1. สถานการณ์สินค้า
1.1 สินค้าที่มีปัญหา
สัปดาห์นี้ไม่มีสินค้าที่มีปัญหา
1.2 สินค้าที่ต้องคอยเฝ้าระวัง
สัปดาห์นี้ไม่มีสินค้าที่ต้องคอยเฝ้าระวัง
2. สถานการณ์สินค้าเกษตรที่สำคัญ
2.1 อคส.และ อ.ต.ก.เข้าแทรกแซงข้าวสารอีกระลอกหนึ่ง
ขณะนี้ข้าวนาปรังปี 2543 อยู่ระหว่างการเก็บเกี่ยวและผลผลิตเริ่มทยอยออกสู่ตลาดมากขึ้น โดยเฉพาะในภาคกลางและภาคเหนือตอนล่าง เช่น สุพรรณบุรี ปทุมธานี นนทบุรี ฉะเชิงเทรา อ่างทอง อุทัยธานี นครนายก ปราจีนบุรี สุโขทัย และพิจิตร แม้ว่าผลผลิตในฤดูนี้จะลดลงจากปีที่ผ่านมา แต่เนื่องจากคุณภาพต่ำ เพราะในช่วงเพาะปลูกประสบปัญหาสภาพดินฟ้าอากาศแปรปรวน (กระทบร้อน-กระทบหนาว) ทำให้ข้าวที่เก็บเกี่ยวแล้ว มีความชื้นสูงมากกว่าร้อยละ 20 ส่งผลให้ราคาตกต่ำและลดลงอย่างต่อเนื่องโดยราคาที่เกษตรกรขายได้อยู่ระหว่าง ตันละ 3,700-3,800 บาท ทำให้เกษตรกรได้รับความเดือดร้อน โดยเฉพาะจังหวัดสุพรรณบุรี และนครสวรรค์ จึงได้เรียกร้องให้รัฐบาลเข้ามาช่วยเหลือ
คณะกรรมการนโยบายข้าว (กนข.) ได้มีการประชุมเมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2543 เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยมีมติดังนี้
1. เร่งให้องค์การคลังสินค้า (อคส.) และองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) แทรกแซงตลาดข้าวสาร โดยซื้อข้าวให้ได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ตามมาตรการและโครงการข้าวปี 2542/43 จำนวน 500,000 ตัน เมื่อคราวประชุมวันที่ 28 กันยายน 2542
2. ให้ อคส. และ อ.ต.ก. กำหนดชนิดข้าวและราคาข้าวสารที่จะรับซื้อ เพื่อแทรกแซงในราคาที่เหมาะสม ซึ่ง อคส.และ อ.ต.ก. ได้มีการประชุมหารือกัน เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2543 และได้กำหนดการแทรกแซงข้าวสารครั้งที่ 3 เป็นข้าว 5% จำนวน 400,000 กระสอบ ราคากระสอบละ 900 บาท และปลายข้าวเอวันเลิศจำนวน 100,000 กระสอบ ราคากระสอบละ 595 บาท โดยดำเนินการระหว่างวันที่ 23-31 มีนาคม 2543
2.2 น้ำนมดิบ : การแก้ไขปัญหาการจำหน่ายน้ำนมดิบ
นับแต่เกิดปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจเป็นต้นมา ส่งผลกระทบต่ออัตราการบริโภคนมพร้อมดื่ม และทำให้มีผลต่อเนื่องถึงการจำหน่ายน้ำนมดิบของเกษตรกร กระทรวง-เกษตรและสหกรณ์จึงได้นำเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหานี้ต่อคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2543 ซึ่งคณะรัฐมนตรีพิจารณาแล้วมีมติดังนี้
1. ให้คงมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2542 โดยให้กระทรวง-ศึกษาธิการซื้อนมพร้อมดื่ม (UHT) จากองค์การส่งเสริมกิจการโคนม (อสค.) ต่อไป
2. ให้กระทรวงศึกษาธิการ โดยสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษา แห่งชาติ (สปช.) กันเงิน งบประมาณโครงการอาหารเสริม (นม) ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2543 จำนวน 540 ล้านบาท เพื่อจัดซื้อนมพร้อมดื่ม UHT จำนวน 90 ล้านกล่อง ๆ ละไม่เกิน 6 บาท เป็นกรณีพิเศษ ผ่านชุมนุมสหกรณ์โคนมแห่งประเทศไทย จำกัด ซึ่งจะเป็นผู้จัดสรรให้ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการตามปริมาณน้ำนมดิบส่วนที่รับซื้อ โดยจัดส่งนม UHT ให้โรงเรียน ตามที่ สปช. แจ้งชื่อ ให้กับชุมนุมสหกรณ์ ฯ ทั้งนี้ ให้ดำเนินการจัดซื้อและส่งมอบให้
3. อนุมัติให้ชุมนุมสหกรณ์ฯ ยืมเงินปลอดดอกเบี้ยจากกองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) เพื่อนำไปจ่ายเป็นค่าน้ำนมดิบให้สหกรณ์หรือเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมและเป็น ค่าภาชนะบรรจุให้ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ รวมกันไม่เกินกล่องละ 4 บาท จำนวน 90 ล้านกล่อง เป็นเงิน 360 ล้านบาท
2.3 วัตถุดิบอาหารสัตว์ : คงอัตราภาษีการนำเข้ากากถั่วเหลืองและโควตานำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
สืบเนื่องจากสมาคมผู้เลี้ยงสัตว์และผู้ผลิตอาหารสัตว์ได้เข้าพบ ฯ พณ ฯ นายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2543 เพื่อเรียกร้องให้มีการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ อันเนื่องมาจากการขาดแคลนวัตถุดิบ โดยได้เสนอแนวทางแก้ไข ดังนี้
1. กากถั่วเหลือง ขอให้ลดอัตราภาษีนำเข้าจากร้อยละ 5 เหลือร้อยละ 0
2. ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ขอให้เพิ่มปริมาณนำเข้าในโควตาจาก 53,543 ตันเป็น 545,000 ตัน และลดอัตราภาษีในโควตาจากร้อยละ 20 เป็นร้อยละ 0 รวมทั้งยกเลิกการจัดเก็บค่าธรรมเนียมพิเศษนอกโควตาตันละ180 บาท
คณะกรรมการนโยบายอาหารได้มีการประชุมเมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2543 ตามบัญชาของ ฯ พณ ฯ นายกรัฐมนตรีและมีมติดังนี้
1. กากถั่วเหลือง ให้คงอัตราภาษีนำเข้าไว้เท่าเดิมที่ร้อยละ 5 เนื่องจากการลดภาษีนำเข้ากากถั่วเหลืองจะทำให้ต้นทุนการผลิตปศุสัตว์ลดลงเพียงเล็กน้อยไม่ถึงร้อยละ 1 ซึ่งไม่มีผลทำให้ราคาเนื้อสัตว์ลดลง แต่ขณะเดียวกันรัฐต้องสูญเสียรายได้จากการลดภาษีดังกล่าวด้วย
2. ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ให้คงโควตาการนำเข้าไว้ที่ 53,543 ตัน และภาษีร้อยละ 20 เนื่องจากผลผลิตมีเพียงพอกับความต้องการใช้ในประเทศ และในกรณีที่ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพสูงกว่ากิโลกรัมละ 5.68 บาท จะยกเลิกการจัดเก็บค่าธรรมเนียมพิเศษนอกโควตาตันละ 180 บาท เป็นการชั่วคราวและให้องค์การคลังสินค้า ( อคส.) เป็นผู้นำเข้า
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 10 ประจำวันที่ 20 - 26 มี.ค.2543--
1.1 สินค้าที่มีปัญหา
สัปดาห์นี้ไม่มีสินค้าที่มีปัญหา
1.2 สินค้าที่ต้องคอยเฝ้าระวัง
สัปดาห์นี้ไม่มีสินค้าที่ต้องคอยเฝ้าระวัง
2. สถานการณ์สินค้าเกษตรที่สำคัญ
2.1 อคส.และ อ.ต.ก.เข้าแทรกแซงข้าวสารอีกระลอกหนึ่ง
ขณะนี้ข้าวนาปรังปี 2543 อยู่ระหว่างการเก็บเกี่ยวและผลผลิตเริ่มทยอยออกสู่ตลาดมากขึ้น โดยเฉพาะในภาคกลางและภาคเหนือตอนล่าง เช่น สุพรรณบุรี ปทุมธานี นนทบุรี ฉะเชิงเทรา อ่างทอง อุทัยธานี นครนายก ปราจีนบุรี สุโขทัย และพิจิตร แม้ว่าผลผลิตในฤดูนี้จะลดลงจากปีที่ผ่านมา แต่เนื่องจากคุณภาพต่ำ เพราะในช่วงเพาะปลูกประสบปัญหาสภาพดินฟ้าอากาศแปรปรวน (กระทบร้อน-กระทบหนาว) ทำให้ข้าวที่เก็บเกี่ยวแล้ว มีความชื้นสูงมากกว่าร้อยละ 20 ส่งผลให้ราคาตกต่ำและลดลงอย่างต่อเนื่องโดยราคาที่เกษตรกรขายได้อยู่ระหว่าง ตันละ 3,700-3,800 บาท ทำให้เกษตรกรได้รับความเดือดร้อน โดยเฉพาะจังหวัดสุพรรณบุรี และนครสวรรค์ จึงได้เรียกร้องให้รัฐบาลเข้ามาช่วยเหลือ
คณะกรรมการนโยบายข้าว (กนข.) ได้มีการประชุมเมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2543 เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยมีมติดังนี้
1. เร่งให้องค์การคลังสินค้า (อคส.) และองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) แทรกแซงตลาดข้าวสาร โดยซื้อข้าวให้ได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ตามมาตรการและโครงการข้าวปี 2542/43 จำนวน 500,000 ตัน เมื่อคราวประชุมวันที่ 28 กันยายน 2542
2. ให้ อคส. และ อ.ต.ก. กำหนดชนิดข้าวและราคาข้าวสารที่จะรับซื้อ เพื่อแทรกแซงในราคาที่เหมาะสม ซึ่ง อคส.และ อ.ต.ก. ได้มีการประชุมหารือกัน เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2543 และได้กำหนดการแทรกแซงข้าวสารครั้งที่ 3 เป็นข้าว 5% จำนวน 400,000 กระสอบ ราคากระสอบละ 900 บาท และปลายข้าวเอวันเลิศจำนวน 100,000 กระสอบ ราคากระสอบละ 595 บาท โดยดำเนินการระหว่างวันที่ 23-31 มีนาคม 2543
2.2 น้ำนมดิบ : การแก้ไขปัญหาการจำหน่ายน้ำนมดิบ
นับแต่เกิดปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจเป็นต้นมา ส่งผลกระทบต่ออัตราการบริโภคนมพร้อมดื่ม และทำให้มีผลต่อเนื่องถึงการจำหน่ายน้ำนมดิบของเกษตรกร กระทรวง-เกษตรและสหกรณ์จึงได้นำเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหานี้ต่อคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2543 ซึ่งคณะรัฐมนตรีพิจารณาแล้วมีมติดังนี้
1. ให้คงมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2542 โดยให้กระทรวง-ศึกษาธิการซื้อนมพร้อมดื่ม (UHT) จากองค์การส่งเสริมกิจการโคนม (อสค.) ต่อไป
2. ให้กระทรวงศึกษาธิการ โดยสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษา แห่งชาติ (สปช.) กันเงิน งบประมาณโครงการอาหารเสริม (นม) ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2543 จำนวน 540 ล้านบาท เพื่อจัดซื้อนมพร้อมดื่ม UHT จำนวน 90 ล้านกล่อง ๆ ละไม่เกิน 6 บาท เป็นกรณีพิเศษ ผ่านชุมนุมสหกรณ์โคนมแห่งประเทศไทย จำกัด ซึ่งจะเป็นผู้จัดสรรให้ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการตามปริมาณน้ำนมดิบส่วนที่รับซื้อ โดยจัดส่งนม UHT ให้โรงเรียน ตามที่ สปช. แจ้งชื่อ ให้กับชุมนุมสหกรณ์ ฯ ทั้งนี้ ให้ดำเนินการจัดซื้อและส่งมอบให้
3. อนุมัติให้ชุมนุมสหกรณ์ฯ ยืมเงินปลอดดอกเบี้ยจากกองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) เพื่อนำไปจ่ายเป็นค่าน้ำนมดิบให้สหกรณ์หรือเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมและเป็น ค่าภาชนะบรรจุให้ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ รวมกันไม่เกินกล่องละ 4 บาท จำนวน 90 ล้านกล่อง เป็นเงิน 360 ล้านบาท
2.3 วัตถุดิบอาหารสัตว์ : คงอัตราภาษีการนำเข้ากากถั่วเหลืองและโควตานำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
สืบเนื่องจากสมาคมผู้เลี้ยงสัตว์และผู้ผลิตอาหารสัตว์ได้เข้าพบ ฯ พณ ฯ นายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2543 เพื่อเรียกร้องให้มีการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ อันเนื่องมาจากการขาดแคลนวัตถุดิบ โดยได้เสนอแนวทางแก้ไข ดังนี้
1. กากถั่วเหลือง ขอให้ลดอัตราภาษีนำเข้าจากร้อยละ 5 เหลือร้อยละ 0
2. ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ขอให้เพิ่มปริมาณนำเข้าในโควตาจาก 53,543 ตันเป็น 545,000 ตัน และลดอัตราภาษีในโควตาจากร้อยละ 20 เป็นร้อยละ 0 รวมทั้งยกเลิกการจัดเก็บค่าธรรมเนียมพิเศษนอกโควตาตันละ180 บาท
คณะกรรมการนโยบายอาหารได้มีการประชุมเมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2543 ตามบัญชาของ ฯ พณ ฯ นายกรัฐมนตรีและมีมติดังนี้
1. กากถั่วเหลือง ให้คงอัตราภาษีนำเข้าไว้เท่าเดิมที่ร้อยละ 5 เนื่องจากการลดภาษีนำเข้ากากถั่วเหลืองจะทำให้ต้นทุนการผลิตปศุสัตว์ลดลงเพียงเล็กน้อยไม่ถึงร้อยละ 1 ซึ่งไม่มีผลทำให้ราคาเนื้อสัตว์ลดลง แต่ขณะเดียวกันรัฐต้องสูญเสียรายได้จากการลดภาษีดังกล่าวด้วย
2. ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ให้คงโควตาการนำเข้าไว้ที่ 53,543 ตัน และภาษีร้อยละ 20 เนื่องจากผลผลิตมีเพียงพอกับความต้องการใช้ในประเทศ และในกรณีที่ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพสูงกว่ากิโลกรัมละ 5.68 บาท จะยกเลิกการจัดเก็บค่าธรรมเนียมพิเศษนอกโควตาตันละ 180 บาท เป็นการชั่วคราวและให้องค์การคลังสินค้า ( อคส.) เป็นผู้นำเข้า
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 10 ประจำวันที่ 20 - 26 มี.ค.2543--