การผลิตภาคอุตสาหกรรม : ในปี 2543 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงจากปีก่อน โดยสินค้าที่ผลิตเพื่อการส่งออกยังขยายตัวสูงตามการขยายตัวของเศรษฐกิจ และการค้าของโลก ขณะที่ผลผลิตอุตสาหกรรมในหมวดเครื่องดื่ม ยาสูบ และ ปิโตรเลียมลดลง เนื่องจากความต้องการในประเทศชะลอลง กอปรกับผู้ผลิตสุราที่ได้รับสัมปทานยังผลิตน้อยมากในปีนี้
ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในปี 2543 ขยายตัวร้อยละ 3 ชะลอลงจากร้อยละ 12.5 ในปีก่อน แต่หากไม่รวมผลผลิตสุราเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.7 ซึ่งสอดคล้องกับอัตราการใช้กำลังการผลิต ที่ลดลงจากระดับร้อยละ 60 ในปีก่อน มาอยู่ที่ ร้อยละ 56.1 ในปี 2543 (หากไม่รวมผลผลิตสุรา อยู่ระดับร้อยละ 59.8) อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรม ที่มีการใช้กำลังการผลิตเต็มที่หรือเกือบเต็มที่ในปีนี้ ได้แก่ แผงวงจรไฟฟ้า ยางรถยนต์ เยื่อกระดาษ และผลิตภัณฑ์กระดาษ
ปัจจัยสำคัญที่ทำให้การผลิตภาค อุตสาหกรรมขยายตัว ได้แก่ ปริมาณการค้า และเศรษฐกิจโลกที่ขยายตัวสูงขึ้น ซึ่งเอื้อต่อการผลิต เพื่อส่งออก ประกอบกับผลการปรับโครงสร้างหนี้ ประสบความสำเร็จเป็นลำดับ และผู้ประกอบการ จำนวนมากได้ปรับกลยุทธ์โดยเน้นการผลิตเพื่อส่งออกเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า เหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก หมวด ยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง และวัสดุก่อสร้าง อย่างไร ก็ตาม ความต้องการภายในประเทศที่ยังอยู่ในระดับต่ำ ทำให้ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวไม่มาก แม้ว่าทางการจะดำเนินมาตรการกระตุ้นการใช้จ่าย ภาครัฐ และมาตรการสนับสนุนการลงทุนของภาคเอกชน
อุตสาหกรรมที่การผลิตขยายตัวดีในปี 2543 ได้แก่
หมวดอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า ขยายตัวจากปีก่อนสูงถึงร้อยละ 31.6 ตามการส่งออกแผงวงจรไฟฟ้า และ เครื่องรับโทรทัศน์ เนื่องจากมีผลิตภัณฑ์ใหม่ออกสู่ตลาดโดยเฉพาะโทรทัศน์จอแบน ทำให้การใช้กำลังการผลิตของหมวดนี้ปรับตัวสูงขึ้น มาอยู่ที่ระดับร้อยละ 63.9
หมวดอัญมณีและ เครื่องประดับ ขยายตัวร้อยละ 28.5 โดยเฉพาะการผลิตเครื่องประดับที่ทำด้วยเงิน ซึ่งส่วนใหญ่ส่งออกไปยังตลาดญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา อิสราเอล และเบลเยี่ยม ประกอบกับทางการได้ออกมาตรการยกเว้นภาษีนำเข้า วัตถุดิบ สำหรับอุตสาหกรรมอัญมณีและ เครื่องประดับ 11 รายการ รวมทั้งปรับปรุงการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับทองคำ ซึ่งช่วยลดการเสียภาษีซ้ำซ้อน และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันกับต่างประเทศ
หมวดยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง ขยายตัวร้อยละ 25.6 เนื่องจากมีการเปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่ของบริษัท เจนเนอรัล มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท บีเอ็ม ดับเบิลยู แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัท ออโต้ อัลลายแอนซ์ (ประเทศไทย) จำกัด อย่างไรก็ตาม การขยายตัวของการผลิตในหมวดนี้ได้ชะลอลงมากในช่วงครึ่งหลังของปี ตามความต้องการภายในประเทศที่ชะลอลงจากภาวะน้ำท่วม และราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นมาก ทำให้อัตราการใช้กำลังการผลิตของหมวดนี้ยังอยู่ในเกณฑ์ต่ำคือ ร้อยละ 42.2
หมวดผลิตภัณฑ์อื่น ๆ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 14.5 ตามการส่งออกผลิตภัณฑ์ยางแท่ง ปิโตรเคมี เยื่อกระดาษ และคอมเพรสเซอร์ โดยอัตราการใช้กำลังการผลิต อยู่ในระดับสูงร้อยละ 70
หมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก ขยายตัวร้อยละ 16.2 ตามการขยายตัวของ อุตสาหกรรมต่อเนื่อง โดยเฉพาะอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า และอุตสาหกรรมยานยนต์ ประกอบกับ การส่งออกท่อเหล็กไปยังตลาดสหรัฐฯ และยุโรป และผลิตภัณฑ์เหล็กแผ่นรีดร้อนและรีดเย็นไปยังญี่ปุ่นสามารถขยายตลาดได้เพิ่มขึ้น การใช้กำลังการผลิตของผลิตภัณฑ์ในหมวดนี้ จึงปรับตัวสูงขึ้นจากปีก่อน โดยอยู่ในระดับร้อยละ 45.6
สำหรับหมวดที่ผลิตเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ได้แก่ หมวดอาหาร เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 1.2 โดยเป็นผลจากการส่งออกอาหารทะเลแช่แข็ง และสับปะรดกระป๋องที่ลดลง ในขณะที่การผลิตของหมวดสิ่งทอเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2 ซึ่งปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับที่ลดลงร้อยละ 1.2 ในปีก่อน ตามการผลิตเส้นใยสังเคราะห์ และเสื้อผ้าสำเร็จรูปเป็นสำคัญ
สำหรับหมวดวัสดุก่อสร้างผลผลิตทรงตัวเท่าปีก่อน แม้ว่าความต้องการภายในประเทศชะลอตัวลง แต่สามารถส่งออกไปยังสหรัฐฯ ฮ่องกง อินเดีย บังคลาเทศ และศรีลังกา ได้เพิ่มขึ้น ส่วนอุตสาหกรรมที่ผลิตลดลงได้แก่ หมวดเครื่องดื่ม ซึ่งเป็นไปตามการลดลงของผลผลิตสุรา เนื่องจากผู้ผลิตที่ได้รับสัมปทานได้เก็บสต็อกไว้มากในปีก่อน ในขณะที่การผลิตเครื่องดื่มประเภทอื่นๆ ยังขยายตัว หมวดผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ผลิตลดลงเนื่องจากโรงกลั่นไทยออยล์เกิดเหตุเพลิงไหม้ในช่วงสิ้นปีก่อน ทำให้ไม่สามารถดำเนินการผลิต ได้เต็มที่ในช่วงต้นปีนี้ ประกอบกับการใช้น้ำมันในประเทศได้ลดลงเพราะราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นมาก
--ทีมเศรษฐกิจมหภาคและนโยบาย/ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในปี 2543 ขยายตัวร้อยละ 3 ชะลอลงจากร้อยละ 12.5 ในปีก่อน แต่หากไม่รวมผลผลิตสุราเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.7 ซึ่งสอดคล้องกับอัตราการใช้กำลังการผลิต ที่ลดลงจากระดับร้อยละ 60 ในปีก่อน มาอยู่ที่ ร้อยละ 56.1 ในปี 2543 (หากไม่รวมผลผลิตสุรา อยู่ระดับร้อยละ 59.8) อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรม ที่มีการใช้กำลังการผลิตเต็มที่หรือเกือบเต็มที่ในปีนี้ ได้แก่ แผงวงจรไฟฟ้า ยางรถยนต์ เยื่อกระดาษ และผลิตภัณฑ์กระดาษ
ปัจจัยสำคัญที่ทำให้การผลิตภาค อุตสาหกรรมขยายตัว ได้แก่ ปริมาณการค้า และเศรษฐกิจโลกที่ขยายตัวสูงขึ้น ซึ่งเอื้อต่อการผลิต เพื่อส่งออก ประกอบกับผลการปรับโครงสร้างหนี้ ประสบความสำเร็จเป็นลำดับ และผู้ประกอบการ จำนวนมากได้ปรับกลยุทธ์โดยเน้นการผลิตเพื่อส่งออกเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า เหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก หมวด ยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง และวัสดุก่อสร้าง อย่างไร ก็ตาม ความต้องการภายในประเทศที่ยังอยู่ในระดับต่ำ ทำให้ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวไม่มาก แม้ว่าทางการจะดำเนินมาตรการกระตุ้นการใช้จ่าย ภาครัฐ และมาตรการสนับสนุนการลงทุนของภาคเอกชน
อุตสาหกรรมที่การผลิตขยายตัวดีในปี 2543 ได้แก่
หมวดอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า ขยายตัวจากปีก่อนสูงถึงร้อยละ 31.6 ตามการส่งออกแผงวงจรไฟฟ้า และ เครื่องรับโทรทัศน์ เนื่องจากมีผลิตภัณฑ์ใหม่ออกสู่ตลาดโดยเฉพาะโทรทัศน์จอแบน ทำให้การใช้กำลังการผลิตของหมวดนี้ปรับตัวสูงขึ้น มาอยู่ที่ระดับร้อยละ 63.9
หมวดอัญมณีและ เครื่องประดับ ขยายตัวร้อยละ 28.5 โดยเฉพาะการผลิตเครื่องประดับที่ทำด้วยเงิน ซึ่งส่วนใหญ่ส่งออกไปยังตลาดญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา อิสราเอล และเบลเยี่ยม ประกอบกับทางการได้ออกมาตรการยกเว้นภาษีนำเข้า วัตถุดิบ สำหรับอุตสาหกรรมอัญมณีและ เครื่องประดับ 11 รายการ รวมทั้งปรับปรุงการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับทองคำ ซึ่งช่วยลดการเสียภาษีซ้ำซ้อน และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันกับต่างประเทศ
หมวดยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง ขยายตัวร้อยละ 25.6 เนื่องจากมีการเปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่ของบริษัท เจนเนอรัล มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท บีเอ็ม ดับเบิลยู แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัท ออโต้ อัลลายแอนซ์ (ประเทศไทย) จำกัด อย่างไรก็ตาม การขยายตัวของการผลิตในหมวดนี้ได้ชะลอลงมากในช่วงครึ่งหลังของปี ตามความต้องการภายในประเทศที่ชะลอลงจากภาวะน้ำท่วม และราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นมาก ทำให้อัตราการใช้กำลังการผลิตของหมวดนี้ยังอยู่ในเกณฑ์ต่ำคือ ร้อยละ 42.2
หมวดผลิตภัณฑ์อื่น ๆ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 14.5 ตามการส่งออกผลิตภัณฑ์ยางแท่ง ปิโตรเคมี เยื่อกระดาษ และคอมเพรสเซอร์ โดยอัตราการใช้กำลังการผลิต อยู่ในระดับสูงร้อยละ 70
หมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก ขยายตัวร้อยละ 16.2 ตามการขยายตัวของ อุตสาหกรรมต่อเนื่อง โดยเฉพาะอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า และอุตสาหกรรมยานยนต์ ประกอบกับ การส่งออกท่อเหล็กไปยังตลาดสหรัฐฯ และยุโรป และผลิตภัณฑ์เหล็กแผ่นรีดร้อนและรีดเย็นไปยังญี่ปุ่นสามารถขยายตลาดได้เพิ่มขึ้น การใช้กำลังการผลิตของผลิตภัณฑ์ในหมวดนี้ จึงปรับตัวสูงขึ้นจากปีก่อน โดยอยู่ในระดับร้อยละ 45.6
สำหรับหมวดที่ผลิตเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ได้แก่ หมวดอาหาร เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 1.2 โดยเป็นผลจากการส่งออกอาหารทะเลแช่แข็ง และสับปะรดกระป๋องที่ลดลง ในขณะที่การผลิตของหมวดสิ่งทอเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2 ซึ่งปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับที่ลดลงร้อยละ 1.2 ในปีก่อน ตามการผลิตเส้นใยสังเคราะห์ และเสื้อผ้าสำเร็จรูปเป็นสำคัญ
สำหรับหมวดวัสดุก่อสร้างผลผลิตทรงตัวเท่าปีก่อน แม้ว่าความต้องการภายในประเทศชะลอตัวลง แต่สามารถส่งออกไปยังสหรัฐฯ ฮ่องกง อินเดีย บังคลาเทศ และศรีลังกา ได้เพิ่มขึ้น ส่วนอุตสาหกรรมที่ผลิตลดลงได้แก่ หมวดเครื่องดื่ม ซึ่งเป็นไปตามการลดลงของผลผลิตสุรา เนื่องจากผู้ผลิตที่ได้รับสัมปทานได้เก็บสต็อกไว้มากในปีก่อน ในขณะที่การผลิตเครื่องดื่มประเภทอื่นๆ ยังขยายตัว หมวดผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ผลิตลดลงเนื่องจากโรงกลั่นไทยออยล์เกิดเหตุเพลิงไหม้ในช่วงสิ้นปีก่อน ทำให้ไม่สามารถดำเนินการผลิต ได้เต็มที่ในช่วงต้นปีนี้ ประกอบกับการใช้น้ำมันในประเทศได้ลดลงเพราะราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นมาก
--ทีมเศรษฐกิจมหภาคและนโยบาย/ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-