การส่งออกอาหารไทย ท่ามกลางกระแสการกีดกันการค้ารูปแบบใหม่ : GMOs
1. ปัญหา
จากการที่ประเทศซาอุดิอาระเบีย ห้ามนำเข้าปลาทูน่ากระป๋องในน้ำมันพืชจากประเทศไทย โดยอ้างว่า น้ำมันพืช
ที่เป็นส่วนประกอบเกิดจากเมล็ดถั่วเหลืองที่ผ่านการตัดแต่งทางพันธุกรรม (Genetically Modified Organisms หรือ GMOs)
เนื่องจากเห็นว่าประเทศไทย มีการนำเข้าเมล็ดถั่วเหลืองกว่าร้อยละ 70 ของการนำเข้าเมล็ดถั่วเหลืองทั้งหมด จากประเทศ
สหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นแหล่งต้นกำเนิดและมีการผลิตพืชจีเอ็มโอมากที่สุดในโลก และประเทศไทยไม่มีใบรับรองจากหน่วยงานราชการ
ที่เกี่ยวข้องว่าสินค้าปลอดจาก GMOs และต่อมาประเทศ คูเวตได้ดำเนินการกีดกันปลาทูน่ากระป๋องจากไทยเช่นเดียวกับประเทศซาอุดิอาระเบีย นั้น
ประเด็นปัญหาดังกล่าว ได้ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการส่งออกปลาทูน่ากระป๋องของไทยที่ไทยเป็นผู้ส่งออกอันดับหนึ่งของโลก
มูลค่ากว่า 18,000 ล้านบาทต่อปี ซึ่งอาจทำให้ไทย สูญเสียส่วนแบ่งตลาด และสูญเสียรายได้เงินตราต่างประเทศ รวมทั้งสร้างความไม่มั่นใจให้แก่
ผู้นำเข้าประเทศอื่น ๆ
การส่งออกปลาทูน่ากระป๋องของไทย
ลำดับที่ ประเทศ ปริมาณ (ตัน) มูลค่า (ล้านบาท)
1 สหรัฐอเมริกา 88,832 7,124.80
2 แคนาดา 24,907 2,337.00
3 อังกฤษ 18,797 1,423.90
4 ญี่ปุ่น 12,093 1,367.00
5 อียิปต์ 11,642 769.6
6 ซาอุดิอาระเบีย 10,143 962.2
7 เยอรมนี 5,382 393
8 เนเธอร์แลนด์ 4,494 474.3
9 สวิตเซอร์แลนด์ 3,196 339.4
10 เลบานอน 3,122 329.2
ประเทศอื่น ๆ 40,796 3,316.60
รวม 223,404 18,837.00
ที่มา : กรมศุลกากร
ในปี 2542 ประเทศซาอุดิอาระเบียนำเข้าปลาทูน่ากระป๋องจากประเทศไทย จำนวน 10,143 ตัน มูลค่า 962.2 ล้านบาท
หรือคิดเป็นร้อยละ 4.5 และ 5.2 ของปริมาณและมูลค่า การส่งออกรวม ตามลำดับ คิดเป็นผู้นำเข้าปลาทูน่ากระป๋องที่สำคัญอันดับ 6 ของไทย
หากปัญหาการห้ามนำเข้าปลาทูน่ากระป๋องของไทยยังไม่สามารถหาข้อสรุปได้ อาจจะทำให้ไทยเสียตลาดซาอุดิอาระเบีย ซึ่งเป็นตลาดส่งออกสำคัญไป
ทั้งนี้ การที่ไทยจะฟ้องร้องต่อองค์การการค้าโลก (WTO) ว่าประเทศซาอุดิอาระเบียมีพฤติกรรมกีดกันการค้าในเรื่องที่ยังไม่มีข้อพิสูจน์
ทางวิทยาศาสตร์นั้น เป็นสิ่งที่ไม่สามารถทำได้ เนื่องจากประเทศซาอุดิอาระเบียไม่ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของ WTO
ดังนั้น ทางเดียวที่จะทำได้ คือ การเจรจาแบบทวิภาคีเพื่อต่อรองกับประเทศ ซาอุดิอาระเบีย แต่ในการดำเนินมาตรการตอบโต้
ก็ไม่สามารถทำได้อย่างเต็มที่เช่นกัน เนื่องจากประเทศไทยนำเข้าสินค้าจำเป็นในกลุ่มพลังงานจากซาอุดิอาระเบีย ขณะที่ประเทศซาอุดิอาระเบีย
นำเข้าสินค้าในกลุ่มอาหาร ซึ่งมีทางเลือกที่จะนำเข้าจากประเทศผู้ผลิตอื่นที่มิใช่ไทย อาทิ อินโดนีเซีย หรือฟิลิปปินส์
ประเด็นที่น่าวิตกกังวล คือ ในปี 2542 การส่งออกปลาทูน่ากระป๋องไปยังกลุ่มประเทศตะวันออกกลางรวมทั้งสิ้น 37,904 ตัน
เป็นมูลค่า 3,193.6 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 17.0 ของปริมาณและมูลค่าการส่งออกทั้งหมด หากการใช้มาตรการกีดกันการค้าโดยการอ้างเรื่อง
GMOs ขยายวงกว้างมากขึ้นในกลุ่มตะวันออกกลาง อาทิ อียิปต์ เลบานอน จะยิ่งทำให้ไทย ต้องสูญเสียส่วนแบ่งตลาดและส่งผลกระทบต่อผู้ผลิต
ผู้ส่งออก อุตสาหกรรมต่อเนื่อง ทำให้ สูญเสีย รายได้เงินตราต่างประเทศมากขึ้น และก่อให้เกิดความสูญเสียต่อเศรษฐกิจของประเทศเป็นอย่างมาก
2. อุตสาหกรรมอาหารอื่นที่คาดว่าจะถูกกระทบจากประเด็น GMOs
นอกจากอุตสาหกรรมปลาทูน่ากระป๋องที่ผู้นำเข้ากล่าวหาว่ามีส่วนประกอบที่เป็น GMOs แล้ว ยังอาจมีอุตสาหกรรมอาหารอื่น
ที่เสี่ยงต่อการที่ผู้นำเข้าจะยกประเด็นความปลอดภัยจากการบริโภค GMOs ของผู้บริโภคมาใช้เพื่อกีดกันการค้า เช่น เนื้อไก่แช่แข็ง เนื้อไก่
ปรุงสำเร็จและไก่พร้อมปรุง เนื่องจากวัตถุดิบในการผลิตอาหารสำหรับเลี้ยงไก่ โดยเฉพาะกากถั่วเหลือง ซึ่งจำเป็นจะต้องนำเข้าเพราะผลผลิต
ในประเทศไม่เพียงพอต่อความต้องการ โดยส่วนใหญ่นำเข้าจากประเทศสหรัฐอเมริกา อาร์เจนตินา และบราซิล ซึ่งเป็นแหล่งที่มีการผลิตและ
ส่งออกเมล็ด ถั่วเหลืองที่มีการตัดแต่งทางพันธุกรรม นอกจากนี้ ในกระบวนการผลิตเนื้อไก่ปรุงสำเร็จและไก่พร้อมปรุง มีการใช้ซอสถั่วเหลือง
หรือซีอิ๊วในการปรุงรส ซึ่งย่อมมีความเสี่ยงต่อการที่ผู้นำเข้าจะใช้มาตรการกีดกันการนำเข้าโดยอ้างเรื่อง GMOs เนื่องจากเกรงว่าจะเป็น
ซอสถั่วเหลืองหรือซีอิ๊วที่เกิดจากเมล็ดถั่วเหลืองที่ผ่านการตัดแต่งทางพันธุกรรม ซึ่งแม้ว่าในปัจจุบัน อุตสาหกรรม ดังกล่าว จะยังไม่ถูกกีดกัน
การนำเข้าโดยอ้างเรื่องความปลอดภัยจากการบริโภคสินค้าที่มีส่วนประกอบของ GMOs ก็ตาม แต่ก็เป็นประเด็นสำคัญที่ทางการไม่ควรละเลย
นอกจากนี้ จากการที่กลุ่มประเทศแถบยุโรปและญี่ปุ่น รวมทั้งประเทศอื่น ๆ เริ่มมีการประกาศกฎระเบียบการนำเข้า
โดยให้ผู้ส่งออกต้องติดฉลาก เพื่อระบุว่าเป็นสินค้ามีส่วนประกอบที่เป็น GMOs หรือไม่นั้น หากการยอมรับสินค้า GMOs ของผู้บริโภค
ในแต่ละประเทศแตกต่างกัน ก็ย่อมมีผลต่อการส่งออกไปยังประเทศนั้น ๆ เช่นกัน ซึ่งหากผู้บริโภคไม่ยอมรับสินค้า GMOs ก็จะส่งผลไม่แตกต่าง
กับการกีดกันการนำเข้าที่ไทยประสบอยู่ในขณะนี้ และทำให้ไทยเสียตลาดส่งออกอาหารที่มี GMOs เป็นส่วนประกอบ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ทางการ
ควรมีมาตรการและนโยบายที่เกี่ยวกับสินค้า GMOs ให้ชัดเจน
3. ข้อเสนอแนะ
จากกรณีที่เกิดขึ้น แนวทางที่ประเทศไทยควรดำเนินการ คือ
1. เร่งสอบถามไปยังประเทศผู้นำเข้าโดยเร็ว เพื่อเป็นการลดความเสียหายที่อาจเกิดจากกระบวนการเจรจาที่ล่าช้า
โดยเรียกร้องให้ประเทศผู้นำเข้าต่าง ๆ กำหนดกฎระเบียบในการนำเข้าสินค้าให้ชัดเจนและเป็นมาตรฐาน โดยเฉพาะในเรื่องสินค้าและผลิตภัณฑ์
GMOs เพื่อเป็นกฎเกณฑ์ให้ผู้ส่งออกสามารถปฏิบัติได้ถูกต้อง และป้องกันการกีดกันการค้าโดยอ้างเรื่องความปลอดภัยของผู้บริโภค ซึ่งยังคงไม่มีข้อ
พิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ว่าปลอดภัยหรือไม่ เพื่อให้ทราบความต้องการและมาตรฐานของสินค้าที่แต่ละประเทศต้องการ อาทิ ให้มีการติดฉลาก
(Labelling) เพื่อให้ผู้บริโภคของประเทศผู้นำเข้ามีสิทธิ์เลือกบริโภคอาหาร หรือต้องการให้มีการออกใบรับรอง (Certificate)
ว่าสินค้ามีส่วนประกอบที่เป็น GMOs หรือไม่ หรือต้องการให้ใช้พืชที่ไม่มีการตัดต่อทางพันธุกรรม (Non-GMOs) ในการผลิต เป็นต้น เพื่อให้ผู้ผลิต
และผู้ส่งออกปรับตัว หรือปรับสายการผลิตได้ทันและสอดคล้องกับความต้องการของประเทศผู้นำเข้า ทั้งนี้ เพื่อรักษาส่วนแบ่งตลาดและความเป็นผู้นำ
ในการส่งออกปลาทูน่ากระป๋อง รวมทั้งอุตสาหกรรมที่มีความเกี่ยวข้องกับ GMOs อาทิ เนื้อไก่แช่แข็ง เนื้อไก่ปรุงสำเร็จและไก่พร้อมปรุง ในตลาดโลกไว้
2. เนื่องจากปัจจุบัน กระแสการต่อต้านสินค้า GMOs ทวีความรุนแรงมากขึ้น โดยกลุ่มประเทศแถบยุโรป (EU) ได้ออกสมุดปกขาว
ว่าด้วยความปลอดภัยของอาหารในอียู ซึ่งสาระสำคัญคือ เสนอให้จัดตั้งหน่วยงาน European Food Authority (EFA) ภายในปี 2545 เพื่อ
ทำหน้าที่ควบคุมดูแลความปลอดภัยของอาหาร โดยครอบคลุมสินค้า GMOs ด้วย เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการปฏิบัติเกี่ยวกับการติดฉลากและ
การวางจำหน่ายสินค้าอาหาร GMOs ในกลุ่มประเทศแถบยุโรป ขณะที่ประเทศญี่ปุ่นได้ออกกฎหมายบังคับให้มีการติดฉลากสินค้า GMOs ภายใน
เดือนเมษายน 2543 รวมทั้งประเทศอื่น ๆ เช่น เกาหลีใต้ ก็ได้เริ่มออกกฎระเบียบการ นำเข้าและการติดฉลากสินค้าและผลิตภัณฑ์ GMOs เช่นกัน
ดังนั้น การที่ประเทศไทยเร่งหาข้อสรุป เพื่อแก้ไขปัญหาการกีดกันการค้าที่เกิดขึ้น และเร่งกำหนดท่าทีที่ชัดเจนเกี่ยวกับการผลิต
การส่งออก การนำเข้าสินค้าและผลิตภัณฑ์ GMOs จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นและต้องเร่งกระทำเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากอาจมีการต่อต้านที่รุนแรงมากขึ้น
จนกระทบกับอุตสาหกรรมอาหารที่เกี่ยวข้องกับ GMOs และส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมต่อเนื่อง ภายในประเทศได้
3. ประเทศไทยควรตระหนักถึงความปลอดภัยของสุขอนามัยของผู้บริโภคชาวไทย จากการบริโภคอาหาร GMOs เช่นเดียวกับประเทศอื่น ๆ
โดยอาจบังคับให้สินค้าที่วางจำหน่ายทั้งจากการผลิตในประเทศและจากการนำเข้าต้องติดฉลาก หรือมีใบรับรอง เพื่อให้ผู้บริโภคมี ทางเลือกและ
ตัดสินใจว่าจะบริโภคสินค้า GMOs หรือไม่ เนื่องจากประเทศไทยมีการนำเข้าสินค้าที่เกิดจากการตัดต่อทางพันธุกรรมทั้งในรูปวัตถุดิบและสินค้า
สำเร็จรูป อาทิ มันฝรั่ง ข้าวโพด ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เมล็ดถั่วเหลือง และกากถั่วเหลือง เช่นกัน
4. เร่งพัฒนาและวิจัยการพัฒนาสินค้า GMOs และศึกษาผลกระทบที่จะเกิดจากการผลิตและบริโภคสินค้า GMOs เพื่อให้สามารถ
กำหนดนโยบายและการค้าสินค้า GMOs ที่เหมาะสมได้ ซึ่งหากสามารถพิสูจน์ได้ว่าสินค้า GMOs ปลอดภัยต่อผู้บริโภค ก็จำเป็นที่ไทยต้องยอมรับ
ให้มีการผลิตสินค้า GMOs ในเชิงพาณิชย์ เพื่อให้สามารถรักษาความสามารถในการแข่งขันได้ เนื่องจากไทยเป็นผู้ส่งออกสินค้าเกษตรและสินค้า
เกษตรแปรรูปรายใหญ่ของโลก ในทางกลับกัน หากกระแสการต่อต้านสินค้า GMOs มีความรุนแรงมากขึ้น ทางการควรห้ามนำเข้าสินค้าและผลิตภัณฑ์
GMOs โดยเด็ดขาด มิใช่เพียงมีการห้ามนำเข้าเมล็ดพันธุ์พืช GMOs เพื่อเพาะปลูกในเชิงพาณิชย์เช่นที่ทำอยู่ เพื่อยืนยันต่อประเทศผู้นำเข้าว่า
ผลิตภัณฑ์อาหารทุกประเภทของไทยเป็นผลิตภัณฑ์ที่ปลอดจากสินค้า GMOs
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-
1. ปัญหา
จากการที่ประเทศซาอุดิอาระเบีย ห้ามนำเข้าปลาทูน่ากระป๋องในน้ำมันพืชจากประเทศไทย โดยอ้างว่า น้ำมันพืช
ที่เป็นส่วนประกอบเกิดจากเมล็ดถั่วเหลืองที่ผ่านการตัดแต่งทางพันธุกรรม (Genetically Modified Organisms หรือ GMOs)
เนื่องจากเห็นว่าประเทศไทย มีการนำเข้าเมล็ดถั่วเหลืองกว่าร้อยละ 70 ของการนำเข้าเมล็ดถั่วเหลืองทั้งหมด จากประเทศ
สหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นแหล่งต้นกำเนิดและมีการผลิตพืชจีเอ็มโอมากที่สุดในโลก และประเทศไทยไม่มีใบรับรองจากหน่วยงานราชการ
ที่เกี่ยวข้องว่าสินค้าปลอดจาก GMOs และต่อมาประเทศ คูเวตได้ดำเนินการกีดกันปลาทูน่ากระป๋องจากไทยเช่นเดียวกับประเทศซาอุดิอาระเบีย นั้น
ประเด็นปัญหาดังกล่าว ได้ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการส่งออกปลาทูน่ากระป๋องของไทยที่ไทยเป็นผู้ส่งออกอันดับหนึ่งของโลก
มูลค่ากว่า 18,000 ล้านบาทต่อปี ซึ่งอาจทำให้ไทย สูญเสียส่วนแบ่งตลาด และสูญเสียรายได้เงินตราต่างประเทศ รวมทั้งสร้างความไม่มั่นใจให้แก่
ผู้นำเข้าประเทศอื่น ๆ
การส่งออกปลาทูน่ากระป๋องของไทย
ลำดับที่ ประเทศ ปริมาณ (ตัน) มูลค่า (ล้านบาท)
1 สหรัฐอเมริกา 88,832 7,124.80
2 แคนาดา 24,907 2,337.00
3 อังกฤษ 18,797 1,423.90
4 ญี่ปุ่น 12,093 1,367.00
5 อียิปต์ 11,642 769.6
6 ซาอุดิอาระเบีย 10,143 962.2
7 เยอรมนี 5,382 393
8 เนเธอร์แลนด์ 4,494 474.3
9 สวิตเซอร์แลนด์ 3,196 339.4
10 เลบานอน 3,122 329.2
ประเทศอื่น ๆ 40,796 3,316.60
รวม 223,404 18,837.00
ที่มา : กรมศุลกากร
ในปี 2542 ประเทศซาอุดิอาระเบียนำเข้าปลาทูน่ากระป๋องจากประเทศไทย จำนวน 10,143 ตัน มูลค่า 962.2 ล้านบาท
หรือคิดเป็นร้อยละ 4.5 และ 5.2 ของปริมาณและมูลค่า การส่งออกรวม ตามลำดับ คิดเป็นผู้นำเข้าปลาทูน่ากระป๋องที่สำคัญอันดับ 6 ของไทย
หากปัญหาการห้ามนำเข้าปลาทูน่ากระป๋องของไทยยังไม่สามารถหาข้อสรุปได้ อาจจะทำให้ไทยเสียตลาดซาอุดิอาระเบีย ซึ่งเป็นตลาดส่งออกสำคัญไป
ทั้งนี้ การที่ไทยจะฟ้องร้องต่อองค์การการค้าโลก (WTO) ว่าประเทศซาอุดิอาระเบียมีพฤติกรรมกีดกันการค้าในเรื่องที่ยังไม่มีข้อพิสูจน์
ทางวิทยาศาสตร์นั้น เป็นสิ่งที่ไม่สามารถทำได้ เนื่องจากประเทศซาอุดิอาระเบียไม่ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของ WTO
ดังนั้น ทางเดียวที่จะทำได้ คือ การเจรจาแบบทวิภาคีเพื่อต่อรองกับประเทศ ซาอุดิอาระเบีย แต่ในการดำเนินมาตรการตอบโต้
ก็ไม่สามารถทำได้อย่างเต็มที่เช่นกัน เนื่องจากประเทศไทยนำเข้าสินค้าจำเป็นในกลุ่มพลังงานจากซาอุดิอาระเบีย ขณะที่ประเทศซาอุดิอาระเบีย
นำเข้าสินค้าในกลุ่มอาหาร ซึ่งมีทางเลือกที่จะนำเข้าจากประเทศผู้ผลิตอื่นที่มิใช่ไทย อาทิ อินโดนีเซีย หรือฟิลิปปินส์
ประเด็นที่น่าวิตกกังวล คือ ในปี 2542 การส่งออกปลาทูน่ากระป๋องไปยังกลุ่มประเทศตะวันออกกลางรวมทั้งสิ้น 37,904 ตัน
เป็นมูลค่า 3,193.6 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 17.0 ของปริมาณและมูลค่าการส่งออกทั้งหมด หากการใช้มาตรการกีดกันการค้าโดยการอ้างเรื่อง
GMOs ขยายวงกว้างมากขึ้นในกลุ่มตะวันออกกลาง อาทิ อียิปต์ เลบานอน จะยิ่งทำให้ไทย ต้องสูญเสียส่วนแบ่งตลาดและส่งผลกระทบต่อผู้ผลิต
ผู้ส่งออก อุตสาหกรรมต่อเนื่อง ทำให้ สูญเสีย รายได้เงินตราต่างประเทศมากขึ้น และก่อให้เกิดความสูญเสียต่อเศรษฐกิจของประเทศเป็นอย่างมาก
2. อุตสาหกรรมอาหารอื่นที่คาดว่าจะถูกกระทบจากประเด็น GMOs
นอกจากอุตสาหกรรมปลาทูน่ากระป๋องที่ผู้นำเข้ากล่าวหาว่ามีส่วนประกอบที่เป็น GMOs แล้ว ยังอาจมีอุตสาหกรรมอาหารอื่น
ที่เสี่ยงต่อการที่ผู้นำเข้าจะยกประเด็นความปลอดภัยจากการบริโภค GMOs ของผู้บริโภคมาใช้เพื่อกีดกันการค้า เช่น เนื้อไก่แช่แข็ง เนื้อไก่
ปรุงสำเร็จและไก่พร้อมปรุง เนื่องจากวัตถุดิบในการผลิตอาหารสำหรับเลี้ยงไก่ โดยเฉพาะกากถั่วเหลือง ซึ่งจำเป็นจะต้องนำเข้าเพราะผลผลิต
ในประเทศไม่เพียงพอต่อความต้องการ โดยส่วนใหญ่นำเข้าจากประเทศสหรัฐอเมริกา อาร์เจนตินา และบราซิล ซึ่งเป็นแหล่งที่มีการผลิตและ
ส่งออกเมล็ด ถั่วเหลืองที่มีการตัดแต่งทางพันธุกรรม นอกจากนี้ ในกระบวนการผลิตเนื้อไก่ปรุงสำเร็จและไก่พร้อมปรุง มีการใช้ซอสถั่วเหลือง
หรือซีอิ๊วในการปรุงรส ซึ่งย่อมมีความเสี่ยงต่อการที่ผู้นำเข้าจะใช้มาตรการกีดกันการนำเข้าโดยอ้างเรื่อง GMOs เนื่องจากเกรงว่าจะเป็น
ซอสถั่วเหลืองหรือซีอิ๊วที่เกิดจากเมล็ดถั่วเหลืองที่ผ่านการตัดแต่งทางพันธุกรรม ซึ่งแม้ว่าในปัจจุบัน อุตสาหกรรม ดังกล่าว จะยังไม่ถูกกีดกัน
การนำเข้าโดยอ้างเรื่องความปลอดภัยจากการบริโภคสินค้าที่มีส่วนประกอบของ GMOs ก็ตาม แต่ก็เป็นประเด็นสำคัญที่ทางการไม่ควรละเลย
นอกจากนี้ จากการที่กลุ่มประเทศแถบยุโรปและญี่ปุ่น รวมทั้งประเทศอื่น ๆ เริ่มมีการประกาศกฎระเบียบการนำเข้า
โดยให้ผู้ส่งออกต้องติดฉลาก เพื่อระบุว่าเป็นสินค้ามีส่วนประกอบที่เป็น GMOs หรือไม่นั้น หากการยอมรับสินค้า GMOs ของผู้บริโภค
ในแต่ละประเทศแตกต่างกัน ก็ย่อมมีผลต่อการส่งออกไปยังประเทศนั้น ๆ เช่นกัน ซึ่งหากผู้บริโภคไม่ยอมรับสินค้า GMOs ก็จะส่งผลไม่แตกต่าง
กับการกีดกันการนำเข้าที่ไทยประสบอยู่ในขณะนี้ และทำให้ไทยเสียตลาดส่งออกอาหารที่มี GMOs เป็นส่วนประกอบ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ทางการ
ควรมีมาตรการและนโยบายที่เกี่ยวกับสินค้า GMOs ให้ชัดเจน
3. ข้อเสนอแนะ
จากกรณีที่เกิดขึ้น แนวทางที่ประเทศไทยควรดำเนินการ คือ
1. เร่งสอบถามไปยังประเทศผู้นำเข้าโดยเร็ว เพื่อเป็นการลดความเสียหายที่อาจเกิดจากกระบวนการเจรจาที่ล่าช้า
โดยเรียกร้องให้ประเทศผู้นำเข้าต่าง ๆ กำหนดกฎระเบียบในการนำเข้าสินค้าให้ชัดเจนและเป็นมาตรฐาน โดยเฉพาะในเรื่องสินค้าและผลิตภัณฑ์
GMOs เพื่อเป็นกฎเกณฑ์ให้ผู้ส่งออกสามารถปฏิบัติได้ถูกต้อง และป้องกันการกีดกันการค้าโดยอ้างเรื่องความปลอดภัยของผู้บริโภค ซึ่งยังคงไม่มีข้อ
พิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ว่าปลอดภัยหรือไม่ เพื่อให้ทราบความต้องการและมาตรฐานของสินค้าที่แต่ละประเทศต้องการ อาทิ ให้มีการติดฉลาก
(Labelling) เพื่อให้ผู้บริโภคของประเทศผู้นำเข้ามีสิทธิ์เลือกบริโภคอาหาร หรือต้องการให้มีการออกใบรับรอง (Certificate)
ว่าสินค้ามีส่วนประกอบที่เป็น GMOs หรือไม่ หรือต้องการให้ใช้พืชที่ไม่มีการตัดต่อทางพันธุกรรม (Non-GMOs) ในการผลิต เป็นต้น เพื่อให้ผู้ผลิต
และผู้ส่งออกปรับตัว หรือปรับสายการผลิตได้ทันและสอดคล้องกับความต้องการของประเทศผู้นำเข้า ทั้งนี้ เพื่อรักษาส่วนแบ่งตลาดและความเป็นผู้นำ
ในการส่งออกปลาทูน่ากระป๋อง รวมทั้งอุตสาหกรรมที่มีความเกี่ยวข้องกับ GMOs อาทิ เนื้อไก่แช่แข็ง เนื้อไก่ปรุงสำเร็จและไก่พร้อมปรุง ในตลาดโลกไว้
2. เนื่องจากปัจจุบัน กระแสการต่อต้านสินค้า GMOs ทวีความรุนแรงมากขึ้น โดยกลุ่มประเทศแถบยุโรป (EU) ได้ออกสมุดปกขาว
ว่าด้วยความปลอดภัยของอาหารในอียู ซึ่งสาระสำคัญคือ เสนอให้จัดตั้งหน่วยงาน European Food Authority (EFA) ภายในปี 2545 เพื่อ
ทำหน้าที่ควบคุมดูแลความปลอดภัยของอาหาร โดยครอบคลุมสินค้า GMOs ด้วย เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการปฏิบัติเกี่ยวกับการติดฉลากและ
การวางจำหน่ายสินค้าอาหาร GMOs ในกลุ่มประเทศแถบยุโรป ขณะที่ประเทศญี่ปุ่นได้ออกกฎหมายบังคับให้มีการติดฉลากสินค้า GMOs ภายใน
เดือนเมษายน 2543 รวมทั้งประเทศอื่น ๆ เช่น เกาหลีใต้ ก็ได้เริ่มออกกฎระเบียบการ นำเข้าและการติดฉลากสินค้าและผลิตภัณฑ์ GMOs เช่นกัน
ดังนั้น การที่ประเทศไทยเร่งหาข้อสรุป เพื่อแก้ไขปัญหาการกีดกันการค้าที่เกิดขึ้น และเร่งกำหนดท่าทีที่ชัดเจนเกี่ยวกับการผลิต
การส่งออก การนำเข้าสินค้าและผลิตภัณฑ์ GMOs จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นและต้องเร่งกระทำเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากอาจมีการต่อต้านที่รุนแรงมากขึ้น
จนกระทบกับอุตสาหกรรมอาหารที่เกี่ยวข้องกับ GMOs และส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมต่อเนื่อง ภายในประเทศได้
3. ประเทศไทยควรตระหนักถึงความปลอดภัยของสุขอนามัยของผู้บริโภคชาวไทย จากการบริโภคอาหาร GMOs เช่นเดียวกับประเทศอื่น ๆ
โดยอาจบังคับให้สินค้าที่วางจำหน่ายทั้งจากการผลิตในประเทศและจากการนำเข้าต้องติดฉลาก หรือมีใบรับรอง เพื่อให้ผู้บริโภคมี ทางเลือกและ
ตัดสินใจว่าจะบริโภคสินค้า GMOs หรือไม่ เนื่องจากประเทศไทยมีการนำเข้าสินค้าที่เกิดจากการตัดต่อทางพันธุกรรมทั้งในรูปวัตถุดิบและสินค้า
สำเร็จรูป อาทิ มันฝรั่ง ข้าวโพด ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เมล็ดถั่วเหลือง และกากถั่วเหลือง เช่นกัน
4. เร่งพัฒนาและวิจัยการพัฒนาสินค้า GMOs และศึกษาผลกระทบที่จะเกิดจากการผลิตและบริโภคสินค้า GMOs เพื่อให้สามารถ
กำหนดนโยบายและการค้าสินค้า GMOs ที่เหมาะสมได้ ซึ่งหากสามารถพิสูจน์ได้ว่าสินค้า GMOs ปลอดภัยต่อผู้บริโภค ก็จำเป็นที่ไทยต้องยอมรับ
ให้มีการผลิตสินค้า GMOs ในเชิงพาณิชย์ เพื่อให้สามารถรักษาความสามารถในการแข่งขันได้ เนื่องจากไทยเป็นผู้ส่งออกสินค้าเกษตรและสินค้า
เกษตรแปรรูปรายใหญ่ของโลก ในทางกลับกัน หากกระแสการต่อต้านสินค้า GMOs มีความรุนแรงมากขึ้น ทางการควรห้ามนำเข้าสินค้าและผลิตภัณฑ์
GMOs โดยเด็ดขาด มิใช่เพียงมีการห้ามนำเข้าเมล็ดพันธุ์พืช GMOs เพื่อเพาะปลูกในเชิงพาณิชย์เช่นที่ทำอยู่ เพื่อยืนยันต่อประเทศผู้นำเข้าว่า
ผลิตภัณฑ์อาหารทุกประเภทของไทยเป็นผลิตภัณฑ์ที่ปลอดจากสินค้า GMOs
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-