1. บทนำ
การก่อตั้งประชาคมยุโรปหรือสหภาพยุโรป (European Union : EU) เริ่มต้นขึ้นเมื่อปี 1958 (2501) โดยเป็นการรวมกลุ่ม
ทางเศรษฐกิจของประเทศในภูมิภาคเดียวกัน 6 ประเทศ เพื่อวางรากฐานความร่วมมือทางเศรษฐกิจ และยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชน
ภายในกลุ่มให้ดีขึ้น ปัจจุบันมีสมาชิก 15 ประเทศ ประกอบด้วย ออสเตรีย เบลเยียม เดนมาร์ก ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส เยอรมนี กรีซ ไอร์แลนด์
อิตาลี ลักเซมเบอร์ก เนเธอร์แลนด์ โปรตุเกส สเปน สวีเดน และสหราชอาณาจักร จนถึงปัจจุบันใช้ระยะเวลาพัฒนามาแล้วกว่า 47 ปี และ
มีความก้าวหน้ามาเป็นลำดับ (ตารางที่ 1) โดยมีเป้าหมายการรวมตัวเพื่อเป็นกลุ่มความร่วมมือขนาดใหญ่ของโลก ปัจจุบันบรรลุความร่วมมือ
ทางเศรษฐกิจและการเงินที่สำคัญโดยเริ่มใช้เงินสกุลเดียวกันในปี 1999 (2542) ที่ผ่านมา เป้าหมายสูงสุดของกลุ่มประเทศนี้คือการรวมตัว
กันอย่างสมบูรณ์ทางการเมือง จนท้ายสุดอาจรวมในรูปแบบสหรัฐยุโรป (United States of Europe) ซึ่งมีลักษณะของการเป็นองค์การ
ทางเศรษฐกิจและการเมืองเดียวกันมากขึ้น โดยใช้นโยบายร่วมกันทั้งด้านเศรษฐกิจ การเงิน การคลัง การต่างประเทศ และการป้องกัน
ประเทศ
การพัฒนาความสัมพันธ์ภายในสหภาพยุโรปได้ขยายความร่วมมือไปยังประเทศต่างๆ ในภูมิภาคทั้งในแนวลึก (Vertical
Integration) และแนวกว้าง (Horizontal Integration) ในแนวลึกได้มีการรวมตัวกันอย่างเป็นขั้นตอน เริ่มต้นด้วยการเป็นสหภาพ
ศุลกากร (Custom Union) โดยมีระบบภาษีเดียวกันสำหรับสินค้านำเข้าจากต่างประเทศนอกกลุ่มและยกเลิกภาษีศุลกากรระหว่างประเทศ
สมาชิกอย่างสมบูรณ์ในปี 1968 (2511) พัฒนาเป็นตลาดยุโรปเดียว (Single European Market) ส่งผลให้ปัจจัยการผลิตสามารถเคลื่อน
ย้ายอย่างเสรีในปี 1993 (2536) ปัจจุบันบรรลุเป้าหมายการเป็นสหภาพเศรษฐกิจและการเงิน (European Economic and Monetary
Union : EMU) โดยมีประเทศสมาชิก 11 ประเทศ ประกอบด้วย ออสเตรีย เบลเยียม ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส เยอรมนี ไอร์แลนด์ อิตาลี
ลักเซมเบิร์ก เนเธอร์แลนด์ โปรตุเกส และสเปน เข้าร่วมการใช้เงินสกุลเดียวกันในปี 1999 (2542) โดยบริหารนโยบายการเงินร่วมกัน
ระหว่างประเทศสมาชิกผ่านธนาคารกลางยุโรป (European Central Bank : ECB) เพื่อสร้างเสถียรภาพทางการเงิน ส่วนในแนวกว้าง
ได้ขยายความร่วมมือไปยังประเทศและกลุ่มต่างๆ ในยุโรป โดยจัดทำข้อตกลงความร่วมมือต่างๆ เพื่อสร้างแนวทางให้ประเทศเหล่านั้นได้มี
โอกาสเข้าเป็นสมาชิกถาวรของสหภาพยุโรปในอนาคตโดยเฉพาะประเทศในแถบยุโรปตะวันออก
ตารางที่ 1 การพัฒนาของสหภาพยุโรป
ปี เหตุการณ์
1951 (2494) ก่อตั้งประชาคมถ่านหินและเหล็กกล้า (European Coal and Steel Community : ECSC) เพื่อบริหารทรัพยากร
ธรรมชาติที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เสริมสร้าง
สันติภาพและความเจริญรุ่งเรืองในยุโรป
1957 (2500) ลงนามสนธิสัญญากรุงโรม (Treaty of Rome) เริ่มก่อตั้งประชาคมเศรษฐกิจยุโรป (European Economic
Community : EEC) เพื่อรวมตลาดสินค้า บริการ ปัจจัยการผลิต และแรงงาน เข้าเป็นตลาดเดียวกัน
(เป้าหมายต่อไปคือการบรรลุเป็นสหภาพศุลกากร)
1958 (2501) ก่อตั้งประชาคมพลังงานปรมาณูแห่งยุโรป (EURATOM)
1967 (2510) ECSC EEC และ EURATOM รวมกัน เป็นประชาคมยุโรป (European Community : EC)
1968 (2511) EC บรรลุเป้าหมายเป็นสหภาพศุลกากร (Customs Union) โดยมีระบบภาษีเดียวกันสำหรับสินค้านำเข้าจากประเทศ
นอกกลุ่มและยกเลิกภาษีศุลกากรระหว่างประเทศสมาชิกอย่างสมบูรณ์ รวมทั้งมีการดำเนินนโยบายด้านการเกษตรและ
พาณิชย์ร่วมกัน
1979 (2522) จัดตั้งระบบการเงินยุโรป (European Monetary System : EMS) โดยมีเป้าหมายที่จะก้าวเป็นสหภาพเศรษฐกิจ
และการเงินและใช้เงินสกุลเดียวกัน และมีการตั้งกลไกอัตราแลกเปลี่ยน (Exchange Rate Machanism : ERM)
โดยกำหนดขอบเขตความผันผวนในลักษณะ Bilateral Rate ร้อยละ 2.25 (ต่อมาผ่อนปรนช่วงให้กว้างขึ้นเป็นร้อยละ
15 เนื่องจากเกิดวิกฤติการณ์การเงินของอังกฤษในปี 1992) และได้เริ่มใช้เงินอิคู (European Currency Unit :
ECU) ซึ่งใช้ระบบตะกร้าเงินจากน้ำหนักของเงินสกุลต่างๆ โดยใช้เป็นสกุลเงินอ้างอิงและหน่วยทางบัญชีเพื่อหักบัญชี
ระหว่างกัน
1989 (2532) เสนอแนวทางการจัดตั้ง สหภาพเศรษฐกิจและการเงินยุโรป (Economic and Monetary Union : EMU) (ซึ่งก็คือ
นโยบายหลักของสนธิสัญญา Maastricht ที่ลงนามในปี 1992) โดยปรับโครงสร้างความร่วมมือระหว่างกัน เพื่อลด
ความผันผวนอัตราแลกเปลี่ยนของประเทศสมาชิก สนับสนุนการค้าและการลงทุนทั้งภายในและภายนอกภูมิภาค ให้ประเทศ
สมาชิกมีแรงดึงดูดการลงทุนเท่าเทียมกัน ลดต้นทุนการผลิตและขยายความสามารถในการแข่งขันของประเทศสมาชิก
และสร้างเสถียรภาพทางการเงินผ่านธนาคารกลางยุโรป (European Central Bank) ที่จะจัดตั้งขึ้นให้เป็นการ
บริหารและตัดสินใจร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิก
1992 (2535) ยุโรปบรรลุเป้าหมายการเป็นตลาดเดียว (Single European Market) ส่งผลให้มีการเคลื่อนย้ายปัจจัยการผลิต
อย่างเสรีทั้งในด้านสินค้า ทุน บริการ และแรงงาน (มีผลใช้บังคับในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1993) และในปีนี้ได้มี
การลงนามในสนธิสัญญามาสทริชต์ (Maastricht Treaty) (มีผลย้อนหลังตั้งแต่ปี 1990) โดยมีเป้าหมายเป็นสหภาพ
เศรษฐกิจและการเงินยุโรป (EMU) และใช้เงินสกุลเดียวกันเพื่อเป็นตลาดเดียวอย่างสมบูรณ์
เกิดวิกฤติการณ์การเงินในอังกฤษส่งผลให้อังกฤษและอิตาลีขอออกจากระบบ ERM
ตารางที่ 1 การพัฒนาของสหภาพยุโรป (ต่อ)
ปี เหตุการณ์
1993 (2536) ปรับปรุงระบบกลไกอัตราแลกเปลี่ยน (ERM) ให้ผ่อนปรนขยายขอบเขตความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนกว้างขึ้น
เป็นร้อยละ 15 ยกเว้นมาร์กเยอรมันและกิลเดอร์เนเธอร์แลนด์ที่ยังคงระดับร้อยละ 2.25
1994 (2537) ดำเนินการตามสนธิสัญญา Maastricht ระยะที่ 2 และก่อตั้ง European Monetary Institute : EMI
เพื่อรองรับการจัดตั้งธนาคารกลางยุโรป และให้ประเทศสมาชิกปรับประสานงานนโยบายเศรษฐกิจ
ในด้านต่างๆ เพื่อลดความแตกต่างด้านค่าเงินของแต่ละประเทศ
1995 (2538) อิตาลีกลับเข้าระบบ ERM และได้ขอยุติในรายละเอียดของ ERM-II, Stability Pact
1998 (2541) ประกาศรายชื่อประเทศที่เข้าร่วมในระบบ EMU จัดตั้งธนาคารกลางยุโรป (European Central Bank : ECB)
และแต่งตั้งประธานธนาคารกลางยุโรป
1999 (2542) ยุโรปบรรลุเป้าหมายการใช้เงินสกุลยูโร ซึ่งเป็นเงินสกุลเดียวกันใน 11 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรีย เบลเยียม ฝรั่งเศส
ฟินแลนด์ เยอรมัน ไอร์แลนด์ อิตาลี ลักแซมเบอร์ก เนเธอร์แลนด์ โปรตุเกส และสเปน
ความสัมพันธ์ระหว่างสหภาพยุโรปกับเศรษฐกิจโลก
2.1 สหภาพยุโรปกับเศรษฐกิจโลก
สหภาพยุโรปหรือ EMU ซึ่งขณะนี้มีสมาชิก 11 ประเทศ เป็นกลุ่มความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่มีความแข็งแกร่งด้านเศรษฐกิจและอำนาจ
การต่อรองสูงในเวทีเศรษฐกิจการเงินระหว่างประเทศ และผลจากการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจอย่างเต็มรูปแบบที่เริ่มดำเนินการในปี
2542 ทำให้กลุ่มประเทศนี้มีระบบเศรษฐกิจเชื่อมโยงกันในระดับสูงและมีแนวโน้มเพิ่มบทบาทในระบบเศรษฐกิจโลกมากขึ้น ขนาดทางเศรษฐกิจ
ของกลุ่มประเทศ EMU ในปี 2540 มีผลิตภัณฑ์มวลรวมจำนวน 6,309 พันล้านดอลลาร์ สรอ. หรือประมาณร้อยละ 21.5 ของเศรษฐกิจโลก
(29,333.4 พันล้านดอลลาร์ สรอ.) อัตราการเติบโตอยู่ในระดับร้อยละ 2.5 มูลค่าการส่งออก-นำเข้า รวมทั้งดุลบัญชีเดินสะพัดอยู่ในระดับ
สูงกว่าสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น (ตารางที่ 2)
ตารางที่ 2 ขนาดทางเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศ EMU
ปี 2540 มูลค่า (พันล้านดอลลาร์ สรอ.)
สหรัฐอเมริกา EMU ญี่ปุ่น
GDP 7,819 6309 4,223
อัตราการเติบโต (%) 3.9 2.5 1.4
อัตราเงินเฟ้อ (%) 2.3 1.7 1.7
การส่งออก 633 776 337
การนำเข้า 829 694 291
ดุลบัญชีเดินสะพัด -166 104 94
เงินสำรองทางการ 70 402 220
ตลาดหุ้น 10,879 2,712 2,063
ตลาดพันธบัตร 2,201 2,132 1,844
รัฐบาล 2,956 1,691 906
เอกชน
การว่างงาน (%) 4.9 12.3 3.4
ตลาดทุนในกลุ่มประเทศ EMU มีขนาดใหญ่รองจากสหรัฐอเมริกาโดยมี
มูลค่าประมาณ 6,535 พันล้านดอลลาร์ สรอ. การลงทุนในพันธบัตรได้รับความนิยมจากประชาชนในยุโรปมากโดยมีมูลค่าการลงทุนในพันธบัตร
3,823 พันล้านดอลลาร์ สรอ. หรือร้อยละ 58.5 ของมูลค่าการลงทุนในตลาดทุน คาดว่าพันธบัตรในรูปเงินสกุลยูโร (Euro Bond) จะเพิ่ม
บทบาทขึ้นเมื่อเทียบกับพันธบัตรที่ออกในรูปเงินสกุลดอลลาร์ (Yankee Bond) และสกุลเยน (Samurai Bond) เนื่องจากการใช้เงินสกุลยูโร
จะมีผลทำให้ตลาดพันธบัตรของกลุ่มประเทศรวมเป็นตลาดขนาดใหญ่ที่สุดในโลกในอนาคต ซึ่งจะช่วยเกื้อหนุนให้ตลาดทุนในกลุ่มประเทศนี้เป็นตลาด
สำคัญในการลงทุนและกระจายความเสี่ยงของนักลงทุน
แนวโน้มเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศ EMU ในปี 2542 โดยการคาดการของ IMF คาดว่าอัตราการเติบโตจะชะลอตัวอยู่ที่ระดับร้อยละ
2.0 เนื่องจากผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก รวมทั้งการชะลอตัวของความต้องการภายในกลุ่มประเทศ อย่างไรก็ตามอัตราเงินเฟ้อ
ยังคงอยู่ต่ำกว่าระดับที่กำหนดไว้ ปัญหาสำคัญของกลุ่มประเทศนี้ในขณะนี้คือภาวะการว่างงานซึ่งอยู่ในระดับประมาณร้อยละ 11 และอาจมีแรง
กดดันต่อ ECB เพื่อให้ดำเนินนโยบายการเงินผ่อนคลายเพื่อกระตุ้นภาวะการผลิต ซึ่งจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อค่าเงินยูโรให้อ่อนตัวลงได้
(ในทางตรงข้าม ECB จำเป็นต้องสร้างความน่าเชื่อถือให้กับเงินสกุลยูโรโดยจะพยายามรักษาสถานะให้เงินยูโรแข็งและมีเสถียรภาพในชั้นแรก)
ตารางที่ 3 แนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจ
การเปลี่ยนแปลง (ร้อยละ)
2540 2541 2542E 2543E
GDP 3.9 3.9 3.3 2.2
สหรัฐอเมริกา 2.7 2.8 1.8 2.7
EU 2.5 2.9 2 2.9
EMU 1.4 -2.8 -1.4 0.3
ญี่ปุ่น
Consumer Prices 2.3 1.6 2.1 2.4
สหรัฐอเมริกา 1.9 1.5 1.3 1.6
EU 1.7 1.3 1 1.4
EMU 1.7 0.6 -0.2 -0.2
ญี่ปุ่น
Unemployment 4.9 4.5 4.5 4.7
สหรัฐอเมริกา 10.9 10.2 9.9 9.7
EU 12.3 11.7 11.3 11
EMU 3.4 4.1 4.8 4.9
ญี่ปุ่น
ที่มา : World Economic Outlook 1998, IMF.
ความสัมพันธ์ระหว่างสหภาพยุโรปกับเศรษฐกิจโลกในด้านการค้า จากสถิติการค้าระหว่างสหภาพยุโรปกับประเทศต่างๆ (ตารางที่ 4)
สหภาพยุโรปมีมูลค่าการค้ากับต่างประเทศรวม 4,064.8 พันล้านดอลลาร์ สรอ. หรือร้อยละ 36.7 ของมูลค่าการค้าโลก (11,084.4 พันล้าน
ดอลลาร์ สรอ.) โครงสร้างการค้าของสหภาพยุโรปนิยมค้าขายระหว่างประเทศสมาชิกเป็นหลัก โดยมีสัดส่วนการค้าภายในกลุ่มประเทศสมาชิก
ประมาณร้อยละ 60
สัดส่วนการค้าประเทศนอกกลุ่มอยู่ในระดับไม่สูงนัก โดยมีการค้ากับสหรัฐฯ เอเซีย และยุโรป ในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน (ร้อยละ 7.9
7.6 และ 7.3 ตามลำดับ)
ตารางที่ 4 โครงสร้างการค้าของสหภาพยุโรปกับประเทศต่างๆ
มูลค่า (พันล้านดอลลาร์ สรอ.) สัดส่วน (ร้อยละ)
2536 2537 2538 2539 2540 2536 2537 2538 2539 2540
EU-EU 1/
ส่งออก 890.9 1023.3 1259.7 1272.4 1268.5 61.7 61.9 62.4 61.4 60.6
นำเข้า 833.5 955.2 1168.5 1181.4 1170.6 59.6 60.1 61.1 60.4 59.3
EU- ยุโรป 2/
ส่งออก 84 95.8 130.8 150.2 171.2 5.8 5.8 6.5 7.3 8.2
นำเข้า 69.4 87.2 114.2 116.6 124 5 5.5 6 6 6.3
EU- สหรัฐฯ
ส่งออก 106.1 122.4 135.2 144.8 158.1 7.3 7.4 6.7 7 7.6
นำเข้า 109.9 123 142.2 150.6 164.5 7.9 7.7 7.4 7.7 8.3
EU- เอเซีย
ส่งออก 90.3 107.5 136.4 141.6 140.3 6.3 6.5 6.8 6.8 6.7
นำเข้า 105.7 119 142.3 156.2 166.9 7.6 7.5 7.4 8 8.5
EU- ประเทศอื่นๆ
ส่งออก 273.1 304.7 356.4 363.2 354.3 18.9 18.4 17.7 17.5 16.9
นำเข้า 279.4 304.3 346.6 350.1 346.5 20 19.2 18.1 17.9 17.6
EU- โลก
ส่งออก 1444.4 1653.7 2018.4 2072.3 2092.3 100 100 100 100 100
นำเข้า 1397.8 1588.7 1913.7 1955 1972.5 100 100 100 100 100
หมายเหตุ : 1/ การค้าภายในประเทศสมาชิก EU 15 ประเทศ
2/ เป็นการค้าระหว่างประเทศสมาชิก EU กับประเทศอื่นที่ไม่ใช่สมาชิก EU
ที่มา : Direction of Trade Statistics Yearbook 1998, IMF.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
การก่อตั้งประชาคมยุโรปหรือสหภาพยุโรป (European Union : EU) เริ่มต้นขึ้นเมื่อปี 1958 (2501) โดยเป็นการรวมกลุ่ม
ทางเศรษฐกิจของประเทศในภูมิภาคเดียวกัน 6 ประเทศ เพื่อวางรากฐานความร่วมมือทางเศรษฐกิจ และยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชน
ภายในกลุ่มให้ดีขึ้น ปัจจุบันมีสมาชิก 15 ประเทศ ประกอบด้วย ออสเตรีย เบลเยียม เดนมาร์ก ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส เยอรมนี กรีซ ไอร์แลนด์
อิตาลี ลักเซมเบอร์ก เนเธอร์แลนด์ โปรตุเกส สเปน สวีเดน และสหราชอาณาจักร จนถึงปัจจุบันใช้ระยะเวลาพัฒนามาแล้วกว่า 47 ปี และ
มีความก้าวหน้ามาเป็นลำดับ (ตารางที่ 1) โดยมีเป้าหมายการรวมตัวเพื่อเป็นกลุ่มความร่วมมือขนาดใหญ่ของโลก ปัจจุบันบรรลุความร่วมมือ
ทางเศรษฐกิจและการเงินที่สำคัญโดยเริ่มใช้เงินสกุลเดียวกันในปี 1999 (2542) ที่ผ่านมา เป้าหมายสูงสุดของกลุ่มประเทศนี้คือการรวมตัว
กันอย่างสมบูรณ์ทางการเมือง จนท้ายสุดอาจรวมในรูปแบบสหรัฐยุโรป (United States of Europe) ซึ่งมีลักษณะของการเป็นองค์การ
ทางเศรษฐกิจและการเมืองเดียวกันมากขึ้น โดยใช้นโยบายร่วมกันทั้งด้านเศรษฐกิจ การเงิน การคลัง การต่างประเทศ และการป้องกัน
ประเทศ
การพัฒนาความสัมพันธ์ภายในสหภาพยุโรปได้ขยายความร่วมมือไปยังประเทศต่างๆ ในภูมิภาคทั้งในแนวลึก (Vertical
Integration) และแนวกว้าง (Horizontal Integration) ในแนวลึกได้มีการรวมตัวกันอย่างเป็นขั้นตอน เริ่มต้นด้วยการเป็นสหภาพ
ศุลกากร (Custom Union) โดยมีระบบภาษีเดียวกันสำหรับสินค้านำเข้าจากต่างประเทศนอกกลุ่มและยกเลิกภาษีศุลกากรระหว่างประเทศ
สมาชิกอย่างสมบูรณ์ในปี 1968 (2511) พัฒนาเป็นตลาดยุโรปเดียว (Single European Market) ส่งผลให้ปัจจัยการผลิตสามารถเคลื่อน
ย้ายอย่างเสรีในปี 1993 (2536) ปัจจุบันบรรลุเป้าหมายการเป็นสหภาพเศรษฐกิจและการเงิน (European Economic and Monetary
Union : EMU) โดยมีประเทศสมาชิก 11 ประเทศ ประกอบด้วย ออสเตรีย เบลเยียม ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส เยอรมนี ไอร์แลนด์ อิตาลี
ลักเซมเบิร์ก เนเธอร์แลนด์ โปรตุเกส และสเปน เข้าร่วมการใช้เงินสกุลเดียวกันในปี 1999 (2542) โดยบริหารนโยบายการเงินร่วมกัน
ระหว่างประเทศสมาชิกผ่านธนาคารกลางยุโรป (European Central Bank : ECB) เพื่อสร้างเสถียรภาพทางการเงิน ส่วนในแนวกว้าง
ได้ขยายความร่วมมือไปยังประเทศและกลุ่มต่างๆ ในยุโรป โดยจัดทำข้อตกลงความร่วมมือต่างๆ เพื่อสร้างแนวทางให้ประเทศเหล่านั้นได้มี
โอกาสเข้าเป็นสมาชิกถาวรของสหภาพยุโรปในอนาคตโดยเฉพาะประเทศในแถบยุโรปตะวันออก
ตารางที่ 1 การพัฒนาของสหภาพยุโรป
ปี เหตุการณ์
1951 (2494) ก่อตั้งประชาคมถ่านหินและเหล็กกล้า (European Coal and Steel Community : ECSC) เพื่อบริหารทรัพยากร
ธรรมชาติที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เสริมสร้าง
สันติภาพและความเจริญรุ่งเรืองในยุโรป
1957 (2500) ลงนามสนธิสัญญากรุงโรม (Treaty of Rome) เริ่มก่อตั้งประชาคมเศรษฐกิจยุโรป (European Economic
Community : EEC) เพื่อรวมตลาดสินค้า บริการ ปัจจัยการผลิต และแรงงาน เข้าเป็นตลาดเดียวกัน
(เป้าหมายต่อไปคือการบรรลุเป็นสหภาพศุลกากร)
1958 (2501) ก่อตั้งประชาคมพลังงานปรมาณูแห่งยุโรป (EURATOM)
1967 (2510) ECSC EEC และ EURATOM รวมกัน เป็นประชาคมยุโรป (European Community : EC)
1968 (2511) EC บรรลุเป้าหมายเป็นสหภาพศุลกากร (Customs Union) โดยมีระบบภาษีเดียวกันสำหรับสินค้านำเข้าจากประเทศ
นอกกลุ่มและยกเลิกภาษีศุลกากรระหว่างประเทศสมาชิกอย่างสมบูรณ์ รวมทั้งมีการดำเนินนโยบายด้านการเกษตรและ
พาณิชย์ร่วมกัน
1979 (2522) จัดตั้งระบบการเงินยุโรป (European Monetary System : EMS) โดยมีเป้าหมายที่จะก้าวเป็นสหภาพเศรษฐกิจ
และการเงินและใช้เงินสกุลเดียวกัน และมีการตั้งกลไกอัตราแลกเปลี่ยน (Exchange Rate Machanism : ERM)
โดยกำหนดขอบเขตความผันผวนในลักษณะ Bilateral Rate ร้อยละ 2.25 (ต่อมาผ่อนปรนช่วงให้กว้างขึ้นเป็นร้อยละ
15 เนื่องจากเกิดวิกฤติการณ์การเงินของอังกฤษในปี 1992) และได้เริ่มใช้เงินอิคู (European Currency Unit :
ECU) ซึ่งใช้ระบบตะกร้าเงินจากน้ำหนักของเงินสกุลต่างๆ โดยใช้เป็นสกุลเงินอ้างอิงและหน่วยทางบัญชีเพื่อหักบัญชี
ระหว่างกัน
1989 (2532) เสนอแนวทางการจัดตั้ง สหภาพเศรษฐกิจและการเงินยุโรป (Economic and Monetary Union : EMU) (ซึ่งก็คือ
นโยบายหลักของสนธิสัญญา Maastricht ที่ลงนามในปี 1992) โดยปรับโครงสร้างความร่วมมือระหว่างกัน เพื่อลด
ความผันผวนอัตราแลกเปลี่ยนของประเทศสมาชิก สนับสนุนการค้าและการลงทุนทั้งภายในและภายนอกภูมิภาค ให้ประเทศ
สมาชิกมีแรงดึงดูดการลงทุนเท่าเทียมกัน ลดต้นทุนการผลิตและขยายความสามารถในการแข่งขันของประเทศสมาชิก
และสร้างเสถียรภาพทางการเงินผ่านธนาคารกลางยุโรป (European Central Bank) ที่จะจัดตั้งขึ้นให้เป็นการ
บริหารและตัดสินใจร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิก
1992 (2535) ยุโรปบรรลุเป้าหมายการเป็นตลาดเดียว (Single European Market) ส่งผลให้มีการเคลื่อนย้ายปัจจัยการผลิต
อย่างเสรีทั้งในด้านสินค้า ทุน บริการ และแรงงาน (มีผลใช้บังคับในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1993) และในปีนี้ได้มี
การลงนามในสนธิสัญญามาสทริชต์ (Maastricht Treaty) (มีผลย้อนหลังตั้งแต่ปี 1990) โดยมีเป้าหมายเป็นสหภาพ
เศรษฐกิจและการเงินยุโรป (EMU) และใช้เงินสกุลเดียวกันเพื่อเป็นตลาดเดียวอย่างสมบูรณ์
เกิดวิกฤติการณ์การเงินในอังกฤษส่งผลให้อังกฤษและอิตาลีขอออกจากระบบ ERM
ตารางที่ 1 การพัฒนาของสหภาพยุโรป (ต่อ)
ปี เหตุการณ์
1993 (2536) ปรับปรุงระบบกลไกอัตราแลกเปลี่ยน (ERM) ให้ผ่อนปรนขยายขอบเขตความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนกว้างขึ้น
เป็นร้อยละ 15 ยกเว้นมาร์กเยอรมันและกิลเดอร์เนเธอร์แลนด์ที่ยังคงระดับร้อยละ 2.25
1994 (2537) ดำเนินการตามสนธิสัญญา Maastricht ระยะที่ 2 และก่อตั้ง European Monetary Institute : EMI
เพื่อรองรับการจัดตั้งธนาคารกลางยุโรป และให้ประเทศสมาชิกปรับประสานงานนโยบายเศรษฐกิจ
ในด้านต่างๆ เพื่อลดความแตกต่างด้านค่าเงินของแต่ละประเทศ
1995 (2538) อิตาลีกลับเข้าระบบ ERM และได้ขอยุติในรายละเอียดของ ERM-II, Stability Pact
1998 (2541) ประกาศรายชื่อประเทศที่เข้าร่วมในระบบ EMU จัดตั้งธนาคารกลางยุโรป (European Central Bank : ECB)
และแต่งตั้งประธานธนาคารกลางยุโรป
1999 (2542) ยุโรปบรรลุเป้าหมายการใช้เงินสกุลยูโร ซึ่งเป็นเงินสกุลเดียวกันใน 11 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรีย เบลเยียม ฝรั่งเศส
ฟินแลนด์ เยอรมัน ไอร์แลนด์ อิตาลี ลักแซมเบอร์ก เนเธอร์แลนด์ โปรตุเกส และสเปน
ความสัมพันธ์ระหว่างสหภาพยุโรปกับเศรษฐกิจโลก
2.1 สหภาพยุโรปกับเศรษฐกิจโลก
สหภาพยุโรปหรือ EMU ซึ่งขณะนี้มีสมาชิก 11 ประเทศ เป็นกลุ่มความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่มีความแข็งแกร่งด้านเศรษฐกิจและอำนาจ
การต่อรองสูงในเวทีเศรษฐกิจการเงินระหว่างประเทศ และผลจากการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจอย่างเต็มรูปแบบที่เริ่มดำเนินการในปี
2542 ทำให้กลุ่มประเทศนี้มีระบบเศรษฐกิจเชื่อมโยงกันในระดับสูงและมีแนวโน้มเพิ่มบทบาทในระบบเศรษฐกิจโลกมากขึ้น ขนาดทางเศรษฐกิจ
ของกลุ่มประเทศ EMU ในปี 2540 มีผลิตภัณฑ์มวลรวมจำนวน 6,309 พันล้านดอลลาร์ สรอ. หรือประมาณร้อยละ 21.5 ของเศรษฐกิจโลก
(29,333.4 พันล้านดอลลาร์ สรอ.) อัตราการเติบโตอยู่ในระดับร้อยละ 2.5 มูลค่าการส่งออก-นำเข้า รวมทั้งดุลบัญชีเดินสะพัดอยู่ในระดับ
สูงกว่าสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น (ตารางที่ 2)
ตารางที่ 2 ขนาดทางเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศ EMU
ปี 2540 มูลค่า (พันล้านดอลลาร์ สรอ.)
สหรัฐอเมริกา EMU ญี่ปุ่น
GDP 7,819 6309 4,223
อัตราการเติบโต (%) 3.9 2.5 1.4
อัตราเงินเฟ้อ (%) 2.3 1.7 1.7
การส่งออก 633 776 337
การนำเข้า 829 694 291
ดุลบัญชีเดินสะพัด -166 104 94
เงินสำรองทางการ 70 402 220
ตลาดหุ้น 10,879 2,712 2,063
ตลาดพันธบัตร 2,201 2,132 1,844
รัฐบาล 2,956 1,691 906
เอกชน
การว่างงาน (%) 4.9 12.3 3.4
ตลาดทุนในกลุ่มประเทศ EMU มีขนาดใหญ่รองจากสหรัฐอเมริกาโดยมี
มูลค่าประมาณ 6,535 พันล้านดอลลาร์ สรอ. การลงทุนในพันธบัตรได้รับความนิยมจากประชาชนในยุโรปมากโดยมีมูลค่าการลงทุนในพันธบัตร
3,823 พันล้านดอลลาร์ สรอ. หรือร้อยละ 58.5 ของมูลค่าการลงทุนในตลาดทุน คาดว่าพันธบัตรในรูปเงินสกุลยูโร (Euro Bond) จะเพิ่ม
บทบาทขึ้นเมื่อเทียบกับพันธบัตรที่ออกในรูปเงินสกุลดอลลาร์ (Yankee Bond) และสกุลเยน (Samurai Bond) เนื่องจากการใช้เงินสกุลยูโร
จะมีผลทำให้ตลาดพันธบัตรของกลุ่มประเทศรวมเป็นตลาดขนาดใหญ่ที่สุดในโลกในอนาคต ซึ่งจะช่วยเกื้อหนุนให้ตลาดทุนในกลุ่มประเทศนี้เป็นตลาด
สำคัญในการลงทุนและกระจายความเสี่ยงของนักลงทุน
แนวโน้มเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศ EMU ในปี 2542 โดยการคาดการของ IMF คาดว่าอัตราการเติบโตจะชะลอตัวอยู่ที่ระดับร้อยละ
2.0 เนื่องจากผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก รวมทั้งการชะลอตัวของความต้องการภายในกลุ่มประเทศ อย่างไรก็ตามอัตราเงินเฟ้อ
ยังคงอยู่ต่ำกว่าระดับที่กำหนดไว้ ปัญหาสำคัญของกลุ่มประเทศนี้ในขณะนี้คือภาวะการว่างงานซึ่งอยู่ในระดับประมาณร้อยละ 11 และอาจมีแรง
กดดันต่อ ECB เพื่อให้ดำเนินนโยบายการเงินผ่อนคลายเพื่อกระตุ้นภาวะการผลิต ซึ่งจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อค่าเงินยูโรให้อ่อนตัวลงได้
(ในทางตรงข้าม ECB จำเป็นต้องสร้างความน่าเชื่อถือให้กับเงินสกุลยูโรโดยจะพยายามรักษาสถานะให้เงินยูโรแข็งและมีเสถียรภาพในชั้นแรก)
ตารางที่ 3 แนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจ
การเปลี่ยนแปลง (ร้อยละ)
2540 2541 2542E 2543E
GDP 3.9 3.9 3.3 2.2
สหรัฐอเมริกา 2.7 2.8 1.8 2.7
EU 2.5 2.9 2 2.9
EMU 1.4 -2.8 -1.4 0.3
ญี่ปุ่น
Consumer Prices 2.3 1.6 2.1 2.4
สหรัฐอเมริกา 1.9 1.5 1.3 1.6
EU 1.7 1.3 1 1.4
EMU 1.7 0.6 -0.2 -0.2
ญี่ปุ่น
Unemployment 4.9 4.5 4.5 4.7
สหรัฐอเมริกา 10.9 10.2 9.9 9.7
EU 12.3 11.7 11.3 11
EMU 3.4 4.1 4.8 4.9
ญี่ปุ่น
ที่มา : World Economic Outlook 1998, IMF.
ความสัมพันธ์ระหว่างสหภาพยุโรปกับเศรษฐกิจโลกในด้านการค้า จากสถิติการค้าระหว่างสหภาพยุโรปกับประเทศต่างๆ (ตารางที่ 4)
สหภาพยุโรปมีมูลค่าการค้ากับต่างประเทศรวม 4,064.8 พันล้านดอลลาร์ สรอ. หรือร้อยละ 36.7 ของมูลค่าการค้าโลก (11,084.4 พันล้าน
ดอลลาร์ สรอ.) โครงสร้างการค้าของสหภาพยุโรปนิยมค้าขายระหว่างประเทศสมาชิกเป็นหลัก โดยมีสัดส่วนการค้าภายในกลุ่มประเทศสมาชิก
ประมาณร้อยละ 60
สัดส่วนการค้าประเทศนอกกลุ่มอยู่ในระดับไม่สูงนัก โดยมีการค้ากับสหรัฐฯ เอเซีย และยุโรป ในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน (ร้อยละ 7.9
7.6 และ 7.3 ตามลำดับ)
ตารางที่ 4 โครงสร้างการค้าของสหภาพยุโรปกับประเทศต่างๆ
มูลค่า (พันล้านดอลลาร์ สรอ.) สัดส่วน (ร้อยละ)
2536 2537 2538 2539 2540 2536 2537 2538 2539 2540
EU-EU 1/
ส่งออก 890.9 1023.3 1259.7 1272.4 1268.5 61.7 61.9 62.4 61.4 60.6
นำเข้า 833.5 955.2 1168.5 1181.4 1170.6 59.6 60.1 61.1 60.4 59.3
EU- ยุโรป 2/
ส่งออก 84 95.8 130.8 150.2 171.2 5.8 5.8 6.5 7.3 8.2
นำเข้า 69.4 87.2 114.2 116.6 124 5 5.5 6 6 6.3
EU- สหรัฐฯ
ส่งออก 106.1 122.4 135.2 144.8 158.1 7.3 7.4 6.7 7 7.6
นำเข้า 109.9 123 142.2 150.6 164.5 7.9 7.7 7.4 7.7 8.3
EU- เอเซีย
ส่งออก 90.3 107.5 136.4 141.6 140.3 6.3 6.5 6.8 6.8 6.7
นำเข้า 105.7 119 142.3 156.2 166.9 7.6 7.5 7.4 8 8.5
EU- ประเทศอื่นๆ
ส่งออก 273.1 304.7 356.4 363.2 354.3 18.9 18.4 17.7 17.5 16.9
นำเข้า 279.4 304.3 346.6 350.1 346.5 20 19.2 18.1 17.9 17.6
EU- โลก
ส่งออก 1444.4 1653.7 2018.4 2072.3 2092.3 100 100 100 100 100
นำเข้า 1397.8 1588.7 1913.7 1955 1972.5 100 100 100 100 100
หมายเหตุ : 1/ การค้าภายในประเทศสมาชิก EU 15 ประเทศ
2/ เป็นการค้าระหว่างประเทศสมาชิก EU กับประเทศอื่นที่ไม่ใช่สมาชิก EU
ที่มา : Direction of Trade Statistics Yearbook 1998, IMF.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-