นายเกริกไกร จีระแพทย์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ ได้เปิดเผยรายงานผลการใช้สิทธิ GSP ไปฮังการี ปี 2542 ซึ่งได้รวบรวมจากสำเนาฟอร์มเอ ที่ออกให้กับผู้ส่งออก สรุปได้ดังนี้
1. มูลค่าการส่งออกภายใต้สิทธิ GSP ของไทยไปฮังการี ปี 2542 มีมูลค่า 23.35 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากปี 2541 ซึ่งมีมูลค่า 33.31 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือคิดเป็นร้อยละ 42.65
2. กลุ่มสินค้า ( HS 2 digit ) ที่มีการขอใช้สิทธิสูงสุดในปี 2542 10 อันดับแรก ได้แก่ กลุ่มเครื่อง ไฟฟ้าและอิเล็คโทรนิคส์ อาหารปรุงแต่งจากเนื้อสัตว์ ท่อหรือหลอดทำด้วยเหล็ก ผลิตภัณฑ์อาหารปรุงแต่ง เสื้อผ้า เครื่องแต่งกายชนิดถัก ยางและผลิตภัณฑ์ยาง เส้นใยสั้นประดิษฐ์ เสื้อผ้า เครื่องแต่งกายชนิดทอ รองเท้า และเครื่องจักรกลมือ
3. ประเภทสินค้า ( HS 4 digit ) ที่มีการขอใช้สิทธิ GSP สูง ส่วนใหญ่เป็นสินค้าอุตสาหกรรมได้แก่ หม้อแปลงไฟฟ้า มอเตอร์ไฟฟ้า ลวดเกลียว โรป เคเบิล เครื่องยกทรง เครื่องรัดเอวและตะโพก ยางนอกชนิดอัดลมที่เป็นของใหม่ ผ้าทอทำด้วยเส้นใยสั้นสังเคราะห์ และรองเท้า
4. จากการที่ฮังการีเปลี่ยนแปลงโครงสร้างในการนำเข้าสินค้าจากเครื่องอุปโภคบริโภค มาเป็น ชิ้นส่วนและอุปกรณ์เครื่องจักร ทำให้ผู้ส่งออกไทยที่เคยมีศักยภาพในการส่งออกไปยังตลาดนี้ ขาดความ สนใจที่จะขยายศักยภาพของตนไปยังสินค้าอื่น ประกอบกับผู้ส่งออกไทยยังขาดความรู้ด้านการตลาดใน ฮังการี รวมทั้งในเรื่องสิทธิ GSP ที่ได้รับ ดังนั้น เมื่อฮังการีนำเข้าเพิ่มในสินค้าที่แตกต่างจากเดิม ผู้ส่งออก ไทยจึงไม่ได้ใช้ประโยชน์จาก GSP อย่างเต็มที่เท่าที่ควร
5. แม้ตลาดฮังการีจะมีขนาดไม่ใหญ่นักเพราะ มีประชากรประมาณ 10 ล้านคน แต่เป็นตลาดที่มีภาวะการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจรวดเร็วและมั่นคง ปัจจุบันมีบริษัทข้ามชาติไปตั้งโรงงานอุตสาหกรรม เพิ่มขึ้น 5 - 6 เท่าตัว การส่งออกสินค้าไปยังตลาดนี้จะมีปัญหาการแข่งขันด้านราคา สำหรับสินค้าไทย แม้จะไม่สามารถสู้ราคาสินค้าจากเวียดนาม จีน และอินเดียได้ เพราะต้นทุนต่ำกว่า แต่โดยภาพรวม สินค้าไทยก็ยังเป็นที่ต้องการของตลาดนี้ และที่คาดว่าจะมีอนาคตสดใส ได้แก่ รถยนต์ รถปิคอั๊พ เครื่องประดับเงิน สินค้าอุปโภคบริโภคที่ขายในซุปเปอร์มาร์เก็ต
6. ในอนาคต ฮังการีจะเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป โดยสหภาพยุโรปมีความตั้งใจที่จะให้ ฮังการีเป็นแหล่งผลิตอาหารที่สำคัญ ดังนั้นผู้ส่งออกไทยอาจใช้โอกาสนี้ให้เป็นประโยชน์ โดยอาจ พิจารณาวางแผนเข้าไปตั้งโรงงานผลิตสินค้าในฮังการี เพื่อส่งไปขายในสหภาพยุโรปได้โดยไร้พรมแดน หลังฮังการีเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปแล้ว ซึ่งน่าจะเป็นโอกาสขยายการส่งออกของไทยทางหนึ่ง
--กรมการค้าต่างประเทศ กรกฎาคม 2543--
-อน-
1. มูลค่าการส่งออกภายใต้สิทธิ GSP ของไทยไปฮังการี ปี 2542 มีมูลค่า 23.35 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากปี 2541 ซึ่งมีมูลค่า 33.31 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือคิดเป็นร้อยละ 42.65
2. กลุ่มสินค้า ( HS 2 digit ) ที่มีการขอใช้สิทธิสูงสุดในปี 2542 10 อันดับแรก ได้แก่ กลุ่มเครื่อง ไฟฟ้าและอิเล็คโทรนิคส์ อาหารปรุงแต่งจากเนื้อสัตว์ ท่อหรือหลอดทำด้วยเหล็ก ผลิตภัณฑ์อาหารปรุงแต่ง เสื้อผ้า เครื่องแต่งกายชนิดถัก ยางและผลิตภัณฑ์ยาง เส้นใยสั้นประดิษฐ์ เสื้อผ้า เครื่องแต่งกายชนิดทอ รองเท้า และเครื่องจักรกลมือ
3. ประเภทสินค้า ( HS 4 digit ) ที่มีการขอใช้สิทธิ GSP สูง ส่วนใหญ่เป็นสินค้าอุตสาหกรรมได้แก่ หม้อแปลงไฟฟ้า มอเตอร์ไฟฟ้า ลวดเกลียว โรป เคเบิล เครื่องยกทรง เครื่องรัดเอวและตะโพก ยางนอกชนิดอัดลมที่เป็นของใหม่ ผ้าทอทำด้วยเส้นใยสั้นสังเคราะห์ และรองเท้า
4. จากการที่ฮังการีเปลี่ยนแปลงโครงสร้างในการนำเข้าสินค้าจากเครื่องอุปโภคบริโภค มาเป็น ชิ้นส่วนและอุปกรณ์เครื่องจักร ทำให้ผู้ส่งออกไทยที่เคยมีศักยภาพในการส่งออกไปยังตลาดนี้ ขาดความ สนใจที่จะขยายศักยภาพของตนไปยังสินค้าอื่น ประกอบกับผู้ส่งออกไทยยังขาดความรู้ด้านการตลาดใน ฮังการี รวมทั้งในเรื่องสิทธิ GSP ที่ได้รับ ดังนั้น เมื่อฮังการีนำเข้าเพิ่มในสินค้าที่แตกต่างจากเดิม ผู้ส่งออก ไทยจึงไม่ได้ใช้ประโยชน์จาก GSP อย่างเต็มที่เท่าที่ควร
5. แม้ตลาดฮังการีจะมีขนาดไม่ใหญ่นักเพราะ มีประชากรประมาณ 10 ล้านคน แต่เป็นตลาดที่มีภาวะการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจรวดเร็วและมั่นคง ปัจจุบันมีบริษัทข้ามชาติไปตั้งโรงงานอุตสาหกรรม เพิ่มขึ้น 5 - 6 เท่าตัว การส่งออกสินค้าไปยังตลาดนี้จะมีปัญหาการแข่งขันด้านราคา สำหรับสินค้าไทย แม้จะไม่สามารถสู้ราคาสินค้าจากเวียดนาม จีน และอินเดียได้ เพราะต้นทุนต่ำกว่า แต่โดยภาพรวม สินค้าไทยก็ยังเป็นที่ต้องการของตลาดนี้ และที่คาดว่าจะมีอนาคตสดใส ได้แก่ รถยนต์ รถปิคอั๊พ เครื่องประดับเงิน สินค้าอุปโภคบริโภคที่ขายในซุปเปอร์มาร์เก็ต
6. ในอนาคต ฮังการีจะเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป โดยสหภาพยุโรปมีความตั้งใจที่จะให้ ฮังการีเป็นแหล่งผลิตอาหารที่สำคัญ ดังนั้นผู้ส่งออกไทยอาจใช้โอกาสนี้ให้เป็นประโยชน์ โดยอาจ พิจารณาวางแผนเข้าไปตั้งโรงงานผลิตสินค้าในฮังการี เพื่อส่งไปขายในสหภาพยุโรปได้โดยไร้พรมแดน หลังฮังการีเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปแล้ว ซึ่งน่าจะเป็นโอกาสขยายการส่งออกของไทยทางหนึ่ง
--กรมการค้าต่างประเทศ กรกฎาคม 2543--
-อน-