ข้าว : ข้าวหอมมะลิราคาตกต่ำ
ในปี 2543/44 สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าจะมีพื้นที่เพาะปลูกข้าวทั้งหมด 57.070 ล้านไร่ ได้ผลผลิต 19.042 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 0.86 และ 0.14 ตามลำดับ เป็นพื้นที่ปลูกข้าวหอมมะลิ ทั้งประเทศ 17.587 ล้านไร่ คาดว่าได้ผลผลิต 4.938 ล้านตัน ซึ่งพื้นที่ปลูกส่วนใหญ่อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งเป็นนาน้ำฝน ผลิตได้ปีละครั้ง และเป็นข้าวคุณภาพดี ที่ตลาดต้องการ
สำหรับราคาข้าวภายในประเทศขึ้นอยู่กับอุปสงค์และอุปทานข้าวโลก โดยราคาเฉลี่ยช่วงต้นฤดู (พย.-มีค.) ตันละ 6,456 บาท ลดลงจากตันละ 6,927 บาท ของช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาหรือร้อยละ 6.80 ตันละ 471 บาท ซึ่งราคามีแนวโน้มลดลงมาตลอด เมื่อพิจารณาต้นทุนการผลิตปี 2543/44 ประมาณตันละ 5,867 บาท เกษตรกรยังมีกำไร อย่างไรก็ตามรัฐได้มีมาตรการรับจำนำข้าวหอมมะลิในราคาตันละ 6,495 บาท ซึ่งขณะนั้นเกษตรกรสามารถนำมาจำนำได้ หลังจากเดือนมีนาคม 2544 ซึ่งเป็นช่วงปลายฤดูข้าวอยู่ในมือของพ่อค้าโรงสีและพ่อค้ายุ้งฉางเป็นส่วนใหญ่ ประกอบกับเป็นช่วงที่ข้าวนาปรังเริ่มออกสู่ตลาด รัฐจึงมีนโยบายรับจำนำข้าวนาปรัง โดยยกเลิกโครงการรับจำนำข้าวนาปี แต่ราคายังมีแนวโน้มลดลงอยู่ ซึ่งปกติหลังจากเดือนมีนาคมราคาข้าวหอมมะลิจะมีแนวโน้มสูงขึ้น แต่ปีนี้ราคายังลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยราคาส่งออกข้าวหอมมะลิ 100% (พค.44) ตันละ 345 เหรียญสหรัฐ (12,496 บาท/ตัน) ลดลงจากตันละ 585 เหรียญสหรัฐ (20,478 บาท/ตัน) ในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 41.03
จากสถานการณ์ราคาข้าวทั่วไปในตลาดโลกปีนี้ตกต่ำ ส่งผลให้ราคาข้าวหอมมะลิตกต่ำด้วย ขณะเดียวกันยังมีการตัดราคาระหว่างผู้ส่งออกไทย รวมทั้งการนำข้าวขาวที่มีราคาถูกกว่ามาผสม เพื่อลดต้นทุนการผลิต ทำให้สามารถขายในราคาที่ต่ำได้
ประกอบกับมีข้าวปทุมธานี 1 ซึ่งเป็นข้าวคุณภาพพีใกล้เคียงกับข้าวหอมมะลิมาก ที่กรมส่งเสริมการเกษตรได้มีการส่งเสริมให้เกษตรกรในภาคกลางเพาะปลูกในพื้นที่ข้าวนาปรัง จำนวน 120,000 ไร่ คาดว่าจะได้ผลผลิต 84,000 ตัน ออกสุตลาดในปีนี้ด้วย ซึ่งผู้ประกอบการค้าข้าวเปลือกและโรงสีใช้เป็นเครื่องมือในการรับซื้อข้าวหอมมะลิฤดูนาปีที่ยังคงเหลืออยู่ในมือเกษตรกรบางส่วนในราคาต่ำ โดยอ้างว่าเป็นผลจากผลผลิตข้าวปทุมธานี 1 มีจำนวนมาก เมื่อพิจารณาจากผลผลิตข้าวปทุมธานี 1 ที่ผลิตได้ในปีนี้ จะเห็นว่ามีจำนวนไม่มากพอที่จะมีผลกระทบโดยตรงที่จะทำให้ข้าวหอมมะลิตกต่ำ
ดังนั้น การแก้ปัญหาในขณะนี้ รัฐบาลควรเร่งการตรวจสอบสต็อกข้าวหอมมะลิในมือของเกษตรกรและพ่อค้า เพื่อหาแนวทางช่วยเหลือเกษตรกรต่อไป
การระบาด : การระบาดของหนอนกออ้อยและโรคใบขาวปี 2544/45
เงินงวดแรกจากกองทุนอ้อยและน้ำตาลทรายจำนวน 25 ล้านบาท จากวงเงิน 47.70 ล้านบาทได้โอนให้คณะอนุกรรมการอ้อยส่วนท้องถิ่นเพื่อดำเนินการในเขตที่รับผิดชอบไปแล้ว ในขณะนี้เขตต่างๆได้มีการจัดการอบรมเกษตรกรและประชาสัมพันธ์ด้วยสื่อต่าง ๆ ไปบ้างแล้ว ซึ่งเกษตรกรได้ให้ความสนใจอย่างมากในการเข้ารับการอบรม สำหรับสารเคมี และแตนเบียนไข่ และแตนเบียนหนอน สำหรับใช้กำจัดหนอนกออ้อยส่วนใหญ่อยู่ระหว่างการจัดซื้อ โดยเฉพาะแตนเบียนมีปัญหาในการจัดซื้อค่อนข้างมาก เนื่องจากต้องใช้ในปริมาณมาก ในขณะที่มีหน่วยงานที่ทำการผลิตมีอยู่ไม่กี่แห่งและผลิตได้ในจำนวนที่จำกัด
ในส่วนของการดำเนินการ ตามโครงการเฉพาะกิจแก้ไขปัญหาหนอนกออ้อยและโรคใบขาวที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีไปแล้ว นั้นขณะนี้ กระทรวงเกษตรฯ กำลังหารือกับสำนักงบประมาณในการจัดหางบประมาณจำนวน 173.48 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนการดำเนินการนอกเหนือจากงบประจำที่มีอยู่ซึ่งในขณะนี้กระทรวงเกษตรฯ ได้ส่งเจ้าหน้าที่จากกรมวิชาการเกษตรและกรมส่งเสริมการเกษตร เข้าพื้นที่ที่มีการระบาดเพื่อติดตามการระบาดของหนอนกออ้อยและให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิด พร้อมกับเร่งผลิตแตนเบียนหนอนและแตนเบียนไข่ให้กับจังหวัดต่างๆ สำหรับใช้ปล่อยในไร่อ้อยอย่างต่อเนื่องแล้ว
จากการติดตามการระบาดของหนอนกออ้อยในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือในช่วงนี้ โดยทั่วไปการระบาดยังไม่อยู่ในระดับที่สร้างความเสียหายต่อผลผลิตอ้อยมากนัก อย่างไรก็ดีในช่วงนี้ได้มีฝนตกอย่างต่อเนื่อง ทำให้อากาศมีความชื้นสูงจะเอื้ออำนวยต่อการระบาดของหนอนกออ้อยมากขึ้น ดังนั้นเกษตรกรที่อยู่ในพื้นที่เคยระบาดในปีที่ผ่านมา ควรหมั่นติดตามดูแลไร่อ้อยของตนเองอย่างใกล้ชิด หากพบว่ามีการระบาดของหนอนในแปลงอ้อย ขอให้รีบตัดยอดต้นอ้อยที่ถูกทำลายทิ้งจะช่วยลดการระบาดของหนอนได้ในระดับหนึ่ง ในกรณีที่มีการระบาดของหนอนเป็นจำนวนมากขอให้ติดต่อกับสำนักงานเกษตรจังหวัดในพื้นที่เพื่อขอคำแนะนำและความช่วยเหลือในการป้องกันกำจัดได้อย่างถูกต้องและทันท่วงที ก่อนที่จะสร้างความเสียหายมากขึ้นกว่าเดิม
-ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 24 ประจำวันที่ 25 มิ.ย.- 1 ก.ค. 2544--
-สส-
ในปี 2543/44 สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าจะมีพื้นที่เพาะปลูกข้าวทั้งหมด 57.070 ล้านไร่ ได้ผลผลิต 19.042 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 0.86 และ 0.14 ตามลำดับ เป็นพื้นที่ปลูกข้าวหอมมะลิ ทั้งประเทศ 17.587 ล้านไร่ คาดว่าได้ผลผลิต 4.938 ล้านตัน ซึ่งพื้นที่ปลูกส่วนใหญ่อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งเป็นนาน้ำฝน ผลิตได้ปีละครั้ง และเป็นข้าวคุณภาพดี ที่ตลาดต้องการ
สำหรับราคาข้าวภายในประเทศขึ้นอยู่กับอุปสงค์และอุปทานข้าวโลก โดยราคาเฉลี่ยช่วงต้นฤดู (พย.-มีค.) ตันละ 6,456 บาท ลดลงจากตันละ 6,927 บาท ของช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาหรือร้อยละ 6.80 ตันละ 471 บาท ซึ่งราคามีแนวโน้มลดลงมาตลอด เมื่อพิจารณาต้นทุนการผลิตปี 2543/44 ประมาณตันละ 5,867 บาท เกษตรกรยังมีกำไร อย่างไรก็ตามรัฐได้มีมาตรการรับจำนำข้าวหอมมะลิในราคาตันละ 6,495 บาท ซึ่งขณะนั้นเกษตรกรสามารถนำมาจำนำได้ หลังจากเดือนมีนาคม 2544 ซึ่งเป็นช่วงปลายฤดูข้าวอยู่ในมือของพ่อค้าโรงสีและพ่อค้ายุ้งฉางเป็นส่วนใหญ่ ประกอบกับเป็นช่วงที่ข้าวนาปรังเริ่มออกสู่ตลาด รัฐจึงมีนโยบายรับจำนำข้าวนาปรัง โดยยกเลิกโครงการรับจำนำข้าวนาปี แต่ราคายังมีแนวโน้มลดลงอยู่ ซึ่งปกติหลังจากเดือนมีนาคมราคาข้าวหอมมะลิจะมีแนวโน้มสูงขึ้น แต่ปีนี้ราคายังลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยราคาส่งออกข้าวหอมมะลิ 100% (พค.44) ตันละ 345 เหรียญสหรัฐ (12,496 บาท/ตัน) ลดลงจากตันละ 585 เหรียญสหรัฐ (20,478 บาท/ตัน) ในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 41.03
จากสถานการณ์ราคาข้าวทั่วไปในตลาดโลกปีนี้ตกต่ำ ส่งผลให้ราคาข้าวหอมมะลิตกต่ำด้วย ขณะเดียวกันยังมีการตัดราคาระหว่างผู้ส่งออกไทย รวมทั้งการนำข้าวขาวที่มีราคาถูกกว่ามาผสม เพื่อลดต้นทุนการผลิต ทำให้สามารถขายในราคาที่ต่ำได้
ประกอบกับมีข้าวปทุมธานี 1 ซึ่งเป็นข้าวคุณภาพพีใกล้เคียงกับข้าวหอมมะลิมาก ที่กรมส่งเสริมการเกษตรได้มีการส่งเสริมให้เกษตรกรในภาคกลางเพาะปลูกในพื้นที่ข้าวนาปรัง จำนวน 120,000 ไร่ คาดว่าจะได้ผลผลิต 84,000 ตัน ออกสุตลาดในปีนี้ด้วย ซึ่งผู้ประกอบการค้าข้าวเปลือกและโรงสีใช้เป็นเครื่องมือในการรับซื้อข้าวหอมมะลิฤดูนาปีที่ยังคงเหลืออยู่ในมือเกษตรกรบางส่วนในราคาต่ำ โดยอ้างว่าเป็นผลจากผลผลิตข้าวปทุมธานี 1 มีจำนวนมาก เมื่อพิจารณาจากผลผลิตข้าวปทุมธานี 1 ที่ผลิตได้ในปีนี้ จะเห็นว่ามีจำนวนไม่มากพอที่จะมีผลกระทบโดยตรงที่จะทำให้ข้าวหอมมะลิตกต่ำ
ดังนั้น การแก้ปัญหาในขณะนี้ รัฐบาลควรเร่งการตรวจสอบสต็อกข้าวหอมมะลิในมือของเกษตรกรและพ่อค้า เพื่อหาแนวทางช่วยเหลือเกษตรกรต่อไป
การระบาด : การระบาดของหนอนกออ้อยและโรคใบขาวปี 2544/45
เงินงวดแรกจากกองทุนอ้อยและน้ำตาลทรายจำนวน 25 ล้านบาท จากวงเงิน 47.70 ล้านบาทได้โอนให้คณะอนุกรรมการอ้อยส่วนท้องถิ่นเพื่อดำเนินการในเขตที่รับผิดชอบไปแล้ว ในขณะนี้เขตต่างๆได้มีการจัดการอบรมเกษตรกรและประชาสัมพันธ์ด้วยสื่อต่าง ๆ ไปบ้างแล้ว ซึ่งเกษตรกรได้ให้ความสนใจอย่างมากในการเข้ารับการอบรม สำหรับสารเคมี และแตนเบียนไข่ และแตนเบียนหนอน สำหรับใช้กำจัดหนอนกออ้อยส่วนใหญ่อยู่ระหว่างการจัดซื้อ โดยเฉพาะแตนเบียนมีปัญหาในการจัดซื้อค่อนข้างมาก เนื่องจากต้องใช้ในปริมาณมาก ในขณะที่มีหน่วยงานที่ทำการผลิตมีอยู่ไม่กี่แห่งและผลิตได้ในจำนวนที่จำกัด
ในส่วนของการดำเนินการ ตามโครงการเฉพาะกิจแก้ไขปัญหาหนอนกออ้อยและโรคใบขาวที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีไปแล้ว นั้นขณะนี้ กระทรวงเกษตรฯ กำลังหารือกับสำนักงบประมาณในการจัดหางบประมาณจำนวน 173.48 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนการดำเนินการนอกเหนือจากงบประจำที่มีอยู่ซึ่งในขณะนี้กระทรวงเกษตรฯ ได้ส่งเจ้าหน้าที่จากกรมวิชาการเกษตรและกรมส่งเสริมการเกษตร เข้าพื้นที่ที่มีการระบาดเพื่อติดตามการระบาดของหนอนกออ้อยและให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิด พร้อมกับเร่งผลิตแตนเบียนหนอนและแตนเบียนไข่ให้กับจังหวัดต่างๆ สำหรับใช้ปล่อยในไร่อ้อยอย่างต่อเนื่องแล้ว
จากการติดตามการระบาดของหนอนกออ้อยในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือในช่วงนี้ โดยทั่วไปการระบาดยังไม่อยู่ในระดับที่สร้างความเสียหายต่อผลผลิตอ้อยมากนัก อย่างไรก็ดีในช่วงนี้ได้มีฝนตกอย่างต่อเนื่อง ทำให้อากาศมีความชื้นสูงจะเอื้ออำนวยต่อการระบาดของหนอนกออ้อยมากขึ้น ดังนั้นเกษตรกรที่อยู่ในพื้นที่เคยระบาดในปีที่ผ่านมา ควรหมั่นติดตามดูแลไร่อ้อยของตนเองอย่างใกล้ชิด หากพบว่ามีการระบาดของหนอนในแปลงอ้อย ขอให้รีบตัดยอดต้นอ้อยที่ถูกทำลายทิ้งจะช่วยลดการระบาดของหนอนได้ในระดับหนึ่ง ในกรณีที่มีการระบาดของหนอนเป็นจำนวนมากขอให้ติดต่อกับสำนักงานเกษตรจังหวัดในพื้นที่เพื่อขอคำแนะนำและความช่วยเหลือในการป้องกันกำจัดได้อย่างถูกต้องและทันท่วงที ก่อนที่จะสร้างความเสียหายมากขึ้นกว่าเดิม
-ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 24 ประจำวันที่ 25 มิ.ย.- 1 ก.ค. 2544--
-สส-