1. สถานการณ์การผลิต ประมงทูลน่าไทยปรับกลยุทธ์แก้ปัญหาขาดสภาพคล่อง
นายบุญมี จันทรวงศ์ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์เปิดเผยว่าในการประชุมคณะกรรมการพัฒนาการประมงนอกน่านน้ำของสหกรณ์ประมงทูน่าน้ำลึกไทย จำกัด เมื่อเร็ว ๆ นี้ คณะกรรมการเห็นชอบให้มีการจัดตั้งคณะทำงานการจัดทำแผนปฏิบัติการร่วมระหว่างเรือมหิดล และเรือจุฬาภรณ์ ของกรมประมงกับเรือมุกมณีของสหกรณ์ประมงทูน่า น้ำลึกไทย จำกัด เพื่อพัฒนาการทำประมงนอกน่านน้ำไทย โดยทดลองทำประมงทูน่าน้ำลึกในลักษณะเป็นกองเรือพร้อมทั้งเห็นชอบที่จะพัฒนากองเรือประมงปลาทูน่าและแก้ไขปัญหาสภาพคล่องของสหกรณ์ ประมงปลาทูน่าน้ำลึกไทย จำกัด
สำหรับปัญหาสภาพคล่องของสหกรณ์ประมงปลาทูน่าน้ำลึกไทยนั้น มีสาเหตุมาจากมติคณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2541 ที่อนุมัติเงินยืมหมุนเวียน 50 ล้านบาท ให้สหกรณ์ประมงทูน่าน้ำลึกไทย เพื่อสมทบในการจัดซื้อเรืออวนล้อมจับปลาทูน่าในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4 โดยมีระยะเวลาผ่อนชำระคืน 5 ปี ปีละเท่า ๆ กัน ซึ่งทางสมาคมการประมงนอกน่านน้ำไทยเห็นว่าเป็นอัตราดอกเบี้ยที่สูงเกินไป ควรจะลดลงเหลือร้อยละ 2 ซึ่งผลจากการดำเนินการของสหกรณ์ประมงทูน่าน้ำลึกไทย จำกัด ที่ผ่านมา ออกจับปลา 10 ครั้ง ได้ปลา 2,998.09 ตัน มีรายได้ 69.89 ล้านบาท รายจ่ายรวม 82.30 ล้านบาท ขาดทุน 12.41 ล้านบาท
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (4 - 9 มีค.2544) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูล จำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,249.25 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 547.11 ตัน สัตว์น้ำจืด 702.14 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 6.27 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 8.20 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 53.46 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 57.36 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 41.34 ตัน
2. สถานการณ์การตลาด
ไทยเป็นผู้ผลิตทูน่ากระป๋องรายใหญ่ที่สุดในโลก
เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศผู้ผลิตปลาทูน่ากระป๋องรายใหญ่ที่สุดในโลก โดยใช้วัตถุดิบปลาทูน่าจากการนำเข้าร้อยละ 80 หรือประมาณปีละ 400,000-500,000 ตัน มีมูลค่าประมาณ 1 หมื่นล้านบาทต่อปี ในปี 2543 มีการนำเข้าจากประเทศไต้หวันปริมาณ 94,017 ตัน มูลค่า 289 ล้านบาท ญี่ปุ่นปริมาณ 28,943 ตัน มูลค่า 1.25 ล้านบาท เตอร์ก ปริมาณ 127,561 ตัน มูลค่า 3.5 ล้านบาท เป็นต้น โดยนำปลามาขึ้นที่ ท่าเรือ จ.ภูเก็ต
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.06 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 27.15 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.91 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯเฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 48.67 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 48.40 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.27 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 77.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 80.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.50 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ กุ้งกุลาดำสดขนาดกลางราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 318.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 306.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 12.00 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ488.33 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 484.17 บาท ของสัปดาห์ก่อน 4.16 บาท
2.4 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ
17.62 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 17.60 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.02 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.5 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดชาวประมงขายได้ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 47.67 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 52.33 บาท ของสัปดาห์ก่อน 4.66 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ
80.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.6 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 3.35 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 2.68 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.67 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีน 58% ขึ้นไป (ระหว่างวันที่ 12-16 มีค.44 ) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 19.60 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 10 ประจำวันที่ 12-18 มี.ค. 2544--
-สส-
นายบุญมี จันทรวงศ์ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์เปิดเผยว่าในการประชุมคณะกรรมการพัฒนาการประมงนอกน่านน้ำของสหกรณ์ประมงทูน่าน้ำลึกไทย จำกัด เมื่อเร็ว ๆ นี้ คณะกรรมการเห็นชอบให้มีการจัดตั้งคณะทำงานการจัดทำแผนปฏิบัติการร่วมระหว่างเรือมหิดล และเรือจุฬาภรณ์ ของกรมประมงกับเรือมุกมณีของสหกรณ์ประมงทูน่า น้ำลึกไทย จำกัด เพื่อพัฒนาการทำประมงนอกน่านน้ำไทย โดยทดลองทำประมงทูน่าน้ำลึกในลักษณะเป็นกองเรือพร้อมทั้งเห็นชอบที่จะพัฒนากองเรือประมงปลาทูน่าและแก้ไขปัญหาสภาพคล่องของสหกรณ์ ประมงปลาทูน่าน้ำลึกไทย จำกัด
สำหรับปัญหาสภาพคล่องของสหกรณ์ประมงปลาทูน่าน้ำลึกไทยนั้น มีสาเหตุมาจากมติคณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2541 ที่อนุมัติเงินยืมหมุนเวียน 50 ล้านบาท ให้สหกรณ์ประมงทูน่าน้ำลึกไทย เพื่อสมทบในการจัดซื้อเรืออวนล้อมจับปลาทูน่าในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4 โดยมีระยะเวลาผ่อนชำระคืน 5 ปี ปีละเท่า ๆ กัน ซึ่งทางสมาคมการประมงนอกน่านน้ำไทยเห็นว่าเป็นอัตราดอกเบี้ยที่สูงเกินไป ควรจะลดลงเหลือร้อยละ 2 ซึ่งผลจากการดำเนินการของสหกรณ์ประมงทูน่าน้ำลึกไทย จำกัด ที่ผ่านมา ออกจับปลา 10 ครั้ง ได้ปลา 2,998.09 ตัน มีรายได้ 69.89 ล้านบาท รายจ่ายรวม 82.30 ล้านบาท ขาดทุน 12.41 ล้านบาท
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (4 - 9 มีค.2544) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูล จำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,249.25 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 547.11 ตัน สัตว์น้ำจืด 702.14 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 6.27 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 8.20 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 53.46 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 57.36 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 41.34 ตัน
2. สถานการณ์การตลาด
ไทยเป็นผู้ผลิตทูน่ากระป๋องรายใหญ่ที่สุดในโลก
เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศผู้ผลิตปลาทูน่ากระป๋องรายใหญ่ที่สุดในโลก โดยใช้วัตถุดิบปลาทูน่าจากการนำเข้าร้อยละ 80 หรือประมาณปีละ 400,000-500,000 ตัน มีมูลค่าประมาณ 1 หมื่นล้านบาทต่อปี ในปี 2543 มีการนำเข้าจากประเทศไต้หวันปริมาณ 94,017 ตัน มูลค่า 289 ล้านบาท ญี่ปุ่นปริมาณ 28,943 ตัน มูลค่า 1.25 ล้านบาท เตอร์ก ปริมาณ 127,561 ตัน มูลค่า 3.5 ล้านบาท เป็นต้น โดยนำปลามาขึ้นที่ ท่าเรือ จ.ภูเก็ต
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.06 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 27.15 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.91 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯเฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 48.67 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 48.40 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.27 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 77.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 80.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.50 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ กุ้งกุลาดำสดขนาดกลางราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 318.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 306.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 12.00 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ488.33 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 484.17 บาท ของสัปดาห์ก่อน 4.16 บาท
2.4 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ
17.62 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 17.60 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.02 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.5 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดชาวประมงขายได้ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 47.67 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 52.33 บาท ของสัปดาห์ก่อน 4.66 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ
80.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.6 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 3.35 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 2.68 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.67 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีน 58% ขึ้นไป (ระหว่างวันที่ 12-16 มีค.44 ) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 19.60 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 10 ประจำวันที่ 12-18 มี.ค. 2544--
-สส-