แท็ก
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
กระทรวงอุตสาหกรรม
กระทรวงพาณิชย์
กระทรวงการคลัง
หอการค้าไทย
รายงานสรุปผลการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการรวมพลังฝ่าวิกฤตเพื่อธุรกิจอุตสาหกรรมไทยเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2544 ณ ศูนย์นิทรรศการและแสดงสินค้าไบเทค
กระทรวงอุตสาหกรรม โดยความร่วมมือของกระทรวงการคลัง กระทรวงพาณิชย์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หอการค้าไทย และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ได้จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ รวมพลังฝ่าวิกฤตเพื่อธุรกิจอุตสาหกรรมไทย ที่ศูนย์นิทรรศการและแสดงสินค้าไบเทค เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2544 เพื่อร่วมมือในการกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศเพื่อรับมือกับวิกฤตการณ์
การสัมมนาครั้งนี้ ได้เชิญผู้เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนจำนวน 917 คน มาร่วมประเมินสถานการณ์ของภาคอุตสาหกรรม และผลกระทบที่เกิดขึ้นจากกรณีวินาศกรรม การคาดการณ์แนวโน้มของการผลิต การจ้างงาน และการส่งออกของภาคอุตสาหกรรม รวมทั้งสำรวจมาตรการความช่วยเหลือเร่งด่วนที่ภาคเอกชนต้องการจากภาครัฐ เพื่อที่จะช่วยให้ภาคอุตสาหกรรมสามารถฟันฝ่ามรสุมเศรษฐกิจในครั้งนี้ได้
ผลการสัมมนา
I. ภาพรวม
1. ผลการสำรวจและการประมวลความเห็นของการสัมมนาที่สำคัญพบว่า ผู้ประกอบการส่วนมากมีความเห็นว่าสถานการณ์และผลกระทบที่เกิดจากเหตุการณ์วิกฤตเศรษฐกิจจะส่งผลกระทบต่อประเทศไทยไม่มากเท่าที่มีการคาดการณ์ไว้ อุตสาหกรรมส่วนมากเห็นว่าสถานการณ์ในช่วงปลายปี 2544 และในปี 2545 น่าจะคงสภาพเช่นปัจจุบัน
2. ผู้ประกอบการได้มีการเตรียมการในการรับมือกับการชะลอตัวทางเศรษฐกิจมาตั้งแต่ต้นและอย่างต่อเนื่อง ทั้งในด้านการบริหารจัดการ การผลิต การตลาด รวมทั้งสภาพลักษณะของอุตสาหกรรมไทยที่มีความหลากหลายก็ถือได้ว่าเป็นภูมิคุ้มกันที่ทำให้อุตสาหกรรมไทยได้รับผลกระทบจากวิกฤตวินาศกรรมที่ซ้ำเติมมาไม่มากตามที่คาดการณ์ไว้
3. การส่งออก จากการสอบถามผู้ประกอบการที่เข้าร่วมสัมมนา พบว่า กว่าร้อยละ 60 เห็นว่ายอดการส่งออกในปี 2545 น่าจะมีแนวโน้มที่สูงขึ้นหรือไม่น้อยกว่าที่เป็นอยู่ อุตสาหกรรมที่คาดว่าจะมีแนวโน้มที่ดีในการส่งออก คือ เครื่องใช้ไฟฟ้า อาหาร เยื่อกระดาษ การพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ เครื่องจักรกลการเกษตร และยางและผลิตภัณฑ์ยาง ส่วนอุตสาหกรรมที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบมาก คือ อัญมณีและเครื่องประดับ
4. การจ้างงาน ร้อยละ 70 เห็นว่ายอดการจ้างงานในปี 2545 ไม่น่าจะลดลงจากที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน และกว่าร้อยละ 20 ยังมองเห็นว่าจะมีแนวโน้มการจ้างงานสูงขึ้นเล็กน้อย โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า เยื่อกระดาษ การพิมพ์และบรรจุภัณฑ์
5. ต้นทุนการผลิต ผู้ประกอบการกว่าร้อยละ 60 เห็นว่าความผันผวนของราคาน้ำมัน ค่าบริการสาธารณูปโภค และค่าขนส่งทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ จะส่งผลทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น
6. อัตราการใช้กำลังการผลิต ผู้ประกอบการกว่าร้อยละ 60 คาดว่าจะยังคงอัตราการใช้กำลังผลิตเท่าเดิมหรือเพิ่มขึ้น อุตสาหกรรมที่คาดว่าจะมีการเพิ่มอัตราการใช้กำลังผลิต คือ ยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า อาหารและอาหารสัตว์ และ ยางและผลิตภัณฑ์ยาง โดยทั้งนี้มีเพียงร้อยละ 26 ที่คาดว่าจะลดอัตราการใช้กำลังการผลิตลงร้อยละ 1-20 ซึ่งพบในอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ
7. การลงทุน ผู้ประกอบการกว่าร้อยละ 40 มองเห็นโอกาสในการขยายการลงทุนและคิดว่าน่าจะมีการลงทุนเพิ่มขึ้นทั้งในปี 2544 และ 2545 โดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ อุตสาหกรรมกระดาษ เยื่อกระดาษ การพิมพ์และบรรจุภัณฑ์
8. แนวโน้มตลาดโลก ถึงแม้ว่าผู้ประกอบการกว่าร้อยละ 65 ยังเป็นกังวลเกี่ยวกับความยืดเยื้อของปัญหาการก่อการร้ายที่จะทำให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกล่าช้า และคาดว่าแนวโน้มตลาดโลกจะลดลงในปี 2545 แต่การดำเนินนโยบายของประเทศต่าง ๆ ที่ได้เร่งดำเนินการไปแล้วและมีแผนที่จะดำเนินการนั้น จะช่วยเร่งสร้างความเชื่อมั่นในการใช้จ่ายของประชาชนในตลาดสำคัญๆ ทำให้มีเพียงร้อยละ 25 ของผู้ประกอบการที่เห็นว่าตลาดน่าจะมีแนวโน้มลดลงมาก ในขณะที่ประมาณร้อยละ 33 เห็นว่าแนวโน้มตลาดโลกน่าจะเป็นปกติเช่นในปัจจุบันหรือเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
9. มาตรการที่ภาคอุตสาหกรรมต้องการให้รัฐช่วย จากการสำรวจความคิดเห็นของผู้ประกอบการกว่า 300 ราย พบว่ามาตรการที่ภาคอุตสาหกรรมต้องการให้รัฐดำเนินการอย่างเร่งด่วนเรียงตามลำดับ ก็คือ
- การรักษาเสถียรภาพอัตราแลกเปลี่ยน
- การลดค่าสาธารณูปโภค
- มาตรการคุ้มครองผู้ผลิต
- การช่วยแสวงหาตลาดใหม่
- การหาแหล่งเงินกู้เพื่อเพิ่มสภาพคล่อง
- การลดภาษีเงินได้นิติบุคคล
- การเร่งคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม
- พัฒนาผู้ประกอบการ แรงงาน
จากผลการสัมมนา เป็นที่น่าสังเกตว่ามาตรการทางด้านสภาพคล่องและการเร่งคืนภาษีมูลค่าเพิ่มมีอันดับความสำคัญลดลงกว่าแต่ก่อน
II. สรุปแต่ละรายอุตสาหกรรม
1. อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า
1) สถานภาพ
- ส่วนใหญ่ผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ ซึ่งตลาดกำลังชะลอตัว
- การส่งออกทำได้ยากขึ้นเพราะทุกประเทศมีการกีดกันทางการค้า
- ผู้ผลิตส่วนใหญ่ประสบปัญหาขาดสภาพคล่องทางการเงิน
2) แนวโน้มปี 2545
- การผลิตจะลดลง เนื่องจากมีการนำเข้าเหล็กจากต่างประเทศจำนวนมาก
- การจ้างงานจะลดลง เนื่องจากการลดการผลิตหรือปิดกิจการ
3) มาตรการความช่วยเหลือที่ต้องการ
- ให้รัฐช่วยแก้ปัญหา NPL สนับสนุนด้านการเงิน เพื่อให้เกิดการควบรวมกิจการ
- ออกมาตรการคุ้มครองผู้ผลิตในประเทศจากการทุ่มตลาดที่รวดเร็วและเคร่งครัด
- กระตุ้นความต้องการในประเทศ
2. อุตสาหกรรมเครื่องจักรกลอุตสาหกรรมและเครื่องจักรกลการเกษตร
1) สถานภาพ
- ส่วนใหญ่ผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ ซึ่งยังมีการผลิตคงที่
- ตลาดภายในประเทศมีการแข่งขันกันอย่างรุนแรง เพราะ supply มากกว่า demand
2) แนวโน้มปี 2545
- ผู้ผลิตเครื่องจักรกลอุตสาหกรรมจะเปลี่ยนไปให้บริการซ่อมแซม/ปรับปรุงเครื่องจักรเก่าให้ทันสมัยแทนการผลิต
- ผู้ผลิตเครื่องจักรกลการเกษตรจะผลิตตามคำสั่งซื้อเท่านั้น
- การจ้างงานมีแนวโน้มคงที่
3) มาตรการความช่วยเหลือที่ต้องการ
- ปรับอัตราภาษีนำเข้าวัตถุดิบให้ต่ำกว่าสินค้าสำเร็จรูป
- สนับสนุนการใช้เครื่องจักรกลที่ผลิตในประเทศ เช่น ส่งเสริม Leasing หักค่าเสื่อมราคาอัตราพิเศษแก่เครื่องจักรที่ผลิตในประเทศ จัดหาสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำแก่ผู้ซื้อ ห้ามนำเข้าเครื่องจักรเก่า
- ฝึกอบรมแรงงาน
3. อุตสาหกรรมเซรามิกส์และแก้ว
1) สถานภาพ
- ผลิตภัณฑ์เซรามิกส์ส่งออก 60% ตลาดสำคัญคือ สหรัฐอเมริกา ยุโรป ญี่ปุ่น
- ผลิตภัณฑ์แก้วส่งออก 30% ตลาดสำคัญคือ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น
- ใช้กำลังการผลิตประมาณ 70% การผลิตยังไม่เปลี่ยนแปลง เนื่องจากยังมี order ล่วงหน้าก่อนเกิดวิกฤตการณ์
2) แนวโน้มปี 2545
- การผลิตและการส่งออกยังคงที่
- การจ้างงานอาจลดลงบ้าง มีการนำเข้าเทคโนโลยีมาใช้ในการลดต้นทุนการผลิต และพัฒนาผลิตภัณฑ์
3) มาตรการความช่วยเหลือที่ต้องการ
- ยกเว้นภาษีนำเข้าวัตถุดิบที่ไม่มีในประเทศ
- ลดผลกระทบและแก้ปัญหาของการเปิดเสรีทางการค้า / ทุ่มตลาด
- สนับสนุนการหาตลาดใหม่
- กระตุ้นความต้องการในประเทศ
- ลดค่าพลังงาน เช่น น้ำมัน ก๊าซ ไฟฟ้า
4. อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ
1) สถานภาพ
- ส่งออกเป็นส่วนใหญ่ ตลาดสำคัญคือ สหรัฐอเมริกา ยุโรป อิสราเอล ญี่ปุ่น
- การจ้างงานประมาณ 800,000 - 1,000,000 คน
- การผลิตในปัจจุบันลดลงบ้าง
2) แนวโน้มปี 2545
- การส่งออกจะลดลง ถ้าสงครามยืดเยื้อ
- การจ้างงานจะลดลง
- หันมาใช้เทคโนโลยีในการผลิตมากขึ้น
3) มาตรการความช่วยเหลือที่ต้องการ
- ยกเว้น VAT วัตถุดิบนำเข้าเพื่อการส่งออก
- ลดค่าสาธารณูปโภค
- ลดภาษีเงินได้นิติบุคคลแก่ผู้ประกอบการ 3 ปี
- หาตลาดใหม่ ๆ ตั้งศูนย์กระจายสินค้าในต่างประเทศ
5. อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและเครื่องปรับอากาศ
1) สถานภาพ
- เครื่องใช้ไฟฟ้าส่งออก 50 - 70% ตลาดสำคัญคือ ญี่ปุ่น อาเซียน อัฟริกา จีน รัสเซีย ยูเครน สหรัฐอเมริกา ยุโรป
- เครื่องปรับอากาศส่งออก 30 - 50 % ตลาดใหญ่ คือ ตะวันออกกลาง
- การผลิตยังไม่ลดลง คำสั่งซื้อปกติ
- ตลาดตะวันออกกลาง บริษัทประกันภัยไม่รับประกัน ค่าระวางสูงมากขึ้น
2) แนวโน้มปี 2545
- การส่งออกอาจเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
- ต้นทุนการผลิตจะลดลง เนื่องจากอุตสาหกรรมสนับสนุนในประเทศแข่งขันมากขึ้น
- การจ้างงานจะเพิ่มขึ้น เพราะมีการลงทุนเพิ่ม
3) มาตรการความช่วยเหลือที่ต้องการ
- ปรับขั้นตอนการคืน VAT ให้เร็วขึ้น
- ปรับลดภาษีวัตถุดิบนำเข้า เพื่อให้แข่งขันกับสินค้านำเข้าได้
- รักษาเสถียรภาพอัตราแลกเปลี่ยนง ใช้มาตรฐานบังคับกับเครื่องใช้ไฟฟ้ามากขึ้นเพื่อปกป้องการทุ่มตลาด
- พัฒนา SMEs ทั้งด้านการบริหารจัดการ การตลาด ทักษะบุคลากร
6. อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์
1) สถานภาพ
- ตลาดส่งออกหดตัว 25 - 30 % โดยเฉพาะ IC
- การใช้กำลังการผลิตประมาณ 50 - 85%
- กำลังการผลิต IC ทั่วโลกเกินความต้องการ มีสินค้าคงเหลือสูง ลดราคาลงถึง 30%
- อุตสาหกรรมสนับสนุนในไทย มีกำลังการผลิตเหลืออยู่มาก
2) แนวโน้มปี 2545
- มีความไม่แน่นอนสูง การยืนยัน order ทำเป็นรายเดือน
3) มาตรการความช่วยเหลือที่ต้องการ
- ลดค่าใช้จ่ายสาธารณูปโภคง คืนภาษีอย่างรวดเร็ว เพื่อให้มีสภาพคล่องสูง
- ปรับปรุงพิธีการศุลกากรให้รวดเร็ว และลดขั้นตอนระเบียบราชการลง
- สนับสนุนการตั้งโรงงานกำจัดของเสียให้มากขึ้น ค่าบริการไม่แพง
- ส่งเสริมการพัฒนาบุคลากร การพัฒนาเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์การทดสอบผลิตภัณฑ์ให้เพียงพอ
7. อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน
1) สถานภาพ
- ยอดขายในประเทศเพิ่มขึ้น ยกเว้นรถบรรทุกใหญ่
- การส่งออกไม่ได้รับผลกระทบ
- มีการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้น แต่ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้นด้วย
2) แนวโน้มปี 2545
- ยอดขายในประเทศเพิ่มขึ้น แต่อาจต่ำกว่าเป้าหมาย
- การส่งออกจะทรงตัว
- การจ้างงานไม่เปลี่ยนแปลง
- การใช้กำลังการผลิตเพิ่มเล็กน้อย ต้นทุนการผลิตยังคงเพิ่มขึ้น
3) มาตรการความช่วยเหลือที่ต้องการ
- กระตุ้นตลาดในประเทศ เช่น ลด VAT เหลือ 5%
- ขยายตลาดอาเซียน
- สนับสนุนในด้าน Infrastructure การพัฒนาบุคลากร การทดสอบผลิตภัณฑ์ การออกแบบผลิตภัณฑ์ พัฒนา tool & die
- รักษาเสถียรภาพอัตราแลกเปลี่ยน
8. อุตสาหกรรมวัสดุก่อสร้าง
1) สถานภาพ
- การผลิตยังเติบโตตามปกติ ยกเว้นผลิตภัณฑ์คอนกรีตลดลง 50%
- ตลาดส่งออกปูนซิเมนต์ คือ อาเซียน อินเดีย สหรัฐอเมริกา อัฟริกา
2) แนวโน้มปี 2545
- ตลาดในประเทศจะหดตัวประมาณ 5 - 10%
- ตลาดส่งออกปูนซิเมนต์จะลดลงประมาณ 15%
- การผลิตลดลง 5 - 15%ง การจ้างงานไม่เปลี่ยนแปลง
3) มาตรการความช่วยเหลือที่ต้องการ
- พิจารณาให้การสนับสนุนผลิตภัณฑ์ที่ผลิตได้ในประเทศ
- กระตุ้นตลาดในประเทศ เช่น เร่งรัดโครงการลงทุนของรัฐ ลดหย่อนภาษีที่อยู่อาศัย ลดดอกเบี้ยเงินกู้ยืม
- อำนวยความสะดวกการค้าชายแดน
- ลดค่าพลังงานลง ส่งเสริมการใช้กากอุตสาหกรรมมาเป็นเชื้อเพลิง
9.อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ ไม้อัด
1) สถานภาพ
- ตลาดส่งออกสำคัญคือ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น
- ปี 2544 มูลค่าการส่งออกจะลดลง 15 - 20%
- การใช้กำลังการผลิตลดลงประมาณ 20 - 50%
2) แนวโน้มปี 2545
- การส่งออกจะลดลง 20 - 50%
- ตลาดในประเทศจะลดลงเล็กน้อย
- การจ้างงานจะลดลง 1 - 20%
3) มาตรการความช่วยเหลือ
- แก้ไขกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคต่อการผลิต และการส่งออก เช่น นำไม้ยางพารา ไม้สวนป่า ไม้นอกประเภทออกจาก พรบ.ป่าไม้
- หาตลาดใหม่ ๆ เช่น จีน อินเดีย ยุโรป
- ประชาสัมพันธ์คุณค่าของไม้ยางพารา
- ปรับโครงสร้างภาษีนำเข้าวัตถุดิบเป็นร้อยละ 0
- กระตุ้นตลาดภายในประเทศ
10. อุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยาง
1) สถานภาพ
- การส่งออกยางธรรมชาติไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก ตลาดสำคัญคือ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น จีน
- การส่งออกผลิตภัณฑ์ยางขยายตัว 8 - 12% ตลาดสำคัญคือ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น เยอรมัน
- การจ้างงานยังไม่มีการเปลี่ยนแปลง
2) แนวโน้มปี 2545
- การผลิตยังไม่ชะลอตัว
- ต้นทุนการผลิตเพิ่มสูงขึ้นจากค่าแก๊ส ค่าสาธารณูปโภคที่เพิ่ม
3) มาตรการความช่วยเหลือที่ต้องการ
- สนับสนุนการขยายตลาด เช่น ข้อมูลตลาด การแสดงสินค้า การโฆษณาในต่างประเทศ
- การลดต้นทุนการผลิต เช่น ลดหย่อนภาษีสินค้าต้นแบบเพื่อผลิตส่งออก เร่งรัดการคืนภาษี VAT ปรับลดภาษีวัตถุดิบ
- กระตุ้นตลาดในประเทศ เช่น ลดภาษี VAT
11. อุตสาหกรรมปิโตรเคมี
1) สถานภาพ
- ส่งออกปิโตรเคมี 20 - 50% ตลาดสำคัญคือ จีน ญี่ปุ่น อาเซียน สหรัฐอเมริกา ยุโรป ตะวันออกกลาง
- ความต้องการในประเทศลดลง การส่งออกเพิ่มขึ้นง การจ้างงานไม่เปลี่ยนแปลง
2) แนวโน้มปี 2545
- การผลิตไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก
- ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากค่าขนส่งแพงขึ้น
- มีการแข่งขันด้านราคาสูงขึ้น
3) มาตรการความช่วยเหลือที่ต้องการ
- ให้ความช่วยเหลือด้านเงินทุนที่มีต้นทุนต่ำและการปรับโครงสร้างหนี้ที่เท่าเทียมกัน
- เจรจาหาตลาด G to G เพื่อไม่ให้มีกำแพงภาษี เช่น จีน ญี่ปุ่น
- ลดค่าสาธารณูปโภคและค่าระวางเรือ
- ให้ความช่วยเหลือด้านความปลอดภัยในช่วงวิกฤตแก่นิคมอุตสาหกรรม
12. อุตสาหกรรมอาหาร
1) สถานภาพ
- การผลิต สินค้าไก่ไม่กระทบ สินค้ากุ้งและอาหารทะเลแปรรูปผลิตเพิ่มขึ้น สินค้า สับปะรดลดลง 12%
- การส่งออก สินค้าไก่ขยายตัว 20% สินค้ากุ้งคาดว่าไม่ลดลง ปลาทูน่าส่งออกขยายตัว 10%
2) แนวโน้มปี 2545
- การผลิตโดยรวมจะเพิ่มขึ้น 10%
- การส่งออกสินค้ากุ้งจะเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 13% สินค้าทะเลแปรรูปและสินค้าไก่จะส่งออกเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 10%
3) มาตรการความช่วยเหลือที่ต้องการ
- เร่งผลักดัน Single agency
- ช่วยเหลือการกีดกันการค้าอย่างจริงจัง
- ให้มีข้อมูลการเจรจาการค้าที่รวดเร็ว เพื่อผู้ประกอบการจะได้เตรียมตัว
- แก้ไขปัญหาสินค้าอาหารทั้ง value chain
13. อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม
1) สถานภาพ
- สิ่งทอ ส่งออกมา ตลาดสำคัญคือ สหรัฐอเมริกา (38%) ญี่ปุ่น (7%) อังกฤษ ฮ่องกง และสหรัฐอาหรับเอมิเรต
- เสื้อผ้าสำเร็จรูป ส่งออกไปสหรัฐอเมริกา 54% ญี่ปุ่น 7%
- มีการจ้างงานกว่า 1 ล้านคน
2) แนวโน้มปี 2545
- คาดว่าสหรัฐอเมริกาจะลดการนำเข้าจากกลุ่มประเทศเสี่ยง (อินโดนีเซีย ปากีสถาน) จึงน่าจะเป็นโอกาสของผู้ผลิตไทย
3) มาตรการความช่วยเหลือที่ต้องการ
- ปรับโครงสร้างภาษีให้เอื้อต่อการผลิตและการแข่งขัน
- รักษาเสถียรภาพอัตราแลกเปลี่ยน
- ส่งเสริมการลงทุน โดยเน้นการใช้เทคโนโลยี การรักษาสิ่งแวดล้อม และการประหยัดพลังงาน
- แก้ไขมาตรการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษี
- พัฒนาบุคลากรในอุตสาหกรรมฟอกย้อมและเครื่องนุ่งห่ม
14. อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์และยา
1) สถานภาพ
- ส่วนใหญ่จำหน่ายในประเทศ ยังไม่มีปัญหา มีการส่งออก 10-20% ไปประเทศเพื่อนบ้าน และตะวันออกกลาง
- การผลิตค่อนข้างคงที่
2) แนวโน้มปี 2545
- ภาวะการผลิตและการส่งออกมีแนวโน้มลดลง แต่ผลกระทบค่อนข้างน้อย
- ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากค่าพลังงานและค่าขนส่งสูงขึ้น
3) มาตรการความช่วยเหลือที่ต้องการ
- ลดภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีนำเข้าวัตถุดิบ
- คุ้มครองผู้ผลิตในประเทศจากการทุ่มตลาด
- สนับสนุนการยกระดับมาตรฐานการผลิต (GMP, ISO 9000, ISO 14000)
- ปรับปรุงกฎระเบียบของรัฐให้เอื้อต่อการแข่งขัน
- สนับสนุนด้านเครื่องมือ และผู้เชี่ยวชาญสำหรับ R&D
15. อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติก
1) สถานภาพ
- ส่งออก 70% ตลาดสำคัญคือ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย อังกฤษ และฮ่องกง
- ผลิตภัณฑ์ประเภท commodity ยังไม่ได้รับผลกระทบมากนัก
- ผลิตภัณฑ์ประเภท specialty ได้รับผลกระทบ เช่น ชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ลดลง 30%
2) แนวโน้มปี 2545
- การส่งออกจะลดลงเล็กน้อย ยกเว้นชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ จะลดลงอย่างชัดเจน
- การจ้างงานลดลง และจะมีการใช้แรงงานต่างด้าวบริเวณชายแดนเพิ่มขึ้น
3) มาตรการความช่วยเหลือที่ต้องการ
- ควรมีมาตรการเพื่อลดต้นทุนการผลิต เช่น ลดต้นทุนการทำ Factoring ผ่าน บอย./บสย. ลดภาษีอะไหล่เครื่องจักร ให้ tax incentive แก่ผู้ใช้ชิ้นส่วนในประเทศลดค่าไฟฟ้า
- สนับสนุนการค้าชายแดน
- คุ้มครองผู้ผลิตในประเทศ เช่น กำหนด local content สำหรับการประมูลของรัฐ
- พัฒนาทักษะด้านการออกแบบแม่พิมพ์ และการผลิตแม่พิมพ์
16. อุตสาหกรรมรองเท้าและเครื่องหนัง
1) สถานภาพ
- ส่งออก 70% ตลาดสำคัญ คือ สหรัฐอเมริกา ยุโรป ฮ่องกง
- มูลค่าส่งออกใกล้เคียงปี 2543
- การผลิตชะลอตัวลงเล็กน้อย
2) แนวโน้มปี 2545
- การส่งออกใกล้เคียงปี 2544 มุ่งผลิตสินค้าที่มีระดับคุณภาพสูงขึ้น
- จะสามารถขยายตลาดทดแทนคู่แข่ง คือ อินโดนีเซีย
3) มาตรการความช่วยเหลือที่ต้องการ
- ปรับระเบียบการควบคุมการนำเข้าหนังดิบจากยุโรป เพื่อเพิ่มปริมาณนำเข้า แก้ไขภาวะขาดแคลนหนังดิบ
- เพิ่มสภาพคล่องทางการเงินแก่ผู้ผลิตอุตสาหกรรมฟอกหนัง
- สนับสนุนการใช้สินค้าที่ผลิตในประเทศ
- สนับสนุนการหาตลาดใหม่ เช่น จัดงานแสดงสินค้า สนับสนุนทางการเงินแก่ผู้ส่งออก
- พัฒนาทักษะแรงงานในการผลิตและการออกแบบ
17. อุตสาหกรรมเยื่อกระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ
1) สถานภาพ
- มีการส่งออกน้อย ส่วนใหญ่ใช้ในประเทศ
- ตลาดส่งออกเยื่อกระดาษและกระดาษอยู่ที่ ญี่ปุ่น ฮ่องกง ไต้หวัน สิงคโปร์
- ตลาดส่งออกสิ่งพิมพ์ บรรจุภัณฑ์ อยู่ที่สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น
- การผลิตมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะสิ่งพิมพ์
2) แนวโน้มปี 2545
- การผลิตเยื่อกระดาษและกระดาษ มีแนวโน้มที่ดี ส่วนสิ่งพิมพ์ยังจะขยายตัว
- การส่งออกยังคงมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะตลาดจีน
3) มาตรการความช่วยเหลือที่ต้องการ
- ขยายเวลาการปฏิบัติงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับพิธีการส่งออก
- รักษาเสถียรภาพอัตราแลกเปลี่ยน
- เร่งรัดการคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม
- ให้รัฐมีนโยบายใช้กระดาษที่ผลิตในประเทศ และกิจการพิมพ์ในประเทศให้มากขึ้น
- สนับสนุนการฝึกอบรมด้านการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์
18. กลุ่มวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
1) สถานภาพ
- ตลาดภายในประเทศร้อยละ 60 ยังไม่มีกำลังซื้อ และขาดความสามารถในการหาตลาดใหม่ ตลาดต่างประเทศยังมีความต้องการสินค้าอุตสาหกรรมมาก โดยเฉพาะอาหาร
- ต้นทุนการผลิตผันผวนจากอัตราแลกเปลี่ยนในการนำเข้าวัตถุดิบ
2) แนวโน้มปี 2545
- SMEs รายเล็กไม่มองการณ์ไกล หวังเพียงกำไร ผลิตพออยู่รอดเท่านั้น ไม่คำนึงถึงคุณภาพมากนัก ทำให้เกิดการตัดราคาขายและมีรายได้ลดลง
3) มาตรการความช่วยเหลือที่ต้องการ
- เพิ่มสินเชื่อทางการค้าในระบบอีก 4 แสนล้านบาททันที และสนับสนุนสินเชื่อแก่ธุรกิจที่เป็นลูกค้าชั้นดี
- ลดแวตจาก 7% เหลือ 5% เป็นเวลา 3-5 ปี และยกเว้นภาษีเงินได้ธุรกิจใหม่และเก่า 3 ปี
- ใช้มาตรการ War-Effect Relief Package เพื่อระบายสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง
- เร่งประกาศใช้ พ.ร.บ. ว่าด้วย Factoring& Leasing
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
กระทรวงอุตสาหกรรม โดยความร่วมมือของกระทรวงการคลัง กระทรวงพาณิชย์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หอการค้าไทย และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ได้จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ รวมพลังฝ่าวิกฤตเพื่อธุรกิจอุตสาหกรรมไทย ที่ศูนย์นิทรรศการและแสดงสินค้าไบเทค เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2544 เพื่อร่วมมือในการกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศเพื่อรับมือกับวิกฤตการณ์
การสัมมนาครั้งนี้ ได้เชิญผู้เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนจำนวน 917 คน มาร่วมประเมินสถานการณ์ของภาคอุตสาหกรรม และผลกระทบที่เกิดขึ้นจากกรณีวินาศกรรม การคาดการณ์แนวโน้มของการผลิต การจ้างงาน และการส่งออกของภาคอุตสาหกรรม รวมทั้งสำรวจมาตรการความช่วยเหลือเร่งด่วนที่ภาคเอกชนต้องการจากภาครัฐ เพื่อที่จะช่วยให้ภาคอุตสาหกรรมสามารถฟันฝ่ามรสุมเศรษฐกิจในครั้งนี้ได้
ผลการสัมมนา
I. ภาพรวม
1. ผลการสำรวจและการประมวลความเห็นของการสัมมนาที่สำคัญพบว่า ผู้ประกอบการส่วนมากมีความเห็นว่าสถานการณ์และผลกระทบที่เกิดจากเหตุการณ์วิกฤตเศรษฐกิจจะส่งผลกระทบต่อประเทศไทยไม่มากเท่าที่มีการคาดการณ์ไว้ อุตสาหกรรมส่วนมากเห็นว่าสถานการณ์ในช่วงปลายปี 2544 และในปี 2545 น่าจะคงสภาพเช่นปัจจุบัน
2. ผู้ประกอบการได้มีการเตรียมการในการรับมือกับการชะลอตัวทางเศรษฐกิจมาตั้งแต่ต้นและอย่างต่อเนื่อง ทั้งในด้านการบริหารจัดการ การผลิต การตลาด รวมทั้งสภาพลักษณะของอุตสาหกรรมไทยที่มีความหลากหลายก็ถือได้ว่าเป็นภูมิคุ้มกันที่ทำให้อุตสาหกรรมไทยได้รับผลกระทบจากวิกฤตวินาศกรรมที่ซ้ำเติมมาไม่มากตามที่คาดการณ์ไว้
3. การส่งออก จากการสอบถามผู้ประกอบการที่เข้าร่วมสัมมนา พบว่า กว่าร้อยละ 60 เห็นว่ายอดการส่งออกในปี 2545 น่าจะมีแนวโน้มที่สูงขึ้นหรือไม่น้อยกว่าที่เป็นอยู่ อุตสาหกรรมที่คาดว่าจะมีแนวโน้มที่ดีในการส่งออก คือ เครื่องใช้ไฟฟ้า อาหาร เยื่อกระดาษ การพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ เครื่องจักรกลการเกษตร และยางและผลิตภัณฑ์ยาง ส่วนอุตสาหกรรมที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบมาก คือ อัญมณีและเครื่องประดับ
4. การจ้างงาน ร้อยละ 70 เห็นว่ายอดการจ้างงานในปี 2545 ไม่น่าจะลดลงจากที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน และกว่าร้อยละ 20 ยังมองเห็นว่าจะมีแนวโน้มการจ้างงานสูงขึ้นเล็กน้อย โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า เยื่อกระดาษ การพิมพ์และบรรจุภัณฑ์
5. ต้นทุนการผลิต ผู้ประกอบการกว่าร้อยละ 60 เห็นว่าความผันผวนของราคาน้ำมัน ค่าบริการสาธารณูปโภค และค่าขนส่งทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ จะส่งผลทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น
6. อัตราการใช้กำลังการผลิต ผู้ประกอบการกว่าร้อยละ 60 คาดว่าจะยังคงอัตราการใช้กำลังผลิตเท่าเดิมหรือเพิ่มขึ้น อุตสาหกรรมที่คาดว่าจะมีการเพิ่มอัตราการใช้กำลังผลิต คือ ยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า อาหารและอาหารสัตว์ และ ยางและผลิตภัณฑ์ยาง โดยทั้งนี้มีเพียงร้อยละ 26 ที่คาดว่าจะลดอัตราการใช้กำลังการผลิตลงร้อยละ 1-20 ซึ่งพบในอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ
7. การลงทุน ผู้ประกอบการกว่าร้อยละ 40 มองเห็นโอกาสในการขยายการลงทุนและคิดว่าน่าจะมีการลงทุนเพิ่มขึ้นทั้งในปี 2544 และ 2545 โดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ อุตสาหกรรมกระดาษ เยื่อกระดาษ การพิมพ์และบรรจุภัณฑ์
8. แนวโน้มตลาดโลก ถึงแม้ว่าผู้ประกอบการกว่าร้อยละ 65 ยังเป็นกังวลเกี่ยวกับความยืดเยื้อของปัญหาการก่อการร้ายที่จะทำให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกล่าช้า และคาดว่าแนวโน้มตลาดโลกจะลดลงในปี 2545 แต่การดำเนินนโยบายของประเทศต่าง ๆ ที่ได้เร่งดำเนินการไปแล้วและมีแผนที่จะดำเนินการนั้น จะช่วยเร่งสร้างความเชื่อมั่นในการใช้จ่ายของประชาชนในตลาดสำคัญๆ ทำให้มีเพียงร้อยละ 25 ของผู้ประกอบการที่เห็นว่าตลาดน่าจะมีแนวโน้มลดลงมาก ในขณะที่ประมาณร้อยละ 33 เห็นว่าแนวโน้มตลาดโลกน่าจะเป็นปกติเช่นในปัจจุบันหรือเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
9. มาตรการที่ภาคอุตสาหกรรมต้องการให้รัฐช่วย จากการสำรวจความคิดเห็นของผู้ประกอบการกว่า 300 ราย พบว่ามาตรการที่ภาคอุตสาหกรรมต้องการให้รัฐดำเนินการอย่างเร่งด่วนเรียงตามลำดับ ก็คือ
- การรักษาเสถียรภาพอัตราแลกเปลี่ยน
- การลดค่าสาธารณูปโภค
- มาตรการคุ้มครองผู้ผลิต
- การช่วยแสวงหาตลาดใหม่
- การหาแหล่งเงินกู้เพื่อเพิ่มสภาพคล่อง
- การลดภาษีเงินได้นิติบุคคล
- การเร่งคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม
- พัฒนาผู้ประกอบการ แรงงาน
จากผลการสัมมนา เป็นที่น่าสังเกตว่ามาตรการทางด้านสภาพคล่องและการเร่งคืนภาษีมูลค่าเพิ่มมีอันดับความสำคัญลดลงกว่าแต่ก่อน
II. สรุปแต่ละรายอุตสาหกรรม
1. อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า
1) สถานภาพ
- ส่วนใหญ่ผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ ซึ่งตลาดกำลังชะลอตัว
- การส่งออกทำได้ยากขึ้นเพราะทุกประเทศมีการกีดกันทางการค้า
- ผู้ผลิตส่วนใหญ่ประสบปัญหาขาดสภาพคล่องทางการเงิน
2) แนวโน้มปี 2545
- การผลิตจะลดลง เนื่องจากมีการนำเข้าเหล็กจากต่างประเทศจำนวนมาก
- การจ้างงานจะลดลง เนื่องจากการลดการผลิตหรือปิดกิจการ
3) มาตรการความช่วยเหลือที่ต้องการ
- ให้รัฐช่วยแก้ปัญหา NPL สนับสนุนด้านการเงิน เพื่อให้เกิดการควบรวมกิจการ
- ออกมาตรการคุ้มครองผู้ผลิตในประเทศจากการทุ่มตลาดที่รวดเร็วและเคร่งครัด
- กระตุ้นความต้องการในประเทศ
2. อุตสาหกรรมเครื่องจักรกลอุตสาหกรรมและเครื่องจักรกลการเกษตร
1) สถานภาพ
- ส่วนใหญ่ผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ ซึ่งยังมีการผลิตคงที่
- ตลาดภายในประเทศมีการแข่งขันกันอย่างรุนแรง เพราะ supply มากกว่า demand
2) แนวโน้มปี 2545
- ผู้ผลิตเครื่องจักรกลอุตสาหกรรมจะเปลี่ยนไปให้บริการซ่อมแซม/ปรับปรุงเครื่องจักรเก่าให้ทันสมัยแทนการผลิต
- ผู้ผลิตเครื่องจักรกลการเกษตรจะผลิตตามคำสั่งซื้อเท่านั้น
- การจ้างงานมีแนวโน้มคงที่
3) มาตรการความช่วยเหลือที่ต้องการ
- ปรับอัตราภาษีนำเข้าวัตถุดิบให้ต่ำกว่าสินค้าสำเร็จรูป
- สนับสนุนการใช้เครื่องจักรกลที่ผลิตในประเทศ เช่น ส่งเสริม Leasing หักค่าเสื่อมราคาอัตราพิเศษแก่เครื่องจักรที่ผลิตในประเทศ จัดหาสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำแก่ผู้ซื้อ ห้ามนำเข้าเครื่องจักรเก่า
- ฝึกอบรมแรงงาน
3. อุตสาหกรรมเซรามิกส์และแก้ว
1) สถานภาพ
- ผลิตภัณฑ์เซรามิกส์ส่งออก 60% ตลาดสำคัญคือ สหรัฐอเมริกา ยุโรป ญี่ปุ่น
- ผลิตภัณฑ์แก้วส่งออก 30% ตลาดสำคัญคือ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น
- ใช้กำลังการผลิตประมาณ 70% การผลิตยังไม่เปลี่ยนแปลง เนื่องจากยังมี order ล่วงหน้าก่อนเกิดวิกฤตการณ์
2) แนวโน้มปี 2545
- การผลิตและการส่งออกยังคงที่
- การจ้างงานอาจลดลงบ้าง มีการนำเข้าเทคโนโลยีมาใช้ในการลดต้นทุนการผลิต และพัฒนาผลิตภัณฑ์
3) มาตรการความช่วยเหลือที่ต้องการ
- ยกเว้นภาษีนำเข้าวัตถุดิบที่ไม่มีในประเทศ
- ลดผลกระทบและแก้ปัญหาของการเปิดเสรีทางการค้า / ทุ่มตลาด
- สนับสนุนการหาตลาดใหม่
- กระตุ้นความต้องการในประเทศ
- ลดค่าพลังงาน เช่น น้ำมัน ก๊าซ ไฟฟ้า
4. อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ
1) สถานภาพ
- ส่งออกเป็นส่วนใหญ่ ตลาดสำคัญคือ สหรัฐอเมริกา ยุโรป อิสราเอล ญี่ปุ่น
- การจ้างงานประมาณ 800,000 - 1,000,000 คน
- การผลิตในปัจจุบันลดลงบ้าง
2) แนวโน้มปี 2545
- การส่งออกจะลดลง ถ้าสงครามยืดเยื้อ
- การจ้างงานจะลดลง
- หันมาใช้เทคโนโลยีในการผลิตมากขึ้น
3) มาตรการความช่วยเหลือที่ต้องการ
- ยกเว้น VAT วัตถุดิบนำเข้าเพื่อการส่งออก
- ลดค่าสาธารณูปโภค
- ลดภาษีเงินได้นิติบุคคลแก่ผู้ประกอบการ 3 ปี
- หาตลาดใหม่ ๆ ตั้งศูนย์กระจายสินค้าในต่างประเทศ
5. อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและเครื่องปรับอากาศ
1) สถานภาพ
- เครื่องใช้ไฟฟ้าส่งออก 50 - 70% ตลาดสำคัญคือ ญี่ปุ่น อาเซียน อัฟริกา จีน รัสเซีย ยูเครน สหรัฐอเมริกา ยุโรป
- เครื่องปรับอากาศส่งออก 30 - 50 % ตลาดใหญ่ คือ ตะวันออกกลาง
- การผลิตยังไม่ลดลง คำสั่งซื้อปกติ
- ตลาดตะวันออกกลาง บริษัทประกันภัยไม่รับประกัน ค่าระวางสูงมากขึ้น
2) แนวโน้มปี 2545
- การส่งออกอาจเพิ่มขึ้นเล็กน้อย
- ต้นทุนการผลิตจะลดลง เนื่องจากอุตสาหกรรมสนับสนุนในประเทศแข่งขันมากขึ้น
- การจ้างงานจะเพิ่มขึ้น เพราะมีการลงทุนเพิ่ม
3) มาตรการความช่วยเหลือที่ต้องการ
- ปรับขั้นตอนการคืน VAT ให้เร็วขึ้น
- ปรับลดภาษีวัตถุดิบนำเข้า เพื่อให้แข่งขันกับสินค้านำเข้าได้
- รักษาเสถียรภาพอัตราแลกเปลี่ยนง ใช้มาตรฐานบังคับกับเครื่องใช้ไฟฟ้ามากขึ้นเพื่อปกป้องการทุ่มตลาด
- พัฒนา SMEs ทั้งด้านการบริหารจัดการ การตลาด ทักษะบุคลากร
6. อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์
1) สถานภาพ
- ตลาดส่งออกหดตัว 25 - 30 % โดยเฉพาะ IC
- การใช้กำลังการผลิตประมาณ 50 - 85%
- กำลังการผลิต IC ทั่วโลกเกินความต้องการ มีสินค้าคงเหลือสูง ลดราคาลงถึง 30%
- อุตสาหกรรมสนับสนุนในไทย มีกำลังการผลิตเหลืออยู่มาก
2) แนวโน้มปี 2545
- มีความไม่แน่นอนสูง การยืนยัน order ทำเป็นรายเดือน
3) มาตรการความช่วยเหลือที่ต้องการ
- ลดค่าใช้จ่ายสาธารณูปโภคง คืนภาษีอย่างรวดเร็ว เพื่อให้มีสภาพคล่องสูง
- ปรับปรุงพิธีการศุลกากรให้รวดเร็ว และลดขั้นตอนระเบียบราชการลง
- สนับสนุนการตั้งโรงงานกำจัดของเสียให้มากขึ้น ค่าบริการไม่แพง
- ส่งเสริมการพัฒนาบุคลากร การพัฒนาเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์การทดสอบผลิตภัณฑ์ให้เพียงพอ
7. อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน
1) สถานภาพ
- ยอดขายในประเทศเพิ่มขึ้น ยกเว้นรถบรรทุกใหญ่
- การส่งออกไม่ได้รับผลกระทบ
- มีการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้น แต่ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้นด้วย
2) แนวโน้มปี 2545
- ยอดขายในประเทศเพิ่มขึ้น แต่อาจต่ำกว่าเป้าหมาย
- การส่งออกจะทรงตัว
- การจ้างงานไม่เปลี่ยนแปลง
- การใช้กำลังการผลิตเพิ่มเล็กน้อย ต้นทุนการผลิตยังคงเพิ่มขึ้น
3) มาตรการความช่วยเหลือที่ต้องการ
- กระตุ้นตลาดในประเทศ เช่น ลด VAT เหลือ 5%
- ขยายตลาดอาเซียน
- สนับสนุนในด้าน Infrastructure การพัฒนาบุคลากร การทดสอบผลิตภัณฑ์ การออกแบบผลิตภัณฑ์ พัฒนา tool & die
- รักษาเสถียรภาพอัตราแลกเปลี่ยน
8. อุตสาหกรรมวัสดุก่อสร้าง
1) สถานภาพ
- การผลิตยังเติบโตตามปกติ ยกเว้นผลิตภัณฑ์คอนกรีตลดลง 50%
- ตลาดส่งออกปูนซิเมนต์ คือ อาเซียน อินเดีย สหรัฐอเมริกา อัฟริกา
2) แนวโน้มปี 2545
- ตลาดในประเทศจะหดตัวประมาณ 5 - 10%
- ตลาดส่งออกปูนซิเมนต์จะลดลงประมาณ 15%
- การผลิตลดลง 5 - 15%ง การจ้างงานไม่เปลี่ยนแปลง
3) มาตรการความช่วยเหลือที่ต้องการ
- พิจารณาให้การสนับสนุนผลิตภัณฑ์ที่ผลิตได้ในประเทศ
- กระตุ้นตลาดในประเทศ เช่น เร่งรัดโครงการลงทุนของรัฐ ลดหย่อนภาษีที่อยู่อาศัย ลดดอกเบี้ยเงินกู้ยืม
- อำนวยความสะดวกการค้าชายแดน
- ลดค่าพลังงานลง ส่งเสริมการใช้กากอุตสาหกรรมมาเป็นเชื้อเพลิง
9.อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ ไม้อัด
1) สถานภาพ
- ตลาดส่งออกสำคัญคือ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น
- ปี 2544 มูลค่าการส่งออกจะลดลง 15 - 20%
- การใช้กำลังการผลิตลดลงประมาณ 20 - 50%
2) แนวโน้มปี 2545
- การส่งออกจะลดลง 20 - 50%
- ตลาดในประเทศจะลดลงเล็กน้อย
- การจ้างงานจะลดลง 1 - 20%
3) มาตรการความช่วยเหลือ
- แก้ไขกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคต่อการผลิต และการส่งออก เช่น นำไม้ยางพารา ไม้สวนป่า ไม้นอกประเภทออกจาก พรบ.ป่าไม้
- หาตลาดใหม่ ๆ เช่น จีน อินเดีย ยุโรป
- ประชาสัมพันธ์คุณค่าของไม้ยางพารา
- ปรับโครงสร้างภาษีนำเข้าวัตถุดิบเป็นร้อยละ 0
- กระตุ้นตลาดภายในประเทศ
10. อุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยาง
1) สถานภาพ
- การส่งออกยางธรรมชาติไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก ตลาดสำคัญคือ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น จีน
- การส่งออกผลิตภัณฑ์ยางขยายตัว 8 - 12% ตลาดสำคัญคือ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น เยอรมัน
- การจ้างงานยังไม่มีการเปลี่ยนแปลง
2) แนวโน้มปี 2545
- การผลิตยังไม่ชะลอตัว
- ต้นทุนการผลิตเพิ่มสูงขึ้นจากค่าแก๊ส ค่าสาธารณูปโภคที่เพิ่ม
3) มาตรการความช่วยเหลือที่ต้องการ
- สนับสนุนการขยายตลาด เช่น ข้อมูลตลาด การแสดงสินค้า การโฆษณาในต่างประเทศ
- การลดต้นทุนการผลิต เช่น ลดหย่อนภาษีสินค้าต้นแบบเพื่อผลิตส่งออก เร่งรัดการคืนภาษี VAT ปรับลดภาษีวัตถุดิบ
- กระตุ้นตลาดในประเทศ เช่น ลดภาษี VAT
11. อุตสาหกรรมปิโตรเคมี
1) สถานภาพ
- ส่งออกปิโตรเคมี 20 - 50% ตลาดสำคัญคือ จีน ญี่ปุ่น อาเซียน สหรัฐอเมริกา ยุโรป ตะวันออกกลาง
- ความต้องการในประเทศลดลง การส่งออกเพิ่มขึ้นง การจ้างงานไม่เปลี่ยนแปลง
2) แนวโน้มปี 2545
- การผลิตไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก
- ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากค่าขนส่งแพงขึ้น
- มีการแข่งขันด้านราคาสูงขึ้น
3) มาตรการความช่วยเหลือที่ต้องการ
- ให้ความช่วยเหลือด้านเงินทุนที่มีต้นทุนต่ำและการปรับโครงสร้างหนี้ที่เท่าเทียมกัน
- เจรจาหาตลาด G to G เพื่อไม่ให้มีกำแพงภาษี เช่น จีน ญี่ปุ่น
- ลดค่าสาธารณูปโภคและค่าระวางเรือ
- ให้ความช่วยเหลือด้านความปลอดภัยในช่วงวิกฤตแก่นิคมอุตสาหกรรม
12. อุตสาหกรรมอาหาร
1) สถานภาพ
- การผลิต สินค้าไก่ไม่กระทบ สินค้ากุ้งและอาหารทะเลแปรรูปผลิตเพิ่มขึ้น สินค้า สับปะรดลดลง 12%
- การส่งออก สินค้าไก่ขยายตัว 20% สินค้ากุ้งคาดว่าไม่ลดลง ปลาทูน่าส่งออกขยายตัว 10%
2) แนวโน้มปี 2545
- การผลิตโดยรวมจะเพิ่มขึ้น 10%
- การส่งออกสินค้ากุ้งจะเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 13% สินค้าทะเลแปรรูปและสินค้าไก่จะส่งออกเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 10%
3) มาตรการความช่วยเหลือที่ต้องการ
- เร่งผลักดัน Single agency
- ช่วยเหลือการกีดกันการค้าอย่างจริงจัง
- ให้มีข้อมูลการเจรจาการค้าที่รวดเร็ว เพื่อผู้ประกอบการจะได้เตรียมตัว
- แก้ไขปัญหาสินค้าอาหารทั้ง value chain
13. อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม
1) สถานภาพ
- สิ่งทอ ส่งออกมา ตลาดสำคัญคือ สหรัฐอเมริกา (38%) ญี่ปุ่น (7%) อังกฤษ ฮ่องกง และสหรัฐอาหรับเอมิเรต
- เสื้อผ้าสำเร็จรูป ส่งออกไปสหรัฐอเมริกา 54% ญี่ปุ่น 7%
- มีการจ้างงานกว่า 1 ล้านคน
2) แนวโน้มปี 2545
- คาดว่าสหรัฐอเมริกาจะลดการนำเข้าจากกลุ่มประเทศเสี่ยง (อินโดนีเซีย ปากีสถาน) จึงน่าจะเป็นโอกาสของผู้ผลิตไทย
3) มาตรการความช่วยเหลือที่ต้องการ
- ปรับโครงสร้างภาษีให้เอื้อต่อการผลิตและการแข่งขัน
- รักษาเสถียรภาพอัตราแลกเปลี่ยน
- ส่งเสริมการลงทุน โดยเน้นการใช้เทคโนโลยี การรักษาสิ่งแวดล้อม และการประหยัดพลังงาน
- แก้ไขมาตรการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษี
- พัฒนาบุคลากรในอุตสาหกรรมฟอกย้อมและเครื่องนุ่งห่ม
14. อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์และยา
1) สถานภาพ
- ส่วนใหญ่จำหน่ายในประเทศ ยังไม่มีปัญหา มีการส่งออก 10-20% ไปประเทศเพื่อนบ้าน และตะวันออกกลาง
- การผลิตค่อนข้างคงที่
2) แนวโน้มปี 2545
- ภาวะการผลิตและการส่งออกมีแนวโน้มลดลง แต่ผลกระทบค่อนข้างน้อย
- ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากค่าพลังงานและค่าขนส่งสูงขึ้น
3) มาตรการความช่วยเหลือที่ต้องการ
- ลดภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีนำเข้าวัตถุดิบ
- คุ้มครองผู้ผลิตในประเทศจากการทุ่มตลาด
- สนับสนุนการยกระดับมาตรฐานการผลิต (GMP, ISO 9000, ISO 14000)
- ปรับปรุงกฎระเบียบของรัฐให้เอื้อต่อการแข่งขัน
- สนับสนุนด้านเครื่องมือ และผู้เชี่ยวชาญสำหรับ R&D
15. อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติก
1) สถานภาพ
- ส่งออก 70% ตลาดสำคัญคือ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย อังกฤษ และฮ่องกง
- ผลิตภัณฑ์ประเภท commodity ยังไม่ได้รับผลกระทบมากนัก
- ผลิตภัณฑ์ประเภท specialty ได้รับผลกระทบ เช่น ชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ลดลง 30%
2) แนวโน้มปี 2545
- การส่งออกจะลดลงเล็กน้อย ยกเว้นชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ จะลดลงอย่างชัดเจน
- การจ้างงานลดลง และจะมีการใช้แรงงานต่างด้าวบริเวณชายแดนเพิ่มขึ้น
3) มาตรการความช่วยเหลือที่ต้องการ
- ควรมีมาตรการเพื่อลดต้นทุนการผลิต เช่น ลดต้นทุนการทำ Factoring ผ่าน บอย./บสย. ลดภาษีอะไหล่เครื่องจักร ให้ tax incentive แก่ผู้ใช้ชิ้นส่วนในประเทศลดค่าไฟฟ้า
- สนับสนุนการค้าชายแดน
- คุ้มครองผู้ผลิตในประเทศ เช่น กำหนด local content สำหรับการประมูลของรัฐ
- พัฒนาทักษะด้านการออกแบบแม่พิมพ์ และการผลิตแม่พิมพ์
16. อุตสาหกรรมรองเท้าและเครื่องหนัง
1) สถานภาพ
- ส่งออก 70% ตลาดสำคัญ คือ สหรัฐอเมริกา ยุโรป ฮ่องกง
- มูลค่าส่งออกใกล้เคียงปี 2543
- การผลิตชะลอตัวลงเล็กน้อย
2) แนวโน้มปี 2545
- การส่งออกใกล้เคียงปี 2544 มุ่งผลิตสินค้าที่มีระดับคุณภาพสูงขึ้น
- จะสามารถขยายตลาดทดแทนคู่แข่ง คือ อินโดนีเซีย
3) มาตรการความช่วยเหลือที่ต้องการ
- ปรับระเบียบการควบคุมการนำเข้าหนังดิบจากยุโรป เพื่อเพิ่มปริมาณนำเข้า แก้ไขภาวะขาดแคลนหนังดิบ
- เพิ่มสภาพคล่องทางการเงินแก่ผู้ผลิตอุตสาหกรรมฟอกหนัง
- สนับสนุนการใช้สินค้าที่ผลิตในประเทศ
- สนับสนุนการหาตลาดใหม่ เช่น จัดงานแสดงสินค้า สนับสนุนทางการเงินแก่ผู้ส่งออก
- พัฒนาทักษะแรงงานในการผลิตและการออกแบบ
17. อุตสาหกรรมเยื่อกระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ
1) สถานภาพ
- มีการส่งออกน้อย ส่วนใหญ่ใช้ในประเทศ
- ตลาดส่งออกเยื่อกระดาษและกระดาษอยู่ที่ ญี่ปุ่น ฮ่องกง ไต้หวัน สิงคโปร์
- ตลาดส่งออกสิ่งพิมพ์ บรรจุภัณฑ์ อยู่ที่สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น
- การผลิตมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะสิ่งพิมพ์
2) แนวโน้มปี 2545
- การผลิตเยื่อกระดาษและกระดาษ มีแนวโน้มที่ดี ส่วนสิ่งพิมพ์ยังจะขยายตัว
- การส่งออกยังคงมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะตลาดจีน
3) มาตรการความช่วยเหลือที่ต้องการ
- ขยายเวลาการปฏิบัติงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับพิธีการส่งออก
- รักษาเสถียรภาพอัตราแลกเปลี่ยน
- เร่งรัดการคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม
- ให้รัฐมีนโยบายใช้กระดาษที่ผลิตในประเทศ และกิจการพิมพ์ในประเทศให้มากขึ้น
- สนับสนุนการฝึกอบรมด้านการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์
18. กลุ่มวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
1) สถานภาพ
- ตลาดภายในประเทศร้อยละ 60 ยังไม่มีกำลังซื้อ และขาดความสามารถในการหาตลาดใหม่ ตลาดต่างประเทศยังมีความต้องการสินค้าอุตสาหกรรมมาก โดยเฉพาะอาหาร
- ต้นทุนการผลิตผันผวนจากอัตราแลกเปลี่ยนในการนำเข้าวัตถุดิบ
2) แนวโน้มปี 2545
- SMEs รายเล็กไม่มองการณ์ไกล หวังเพียงกำไร ผลิตพออยู่รอดเท่านั้น ไม่คำนึงถึงคุณภาพมากนัก ทำให้เกิดการตัดราคาขายและมีรายได้ลดลง
3) มาตรการความช่วยเหลือที่ต้องการ
- เพิ่มสินเชื่อทางการค้าในระบบอีก 4 แสนล้านบาททันที และสนับสนุนสินเชื่อแก่ธุรกิจที่เป็นลูกค้าชั้นดี
- ลดแวตจาก 7% เหลือ 5% เป็นเวลา 3-5 ปี และยกเว้นภาษีเงินได้ธุรกิจใหม่และเก่า 3 ปี
- ใช้มาตรการ War-Effect Relief Package เพื่อระบายสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง
- เร่งประกาศใช้ พ.ร.บ. ว่าด้วย Factoring& Leasing
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--