของสหรัฐฯ ในจีน ดังนั้น สหรัฐฯ จึงมีแนวโน้มว่าจะนำเข้าจากจีนเพิ่มขึ้นในอนาคต ปัจจุบันจีนเป็นแหล่งนำเข้าสำคัญอันดับ 4 ของสหรัฐฯ สินค้าที่จีนมีส่วนแบ่งตลาดในสหรัฐฯสูงกว่าไทย ได้แก่ รองเท้าและชิ้นส่วนของเล่น เครื่องใช้สำหรับเดินทาง หนังและผลิตภัณฑ์ เครื่องเล่นเกมส์ เป็นต้น
- การบรรลุข้อตกลงทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับเวียดนามส่งผลให้สหรัฐฯ นำ NTR (Normal Trade Relation) ซึ่งเป็นข้อตกลงฟื้นฟูสัมพันธภาพด้านเศรษฐกิจและการค้าในภาวะปกติซึ่งเดิมเรียกว่าการประติบัติเยี่ยงชาติที่ได้รับอนุเคราะห์ยิ่ง (Most-Favoured Nation Treatment: MFN) มาใช้กับเวียดนาม การที่สหรัฐฯ ให้ NTR แก่เวียดนามส่งผลดีต่อสินค้าส่งออกของเวียดนามไปยังสหรัฐฯ เพราะทำให้เสียภาษีนำเข้าลดลง จากเดิมเฉลี่ยร้อยละ 35 เหลือเฉลี่ยเพียงร้อยละ 4.9 ราคาสินค้าเวียดนามที่จำหน่ายในตลาดสหรัฐฯ จึงมีแนวโน้มลดลงและแข่งขันกับสินค้าจากประเทศอื่นๆ ได้ สำหรับสินค้าสำคัญของเวียดนามที่ไทยต้องเผชิญกับการแข่งขันอย่างรุนแรงในตลาดสหรัฐฯ ในปัจจุบัน ได้แก่ เสื้อผ้าสำเร็จรูปและสิ่งทอ รองเท้าและเครื่องหนัง ผลิตภัณฑ์ประมง ข้าว เป็นต้น
- การใช้มาตรการที่ไม่ใช่ภาษีของสหรัฐฯ กับประเทศคู่ค้ามีแนวโน้มรุนแรงขึ้น เช่น
- การกำหนดมาตรฐานคุณภาพสินค้า ตลอดจนความเข้มงวดในการตรวจสอบกระบวนการผลิตตั้งแต่ขั้นตอนวัตถุดิบ อาทิ กำหนดให้สินค้าที่จะส่งเข้าไปจำหน่ายในสหรัฐฯ ต้องผ่านมาตรฐาน ISO หรือ HACCP เป็นต้น
- การนำประเด็นด้านแรงงาน ตลอดจนการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มาเป็นข้อกีดกันการนำเข้าจะทำให้สินค้าไทยประสบปัญหามากขึ้นเป็นลำดับ โดยเฉพาะประเด็นการใช้แรงงานซึ่งปัจจุบัน ผู้ประกอบการบางรายของไทยยังไม่สามารถปฏิบัติตามมาตรฐานที่สหรัฐฯ กำหนดได้ เช่น การใช้แรงงานเด็ก จำนวนชั่วโมงทำงานต่อวัน ค่าตอบแทนนอกเวลา สวัสดิการแรงงาน เป็นต้น สำหรับประเด็นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของไทยเป็นสิ่งที่สหรัฐฯ มักนำมาเชื่อมโยงกับประเด็นทางการค้าและใช้เป็นข้อกีดกันการนำสินค้าไทยเข้าไปจำหน่ายในตลาดสหรัฐฯ อยู่เป็นระยะ
- มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดและต่อต้านการอุดหนุน (AD/CVD) ปัจจุบันสินค้าส่งออกของไทยหลายรายการได้รับผลกระทบจากการเก็บภาษีตอบโต้การทุ่มตลาดและต่อต้านการอุดหนุนของสหรัฐฯ โดยเฉพาะเมื่อสหรัฐฯ มีมาตรการให้นำเงินภาษีที่จัดเก็บจากการตอบโต้การทุ่มตลาดและต่อต้านการอุดหนุนไปจัดตั้งเป็นกองทุนเพื่อสนับสนุนหรือชดเชยให้แก่อุตสาหกรรมภายในที่ได้รับผลกระทบ จึงเป็นการเพิ่มแรงจูงใจให้อุตสาหกรรมภายใน สหรัฐฯ ดำเนินการฟ้องร้องผู้ผลิตในต่างประเทศเพื่อให้รัฐบาลสหรัฐฯเปิดการไต่สวนกรณีทุ่มตลาดและการอุดหนุนมากขึ้นเป็นลำดับ
นอกจากปัจจัยดังกล่าวข้างต้นแล้ว การที่สหรัฐฯ ติดต่อค้าขายกับต่างประเทศผ่านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce) มากขึ้น รวมถึงมีการพัฒนาระบบต่างๆ เพื่อรองรับ E-Commerce มากขึ้น เช่น ระบบการขนส่ง การกระจายสินค้าและการจัดเก็บสินค้า (Logistics) โดยเน้นให้มีการส่งมอบสินค้าให้ได้เร็วที่สุด และการลดปริมาณการสต็อกสินค้าคงคลังลง ทำให้ผู้ส่งออกไทยมีความจำเป็นต้องเร่งพัฒนาตนเองในด้านนี้ให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงในตลาดสหรัฐฯ เพราะปัจจุบันไทยยังมีข้อจำกัดบางประการที่เป็นอุปสรรคต่อการค้าในระบบ E-Commerce
โดยเฉพาะกฎระเบียบหรือข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกรรมด้านนี้ยังพัฒนาไปได้ไม่มากนัก ตลอดจนยังคงมีปัญหาการขาดแคลนบุคลากรที่มีความรู้ความชำนาญด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ หากผู้ประกอบการไทยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทยยังไม่สามารถปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว สินค้าไทยก็อาจต้องสูญเสียส่วนแบ่งในตลาดสหรัฐฯ ให้กับคู่แข่งที่มีความพร้อมกว่าไปอย่างน่าเสียดาย
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย มิถุนายน 2544--
-อน-