นายเกริกไกร จีระแพทย์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ แจ้งว่า ประธานาธิบดี บิล คลินตันได้ลงนามในอนุสัญญาขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ว่าด้วยการยกเลิกรูปแบบที่เลวร้ายที่สุดของแรงงานเด็ก ซึ่งสาระสำคัญตามอนุสัญญาได้ให้ความหมายของคำว่า “เด็ก” หมายถึง บุคคลที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี สำหรับรูปแบบที่เลวร้ายที่สุดของแรงงานเด็ก ประกอบด้วย
1. การขายและซื้อขายเด็ก หนี้พันธการ และทาสรับใช้แรงงานบังคับ
2. การบังคับหรือการเกณฑ์เด็กให้ใช้อาวุธในการสู้รบ
3. การใช้เด็กเพื่อการค้าประเวณี การผลิตสื่อลามกอนาจาร หรือเพื่อการแสดงลามกอนาจาร
4. การใช้หรือล่อลวง หรือการเสนอเด็กสำหรับกิจกรรมผิดกฎหมาย โดยเฉพาะการผลิตและการซื้อขายยาเสพติด
5. งานที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ความปลอดภัย หรือขัดต่อศีลธรรมของเด็ก
การให้สัตยาบันในอนุสัญญาดังกล่าวอาจส่งผลให้มีการจำกัดการนำเข้าสินค้าจากประเทศที่มีการละเมิดข้อตกลงตามอนุสัญญานี้
นอกจากนี้ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กล่าวเพิ่มเติมว่า การลงนามในอนุสัญญานี้ของสหรัฐอเมริกาอาจทำให้เงื่อนไขการให้สิทธิ GSP กรณีประเทศผู้รับสิทธิต้องให้ความคุ้มครองสิทธิแรงงานในประเทศตนเพิ่มความเข้มงวดขึ้น
เนื่องจากตามระบบ GSP สหรัฐฯ นับตั้งแต่โครงการที่ 2 เป็นต้นมา ได้กำหนดเงื่อนไขให้ประเทศผู้รับสิทธิ GSP จะต้องให้ความคุ้มครองสิทธิแรงงานของตนในระดับที่เป็นที่ยอมรับของนานาชาติ ซึ่งรวมไปถึงการให้ความคุ้มครองแรงงานเด็กด้วย และหากประเทศใดไม่สามารถปฏิบัติตามได้ สหรัฐฯ จะพิจารณาเพิกถอนสิทธิ GSP ของประเทศนั้นทั้งหมด ดังเช่นในปี 2530 ได้เพิกถอนสิทธิ GSP ประเทศ นิคารากัว ปารากวัย โรมาเนีย ปี 2531 เพิกถอนสิทธิ GSP ประเทศชิลิ ด้วยเหตุผลการละเมิดสิทธิแรงงาน
ในกรณีของประเทศไทย การจะถูกตัดสิทธิ GSP อาจมีสาเหตุมาจากการที่ยังไม่ให้ความคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาของสหรัฐฯ (IPR) อย่างเพียงพอ หรือกรณีเป็นประเทศผู้ใช้สิทธิ GSP สูงเป็นอันดับแรก มากกว่ากรณีการละเมิดสิทธิแรงงานเด็ก เนื่องจากสินค้าไทยที่ใช้สิทธิ GSP สหรัฐฯ ที่มีมูลค่าสูง ส่วนใหญ่เป็นสินค้าอุตสาหกรรมที่ผลิตโดยใช้เครื่องจักร เช่น จอภาพคอมพิวเตอร์สี เครื่องรับโทรทัศน์สี วงจรพิมพ์ เครื่องปรับอากาศฯลฯ ซึ่งมิได้เป็นสินค้าที่ผลิตโดยใช้แรงงานเด็ก อย่างเช่น สินค้าพรมที่ผลิตในปากีสถานที่ถูกตัดสิทธิ GSP สหรัฐฯ ไปแล้ว ดังนั้น การลงนามในอนุสัญญาฯ ดังกล่าว อาจจะไม่มีผลกระทบต่อการตัดสิทธิ GSP ของไทยมากนัก
--กรมการส่งเสริมการส่งออก มกราคม 2543--
-อน-
1. การขายและซื้อขายเด็ก หนี้พันธการ และทาสรับใช้แรงงานบังคับ
2. การบังคับหรือการเกณฑ์เด็กให้ใช้อาวุธในการสู้รบ
3. การใช้เด็กเพื่อการค้าประเวณี การผลิตสื่อลามกอนาจาร หรือเพื่อการแสดงลามกอนาจาร
4. การใช้หรือล่อลวง หรือการเสนอเด็กสำหรับกิจกรรมผิดกฎหมาย โดยเฉพาะการผลิตและการซื้อขายยาเสพติด
5. งานที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ความปลอดภัย หรือขัดต่อศีลธรรมของเด็ก
การให้สัตยาบันในอนุสัญญาดังกล่าวอาจส่งผลให้มีการจำกัดการนำเข้าสินค้าจากประเทศที่มีการละเมิดข้อตกลงตามอนุสัญญานี้
นอกจากนี้ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กล่าวเพิ่มเติมว่า การลงนามในอนุสัญญานี้ของสหรัฐอเมริกาอาจทำให้เงื่อนไขการให้สิทธิ GSP กรณีประเทศผู้รับสิทธิต้องให้ความคุ้มครองสิทธิแรงงานในประเทศตนเพิ่มความเข้มงวดขึ้น
เนื่องจากตามระบบ GSP สหรัฐฯ นับตั้งแต่โครงการที่ 2 เป็นต้นมา ได้กำหนดเงื่อนไขให้ประเทศผู้รับสิทธิ GSP จะต้องให้ความคุ้มครองสิทธิแรงงานของตนในระดับที่เป็นที่ยอมรับของนานาชาติ ซึ่งรวมไปถึงการให้ความคุ้มครองแรงงานเด็กด้วย และหากประเทศใดไม่สามารถปฏิบัติตามได้ สหรัฐฯ จะพิจารณาเพิกถอนสิทธิ GSP ของประเทศนั้นทั้งหมด ดังเช่นในปี 2530 ได้เพิกถอนสิทธิ GSP ประเทศ นิคารากัว ปารากวัย โรมาเนีย ปี 2531 เพิกถอนสิทธิ GSP ประเทศชิลิ ด้วยเหตุผลการละเมิดสิทธิแรงงาน
ในกรณีของประเทศไทย การจะถูกตัดสิทธิ GSP อาจมีสาเหตุมาจากการที่ยังไม่ให้ความคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาของสหรัฐฯ (IPR) อย่างเพียงพอ หรือกรณีเป็นประเทศผู้ใช้สิทธิ GSP สูงเป็นอันดับแรก มากกว่ากรณีการละเมิดสิทธิแรงงานเด็ก เนื่องจากสินค้าไทยที่ใช้สิทธิ GSP สหรัฐฯ ที่มีมูลค่าสูง ส่วนใหญ่เป็นสินค้าอุตสาหกรรมที่ผลิตโดยใช้เครื่องจักร เช่น จอภาพคอมพิวเตอร์สี เครื่องรับโทรทัศน์สี วงจรพิมพ์ เครื่องปรับอากาศฯลฯ ซึ่งมิได้เป็นสินค้าที่ผลิตโดยใช้แรงงานเด็ก อย่างเช่น สินค้าพรมที่ผลิตในปากีสถานที่ถูกตัดสิทธิ GSP สหรัฐฯ ไปแล้ว ดังนั้น การลงนามในอนุสัญญาฯ ดังกล่าว อาจจะไม่มีผลกระทบต่อการตัดสิทธิ GSP ของไทยมากนัก
--กรมการส่งเสริมการส่งออก มกราคม 2543--
-อน-