กรุงเทพฯ--15 ก.พ.--กระทรวงการต่างประเทศ
กระทรวงการต่างประเทศได้รับแจ้งจากสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ว่า ตามที่มีรายงานข่าวในสื่อต่างๆ ว่า ประเทศไทยได้พบผู้เสียชีวิตเนื่องจากโรควัวบ้า (vanant Creutzfeldt-Jakob Disease - vCJD) จำนวน 2 ราย ทำให้กระทรวงสาธารณสุขมาเลเซียประกาศระงับการนำเข้าเนื้อวัวจากไทย โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 10 ก.พ. 2544 นั้น
กระทรวงการต่างประเทศได้ประสานกับกระทรวงสาธารณสุข มหาวิทยาลัยมหิดล กองควบคุมโรคระบาด กรมปศุสัตว์ ตลอดจนคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) แล้ว และขอเรียน ชี้แจงเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวดังนี้
1. ปัจจุบันยังไม่พบว่ามีโรคนี้เกิดขึ้นในปศุสัตว์ของประเทศไทยแต่อย่างใด และยังไม่เคยพบโรคนี้ในคนด้วยเช่นกัน สำหรับรายงานการตรวจพบผู้ป่วยโรควัวบ้าจำนวน 2 รายที่โรงพยาบาลศิริราชนั้น เป็นเรื่องความเข้าใจคลาดเคลื่อนในการแถลงข่าวของมหาวิทยาลัยมหิดล เพราะผู้ป่วยทั้งสองเป็นโรค Creutzfeldt-Jakob Disease - CJD หรือที่เรียกโดยทั่วไปว่าโรคสมองพรุน ซึ่งเป็นโรคทางสมองชนิดหนึ่งที่มักพบในผู้สูงอายุวัย 50 ปีขึ้นไป และพบได้โดยทั่วไปในทุกประเทศทั่วโลกในอัตรา 1 คนต่อประชากรล้านคนต่อปี
2. กระทรวงสาธารณสุขจะมีหนังสือไปยังสถานเอกอัครราชทูตมาเลเซีย ประจำประเทศไทย และกระทรวงสาธารณสุขมาเลเซีย ชี้แจงเรื่องดังกล่าวข้างต้น พร้อมทั้งจะประสานกับกระทรวงการต่างประเทศแจ้งเรื่องนี้ไปยังสถานเอกอัครราชทูต และสถานกงสุลของประเทศต่างๆ ในไทยอีกทางหนึ่งด้วย
3. ในชั้นต้น สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ได้ชี้แจงให้ทางการมาเลเซียเข้าใจว่า เหตุการณ์ทั้งหมดเป็นเรื่องของความคลาดเคลื่อนในการแถลงข่าวเท่านั้น โดยกระทรวงการต่างประเทศ จะมีหนังสือชี้แจงข้อเท็จจริง และสร้างความชัดเจนในเรื่องนี้ไปยังทางการมาเลเซีย เพื่อให้ฝ่ายมาเลเซียพิจารณายกเลิกมาตรการที่ประกาศใช้กับประเทศไทย และเพื่อช่วยสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้นำเข้าและผู้บริโภคสินค้าจากประเทศไทย ทั้งนี้ สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ได้รับแจ้งจาก Dr. Yahya Baba รองผู้อำนวยการกองควบคุมคุณภาพอาหาร (Principal Assistant Director, Food Quality Control Division) ของมาเลเซียว่า จะยกเลิกมาตรการดังกล่าวโดยทันทีหากได้รับคำยืนยันอย่างเป็นทางการจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทยว่า ผู้ป่วยทั้งสองรายมิได้รับเชื้อวัวบ้าดังที่เป็นข่าว
4. กรมปศุสัตว์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทย อาทิ กองระบาดวิทยา และกรมการค้าระหว่างประเทศได้ออกมาตรการในการเฝ้าระวัง และติดตามความเคลื่อนไหวของโรคนี้อย่าง ใกล้ชิด
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-
กระทรวงการต่างประเทศได้รับแจ้งจากสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ว่า ตามที่มีรายงานข่าวในสื่อต่างๆ ว่า ประเทศไทยได้พบผู้เสียชีวิตเนื่องจากโรควัวบ้า (vanant Creutzfeldt-Jakob Disease - vCJD) จำนวน 2 ราย ทำให้กระทรวงสาธารณสุขมาเลเซียประกาศระงับการนำเข้าเนื้อวัวจากไทย โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 10 ก.พ. 2544 นั้น
กระทรวงการต่างประเทศได้ประสานกับกระทรวงสาธารณสุข มหาวิทยาลัยมหิดล กองควบคุมโรคระบาด กรมปศุสัตว์ ตลอดจนคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) แล้ว และขอเรียน ชี้แจงเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวดังนี้
1. ปัจจุบันยังไม่พบว่ามีโรคนี้เกิดขึ้นในปศุสัตว์ของประเทศไทยแต่อย่างใด และยังไม่เคยพบโรคนี้ในคนด้วยเช่นกัน สำหรับรายงานการตรวจพบผู้ป่วยโรควัวบ้าจำนวน 2 รายที่โรงพยาบาลศิริราชนั้น เป็นเรื่องความเข้าใจคลาดเคลื่อนในการแถลงข่าวของมหาวิทยาลัยมหิดล เพราะผู้ป่วยทั้งสองเป็นโรค Creutzfeldt-Jakob Disease - CJD หรือที่เรียกโดยทั่วไปว่าโรคสมองพรุน ซึ่งเป็นโรคทางสมองชนิดหนึ่งที่มักพบในผู้สูงอายุวัย 50 ปีขึ้นไป และพบได้โดยทั่วไปในทุกประเทศทั่วโลกในอัตรา 1 คนต่อประชากรล้านคนต่อปี
2. กระทรวงสาธารณสุขจะมีหนังสือไปยังสถานเอกอัครราชทูตมาเลเซีย ประจำประเทศไทย และกระทรวงสาธารณสุขมาเลเซีย ชี้แจงเรื่องดังกล่าวข้างต้น พร้อมทั้งจะประสานกับกระทรวงการต่างประเทศแจ้งเรื่องนี้ไปยังสถานเอกอัครราชทูต และสถานกงสุลของประเทศต่างๆ ในไทยอีกทางหนึ่งด้วย
3. ในชั้นต้น สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ได้ชี้แจงให้ทางการมาเลเซียเข้าใจว่า เหตุการณ์ทั้งหมดเป็นเรื่องของความคลาดเคลื่อนในการแถลงข่าวเท่านั้น โดยกระทรวงการต่างประเทศ จะมีหนังสือชี้แจงข้อเท็จจริง และสร้างความชัดเจนในเรื่องนี้ไปยังทางการมาเลเซีย เพื่อให้ฝ่ายมาเลเซียพิจารณายกเลิกมาตรการที่ประกาศใช้กับประเทศไทย และเพื่อช่วยสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้นำเข้าและผู้บริโภคสินค้าจากประเทศไทย ทั้งนี้ สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ได้รับแจ้งจาก Dr. Yahya Baba รองผู้อำนวยการกองควบคุมคุณภาพอาหาร (Principal Assistant Director, Food Quality Control Division) ของมาเลเซียว่า จะยกเลิกมาตรการดังกล่าวโดยทันทีหากได้รับคำยืนยันอย่างเป็นทางการจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทยว่า ผู้ป่วยทั้งสองรายมิได้รับเชื้อวัวบ้าดังที่เป็นข่าว
4. กรมปศุสัตว์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทย อาทิ กองระบาดวิทยา และกรมการค้าระหว่างประเทศได้ออกมาตรการในการเฝ้าระวัง และติดตามความเคลื่อนไหวของโรคนี้อย่าง ใกล้ชิด
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-