27/11/44 นายอดิศัย โพธารามิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า การส่งออกในเดือนตุลาคม 2544 มีมูลค่า 5,441.3 ล้านเหรียญสหรัฐลดลง 13.94% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ส่งออกมีมูลค่า 6,322.6 ล้านเหรียญสหรัฐ และน้อยกว่าการส่งออกในเดือนกันยายนที่มีมูลค่า 5,491 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนการนำเข้ามีมูลค่า 5,055.7 ล้านเหรียญสหรัฐลดลง 15.63% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่นำเข้ามีมูลค่า 5,992.2 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่ยังมากกว่าการนำเข้าของเดือนกันยายนที่มีมูลค่า 5,050.1 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยไทยเป็นฝ่ายได้ดุลการค้า 385.6 ล้านเหรียญสหรัฐ
สำหรับการส่งออก 10 เดือน (ม.ค.-ต.ค.) มีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 54,781.7 ล้านเหรียญสหรัฐลดลง 5.06% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ส่งออกมีมูลค่า 57,704.2 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนการนำเข้ามีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 52,296.6 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 1.98% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาที่นำเข้า 51,280.2 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่งผลให้ไทยได้ดุลการค้า 2,485.1 ล้านเหรียญสหรัฐ อัตราการเกินดุลลดลง 61.32%
"ดุลการค้าของไทยขยับจาก 2,000 ล้านเหรียญสหรัฐ เข้าใกล้ 2,500 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งใกล้เป้าหมายที่ตั้งไว้ว่าทั้งปีจะมีอัตราการเกินดุล 2,700 ล้านเหรียญสหรัฐ และคาดว่าจะติดลบถึง 8.1% ส่วน 2 เดือนที่เหลือนั้น เมื่อเทียบกับปีก่อน การส่งออกทำได้น้อยกว่าปีนี้ หากจะติดลบก็คงไม่มาก ซึ่งคาดว่าจะอยู่ใกล้ 6-6.5%"
หากจะเทียบการส่งออกของไทยกับประเทศเพื่อนบ้านทุกประเทศ จะเห็นว่ามีตัวเลขที่ติดลบมากกว่าประเทศไทย ในแถบเอเชียมีเพียงประเทศจีนเท่านั้นที่ปริมาณการส่งออกเป็นบวก 6.36% ยกเว้นเดือนตุลาคมที่การส่งออกของจีนเริ่มติดลบ 0.04% ขณะที่ประเทศอื่นๆ ในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมาก็ติดลบเช่นกัน อาทิ เกาหลีใต้ -11.18% มาเลเซีย -8.35% ไต้หวัน -16.64% ฟิลิปปินส์ - 13.84% สิงคโปร์ - 6.89% อินโดนีเซีย - 5.91% และฮ่องกง -3.62%
อย่างไรก็ตามในเร็วๆนี้ จะมีการเรียกประชุมร่วมกับกรมส่งเสริมการส่งออกเพื่อกำหนดกลยุทธ์การผลักดันการส่งออกสินค้าประมาณ 5 หมวดที่ยังมีอัตราการส่งออกเป็นบวก เช่น ยานยนต์และอะไหล่ อัญมณีและเครื่องประดับ รวมทั้งอาหาร เป็นต้น เพื่อจะกำหนดว่าจะมีวิธีผลักดันให้การส่งออกมีอัตราเพิ่มขึ้นได้อย่างไร
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ ธันวาคม 2544--
-ปส-
สำหรับการส่งออก 10 เดือน (ม.ค.-ต.ค.) มีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 54,781.7 ล้านเหรียญสหรัฐลดลง 5.06% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ส่งออกมีมูลค่า 57,704.2 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนการนำเข้ามีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 52,296.6 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 1.98% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาที่นำเข้า 51,280.2 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่งผลให้ไทยได้ดุลการค้า 2,485.1 ล้านเหรียญสหรัฐ อัตราการเกินดุลลดลง 61.32%
"ดุลการค้าของไทยขยับจาก 2,000 ล้านเหรียญสหรัฐ เข้าใกล้ 2,500 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งใกล้เป้าหมายที่ตั้งไว้ว่าทั้งปีจะมีอัตราการเกินดุล 2,700 ล้านเหรียญสหรัฐ และคาดว่าจะติดลบถึง 8.1% ส่วน 2 เดือนที่เหลือนั้น เมื่อเทียบกับปีก่อน การส่งออกทำได้น้อยกว่าปีนี้ หากจะติดลบก็คงไม่มาก ซึ่งคาดว่าจะอยู่ใกล้ 6-6.5%"
หากจะเทียบการส่งออกของไทยกับประเทศเพื่อนบ้านทุกประเทศ จะเห็นว่ามีตัวเลขที่ติดลบมากกว่าประเทศไทย ในแถบเอเชียมีเพียงประเทศจีนเท่านั้นที่ปริมาณการส่งออกเป็นบวก 6.36% ยกเว้นเดือนตุลาคมที่การส่งออกของจีนเริ่มติดลบ 0.04% ขณะที่ประเทศอื่นๆ ในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมาก็ติดลบเช่นกัน อาทิ เกาหลีใต้ -11.18% มาเลเซีย -8.35% ไต้หวัน -16.64% ฟิลิปปินส์ - 13.84% สิงคโปร์ - 6.89% อินโดนีเซีย - 5.91% และฮ่องกง -3.62%
อย่างไรก็ตามในเร็วๆนี้ จะมีการเรียกประชุมร่วมกับกรมส่งเสริมการส่งออกเพื่อกำหนดกลยุทธ์การผลักดันการส่งออกสินค้าประมาณ 5 หมวดที่ยังมีอัตราการส่งออกเป็นบวก เช่น ยานยนต์และอะไหล่ อัญมณีและเครื่องประดับ รวมทั้งอาหาร เป็นต้น เพื่อจะกำหนดว่าจะมีวิธีผลักดันให้การส่งออกมีอัตราเพิ่มขึ้นได้อย่างไร
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ ธันวาคม 2544--
-ปส-